นักเศรษฐศาสตร์ชี้ไทยต้องพัฒนา'ระยะยาว' ชี้เลิก'2ล้านล้าน'ไม่กระทบศก.ระยะสั้น เป็นโอกาสทบทวนความสำคัญโครงการ
นักเศรษฐศาสตร์ชี้ผลกระทบยกเลิกโครงการ"2ล้านล้าน"ไม่กระทบภาพรวมเศรษฐกิจ แนะรัฐบาลใหม่ เร่งทบทวน-จัดลำดับความสำคัญโครงการ ระบุระยะยาวมีความจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หนุนกลับมาใช้งบปกติลงทุน เชื่อฐานะการคลังแกร่งรองรับได้และแก้ปัญหากระบวนการตรวจสอบ
นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ ภายหลังจากร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศ หรือ "พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท" ต้องถูกยกเลิกไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่าไม่ส่งผลกระทบระยะสั้นต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ เพียงแต่อาจกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อโครงการภาครัฐ
โครงสร้างพื้นฐานตาม"พ.ร.บ.2 ล้านล้านบาท" ถือเป็นโครงการลงทุนครั้งใหญ่ของไทย ในการวางแผนพัฒนาระบบขนส่งทั่วประเทศ โดยรัฐบาลต้องการให้มีการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องและไม่ผูกติดกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี แต่เมื่อร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องตกไป จึงต้องกลับไปตั้งงบประมาณและการกู้เงินตามแผนก่อหนี้ภาครัฐ
หากพิจารณาโครงการที่อยู่ในร่างกฎหมายฉบับนี้ มีเพียง 3 โครงการเท่านั้นที่ยังเดินหน้าต่อด้วยงบประมาณตามปกติ แต่มีวงเงินลงทุนในปี 2557 เพียง 1.7 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับวงเงินตามแผนลงทุนเฉลี่ยปีละกว่า 2 แสนล้านบาท
ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการหารือกับกระทรวงคมนาคมจัดลำดับความสำคัญโครงการลงทุน โดยคาดว่าจะสามารถลงทุนได้ปีละประมาณ 1 แสนล้านบาทในงบประมาณปกติ และต้องรอเสนอรัฐบาลใหม่พิจารณาเห็นชอบ
นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าทีมวิจัยลูกค้าบุคคล ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคล บล.ภัทร กล่าวว่าผลกระทบที่เกิดขึ้น อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและแผนการลงทุนระยะยาวที่ขาดหายไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วไม่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและการลงทุนของรัฐบาลมากนัก
"สาเหตุเพราะตลาดการลงทุนส่วนใหญ่รับข่าวเรื่องนี้ไปแล้ว จะเห็นว่าสำนักวิจัยฯ ต่างๆ แทบไม่มีหวังกับการลงทุนโครงการนี้อยู่แล้ว เพราะเม็ดเงินจากการลงทุนออกมาช้ามาก ทำให้ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่า โครงการนี้อาจไม่สามารถเกิดได้"
นายพิพัฒน์ กล่าวว่าผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจคงไม่ได้มากนัก เพราะถ้ารัฐบาลตั้งใจจะลงทุนในโครงการเหล่านี้อยู่แล้ว ก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากสามารถใช้งบประมาณปกติในการดำเนินการได้ เพียงแต่อาจทำให้แผนการจัดทำงบประมาณสมดุลต้องเลื่อนออกไป
ชี้อาจกระทบการทำงบสมดุล
“ถ้าทำจริงๆ เชื่อว่ารัฐบาลทำได้ ลองคิดเล่นๆ เงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท ใช้เวลาทำ 7 ปี เฉลี่ยลงทุนปีละ 3 แสนล้านบาท คิดเป็น 3% ของจีดีพีไปอีก 7 ปี ซึ่งจริงๆ อาจต่ำกว่านั้นด้วยถ้าจีดีพีโตขึ้น ดังนั้นหากจะทำก็ต้องเอา 2 ล้านล้านบาท ที่อยู่นอกงบ กลับเข้ามาในงบ เพียงแต่ต้องแลกกับแผนการทำงบสมดุลที่ต้องล่าช้าออกไป”นายพิพัฒน์กล่าว
