บทความชุดนี้จะกล่าวถึงการเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆ ของอาเซียนเข้าด้วยกัน ทั้งในเชิงกายภาพ และมิติอื่นๆ เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ หรือสังคม-วัฒนธรรม โดยจะเน้นการดำเนินงานตามแผน ASEAN Connectivity Master Plan เป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม การรวมกลุ่มของอาเซียนเองก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเชื่อมโยงกันไม่เยอะนัก ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม (ดูบทความ เทปบันทึกงานเสวนา “บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015″ ประกอบ)
ยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้การรวมประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นได้จริง ก็คือวางรากฐานให้ประเทศในอาเซียนมี “ความเชื่อมโยง” (connectivity) ระหว่างกันมากขึ้น การเชื่อมโยงนี้ไม่ได้หมายถึงโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงโทรคมนาคม กฎระเบียบ การท่องเที่ยว การศึกษาด้วย
ตัวองค์กรอาเซียนเองมีแผนแม่บทในเรื่องนี้อยู่แล้ว โดยออกเอกสาร Master Plan on ASEAN Connectivity (ดาวน์โหลดฉบับ PDF) เป็นแผนแม่บทด้านการเชื่อมร้อยอาเซียนเข้าด้วยกันในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนธันวาคม 2010 และผู้นำอาเซียนในการประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 17 ที่ประเทศเวียดนามได้ลงนามใน “ปฏิญญาฮานอย” (Ha Noi Declaration) ว่าจะปฏิบัติตามแผนการนี้ด้วย
ตามแผนแม่บทเรื่องการเชื่อมต่ออาเซียนเข้าด้วยกัน ได้แบ่งมิติของการเชื่อมต่อออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
ข้อมูลเบื้องต้นของแผนการเชื่อมโยงอาเซียนในแต่ละมิติ มีดังนี้
ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงในหมวดนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย ได้แก่
การที่ภูมิรัฐศาสตร์ของอาเซียนแบ่งเป็นอาเซียนทางบก (mainland ASEAN บนคาบสมุทรแหลมทอง) และอาเซียนทางทะเล (ประเทศอื่นๆ ในทะเลจีนใต้) ทำให้การประเมินความเชื่อมโยงของอาเซียนอาจจะต้องมองให้ละเอียดในระดับ “อนุภูมิภาค” (sub-region) มากกว่าการมองที่ระดับอาเซียนในภาพรวม ซึ่งเป็นองค์กรเชิงสถาบันที่มีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์น้อยกว่า
ในบทความตอนถัดไปจะกล่าวถึง “อนุภูมิภาค” ที่สำคัญของอาเซียน 3 ส่วนหลักๆ ว่ามีจุดอ่อนและจุดแข็งอย่างไรบ้าง
ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Master Plan on ASEAN Connectivity
มาถึงวันนี้ปี 2555 ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า “ประชาคมอาเซียน” เป็นทิศทางที่ทุกประเทศในกลุ่มอาเซียนต้องมุ่งไป เพราะมีแต่การรวมกลุ่มจะช่วยให้อาเซียนมีอำนาจต่อรองในเวทีโลกมากขึ้นอย่างไรก็ตาม การรวมกลุ่มของอาเซียนเองก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเชื่อมโยงกันไม่เยอะนัก ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม (ดูบทความ เทปบันทึกงานเสวนา “บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015″ ประกอบ)
ยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้การรวมประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นได้จริง ก็คือวางรากฐานให้ประเทศในอาเซียนมี “ความเชื่อมโยง” (connectivity) ระหว่างกันมากขึ้น การเชื่อมโยงนี้ไม่ได้หมายถึงโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงโทรคมนาคม กฎระเบียบ การท่องเที่ยว การศึกษาด้วย
ตัวองค์กรอาเซียนเองมีแผนแม่บทในเรื่องนี้อยู่แล้ว โดยออกเอกสาร Master Plan on ASEAN Connectivity (ดาวน์โหลดฉบับ PDF) เป็นแผนแม่บทด้านการเชื่อมร้อยอาเซียนเข้าด้วยกันในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนธันวาคม 2010 และผู้นำอาเซียนในการประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 17 ที่ประเทศเวียดนามได้ลงนามใน “ปฏิญญาฮานอย” (Ha Noi Declaration) ว่าจะปฏิบัติตามแผนการนี้ด้วย
