--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

โค่นรัฐบาลทักษิณ เหตุ รธน.ปี 40 พลังทุนเพิ่มความชอบธรรม !!?

โดย : พิรอบ แต้มประสิทธิ์


ศึกษางานวิจัย"ยูชิฟูมิ ทามาดะ"ประเด็น"สุเทพ"อ้าง"ทักษิณ"ต้องการระบอบประธานาธิบดี ค้นพบรธน.ปี40เป็นประชาธิปไตย-พลังทุนเพิ่มความชอบธรรม

ต่อกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายการปรองดองแห่งชาติ ที่คณะกรรมาธิการเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร

นายสุเทพกล่าวตอนหนึ่งว่า "เราต้องพูดความจริง หากไม่พูดก็ไม่สามารถเกิดความปรองดองได้ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ มีบริวาร เครือญาติ พรรคการเมือง คนเสื้อแดง กลุ่มกองกำลังติดอาวุธหรือที่พวกเขาเรียกว่าแก้ว 3 ประการ และทำให้ฝ่ายอื่นได้รับบาดเจ็บ ล้มตายและสร้างความไม่พอใจ ที่สำคัญแนวทางการเมืองของระบอบทักษิณ แตกต่างจากพวกตน และคนไทยอื่นๆ เพราะความคิดของพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองของประเทศนี้ เพื่อสร้างรัฐไทยใหม่ และเลยเถิดไปในระบอบประธานาธิบดี ให้พรรคเสื้อแดงครองประเทศและประชาชนรับไม่ได้ "

จะเชื่อตามนายสุเทพหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อมูลและความรู้ที่แต่ละฝ่ายอ้างความชอบธรรม แต่เมื่อกลับไปค้นคว้างานวิจัยของ"ยูชิฟูมิ ทามาดะ"นักวิชาการชาวญี่ปุ่น จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ที่ศึกษา"ประชาธิปไตย การกลายเป็นประชาธิปไตย และการออกจากประชาธิปไตยของประเทศไทย" ต่อกรณีที่นายสุเทพ เชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองเป็นรัฐไทยใหม่ หรือที่ว่าต้องการปกครองแบบประธานาธิบดี

"ทามาดะ"ระบุว่าสาเหตุสำคัญอยู่ที่ความไม่พอใจต่อรัฐบาลทักษิณ หากคนจำนวนมากไม่พอใจรัฐบาล จะทำให้รัฐบาลแพ้การเลือกตั้งเป็นวิธิการเปลี่ยนรัฐบาลแบบประชาธิปไตย แต่กรณีรัฐบาลทักษิณ คนที่ไม่พอใจไม่ใช่คนส่วนใหญ่ จึงเป็นการยากที่ที่รัฐบาลจะแพ้ในการเลือกตั้ง

แม้ว่าจะมีการรณรงค์โจมตีอย่างหนัก เพื่อโจมตีรัฐบาล แต่ไม่สามารถทำให้รัฐบาลสูญเสียความนิยมชมชอบจากคนส่วนใหญ่ และประการหนึ่งคือ ระบอบการเมืองตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ยิ่งช่วยให้มีเป้าหมายให้รัฐบาลทักษิณมีเสถียรภาพสูงขึ้น และปัจจัยที่ไม่ต้องกล่าวถึงคือรัฐบาลทักษิณมีเงินทุนทางการเมือง ซึ่งต่างจากรัฐบาลที่ช่วงก่อนหน้ารัฐบาลพรรคไทยรักไทยไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมาก และเป็นรัฐบาลผสมที่ขาดเสถียรภาพ ทำให้พรรคการเมืองอื่นที่ต้องระดมทุนสู้กับพรรคไทยรักไทยในขณะนั้นสู้ได้ยาก

ด้วยเหตุนี้การที่พ.ต.ท.ทักษิณ ทุ่มทุนลงไปในพรรคของตัวเอง จึงแน่ใจได้ว่าไม่มีใครหักหลังเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด แต่หากเป็นพรรคการเมืองไม่ใช่ของตัวเองย่อมไม่มั่นใจถึงเพียงนั้น และหากหันไปช่วยเหลือพรรคอื่นก็เสียประโยชน์

"อำนาจเงินจึงช่วยพรรคไทยรักไทยในการซื้อพรรคเล็ก จนส.ส.พรรคอื่นให้เข้ามาอยู่พรรคไทยรักไทย และเมื่อพรรคการเมืองเข้ามาอยู่มในพรรคไทยรักไทยจึงหนีออกยาก เพราะเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญปี 2540 "