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า การทำแผนลงทุน 2 ล้านล้านบาท กลับเข้ามาในกระบวนการงบประมาณตามปกติ อาจทำให้การจัดสรรงบมีความเหลื่อมล้ำบ้าง เพราะโครงการส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมขนส่ง ดังนั้นการจัดสรรงบกว่า 80-90% อาจจะไปตกอยู่กับกระทรวงคมนาคม แต่ข้อดีของการนำงบลงทุนส่วนนี้เข้ามาอยู่ในกระบวนการงบประมาณปกติมีข้อดีคือความโปร่งใสมีมากขึ้น และสามารถเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการลงทุนได้
'ทิสโก้'ชี้กระทบภาพรวมไม่มาก
เช่นเดียวกับ นายกำพล อดิเรกสมบัติ เศรษฐกรอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ บล. ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ผลกระทบที่เกิดกับภาพรวมเศรษฐกิจคงไม่ได้มากนัก เพราะสำนักวิจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้คาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่า พ.ร.บ.นี้คงเกิดได้ยาก ดังนั้นผลกระทบต่อเศรษฐกิจจึงไม่ได้มากนัก
“คือ ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่า ไม่น่าจะผ่าน ผลที่ออกมาจึงไม่น่าจะทำให้ภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก อย่างของ บล.ทิสโก้ เองก็ไม่ได้นำเรื่องเหล่านี้เข้ามารวมในประมาณการเศรษฐกิจของปีนี้เลย ส่วนปีหน้าเราก็มองว่าการเบิกจ่ายคงทำได้ลำบากอยู่”นายกำพลกล่าว
ส่งผลพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานช้า
นายกำพล ยอมรับว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่สามารถผ่านได้ เพราะทำให้การลงทุนซึ่งเป็นการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมีความล่าช้าออกไป ซึ่งจริงๆ แล้วบางโครงการควรเริ่มต้นดำเนินการในตอนนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนที่ล่าช้าออกไปตรงนี้ ก็อาจทำให้บางธุรกิจได้ประโยชน์เช่นกัน
"ผมว่าการลงทุนในส่วนนี้ ยังไงก็ต้องเกิดเพราะเป็นโครงการจำเป็นของประเทศ เพียงแต่มันจะล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น ซึ่งตรงนี้อาจมีผลดีกับบางธุรกิจ เช่น ในส่วนของโครงการรถไฟรางคู่ ที่เป็นคู่แข่งกับระบบขนส่งทางถนน ก็ทำให้ธุรกิจการขนส่งทางถนนมีเวลาในการปรับตัวบ้าง หรืออย่างรถไฟความเร็วสูง ที่แผนก่อสร้างล่าช้าไป ก็ทำให้ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำไม่ต้องกังวลใจกับคู่แข่งตรงนี้มากนัก ซึ่งทุกอย่างมันมี 2 ด้าน มีทั้งผลดีและผลเสียในตัวเองเสมอ”นายกำพลกล่าว
ชี้ไม่กระทบเศรษฐกิจปีนี้
นายสมประวิณ มันประเสริฐ รองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าไม่มีผลทำให้เศรษฐกิจไทยระยะสั้นเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์กันไว้มากนัก เพราะถ้าไปดูการประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจของสำนักวิจัยส่วนใหญ่แล้ว แทบไม่ได้นำแผนการลงทุนในโครงการนี้ใส่ไว้ในการประเมินเลย
“การเลื่อนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ไม่น่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจปีนี้มากนัก เพราะปกติแล้วการลงทุนขนาดใหญ่จะมีผลต่อเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม การเบิกจ่ายการใช้งบประมาณ ก็คงทยอยใช้อยู่แล้ว ดังนั้นผลกระทบระยะสั้น 6 เดือนถึง 1 ปี จึงไม่ได้เห็นผลกระทบอะไรที่ชัดเจน”นายสมประวิณกล่าว
นายสมประวิณ กล่าวว่าในระยะยาวคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพิ่ม เพียงแต่มติของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา ทำให้ผู้ทำนโยบายต้องกลับมาคิดว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไปมากกว่า ซึ่งการกลับมาใช้กระบวนการตามกรอบของรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นเรื่องดี ทำให้ภาครัฐมีเวลาวางแผนการลงทุนอย่างรัดกุมขึ้น สามารถจัดลำดับความสำคัญของโครงการได้อย่างถูกต้อง
