ไม่มีคำปฏิเสธหลังปรากฏข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้เป็น “ศูนย์กลางอำนาจ” ทางการเมืองในพรรคเพื่อไทย “สไกป์” เข้ามาระหว่างการประชุมคณะกรรมการกิจการพรรคที่มี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้มีศักดิ์เป็น “น้องเขย” ของตัวเองเป็นประธาน
ข่าวระบุว่าช่วงหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวกับที่ประชุมว่า หากการเลือกตั้งครั้งต่อไปพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็ไม่อยากให้พรรคเพื่อไทยต้องลงเลือกตั้งอีก เพราะนอกจากจะไม่มีคู่แข่งแล้ว เชื่อว่าการเลือกตั้งจะถูกขัดขวางเหมือนกับการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
ข่าวระบุว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าว ที่ประชุมส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไหร่นัก เพราะต่างมองว่าที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยยืนยันในหลักการรักษาประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งมา พร้อมมองสถานการณ์ไกลออกไปว่า แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีรักษาการจะถูก “ชี้มูล” จาก ป.ป.ช. ในคดีโครงการรับจำนำข้าวแต่ก็ยังมีรองนายกรัฐมนตรีรักษาการทำหน้าที่ต่อไปได้อยู่ โดยรัฐบาลรักษาการจะพ้นไปก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่
รัฐบาลชุดใหม่ที่ว่านี้ พรรคเพื่อไทยน่าจะหมายถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
หลังปรากฏข่าวดังกล่าวออกไม่มีคำชี้แจงจากแกนนำพรรคเพื่อไทย มีแต่เพียง จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทยในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ชี้แจงเพียงว่า พรรคเพื่อไทยไม่ใช่ “ตัวปัญหา”
แม้ในการประชุมของ 53 พรรคการเมืองเมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมาจะมีมติให้ กกต. เร่งจัดการเลือกตั้ง “รอบใหม่” ให้เกิดขึ้น แต่หากดูจากสถานการณ์การเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ก็เป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ เพราะหากจัดการเลือกตั้งไปท่ามกลางความไม่พร้อมและเกิดเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งความวุ่นวาย วิธีการแก้ไขปัญหาทางการเมืองผ่านกระบวนการเลือกตั้งจะถูก “ปิดตาย” ลงทันที
น่าคิดว่าทำไม พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเสนอแนวคิด “บอยคอต” การเลือกตั้ง หากพรรคประชาธิปัตย์ “บอยคอต” การเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2
ต้องไม่ลืมว่า วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่มีคำตอบให้กับสังคมว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ซึ่งมีความหมายทั้งลงสมัครและไม่ลงสมัคร แต่ที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องใช้เวลาในการตัดสินใจเพราะรอ “เงื่อนไข” สำคัญทางการเมืองซึ่งก็คือ “คดีความ” ใน ป.ป.ช. เพราะจากข้อมูลหลักฐานพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะถูกชี้มูลและโครงการรับจำนำข้าวจะกลายเป็น “จุดถดถอย”สำคัญของพรรคเพื่อไทย ที่สำคัญหากมีการระบุถึงพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็น “ข้อรังเกียจ” ที่สังคมไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ เมื่อนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็สามารถ “ตัดสินใจ” ทางการเมืองได้
ข้อเสนอที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุออกมาน่าจะมาจาก “หลักคิด” ที่ว่าแม้ ป.ป.ช. จะชี้มูลหรือจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีการโยกย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช.ที่มี ส.ว. ไปยื่นเรื่องให้วินิจฉัย เพราะมองว่าเป็นการกระทำที่ “ต้องห้าม” ตามรัฐธรรมนูญก็ตาม ปัญหาเหล่านั้นก็ไม่น่าจะทำให้ “อำนาจ” ทางการเมืองเปลี่ยนมือจากรัฐบาลรักษาการได้
ข้อเสนอของ พ.ต.ท.ทักษิณ ช่างสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของ นปช. ซึ่งก็คือมวลชนของพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะท่าทีของ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. ที่ออกมา “ตีระนาด” ถึงชื่อนายกรัฐมนตรีคนกลาง ซึ่ง กปปส. ที่นำโดย สุเทพ เทือกสุบรรณ หมายมั่นปั้นมือจะให้เกิดขึ้น
