หลังจาก SIU ได้นำเสนอบทความวิพากษ์บทบาทสื่อกระแสหลักในยามที่ประเทศต้องประสบภัยพิบัติไปแล้ว อีกบทบาทสำคัญที่เราต้องหันกลับมามอง คงไม่พ้นบทบาทของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อปกป้องพลเมืองภายในประเทศบ้างว่า ในภาวะวิกฤตที่ทั้งไทยและเทศต้องเผชิญมาหลากหลายนั้น ความเป็นจริงต้องเป็นเช่นใด ควรเล่นบทบาทใดให้พลเมืองรู้สึกได้ถึงความมั่นคง ปลอดภัย
ไม่ว่าประเทศใดจะมีการปกครองแบบเผด็จการ แบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย หรือแบบคอมมิวนิสต์ ฯลฯ ล้วนแต่ต้องนำพาประเทศให้มีความกินดีอยู่ดี หรืออย่างน้อยก็ต้องตอบสนองความต้องการหลักของพลเมืองภายในประเทศเพราะความต้องการพื้นฐานหลักของชีวิตมนุษย์หรือแม้แต่ชีวิตสัตว์ไม่ว่าชนิดใด ต่างก็ต้องการความรู้สึกที่มั่นคง ปลอดภัย แม้ในห้วงยามที่พลเมืองยังไม่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจนกระทั่งบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิต แต่การขาดความรู้สึกปลอดภัยเพราะขาดข้อมูลในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไรกับชีวิตต่อ ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางจิตใจ
ข่าวลือแพร่สะพรัดไปทั่วทุกหัวระแหง อาทิ ชาวเกาหลีถูกปล้นสะดมภ์และคนนับพันรายถูกฆาตกรรมหมู่ ช่วงเวลานั้น บริเวณเขตคันโตมีผู้คนเสียชีวิตนับ ๑๐๐,๐๐๐ ราย พื้นที่ส่วนใหญ่ ถูกทำลายจากหายนะของภัยพิบัติจนเหลือแต่ซากปรักหักพัง ด้วยความแรงของแผ่นดินไหวขนาด ๗.๙ ริกเตอร์ ดูเหมือนว่า ญี่ปุ่นจะกลายเป็นผู้นำโลกในด้านการเตรียมความพร้อม จะเห็นได้ว่า ทุกๆ ปี นับจาก ค.ศ. ๑๙๖๐ ญี่ปุ่นได้กำหนดให้วันที่ ๑ กันยายน เป็นวันแห่งการป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ (Disaster Prevention Day) ทั้งนี้ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศผู้เชี่ยวชาญในการตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นมา (early-warning system) ระบบเตือนภัยสึนามิของญี่ปุ่น ตั้งขึ้นในปี ๑๙๕๒ ถูกออกแบบเพื่อคาดการณ์ความสูง ความเร็ว พื้นที่ และบริเวณที่สึนามิจะเคลื่อนตัวมาถึง กล่าวคือ ก่อนที่จะกลายเป็นผู้นำระดับโลกว่าด้วยการเตือนภัยสถานการณ์จากเหตุภัยพิบัติ ต้องสูญเสียอย่างมหาศาลก่อน แล้วประเทศอื่นๆ ที่เห็นความเลวร้ายจากภัยพิบัตินั้น จะไม่คิดนำมาปรับแก้ หรือใช้บทเรียนของประเทศอื่นให้เป็นประโยชน์ต่อพลเมืองในประเทศที่ตนปกครองบ้างเลยหรือ
ขณะที่ The Economist ก็ออกบทความในห้วงเวลาเดียวกันเมื่อ ๒๔ มีนาคม ๒๐๑๑ โดยพูดถึงอีกด้านหนึ่งของญี่ปุ่น หรือความล้มเหลวจากการดำเนินนโยบายของญี่ปุ่น เขาพูดถึงหายนะจากภัยพิบัติในญี่ปุ่น และสะท้อนภาพถึงวิกฤตจากภาวะความเป็นผู้นำ เขาฉายภาพให้เห็นถึงความเสียหายจากภัยพิบัตินั้น นำไปสู่ความหวาดกลัว ความรู้สึกตื่นตระหนก และการขาดแคลนทั้งอาหาร น้ำ และพูดถึงลัทธิสโตอิก (stoic) ที่เป็นการแสวงหาความสงบทางจิตใจของผู้อยู่รอด ที่เป็นการตอบสนองต่อโชคชะตาที่พานพบ ด้วยการทำใจให้สงบ