ระบุใช้งบปกติไม่มีปัญหาลงทุน
นางณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กล่าวว่าอาจทำให้ดูเหมือนว่าโครงการลงทุนต่างๆ ต้องชะลอออกไป ซึ่งในความจริงแล้วงบประมาณสำหรับโครงการเหล่านี้สามารถโยกไปไว้ในงบประมาณประจำปีได้ เพียงแต่ต้องให้รัฐบาลใหม่เป็นผู้อนุมัติ ดังนั้นเงื่อนไขของความล่าช้าในโครงการลงทุนเหล่านี้จึงอยู่ที่ว่า เมื่อไรเราจะได้รัฐบาลใหม่ที่มีอำนาจในการบริหารจัดการ
“ในแง่การหาแหล่งเงินลงทุนนั้น จริงๆ เมื่อเข้ากระบวนการงบประมาณปกติก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะหนี้สาธารณะเราไม่ได้สูง และยิ่งถ้าเป็นการกู้มาเพื่อไปลงทุนก็น่าจะเป็นที่ยอมรับได้”นางณดากล่าว
นอกจากนี้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา ก็น่าจะเป็นการเปิดช่องให้รัฐบาลได้มีเวลาในการนำโครงการต่างๆ กลับมาพิจารณาใหม่ และจัดลำดับความสำคัญของโครงการเหล่านี้อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ควรนำมาพิจารณาใหม่
แนะเร่งทบทวนความสำคัญใหม่
“ควรเอามาดูเลยว่าอันไหนที่น่าจะเป็นโครงการเร่งด่วนและต้องทำก่อน เราต้องศึกษาให้ชัดเจนว่าที่จะทำมีความคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องลงทุนในทุกโครงการ เราสามารถเลือกและดูความเหมาะสมได้ เมื่อได้ข้อมูลที่ละเอียดแล้วค่อยทยอยทำก็ได้”นางณดากล่าว
นอกจากนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ที่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ 3 ตรงนี้ก็ควรนำมาจัดลำดับความสำคัญใหม่ว่าเป็นโครงการจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่ และเมื่อได้รัฐบาลใหม่ที่มีอำนาจในการบริหารงานเต็มที่ ก็สามารถนำโครงการลงทุนต่างๆ มาลงในงบประมาณปี 2558 และเริ่มดำเนินการได้ทันทีเลย แต่ถ้าอันไหนมีความจำเป็นเร่งด่วนก็สามารถดึงงบกลางของปี 2557 มาใช้ก่อนได้
"ยอมรับว่าคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอยู่บ้าง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง เพราะการลงทุนบางส่วนอาจจะมีความล่าช้าออกไปกว่าที่คาดการณ์กันไว้บ้าง แต่สุดท้ายยังเชื่อว่า การลงทุนยังต้องเกิดขึ้นจริง เพราะโครงการเหล่านี้ถือเป็นโครงการที่มีความจำเป็นทางเศรษฐกิจของประเทศ"
การเมืองสำคัญกว่า"2 ล้านล้าน"
นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่ากรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติคว่ำร่างกฎหมายไม่ใช่อุปสรรคในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพราะหากไม่มีเงินกู้จำนวนนี้ รัฐยังสามารถหาแหล่งเงินอื่นๆ มาทดแทนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้
นายสมภพ กล่าวว่าสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท คือ การแก้ไขปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อมาหลายเดือน ดึงความเชื่อมั่นของคนในและต่างประเทศให้กลับมา ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ควรมองหาจุดแข็งอื่นๆ ของประเทศไทย ซึ่งไม่จำเป็นต้องผูกอยู่แค่การพัฒนาระบบราง ซึ่งเป็นงบส่วนใหญ่ของร่างกฎหมายฉบับนี้
"ที่ผ่านมาหลายๆ รัฐบาลมุ่งเน้นแต่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ผูกติดอยู่กับภาคการเกษตร แต่การพัฒนากลับยังไม่ไปถึงไหน รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้ครบองค์รวม โดยเฉพาะในภาคบริการ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของไทยหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน สะท้อนจากจีดีพีของไทยในภาคบริการที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 %"