นอกจาก อำนาจเงินแล้ว นโยบายรัฐบาลทักษิณ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ทำให้ประชานิยมชมชอบ ให้การสนับสนุนสุดใจ ที่นโยบายนี้มุ่งสนับสนุนทั้งคนรวยและคนจน ทั้งในภาคเมืองและภาคชนบท จึงทำให้ประชาชนเทคะแนนเสียงจากทุกกลุ่มอาชีพ จึงไม่แปลกเพราะการเลือกตั้งเป็นกลไกตรวจสอบนักการเมืองที่ดีที่สุด นัการเมืองจึงต้องเอาใจประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เพื่อจะได้ไม่สอบตก

"ทามาดะ" ยังค้นคว้าพบว่าการที่รัฐบาลทักษิณ ถูกโค่น สาเหตุหลักอยู่ที่การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เพราะเมื่อการเมืองเป็นประชาธิปไตยแล้ว วิธีการเปลี่ยนรัฐบาลที่ถูกต้องตามกติกา คือการเลือกตั้ง หากเอาชนะครั้งเดียวไม่ได้ก็ต้องมีการเลือกตั้งอีกหลายครั้ง ฝ่ายค้านสามารถรณรงค์ว่ารัฐบาลไม่ดีอย่างไร และฝ่ายค้านดีกว่าอย่างไร และรัฐบาลที่เลวจริงก็มีสิทธิจะแพ้การเลือกตั้ง

"แต่มีคนบางกลุ่มรอคอยไม่ได้ กลับเลือกทำการรัฐประหาร ถ้าหากว่ารัฐบาลที่ถูกขับไล่ออกไปนั้นเป็นรัฐบาลเผด็จการที่ไม่ยอมจัดให้มีการเลือกตั้ง การขับไล่ด้วยวิธีการรัฐประหารก็ไม่เลวนัก แต่รัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และไม่ปฏิเสธการเลือกตั้ง ฝ่ายรัฐประหารจึงถูกสังคมโลกด่า ผู้นำไปต่างประเทศก็ไม่สามารถจัดประชุมอย่างเป็นทางการกบผู้นำประเทศตะวันตกได้ "

ประเด็นดังกล่าวข้างต้น สอดรับกับที่นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย ระบุว่า "แท้จริงแล้วไม่ใช่อะไรอื่นไกล การที่นายสุเทพ ชูประเด็นพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการปกครองระบอบประธานาธิบดี ก็คือพรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งตลอดนั่นเอง จึงต้องอ้างความไม่จงรักภักดี ต้องการล้มสถาบัน เพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนักเรียนนายร้อย รู้อยู่แล้วว่ามีความจงรักภักดี"

เป็นที่ทราบกันดีว่า ระบอบการปกครองประชาธิปไตยได้แก่ระบอบประธานาธิบดี กับระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่สองระบอบนี้ความชอบธรรมของผู้นำประเทศแตกต่างกัน การปกครองระบอบประธานาธิบบดี ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีโดยตรง ส่วนระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนเลือกส.ส.แล้ว ให้ส.ส.เลือกนายกรัฐมนตรีความชอบธรรมนายกรัฐมนตรีจึงมาจากรัฐสภา แต่กฏมายรัฐะรรมนูญปี 2540 มีลักษณะทั้งสองระบอบผสมผสานกัน

โดยที่นายกรัฐมนตรีทักษิณ มาจากสภาผู้แทนราษฎรตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่ได้รับความชอบธรรมเพิ่มพิเศษจากระบบการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ทำให้นายกรัฐมนตรีมีความชอบธรรมสูงขึ้นเป็นสองเท่า เท่ากับว่ามีความชอบธรรมแบบประธานาธิบดี

รัฐบาลไทยรักไทย และนายกรัฐมนตรีทักษิณ ขณะนั้นจึงมีลักษณะตรงกับกระบวนการ presidentialization ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดินสูงขึ้น และนี่คือที่มาที่กลุ่มไม่พอใจรัฐบาลทักษิณ โค่นล้ม เพราะเป็นรัฐบาลแข็งแกร่ง ต่างจากรัฐบาลผสมที่เคยมีมาก่อนหน้านั้น

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น