ทั้งนี้ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากที่ดูจะเกรี้ยวกราดมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่รัฐบาลนาโอโตะ คัง ที่พยายามจัดการกับสถานการณ์ที่อันตรายจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Dai-Ichi No. 1 หากเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวเมื่อปี ๑๙๙๕ มีผู้เสียชีวิต ๖,๔๐๐ ราย ช่วงนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นตอบสนองช้ากว่าเกาหลีใต้ในการตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อให้ความช่วยเหลือแบบเร่งด่วนเสียอีก แถมกลุ่มยากุซ่า ที่เป็นมาเฟียของญี่ปุ่น ยังเป็นกลุ่มแรกที่ตั้งครัวสำหรับทำซุปให้เหยื่อ (จากภัยพิบัติแผ่นดินไหว) ได้ทานกัน
The Economist เห็นต่างจากนิตยสาร TIME ที่ว่า ญี่ปุ่นสูญเสียความเป็นผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพมาเนิ่นนานแล้ว จนทำให้ญี่ปุ่นติดกับดักทศวรรษที่สูญหายไป (lost decade) นายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง ที่เคยให้คำมั่นสัญญาว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง “ผมอยากจะทำให้แน่ใจได้ว่า รัฐบาลจะเตรียมการสำหรับภัยพิบัติร่วมกับประชาชน ดังนั้น อาจทำให้ท่านมั่นใจได้ว่า การเตรียมพร้อมคือการป้องกัน” สุดท้ายก็จำต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ เนื่องจากตอบสนองต่อสถานการณ์ภัยพิบัติที่ล่าช้าเกินไป จนทำให้เกิดความสูญเสียมหาศาล ผู้คนล้มตายถึง ๒๐,๐๐๐ ราย ที่พักอาศัยพังพินาศ ๑๒๕,๐๐๐ หลังคาเรือน สูญงบประมาณราว ๒๕ ล้านล้านเยน (๙.๔ ล้านล้านบาท)
โดยอ้างถึง TIME ที่กล่าวไว้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นหลังพายุเฮอริเคน คือ ในทุกระดับของภาครัฐ มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น กล่าวคือ สับสนว่า ใครคือผู้มีความสำคัญในห้วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติ “ผู้นำหวั่นเกรงที่จะแสดงบทบาทนำ รวมทั้งการแสดงให้เห็นถึงขอบเขตอำนาจในการปกครอง และในตัวบทกฎหมาย” ผู้นำจำเป็นต้องมีความอิสระในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด โดยตั้งอยู่บนการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถานการณ์ต่างๆ อย่างรอบด้าน
งานของผู้นำคือ การทำให้แน่ใจว่า พวกเขาสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้และต้องทำให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าตนมีชีวิตที่ปลอดภัยและมั่นคงท่ามกลางภัยพิบัติด้วย บทความน่าสนใจจาก preservearticles พูดถึงหลักสำคัญที่สัมพันธ์กับภาวะผู้นำ ๕ ประการ คือ ๑. ต้องมีบุคลิกภาพที่สามารถปกครองผู้อื่นได้ ๒. ความชาญฉลาด ๓.ความมั่นใจในตนเอง ๔.มีสมรรถนะสูง ๕.มีความรู้ทั้งในด้านการเมืองหรือการจัดการ ภาวะความเป็นผู้นำในสถานการณ์ภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทั้งในระดับท้องถิ่น หรือในระดับประเทศ ที่ต้องประสบกับภาวะเข้าตาจนเมื่อต้องเผชิญกับภัยพิบัติท่ามกลางขนบธรรมเนียมในสังคม เป็นเรื่องยากยิ่งที่ต้องตัดสินใจ