"ธนวรรธน์"ชี้กระทบจีดีพี 0.5-0.7%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาทที่จะไม่เกิดขึ้นในปีนี้จะส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนภาครัฐหายไปจากระบบเศรษฐกิจประมาณ 1 แสนล้านบาทและส่งผลกระทบต่อจีดีพี 0.5 - 0.7%
ดังนั้นแนวโน้มที่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจจะปรับประมาณเศรษฐกิจในปี 2557 ลงมาอยู่ที่ 2 - 3% จากเดิมที่คาดการว่าจะขยายตัวได้ 3 - 4% จะมีมากขึ้นซึ่งเมื่อรวมกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่แน่นอนทำให้ส่งผลกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศทำให้แนวโน้มที่เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 2% หรือใกล้เคียกับ 2% มีมากขึ้น
นายธนวรรธน์ ประเมินว่าผลกระทบที่ชัดจะเกิดขึ้นในปี 2558 เนื่องจากแต่เดิมคาดการณ์ว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนภาครัฐจากโครงการนี้ในปีที่ 2-7 ของการลงทุนตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ประมาณปีละ 2 - 3 แสนล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวถึง 1% ต่อปี แต่เมื่อไม่มีกฎหมายฉบับนี้ ก็ต้องดูว่ารัฐบาลต่อไปจะเลือกใช้วิธีการลงทุนแบบใด ซึ่งถ้าหากใช้วิธีการตามงบประมาณปกติเศรษฐกิจก็จะไม่ส่งผลมากเท่ากับการลงทุนตามพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท
2 ล้านล้านบาทเป็นการลงทุนที่จะใส่เงินเข้าไปอีกปีละ 2 - 3 แสนล้านบาทตามวิธีงบประมาณปกติซึ่งเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจจะโตปีละ 1% แต่หากรัฐบาลใหม่จะลงทุนตามวิธีการงบประมาณปกติก็ต้องดูว่าพร้อมที่จะขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาเราเคยขาดดุลงบประมาณมากที่สุด 4 แสนล้านบาท ปัจจุบัน ขาดดุลงบประมาณ 2.5 แสนล้านบาทจึงมีช่องว่างให้ขาดดุลงบประมาณได้อีก 1.5 แสนล้านบาทต่อปี
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------------------------
นักเศรษฐศาสตร์ชี้ผลกระทบยกเลิกโครงการ"2ล้านล้าน"ไม่กระทบภาพรวมเศรษฐกิจ แนะรัฐบาลใหม่ เร่งทบทวน-จัดลำดับความสำคัญโครงการ ระบุระยะยาวมีความจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หนุนกลับมาใช้งบปกติลงทุน เชื่อฐานะการคลังแกร่งรองรับได้และแก้ปัญหากระบวนการตรวจสอบ
นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ ภายหลังจากร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศ หรือ "พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท" ต้องถูกยกเลิกไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่าไม่ส่งผลกระทบระยะสั้นต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ เพียงแต่อาจกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อโครงการภาครัฐ
โครงสร้างพื้นฐานตาม"พ.ร.บ.2 ล้านล้านบาท" ถือเป็นโครงการลงทุนครั้งใหญ่ของไทย ในการวางแผนพัฒนาระบบขนส่งทั่วประเทศ โดยรัฐบาลต้องการให้มีการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องและไม่ผูกติดกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี แต่เมื่อร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องตกไป จึงต้องกลับไปตั้งงบประมาณและการกู้เงินตามแผนก่อหนี้ภาครัฐ
หากพิจารณาโครงการที่อยู่ในร่างกฎหมายฉบับนี้ มีเพียง 3 โครงการเท่านั้นที่ยังเดินหน้าต่อด้วยงบประมาณตามปกติ แต่มีวงเงินลงทุนในปี 2557 เพียง 1.7 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับวงเงินตามแผนลงทุนเฉลี่ยปีละกว่า 2 แสนล้านบาท
ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการหารือกับกระทรวงคมนาคมจัดลำดับความสำคัญโครงการลงทุน โดยคาดว่าจะสามารถลงทุนได้ปีละประมาณ 1 แสนล้านบาทในงบประมาณปกติ และต้องรอเสนอรัฐบาลใหม่พิจารณาเห็นชอบ
นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าทีมวิจัยลูกค้าบุคคล ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคล บล.ภัทร กล่าวว่าผลกระทบที่เกิดขึ้น อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและแผนการลงทุนระยะยาวที่ขาดหายไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วไม่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและการลงทุนของรัฐบาลมากนัก
"สาเหตุเพราะตลาดการลงทุนส่วนใหญ่รับข่าวเรื่องนี้ไปแล้ว จะเห็นว่าสำนักวิจัยฯ ต่างๆ แทบไม่มีหวังกับการลงทุนโครงการนี้อยู่แล้ว เพราะเม็ดเงินจากการลงทุนออกมาช้ามาก ทำให้ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่า โครงการนี้อาจไม่สามารถเกิดได้"
นายพิพัฒน์ กล่าวว่าผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจคงไม่ได้มากนัก เพราะถ้ารัฐบาลตั้งใจจะลงทุนในโครงการเหล่านี้อยู่แล้ว ก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากสามารถใช้งบประมาณปกติในการดำเนินการได้ เพียงแต่อาจทำให้แผนการจัดทำงบประมาณสมดุลต้องเลื่อนออกไป
ชี้อาจกระทบการทำงบสมดุล
“ถ้าทำจริงๆ เชื่อว่ารัฐบาลทำได้ ลองคิดเล่นๆ เงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท ใช้เวลาทำ 7 ปี เฉลี่ยลงทุนปีละ 3 แสนล้านบาท คิดเป็น 3% ของจีดีพีไปอีก 7 ปี ซึ่งจริงๆ อาจต่ำกว่านั้นด้วยถ้าจีดีพีโตขึ้น ดังนั้นหากจะทำก็ต้องเอา 2 ล้านล้านบาท ที่อยู่นอกงบ กลับเข้ามาในงบ เพียงแต่ต้องแลกกับแผนการทำงบสมดุลที่ต้องล่าช้าออกไป”นายพิพัฒน์กล่าว
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า การทำแผนลงทุน 2 ล้านล้านบาท กลับเข้ามาในกระบวนการงบประมาณตามปกติ อาจทำให้การจัดสรรงบมีความเหลื่อมล้ำบ้าง เพราะโครงการส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมขนส่ง ดังนั้นการจัดสรรงบกว่า 80-90% อาจจะไปตกอยู่กับกระทรวงคมนาคม แต่ข้อดีของการนำงบลงทุนส่วนนี้เข้ามาอยู่ในกระบวนการงบประมาณปกติมีข้อดีคือความโปร่งใสมีมากขึ้น และสามารถเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการลงทุนได้
'ทิสโก้'ชี้กระทบภาพรวมไม่มาก
เช่นเดียวกับ นายกำพล อดิเรกสมบัติ เศรษฐกรอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ บล. ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ผลกระทบที่เกิดกับภาพรวมเศรษฐกิจคงไม่ได้มากนัก เพราะสำนักวิจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้คาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่า พ.ร.บ.นี้คงเกิดได้ยาก ดังนั้นผลกระทบต่อเศรษฐกิจจึงไม่ได้มากนัก
“คือ ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่า ไม่น่าจะผ่าน ผลที่ออกมาจึงไม่น่าจะทำให้ภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก อย่างของ บล.ทิสโก้ เองก็ไม่ได้นำเรื่องเหล่านี้เข้ามารวมในประมาณการเศรษฐกิจของปีนี้เลย ส่วนปีหน้าเราก็มองว่าการเบิกจ่ายคงทำได้ลำบากอยู่”นายกำพลกล่าว
ส่งผลพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานช้า
นายกำพล ยอมรับว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่สามารถผ่านได้ เพราะทำให้การลงทุนซึ่งเป็นการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมีความล่าช้าออกไป ซึ่งจริงๆ แล้วบางโครงการควรเริ่มต้นดำเนินการในตอนนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนที่ล่าช้าออกไปตรงนี้ ก็อาจทำให้บางธุรกิจได้ประโยชน์เช่นกัน
