งานอาสาสมัครนั้นอยู่ในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน มีหลักฐานที่พอจะอ้างอิงได้ย้อนหลังก็คือเมื่อครั้งต้นทศวรรษ 2510 อ.ป๋วย อึ้งภากรณ์ได้จัดตั้งสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยหวังว่านักศึกษาจะได้เข้าใจวิถีชีวิตของคนในชนบท ร่วมพัฒนาและทำความเข้าใจกับสังคมไทยให้มากกว่าในรั้วมหาวิทยาลัย
แต่งานอาสาสมัครไทยได้การรับรองอย่างเป็นทางการในปี 2544 โดยคณะรัฐมนตรีของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรลงนามในนาม”ปฏิญญาอาสาสมัครไทย” โดยมีจุดมุ่งหมายสร้างความเข้มแข็งให้กับบทบาทงานอาสาสมัครในทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ โดยจัดให้มีอบรมอาสาสมัครในระดับภูมิภาคต่างๆและศูนย์อาสาสมัคร งานอาสาสมัครส่วนใหญ่จะถูกถ่ายโอนไปอยู่ในอำนาจของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และในปี2547 ได้มีการบรรจุให้การมี”จิตสาธารณะ”เป็นส่วนหนึ่งของร่างมาตรฐานการศึกษาของชาติ และในปีเดียวกันเกิดเหตุการณ์สึนามิเราได้เห็นพลังของอาสาสมัครจากทั่วทุกมุมโลกที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ประสบภัย
ต่อมาในปี 2550 รัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีมติประกาศให้ปีดังกล่าวเป็นปีแห่งการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม และผลักดันอาสาสมัครเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีการกำหนดว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐสามารถลาไปทำงานอาสาสมัครได้ปีละ 5 วันโดยไม่คิดวันลา ความสำเร็จในครั้งนั้นเกิดจากการผลักดันของ นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในระดับมหภาคเรื่องของงานอาสาสมัครถูกบรรจุให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่ใช้ในปี 2550 – 2554 โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยกำหนดแนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติให้มีจิตใจดีงาม อยู่ในกรอบของศีลธรรมและมีจิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งถูกนำไปบูรณาการในการดำเนินนโยบายต่างๆ
หากมองในเชิงโครงสร้างนโยบายโดยรวมอาจจะฟังดูดี แต่ในเชิงปฏิบัติจริงยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง ด้วยกรอบความคิดแบบไทยๆในบางครั้งเราก็จะยึดติดกับเรื่องของการทำความดี โดยคิดว่าอาสาสมัครนั้นเป็นการทำดี หรือการเป็นผู้ให้ที่มีความรู้สึกว่าเหนือกว่าผู้รับ ซึ่งในต่างประเทศจะเรียกพวกคนเหล่านี้ว่า “philanthropist” หรือ ผู้อุทิศให้ ไม่ใช่อาสาสมัคร หรือ volunteer ที่จะเป็นผู้ที่น้อมตัวให้ต่ำแล้วทำงานเพื่อส่วนรวมโดยไม่ได้คาดหวังสิ่งตอบแทนเป็นเบื้องต้น
ประเทศไทยเราก็มีวันอาสาสมัคร คือวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็น”วันอาสาสมัครไทย” ซึ่งตั้งขึ้นในวาระวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า ส่วนวันที่ 5 ธันวาคมนั้นถือว่าเป็น “วันอาสาสมัครโลก” ซึ่งบังเอิญตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชด้วย เมื่อปี 2554 เพิ่งมีการเฉลิมฉลอง 10ปีปฏิญญาอาสาสมัครสากลขององค์การสหประชาชาติไปซึ่งตรงกับช่วงที่ประสบอุทกภัยใหญ่พอดี
หลายๆคนอาจคิดว่างานอาสาสมัครนั้นจะร่วมมือกันได้จะต้องเกิดปัญหาใหญ่เสียก่อนทั้งวิกฤตการเมืองหรือภัยธรรมชาติ จริงๆแล้ในต่างประเทศอาสาสมัครในเวลาปรกตินั้นมีจำนวนมาก ประเทศเกาหลีใต้มีศูนย์อาสาสมัครอยู่ในทุกเมือง ให้ความช่วยเรือตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย เช่น การซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือช่วยขนของย้ายบ้าน ประเทศไต้หวันแฟชั่นของวัยรุ่นที่นั่นก็คือการออกทำงานอาสาสมัคร และในบางประเทศงานอาสาสมัครถูกคิดคำนวนเป็นส่วนหนึ่งของจีดีพี

อุปสรรคในประเทศไทยนอกจากปัญหาเชิงทัศนคติที่คิดว่างานอาสาสมัครเป็นแค่การทำดีต่อผู้ด้อยกว่าแล้ว กลไกของรัฐบาลบางอย่างก็ไม่อำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเช่น การลาให้ข้าราชการไปทำงานอาสาสมัครได้นั้น ในความเป็นจริงหลายๆองค์กรก็ไม่ให้ลา แต่ในทางตรงกันข้ามเมื่อหัวหน้างานลาพวกข้าราชการชั้นผู้น้อยก็ลากันตามไปเป็นพรวนๆ หรือการนิยามองค์กรสาธารณะประโยชน์หรือองค์กรอาสาสมัครของรัฐนั้นเน้นไปที่หน่วยงานภายใต้สังกัดของรัฐบาลหรือที่ถูกขึ้นทะเบียนโดยรัฐบาลเท่านั้น ทั้งที่งานอาสาสมัครส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะเน้นกลไกที่มาจากภาคประชาชน หลายครั้งหน่วยงานรัฐที่ต้องมารับผิดชอบดังกล่าวและมีงบประมาณที่ชัดเจนก็เกิดการทุจริตเสียเองและกีดกันการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ยกตัวอย่างเช่น ในสองรัฐบาลที่ผ่านมาเกิดปัญหาเมื่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สังกัดกระทรวงมหาดไทยเกิดการทุจริตงบถุงยังชีพในช่วงน้ำท่วม