แต่การขาดแคลนข้อมูลข่าวสารที่รอบด้าน และการติดต่อสื่อสารที่ถูกขัดจังหวะเพราะสภาพปัญหาจากภัยพิบัติ กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระบวนการในการตัดสินใจต้องประสบภาวะชะงักงัน อีกทั้งการสูญเสียหรือการขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ เครื่องมือ การขนส่ง ก็ยิ่งทำให้ส่งความช่วยเหลือต่อผู้ประสบภัยได้ยากยิ่ง
นอกจากนี้ บทความ “การตอบสนองต่อภัยพิบัติ บทบาทผู้นำในห้วงวิกฤต” ใน Excellent Leadership ของ Point Eight Power ได้อ้างถึงความเป็นผู้นำ ในห้วงที่เกิดความเสียหายจากพายุเฮอริเคนแคทรีนาว่า ส่งผลกระทบในหลายระดับทั้งมนุษย์ ทรัพย์สิน และสถานะทางเศรษฐกิจ เขาได้กำหนดแผนการ ๕ เสาหลัก ที่ผู้นำจำต้องทำ (แม้ว่า ภัยพิบัติจากสึนามิยังไม่กระทบต่อไทยมาก แต่จะไม่ดีกว่าหรือ หากจะเรียนรู้)
๑.ประชาชนต้องมาก่อน นั่นคือ การตอบสนองแรกที่ผู้นำพึงกระทำต่อประชาชนของเขา อย่างน้อย ก็ตอบสนองด้วยการสร้างเกราะคุ้มกันภัยให้แก่เขา จัดเตรียมอาหาร น้ำ ยา หรือเงิน
๒.การติดต่อสื่อสารคือประเด็นสำคัญยิ่ง การขาดหายของช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ทำให้เกิดข่าวลือและเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาด เราต้องรู้ข้อมูลอย่างรอบด้าน และมีการติดต่อสื่อสารในเชิงลึก
๓.ความชาญฉลาดที่ต้องประสานเข้าด้วยกัน ในห้วงเวลาที่ไม่แน่นอนอย่างช่วงที่เกิดภัยพิบัติจากพายุเฮอริเคน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมียุทธศาสตร์ร่วมที่ดี
๔.การจัดการด้านกำลังใจหรือการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชน เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องเรียกคืนกำลังใจกลับคืนมา โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่ไม่แน่นอน
๕.ชื่อเสียง เกียรติยศ และความพยายามที่กล้าหาญ ในภาวะวิกฤตจะนำมาซึ่งโอกาสในการแสดงความกล้า อยู่ที่ว่า ความเป็นผู้นำจะผลักดันให้ผู้นำมีความกล้าที่จะแสดงออกถึงความกล้าแค่ไหน
ความไม่กล้าตัดสินใจของผู้นำจะฉายภาพชัดเจนในภาวะวิกฤต แน่นอนช่องทางสื่อสารทางสังคมที่มาจากสื่อมวลชน จะแสดงออกในห้วงเวลาที่เหมาะสมช้าหรือเร็วเพียงใด เราได้เห็นภาพกันแล้ว แต่การลำดับความสำคัญในการตัดสินใจของผู้นำ ในการแสดงบทบาทนำ ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการนำพาประเทศให้พ้นภัยจากภาวะวิกฤตของภัยพิบัติเช่นกัน
ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่ว่าประเทศใดจะมีการปกครองแบบเผด็จการ แบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย หรือแบบคอมมิวนิสต์ ฯลฯ ล้วนแต่ต้องนำพาประเทศให้มีความกินดีอยู่ดี หรืออย่างน้อยก็ต้องตอบสนองความต้องการหลักของพลเมืองภายในประเทศเพราะความต้องการพื้นฐานหลักของชีวิตมนุษย์หรือแม้แต่ชีวิตสัตว์ไม่ว่าชนิดใด ต่างก็ต้องการความรู้สึกที่มั่นคง ปลอดภัย แม้ในห้วงยามที่พลเมืองยังไม่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจนกระทั่งบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิต แต่การขาดความรู้สึกปลอดภัยเพราะขาดข้อมูลในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไรกับชีวิตต่อ ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางจิตใจ
ประสบการณ์ในภาวะวิกฤตจากภัยพิบัติของประเทศอื่น
นิตยสาร TIME เล่าถึงญี่ปุ่น เมื่อ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๑ ว่า สาเหตุใดที่ญี่ปุ่นกลายเป็นผู้นำในการเตรียมความพร้อมด้านภัยพิบัติ สาเหตุสำคัญเกิดขึ้นเมื่อสายวันหนึ่ง ของวันที่ ๑ กันยายน ๑๙๒๓ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในเขตคันโต สร้างความปั่นป่วนและส่งผลกระทบทั่วเมืองอุตสาหกรรมทั้งโตเกียวและโยโกฮามา กระแสลมแรงจากพายุใต้ฝุ่น สร้างความเสียหายทั่วทุกพื้นที่ข่าวลือแพร่สะพรัดไปทั่วทุกหัวระแหง อาทิ ชาวเกาหลีถูกปล้นสะดมภ์และคนนับพันรายถูกฆาตกรรมหมู่ ช่วงเวลานั้น บริเวณเขตคันโตมีผู้คนเสียชีวิตนับ ๑๐๐,๐๐๐ ราย พื้นที่ส่วนใหญ่ ถูกทำลายจากหายนะของภัยพิบัติจนเหลือแต่ซากปรักหักพัง ด้วยความแรงของแผ่นดินไหวขนาด ๗.๙ ริกเตอร์ ดูเหมือนว่า ญี่ปุ่นจะกลายเป็นผู้นำโลกในด้านการเตรียมความพร้อม จะเห็นได้ว่า ทุกๆ ปี นับจาก ค.ศ. ๑๙๖๐ ญี่ปุ่นได้กำหนดให้วันที่ ๑ กันยายน เป็นวันแห่งการป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ (Disaster Prevention Day) ทั้งนี้ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศผู้เชี่ยวชาญในการตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นมา (early-warning system) ระบบเตือนภัยสึนามิของญี่ปุ่น ตั้งขึ้นในปี ๑๙๕๒ ถูกออกแบบเพื่อคาดการณ์ความสูง ความเร็ว พื้นที่ และบริเวณที่สึนามิจะเคลื่อนตัวมาถึง กล่าวคือ ก่อนที่จะกลายเป็นผู้นำระดับโลกว่าด้วยการเตือนภัยสถานการณ์จากเหตุภัยพิบัติ ต้องสูญเสียอย่างมหาศาลก่อน แล้วประเทศอื่นๆ ที่เห็นความเลวร้ายจากภัยพิบัตินั้น จะไม่คิดนำมาปรับแก้ หรือใช้บทเรียนของประเทศอื่นให้เป็นประโยชน์ต่อพลเมืองในประเทศที่ตนปกครองบ้างเลยหรือ
ขณะที่ The Economist ก็ออกบทความในห้วงเวลาเดียวกันเมื่อ ๒๔ มีนาคม ๒๐๑๑ โดยพูดถึงอีกด้านหนึ่งของญี่ปุ่น หรือความล้มเหลวจากการดำเนินนโยบายของญี่ปุ่น เขาพูดถึงหายนะจากภัยพิบัติในญี่ปุ่น และสะท้อนภาพถึงวิกฤตจากภาวะความเป็นผู้นำ เขาฉายภาพให้เห็นถึงความเสียหายจากภัยพิบัตินั้น นำไปสู่ความหวาดกลัว ความรู้สึกตื่นตระหนก และการขาดแคลนทั้งอาหาร น้ำ และพูดถึงลัทธิสโตอิก (stoic) ที่เป็นการแสวงหาความสงบทางจิตใจของผู้อยู่รอด ที่เป็นการตอบสนองต่อโชคชะตาที่พานพบ ด้วยการทำใจให้สงบ
ทั้งนี้ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากที่ดูจะเกรี้ยวกราดมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่รัฐบาลนาโอโตะ คัง ที่พยายามจัดการกับสถานการณ์ที่อันตรายจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Dai-Ichi No. 1 หากเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวเมื่อปี ๑๙๙๕ มีผู้เสียชีวิต ๖,๔๐๐ ราย ช่วงนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นตอบสนองช้ากว่าเกาหลีใต้ในการตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อให้ความช่วยเหลือแบบเร่งด่วนเสียอีก แถมกลุ่มยากุซ่า ที่เป็นมาเฟียของญี่ปุ่น ยังเป็นกลุ่มแรกที่ตั้งครัวสำหรับทำซุปให้เหยื่อ (จากภัยพิบัติแผ่นดินไหว) ได้ทานกัน