“เป้าหมาย” ของการออกในครั้งนี้น่าจะอยู่ที่การกระพือให้เกิดกระแส “ไม่เอา” นายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งถึงตอนนี้ก็น่าจะชัดเจนว่า หาก “อำนาจ” ทางการเมืองหลุดจากมือพรรคเพื่อไทยด้วยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย มวลชนของ นปช. ก็พร้อมที่จะออกมา “ต่อต้าน” ซึ่งเมื่อสถานการณ์ถึงจุดนั้นก็มี “ทางเลือก” เพียงแค่ 2 ทาง ทางหนึ่งคือ ทุกฝ่ายเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง กับอีกทางคือ ให้ทหารทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจ
กรณีทหารทำการ “รัฐประหาร” ไม่น่าจะใช่ทางออกของสังคมไทย เพราะบทเรียนที่ผ่านมาสอนให้รู้ว่า ใช่แต่ปัญหาทางการเมืองเท่านั้นที่ต้องจัดการ ปัญหาทางเศรษฐกิจก็จะเป็นปัญหายิ่งกว่า
เมื่อสถานการณ์ “บีบ” ไปจนถึงจุดนั้น ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า กปปส. จะเดินหน้าทางการเมืองต่อไปอย่างไร การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ยังเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการหรือไม่หรือ สุดท้ายทุกฝ่ายต้องหันหน้ามาเจรจากันโดยทั้งหมดน่าจะจบลงที่การเลือกตั้งสถานเดียว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ พูดไว้ก่อนหน้านี้ไม่นานนักว่า “พร้อม” ที่จะ “ตาย” คาสนามประชาธิปไตย ซึ่งนั่นก็หมายความว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมที่จะสู้จนถึงที่สุดแม้จะยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งต่อไปหรือไม่
ในมุมของทหารโดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พูดมาตลอดว่า อยากให้ทุกฝ่ายเคารพกติกา เคารพกระบวนการยุติธรรม เพื่อทำให้บ้านเมืองสงบ
หากต้องการที่จะชนะทางการเมืองกับ พ.ต.ท.ทักษิณว่ากันว่ามีวิธีเดียวคือต้องทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และเครือข่ายของระบอบทักษิณ “พ่ายแพ้” ในการเลือกตั้งเท่านั้น เพื่อที่จะไม่สามารถ “อ้าง” ได้ว่ามาจากการสนับสนุนของประชาชนคนส่วนใหญ่
จึงน่าเชื่อว่าที่สุดแล้วไม่ช้าก็เร็ว การเลือกตั้งก็น่าจะเป็น “วิธีการ” คลี่คลายสถานการณ์ที่ดีที่สุด แต่ในสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายกำลังใช้ “กลศึก” เพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมืองซึ่งกันและกันและกำลังที่จะพัฒนาจนนำไปสู่ความรุนแรงนั้น การเลือกตั้งไม่น่าจะใช่ “คำตอบ” ในเวลานี้
สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้จึงอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “วัดความอึด” กันทั้งสองฝ่าย.
ที่มา.เดลินิวส์
//////////////////////////////////////////////
ข่าวระบุว่าช่วงหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวกับที่ประชุมว่า หากการเลือกตั้งครั้งต่อไปพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็ไม่อยากให้พรรคเพื่อไทยต้องลงเลือกตั้งอีก เพราะนอกจากจะไม่มีคู่แข่งแล้ว เชื่อว่าการเลือกตั้งจะถูกขัดขวางเหมือนกับการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
ข่าวระบุว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าว ที่ประชุมส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไหร่นัก เพราะต่างมองว่าที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยยืนยันในหลักการรักษาประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งมา พร้อมมองสถานการณ์ไกลออกไปว่า แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีรักษาการจะถูก “ชี้มูล” จาก ป.ป.ช. ในคดีโครงการรับจำนำข้าวแต่ก็ยังมีรองนายกรัฐมนตรีรักษาการทำหน้าที่ต่อไปได้อยู่ โดยรัฐบาลรักษาการจะพ้นไปก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่
รัฐบาลชุดใหม่ที่ว่านี้ พรรคเพื่อไทยน่าจะหมายถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
หลังปรากฏข่าวดังกล่าวออกไม่มีคำชี้แจงจากแกนนำพรรคเพื่อไทย มีแต่เพียง จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทยในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ชี้แจงเพียงว่า พรรคเพื่อไทยไม่ใช่ “ตัวปัญหา”
แม้ในการประชุมของ 53 พรรคการเมืองเมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมาจะมีมติให้ กกต. เร่งจัดการเลือกตั้ง “รอบใหม่” ให้เกิดขึ้น แต่หากดูจากสถานการณ์การเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ก็เป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ เพราะหากจัดการเลือกตั้งไปท่ามกลางความไม่พร้อมและเกิดเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งความวุ่นวาย วิธีการแก้ไขปัญหาทางการเมืองผ่านกระบวนการเลือกตั้งจะถูก “ปิดตาย” ลงทันที