"ผมว่าการลงทุนในส่วนนี้ ยังไงก็ต้องเกิดเพราะเป็นโครงการจำเป็นของประเทศ เพียงแต่มันจะล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น ซึ่งตรงนี้อาจมีผลดีกับบางธุรกิจ เช่น ในส่วนของโครงการรถไฟรางคู่ ที่เป็นคู่แข่งกับระบบขนส่งทางถนน ก็ทำให้ธุรกิจการขนส่งทางถนนมีเวลาในการปรับตัวบ้าง หรืออย่างรถไฟความเร็วสูง ที่แผนก่อสร้างล่าช้าไป ก็ทำให้ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำไม่ต้องกังวลใจกับคู่แข่งตรงนี้มากนัก ซึ่งทุกอย่างมันมี 2 ด้าน มีทั้งผลดีและผลเสียในตัวเองเสมอ”นายกำพลกล่าว
ชี้ไม่กระทบเศรษฐกิจปีนี้
นายสมประวิณ มันประเสริฐ รองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าไม่มีผลทำให้เศรษฐกิจไทยระยะสั้นเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์กันไว้มากนัก เพราะถ้าไปดูการประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจของสำนักวิจัยส่วนใหญ่แล้ว แทบไม่ได้นำแผนการลงทุนในโครงการนี้ใส่ไว้ในการประเมินเลย
“การเลื่อนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ไม่น่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจปีนี้มากนัก เพราะปกติแล้วการลงทุนขนาดใหญ่จะมีผลต่อเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม การเบิกจ่ายการใช้งบประมาณ ก็คงทยอยใช้อยู่แล้ว ดังนั้นผลกระทบระยะสั้น 6 เดือนถึง 1 ปี จึงไม่ได้เห็นผลกระทบอะไรที่ชัดเจน”นายสมประวิณกล่าว
นายสมประวิณ กล่าวว่าในระยะยาวคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพิ่ม เพียงแต่มติของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา ทำให้ผู้ทำนโยบายต้องกลับมาคิดว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไปมากกว่า ซึ่งการกลับมาใช้กระบวนการตามกรอบของรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นเรื่องดี ทำให้ภาครัฐมีเวลาวางแผนการลงทุนอย่างรัดกุมขึ้น สามารถจัดลำดับความสำคัญของโครงการได้อย่างถูกต้อง
ระบุใช้งบปกติไม่มีปัญหาลงทุน
นางณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กล่าวว่าอาจทำให้ดูเหมือนว่าโครงการลงทุนต่างๆ ต้องชะลอออกไป ซึ่งในความจริงแล้วงบประมาณสำหรับโครงการเหล่านี้สามารถโยกไปไว้ในงบประมาณประจำปีได้ เพียงแต่ต้องให้รัฐบาลใหม่เป็นผู้อนุมัติ ดังนั้นเงื่อนไขของความล่าช้าในโครงการลงทุนเหล่านี้จึงอยู่ที่ว่า เมื่อไรเราจะได้รัฐบาลใหม่ที่มีอำนาจในการบริหารจัดการ
“ในแง่การหาแหล่งเงินลงทุนนั้น จริงๆ เมื่อเข้ากระบวนการงบประมาณปกติก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะหนี้สาธารณะเราไม่ได้สูง และยิ่งถ้าเป็นการกู้มาเพื่อไปลงทุนก็น่าจะเป็นที่ยอมรับได้”นางณดากล่าว
นอกจากนี้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา ก็น่าจะเป็นการเปิดช่องให้รัฐบาลได้มีเวลาในการนำโครงการต่างๆ กลับมาพิจารณาใหม่ และจัดลำดับความสำคัญของโครงการเหล่านี้อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ควรนำมาพิจารณาใหม่
แนะเร่งทบทวนความสำคัญใหม่
“ควรเอามาดูเลยว่าอันไหนที่น่าจะเป็นโครงการเร่งด่วนและต้องทำก่อน เราต้องศึกษาให้ชัดเจนว่าที่จะทำมีความคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องลงทุนในทุกโครงการ เราสามารถเลือกและดูความเหมาะสมได้ เมื่อได้ข้อมูลที่ละเอียดแล้วค่อยทยอยทำก็ได้”นางณดากล่าว
นอกจากนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ที่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ 3 ตรงนี้ก็ควรนำมาจัดลำดับความสำคัญใหม่ว่าเป็นโครงการจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่ และเมื่อได้รัฐบาลใหม่ที่มีอำนาจในการบริหารงานเต็มที่ ก็สามารถนำโครงการลงทุนต่างๆ มาลงในงบประมาณปี 2558 และเริ่มดำเนินการได้ทันทีเลย แต่ถ้าอันไหนมีความจำเป็นเร่งด่วนก็สามารถดึงงบกลางของปี 2557 มาใช้ก่อนได้