The Economist เห็นต่างจากนิตยสาร TIME ที่ว่า ญี่ปุ่นสูญเสียความเป็นผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพมาเนิ่นนานแล้ว จนทำให้ญี่ปุ่นติดกับดักทศวรรษที่สูญหายไป (lost decade) นายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง ที่เคยให้คำมั่นสัญญาว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง “ผมอยากจะทำให้แน่ใจได้ว่า รัฐบาลจะเตรียมการสำหรับภัยพิบัติร่วมกับประชาชน ดังนั้น อาจทำให้ท่านมั่นใจได้ว่า การเตรียมพร้อมคือการป้องกัน” สุดท้ายก็จำต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ เนื่องจากตอบสนองต่อสถานการณ์ภัยพิบัติที่ล่าช้าเกินไป จนทำให้เกิดความสูญเสียมหาศาล ผู้คนล้มตายถึง ๒๐,๐๐๐ ราย ที่พักอาศัยพังพินาศ ๑๒๕,๐๐๐ หลังคาเรือน สูญงบประมาณราว ๒๕ ล้านล้านเยน (๙.๔ ล้านล้านบาท)
บทบาทที่พึงเป็นในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญภัยพิบัติ: ของผู้นำ/ ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเพื่อปกครองประเทศ
ขณะที่ เว็บไซต์ Margaretwhealey เรื่อง The Real World: Leadership Lessons from Disaster Relief and Terrorist Networks ได้พูดถึง ความเป็นผู้นำในยามที่เกิดภัยพิบัติ กรณีศึกษาจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา ระบุว่า โลกมีประสบการณ์จากภัยพิบัติที่หลากหลาย ในยามที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เป็นช่วงเวลาดีที่สุดที่จะสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของมนุษย์พร้อมกับสะท้อนให้เห็นความย่ำแย่และความผิดพลาดของระบบราชการ สิ่งแรกที่ต้องตอบสนองต่อประชาชน คือ ทำทุกวิถีทางที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือ ช่วยชีวิต และรักษาชีวิตของประชาชนไว้ให้ได้โดยอ้างถึง TIME ที่กล่าวไว้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นหลังพายุเฮอริเคน คือ ในทุกระดับของภาครัฐ มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น กล่าวคือ สับสนว่า ใครคือผู้มีความสำคัญในห้วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติ “ผู้นำหวั่นเกรงที่จะแสดงบทบาทนำ รวมทั้งการแสดงให้เห็นถึงขอบเขตอำนาจในการปกครอง และในตัวบทกฎหมาย” ผู้นำจำเป็นต้องมีความอิสระในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด โดยตั้งอยู่บนการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถานการณ์ต่างๆ อย่างรอบด้าน