ได้เวลาที่ต้องฝากโจทย์ไปยังภาครัฐว่าจะทำอย่างไรที่จะส่งเสริมกลไกอาสาสมัครอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เพียงแต่เป็นนโยบายเฉพาะกิจหรือไปสังกัดอยู่ภายใต้กระทรวงต่างๆที่มีกลไกค่อนข้างแข็งตัวแทนที่จะกระจายทรัพยากรออกไปยังภาคส่วนต่างๆรวมไปถึงอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมอาสาสมัคร ไม่เช่นนั้นเมื่อยามภัยมางานอาสาสมัครก็ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่อยู่เสมอๆ
ที่มา:Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แต่งานอาสาสมัครไทยได้การรับรองอย่างเป็นทางการในปี 2544 โดยคณะรัฐมนตรีของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรลงนามในนาม”ปฏิญญาอาสาสมัครไทย” โดยมีจุดมุ่งหมายสร้างความเข้มแข็งให้กับบทบาทงานอาสาสมัครในทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ โดยจัดให้มีอบรมอาสาสมัครในระดับภูมิภาคต่างๆและศูนย์อาสาสมัคร งานอาสาสมัครส่วนใหญ่จะถูกถ่ายโอนไปอยู่ในอำนาจของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และในปี2547 ได้มีการบรรจุให้การมี”จิตสาธารณะ”เป็นส่วนหนึ่งของร่างมาตรฐานการศึกษาของชาติ และในปีเดียวกันเกิดเหตุการณ์สึนามิเราได้เห็นพลังของอาสาสมัครจากทั่วทุกมุมโลกที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ประสบภัย
ต่อมาในปี 2550 รัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีมติประกาศให้ปีดังกล่าวเป็นปีแห่งการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม และผลักดันอาสาสมัครเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีการกำหนดว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐสามารถลาไปทำงานอาสาสมัครได้ปีละ 5 วันโดยไม่คิดวันลา ความสำเร็จในครั้งนั้นเกิดจากการผลักดันของ นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในระดับมหภาคเรื่องของงานอาสาสมัครถูกบรรจุให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่ใช้ในปี 2550 – 2554 โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยกำหนดแนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติให้มีจิตใจดีงาม อยู่ในกรอบของศีลธรรมและมีจิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งถูกนำไปบูรณาการในการดำเนินนโยบายต่างๆ
หากมองในเชิงโครงสร้างนโยบายโดยรวมอาจจะฟังดูดี แต่ในเชิงปฏิบัติจริงยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง ด้วยกรอบความคิดแบบไทยๆในบางครั้งเราก็จะยึดติดกับเรื่องของการทำความดี โดยคิดว่าอาสาสมัครนั้นเป็นการทำดี หรือการเป็นผู้ให้ที่มีความรู้สึกว่าเหนือกว่าผู้รับ ซึ่งในต่างประเทศจะเรียกพวกคนเหล่านี้ว่า “philanthropist” หรือ ผู้อุทิศให้ ไม่ใช่อาสาสมัคร หรือ volunteer ที่จะเป็นผู้ที่น้อมตัวให้ต่ำแล้วทำงานเพื่อส่วนรวมโดยไม่ได้คาดหวังสิ่งตอบแทนเป็นเบื้องต้น
ประเทศไทยเราก็มีวันอาสาสมัคร คือวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็น”วันอาสาสมัครไทย” ซึ่งตั้งขึ้นในวาระวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า ส่วนวันที่ 5 ธันวาคมนั้นถือว่าเป็น “วันอาสาสมัครโลก” ซึ่งบังเอิญตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชด้วย เมื่อปี 2554 เพิ่งมีการเฉลิมฉลอง 10ปีปฏิญญาอาสาสมัครสากลขององค์การสหประชาชาติไปซึ่งตรงกับช่วงที่ประสบอุทกภัยใหญ่พอดี
หลายๆคนอาจคิดว่างานอาสาสมัครนั้นจะร่วมมือกันได้จะต้องเกิดปัญหาใหญ่เสียก่อนทั้งวิกฤตการเมืองหรือภัยธรรมชาติ จริงๆแล้ในต่างประเทศอาสาสมัครในเวลาปรกตินั้นมีจำนวนมาก ประเทศเกาหลีใต้มีศูนย์อาสาสมัครอยู่ในทุกเมือง ให้ความช่วยเรือตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย เช่น การซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือช่วยขนของย้ายบ้าน ประเทศไต้หวันแฟชั่นของวัยรุ่นที่นั่นก็คือการออกทำงานอาสาสมัคร และในบางประเทศงานอาสาสมัครถูกคิดคำนวนเป็นส่วนหนึ่งของจีดีพี
อาสาสมัครอิสระ กลไกที่รัฐไม่เข้าใจ - ขอบคุณภาพจากเครือข่ายจิตอาสา
ได้เวลาที่ต้องฝากโจทย์ไปยังภาครัฐว่าจะทำอย่างไรที่จะส่งเสริมกลไกอาสาสมัครอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เพียงแต่เป็นนโยบายเฉพาะกิจหรือไปสังกัดอยู่ภายใต้กระทรวงต่างๆที่มีกลไกค่อนข้างแข็งตัวแทนที่จะกระจายทรัพยากรออกไปยังภาคส่วนต่างๆรวมไปถึงอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมอาสาสมัคร ไม่เช่นนั้นเมื่อยามภัยมางานอาสาสมัครก็ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่อยู่เสมอๆ
ที่มา:Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น