น่าคิดว่าทำไม พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเสนอแนวคิด “บอยคอต” การเลือกตั้ง หากพรรคประชาธิปัตย์ “บอยคอต” การเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2
ต้องไม่ลืมว่า วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่มีคำตอบให้กับสังคมว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ซึ่งมีความหมายทั้งลงสมัครและไม่ลงสมัคร แต่ที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องใช้เวลาในการตัดสินใจเพราะรอ “เงื่อนไข” สำคัญทางการเมืองซึ่งก็คือ “คดีความ” ใน ป.ป.ช. เพราะจากข้อมูลหลักฐานพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะถูกชี้มูลและโครงการรับจำนำข้าวจะกลายเป็น “จุดถดถอย”สำคัญของพรรคเพื่อไทย ที่สำคัญหากมีการระบุถึงพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็น “ข้อรังเกียจ” ที่สังคมไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ เมื่อนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็สามารถ “ตัดสินใจ” ทางการเมืองได้
ข้อเสนอที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุออกมาน่าจะมาจาก “หลักคิด” ที่ว่าแม้ ป.ป.ช. จะชี้มูลหรือจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีการโยกย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช.ที่มี ส.ว. ไปยื่นเรื่องให้วินิจฉัย เพราะมองว่าเป็นการกระทำที่ “ต้องห้าม” ตามรัฐธรรมนูญก็ตาม ปัญหาเหล่านั้นก็ไม่น่าจะทำให้ “อำนาจ” ทางการเมืองเปลี่ยนมือจากรัฐบาลรักษาการได้
ข้อเสนอของ พ.ต.ท.ทักษิณ ช่างสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของ นปช. ซึ่งก็คือมวลชนของพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะท่าทีของ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. ที่ออกมา “ตีระนาด” ถึงชื่อนายกรัฐมนตรีคนกลาง ซึ่ง กปปส. ที่นำโดย สุเทพ เทือกสุบรรณ หมายมั่นปั้นมือจะให้เกิดขึ้น
“เป้าหมาย” ของการออกในครั้งนี้น่าจะอยู่ที่การกระพือให้เกิดกระแส “ไม่เอา” นายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งถึงตอนนี้ก็น่าจะชัดเจนว่า หาก “อำนาจ” ทางการเมืองหลุดจากมือพรรคเพื่อไทยด้วยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย มวลชนของ นปช. ก็พร้อมที่จะออกมา “ต่อต้าน” ซึ่งเมื่อสถานการณ์ถึงจุดนั้นก็มี “ทางเลือก” เพียงแค่ 2 ทาง ทางหนึ่งคือ ทุกฝ่ายเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง กับอีกทางคือ ให้ทหารทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจ
กรณีทหารทำการ “รัฐประหาร” ไม่น่าจะใช่ทางออกของสังคมไทย เพราะบทเรียนที่ผ่านมาสอนให้รู้ว่า ใช่แต่ปัญหาทางการเมืองเท่านั้นที่ต้องจัดการ ปัญหาทางเศรษฐกิจก็จะเป็นปัญหายิ่งกว่า
เมื่อสถานการณ์ “บีบ” ไปจนถึงจุดนั้น ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า กปปส. จะเดินหน้าทางการเมืองต่อไปอย่างไร การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ยังเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการหรือไม่หรือ สุดท้ายทุกฝ่ายต้องหันหน้ามาเจรจากันโดยทั้งหมดน่าจะจบลงที่การเลือกตั้งสถานเดียว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ พูดไว้ก่อนหน้านี้ไม่นานนักว่า “พร้อม” ที่จะ “ตาย” คาสนามประชาธิปไตย ซึ่งนั่นก็หมายความว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมที่จะสู้จนถึงที่สุดแม้จะยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งต่อไปหรือไม่
ในมุมของทหารโดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พูดมาตลอดว่า อยากให้ทุกฝ่ายเคารพกติกา เคารพกระบวนการยุติธรรม เพื่อทำให้บ้านเมืองสงบ
หากต้องการที่จะชนะทางการเมืองกับ พ.ต.ท.ทักษิณว่ากันว่ามีวิธีเดียวคือต้องทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และเครือข่ายของระบอบทักษิณ “พ่ายแพ้” ในการเลือกตั้งเท่านั้น เพื่อที่จะไม่สามารถ “อ้าง” ได้ว่ามาจากการสนับสนุนของประชาชนคนส่วนใหญ่
จึงน่าเชื่อว่าที่สุดแล้วไม่ช้าก็เร็ว การเลือกตั้งก็น่าจะเป็น “วิธีการ” คลี่คลายสถานการณ์ที่ดีที่สุด แต่ในสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายกำลังใช้ “กลศึก” เพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมืองซึ่งกันและกันและกำลังที่จะพัฒนาจนนำไปสู่ความรุนแรงนั้น การเลือกตั้งไม่น่าจะใช่ “คำตอบ” ในเวลานี้
สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้จึงอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “วัดความอึด” กันทั้งสองฝ่าย.
ที่มา.เดลินิวส์
//////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น