งานของผู้นำคือ การทำให้แน่ใจว่า พวกเขาสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้และต้องทำให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าตนมีชีวิตที่ปลอดภัยและมั่นคงท่ามกลางภัยพิบัติด้วย บทความน่าสนใจจาก preservearticles พูดถึงหลักสำคัญที่สัมพันธ์กับภาวะผู้นำ ๕ ประการ คือ ๑. ต้องมีบุคลิกภาพที่สามารถปกครองผู้อื่นได้ ๒. ความชาญฉลาด ๓.ความมั่นใจในตนเอง ๔.มีสมรรถนะสูง ๕.มีความรู้ทั้งในด้านการเมืองหรือการจัดการ ภาวะความเป็นผู้นำในสถานการณ์ภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทั้งในระดับท้องถิ่น หรือในระดับประเทศ ที่ต้องประสบกับภาวะเข้าตาจนเมื่อต้องเผชิญกับภัยพิบัติท่ามกลางขนบธรรมเนียมในสังคม เป็นเรื่องยากยิ่งที่ต้องตัดสินใจ
แต่การขาดแคลนข้อมูลข่าวสารที่รอบด้าน และการติดต่อสื่อสารที่ถูกขัดจังหวะเพราะสภาพปัญหาจากภัยพิบัติ กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระบวนการในการตัดสินใจต้องประสบภาวะชะงักงัน อีกทั้งการสูญเสียหรือการขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ เครื่องมือ การขนส่ง ก็ยิ่งทำให้ส่งความช่วยเหลือต่อผู้ประสบภัยได้ยากยิ่ง
นอกจากนี้ บทความ “การตอบสนองต่อภัยพิบัติ บทบาทผู้นำในห้วงวิกฤต” ใน Excellent Leadership ของ Point Eight Power ได้อ้างถึงความเป็นผู้นำ ในห้วงที่เกิดความเสียหายจากพายุเฮอริเคนแคทรีนาว่า ส่งผลกระทบในหลายระดับทั้งมนุษย์ ทรัพย์สิน และสถานะทางเศรษฐกิจ เขาได้กำหนดแผนการ ๕ เสาหลัก ที่ผู้นำจำต้องทำ (แม้ว่า ภัยพิบัติจากสึนามิยังไม่กระทบต่อไทยมาก แต่จะไม่ดีกว่าหรือ หากจะเรียนรู้)
๑.ประชาชนต้องมาก่อน นั่นคือ การตอบสนองแรกที่ผู้นำพึงกระทำต่อประชาชนของเขา อย่างน้อย ก็ตอบสนองด้วยการสร้างเกราะคุ้มกันภัยให้แก่เขา จัดเตรียมอาหาร น้ำ ยา หรือเงิน
๒.การติดต่อสื่อสารคือประเด็นสำคัญยิ่ง การขาดหายของช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ทำให้เกิดข่าวลือและเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาด เราต้องรู้ข้อมูลอย่างรอบด้าน และมีการติดต่อสื่อสารในเชิงลึก
๓.ความชาญฉลาดที่ต้องประสานเข้าด้วยกัน ในห้วงเวลาที่ไม่แน่นอนอย่างช่วงที่เกิดภัยพิบัติจากพายุเฮอริเคน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมียุทธศาสตร์ร่วมที่ดี
๔.การจัดการด้านกำลังใจหรือการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชน เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องเรียกคืนกำลังใจกลับคืนมา โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่ไม่แน่นอน
๕.ชื่อเสียง เกียรติยศ และความพยายามที่กล้าหาญ ในภาวะวิกฤตจะนำมาซึ่งโอกาสในการแสดงความกล้า อยู่ที่ว่า ความเป็นผู้นำจะผลักดันให้ผู้นำมีความกล้าที่จะแสดงออกถึงความกล้าแค่ไหน
ความไม่กล้าตัดสินใจของผู้นำจะฉายภาพชัดเจนในภาวะวิกฤต แน่นอนช่องทางสื่อสารทางสังคมที่มาจากสื่อมวลชน จะแสดงออกในห้วงเวลาที่เหมาะสมช้าหรือเร็วเพียงใด เราได้เห็นภาพกันแล้ว แต่การลำดับความสำคัญในการตัดสินใจของผู้นำ ในการแสดงบทบาทนำ ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการนำพาประเทศให้พ้นภัยจากภาวะวิกฤตของภัยพิบัติเช่นกัน
ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น