ตามแผนแม่บทเรื่องการเชื่อมต่ออาเซียนเข้าด้วยกัน ได้แบ่งมิติของการเชื่อมต่อออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- การเชื่อมโยงทางกายภาพ (physical connectivity) ซึ่งหมายถึงการเชื่อมโครงข่ายคมนาคม สารสนเทศ และพลังงานเข้าด้วยกัน
- การเชื่อมโยงทางกฎเกณฑ์เชิงสถาบัน (institutional connectivity) เรื่องกฎหมาย กำแพงภาษี กฎระเบียบ เป็นต้น
- การเชื่อมโยงระหว่างประชากรอาเซียน (people-to-people connectivity) เน้นเรื่องการศึกษา วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว
ข้อมูลเบื้องต้นของแผนการเชื่อมโยงอาเซียนในแต่ละมิติ มีดังนี้
1. การสร้างโครงข่ายเชื่อมอาเซียนทางกายภาพ (Physical Connectivity)
แบ่งออกเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่- โครงข่ายด้านคมนาคม (transportation) ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดของแผนแม่บทฉบับนี้ แบ่งแยกย่อยได้เป็นการคมนาคมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ (จะกล่าวถึงอย่างละเอียดในบทความตอนต่อๆ ไป)
- โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT infrastructure) เน้นการเชื่อมโครงข่ายการสื่อสารเข้าด้วยกัน และยังมีเรื่องกฎระเบียบด้านการสื่อสารในแต่ละประเทศด้วย
- โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน (energy infrastructure) แบ่งออกเป็นเรื่องของเชื้อเพลิงปิโตรเลียม (ท่อส่งน้ำมัน) และพลังงานไฟฟ้า (power grid)
2. การเชื่อมโยงทางกฎเกณฑ์เชิงสถาบัน (Institutional Connectivity)
การเชื่อมโยงลักษณะนี้จะครอบคลุมข้อตกลง พิธีการ ในระดับนานาชาติหรือระดับภูมิภาค แบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ ดังนี้- นโยบายด้านการขนส่งและคมนาคม (transport facilitation) เน้นกฎเกณฑ์ด้านคมนาคมข้ามพรมแดนระหว่างประเทศภายในอาเซียนด้วยกัน
- นโยบายด้านการขนส่งสินค้าอย่างเสรี (free flow of goods) เพื่อส่งเสริมการค้าภายในภูมิภาค
- นโยบายเปิดเสรีภาคบริการ (free flow of services)
- นโยบายเปิดเสรีการลงทุน (free flow of investment)
- นโยบายเปิดเสรีภาคแรงงาน (free flow of skilled labour and human development)
- นโยบายด้านการผ่านแดน (cross-border procedures) ให้การเดินทางข้ามประเทศสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
3. การเชื่อมโยงระหว่างประชากรอาเซียน (People-to-people Connectivity)
ถึงแม้โครงสร้างพื้นฐานทางการเดินทางและกฎระเบียบจะดีเพียงใด ถ้าหากตัว “คน” หรือประชากรในกลุ่มประเทศอาเซียนยังมีความเชื่อมโยงกันน้อย การรวมกลุ่มอาเซียนก็ไม่มีทางสำเร็จได้ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงในหมวดนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย ได้แก่
- การเชื่อมโยงทางการศึกษาและวัฒนธรรม
- การเชื่อมโยงทางการท่องเที่ยวภายในอาเซียน
ปัญหาและอุปสรรคของการเชื่อมโยงอาเซียน
ปัญหาของการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน แบ่งได้เป็นทั้งปัจจัยทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และช่องว่างทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกันของประชากรแต่ละประเทศการที่ภูมิรัฐศาสตร์ของอาเซียนแบ่งเป็นอาเซียนทางบก (mainland ASEAN บนคาบสมุทรแหลมทอง) และอาเซียนทางทะเล (ประเทศอื่นๆ ในทะเลจีนใต้) ทำให้การประเมินความเชื่อมโยงของอาเซียนอาจจะต้องมองให้ละเอียดในระดับ “อนุภูมิภาค” (sub-region) มากกว่าการมองที่ระดับอาเซียนในภาพรวม ซึ่งเป็นองค์กรเชิงสถาบันที่มีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์น้อยกว่า
ในบทความตอนถัดไปจะกล่าวถึง “อนุภูมิภาค” ที่สำคัญของอาเซียน 3 ส่วนหลักๆ ว่ามีจุดอ่อนและจุดแข็งอย่างไรบ้าง
ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น