"ยอมรับว่าคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอยู่บ้าง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง เพราะการลงทุนบางส่วนอาจจะมีความล่าช้าออกไปกว่าที่คาดการณ์กันไว้บ้าง แต่สุดท้ายยังเชื่อว่า การลงทุนยังต้องเกิดขึ้นจริง เพราะโครงการเหล่านี้ถือเป็นโครงการที่มีความจำเป็นทางเศรษฐกิจของประเทศ"
การเมืองสำคัญกว่า"2 ล้านล้าน"
นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่ากรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติคว่ำร่างกฎหมายไม่ใช่อุปสรรคในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพราะหากไม่มีเงินกู้จำนวนนี้ รัฐยังสามารถหาแหล่งเงินอื่นๆ มาทดแทนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้
นายสมภพ กล่าวว่าสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท คือ การแก้ไขปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อมาหลายเดือน ดึงความเชื่อมั่นของคนในและต่างประเทศให้กลับมา ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ควรมองหาจุดแข็งอื่นๆ ของประเทศไทย ซึ่งไม่จำเป็นต้องผูกอยู่แค่การพัฒนาระบบราง ซึ่งเป็นงบส่วนใหญ่ของร่างกฎหมายฉบับนี้
"ที่ผ่านมาหลายๆ รัฐบาลมุ่งเน้นแต่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ผูกติดอยู่กับภาคการเกษตร แต่การพัฒนากลับยังไม่ไปถึงไหน รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้ครบองค์รวม โดยเฉพาะในภาคบริการ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของไทยหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน สะท้อนจากจีดีพีของไทยในภาคบริการที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 %"
"ธนวรรธน์"ชี้กระทบจีดีพี 0.5-0.7%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาทที่จะไม่เกิดขึ้นในปีนี้จะส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนภาครัฐหายไปจากระบบเศรษฐกิจประมาณ 1 แสนล้านบาทและส่งผลกระทบต่อจีดีพี 0.5 - 0.7%
ดังนั้นแนวโน้มที่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจจะปรับประมาณเศรษฐกิจในปี 2557 ลงมาอยู่ที่ 2 - 3% จากเดิมที่คาดการว่าจะขยายตัวได้ 3 - 4% จะมีมากขึ้นซึ่งเมื่อรวมกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่แน่นอนทำให้ส่งผลกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศทำให้แนวโน้มที่เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 2% หรือใกล้เคียกับ 2% มีมากขึ้น
นายธนวรรธน์ ประเมินว่าผลกระทบที่ชัดจะเกิดขึ้นในปี 2558 เนื่องจากแต่เดิมคาดการณ์ว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนภาครัฐจากโครงการนี้ในปีที่ 2-7 ของการลงทุนตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ประมาณปีละ 2 - 3 แสนล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวถึง 1% ต่อปี แต่เมื่อไม่มีกฎหมายฉบับนี้ ก็ต้องดูว่ารัฐบาลต่อไปจะเลือกใช้วิธีการลงทุนแบบใด ซึ่งถ้าหากใช้วิธีการตามงบประมาณปกติเศรษฐกิจก็จะไม่ส่งผลมากเท่ากับการลงทุนตามพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท
2 ล้านล้านบาทเป็นการลงทุนที่จะใส่เงินเข้าไปอีกปีละ 2 - 3 แสนล้านบาทตามวิธีงบประมาณปกติซึ่งเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจจะโตปีละ 1% แต่หากรัฐบาลใหม่จะลงทุนตามวิธีการงบประมาณปกติก็ต้องดูว่าพร้อมที่จะขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาเราเคยขาดดุลงบประมาณมากที่สุด 4 แสนล้านบาท ปัจจุบัน ขาดดุลงบประมาณ 2.5 แสนล้านบาทจึงมีช่องว่างให้ขาดดุลงบประมาณได้อีก 1.5 แสนล้านบาทต่อปี
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น