สัมภาษณ์พิเศษ
บุษบา บุตรรัตน์ อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ ประจำกรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ระหว่างการเดินทางลงพื้นที่เพื่อสำรวจเส้นทางรถยนต์จากกรุงฮานอย-แขวง
บอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถึงจังหวัดนครพนม ประเทศไทย ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 22-28 กุมภาพันธ์ 2555
โดยกล่าวถึงโอกาสทางการตลาดของสินค้าไทยในเวียดนาม
- โอกาสการเติบโตทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ?
เวียดนามเป็นตลาดเกิดใหม่ที่ยังมีอนาคตไกลมากสำหรับสินค้าไทยหลากหลายชนิด ซึ่งขณะนี้เวียดนามมีประชากรทั้งหมด 89.57 ล้านคน อยู่ในวัยทำงานถึง 46 ล้านคน เศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เวลานี้ก้าวขึ้นสู่การเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีฐานะระดับกลางแล้ว รายได้ประชากรอยู่ที่ 1,300 เหรียญสหรัฐ/คน/ปี
ประเทศไทยเราได้ดุลการค้ากับเวียดนามอย่างต่อเนื่อง
ปี 2554 เราได้ดุลสูงถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 20% ทำให้ฝ่ายเวียดนามขอให้ฝ่ายไทยช่วยซื้อสินค้าเวียดนามให้มากขึ้น จนปีที่แล้วยอดนำเข้าสินค้าจากเวียดนามสูงกว่าปีก่อนถึง 46% สินค้าไทยที่ส่งไปเวียดนามมีมูลค่ามากเป็นอันดับ 9 ของตลาดส่งออกของสินค้าไทยทั่วโลก และเป็นอันดับ 4 ของตลาดอาเซียน
สินค้าส่งออกจากไทยมีความหลากหลาย แต่ละประเภทกระจายน้ำหนักออกไปที่เท่า ๆ กัน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป
เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ รถยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ
ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเวียดนาม ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ด้ายและเส้นใย เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลนส์ แว่นตา น้ำมันดิบ
สินค้าไทยยังมีศักยภาพที่จะโตได้อย่างต่อเนื่องในเวียดนาม เนื่องจากคนเวียดนามให้ความนิยมในสินค้าไทยมาก เมื่อเห็นป้ายบอกว่าเป็น "Product of Thailand" ก็เชื่อในคุณภาพ และยอมจ่ายแพงกว่าสินค้าจากประเทศตัวเอง หรือสินค้าจากจีน
ผู้บริโภคจำนวนมากเมื่อนำสินค้าไทยไปใช้ เลือกที่จะไม่แกะฉลากออกเพื่อบอกว่าเขาใช้ของดีจากเมืองไทย
- สินค้าชนิดใดบ้างที่มีโอกาสเติบโต ?
มองดูแล้ว สินค้าไทยที่มีโอกาสเติบโตในเวียดนาม ได้แก่ 1.เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องแก้ว บรรจุภัณฑ์พลาสติก 2.ผลิตภัณฑ์ซักล้าง พวกน้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ แชมพู เสื้อผ้า 3.เครื่องประดับสำหรับสาวเริ่มทำงาน จากตลาดกลางลงตลาดล่าง 4.เครื่องใช้ไฟฟ้า
สินค้าที่ทำในประเทศไทย หรือออกแบบโดยบริษัทไทย
แม้ผลิตในจีน จะได้รับความนิยมกว่าสินค้าไม่มีชื่อที่ผลิตในจีน หรือเวียดนาม ตัวอย่างเช่น กระทะไฟฟ้า-ปิ้งย่าง ที่เป็นแบรนด์ไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้มากในตลาดสดในฮานอย
ผู้ประกอบการไทยมักเข้ามาเปิดตลาดในโฮจิมินห์มากกว่าในฮานอย เนื่องจากความเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้า และเศรษฐกิจของประเทศที่ยาวนาน
- แบรนด์ไทยยอดนิยมในเวียดนามมีอะไรบ้าง ?
แบรนด์ไทยยอดนิยมในเวียดนามมีมากมาย เช่น เครื่องดื่มกระทิงแดง ผลิตภัณฑ์อาหารซีพี ผงซักฟอกเปา ปลากระป๋องสามแม่ครัว กระดาษทิสชูเซลล็อกซ์ เครื่องครัวสเตนเลสหัวม้าลาย และนกนางนวล รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ใช้ตราสากล แต่ผลิตในประเทศไทย เช่น อาหารสัตว์เลี้ยง และแชมพู
- โอกาสของผลไม้ไทยในเวียดนาม ?
ราว 70% ของปริมาณผลผลิตรวมผลไม้ไทยจาก 3 จังหวัดภาคตะวันออก ระยอง จันทบุรี และตราด เข้าสู่ตลาดเวียดนาม ออกมาผ่านลาว แล้วเข้าเวียดนาม เข้าสู่ฮานอย ใช้เวลาเดินทางกว่า 24 ชั่วโมง พ่อค้าแม่ค้าเวียดนามไปรับซื้อถึงที่ ตั้งจุดรับซื้อตามจังหวัดต่าง ๆ ของไทย แล้วคัดส่งมาขายในเวียดนาม และต่อไปในจีน
แม้เวียดนามมีผลไม้คล้ายไทย เช่น ลำไย ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง แต่ยังสู้ของจากไทยที่มีรสชาติจัดจ้านกว่าไม่ได้ ทำให้ผลไม้ของไทยขายได้ราคาดีกว่าผลไม้เวียดนามถึง 2 เท่า เป็นที่นิยมมากในตลาดบน
เกรดผลไม้ของเวียดนามที่ส่งไปขายในไทยก็มี แต่คุณภาพอาจไม่เท่าคุณภาพที่ส่งไปยุโรป แต่ในเรื่องมาตรฐานสุขอนามัยแล้วถือว่ามีความปลอดภัยอยู่สูง เนื่องจากเวียดนามให้ความสำคัญในการตรวจสอบชนิดของยาปราบศัตรูพืชที่ใช้ ต้องผ่านกรมวิชาการเกษตรของไทยอย่างสม่ำเสมอ
ประเทศไทยเป็น 1 ใน 7 ประเทศเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ส่งผัก ผลไม้ เข้าไปขายในเวียดนามได้
- ผู้ผลิตไทยควรมีกลยุทธ์อย่างไรในการรักษาตลาดเวียดนาม ?
แม้ว่าสินค้าไทยเป็นที่ต้องการและนิยมมากในเวียดนาม แต่ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายไทยต้องตระหนักว่าเศรษฐกิจเวียดนามเจริญขึ้น เขาต้องการสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น และมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากขึ้น เมื่อคนมีเงินมากขึ้น ย่อมเป็นห่วงสุขภาพมากขึ้น อย่ามองเพื่อนบ้านว่าเป็นแค่ตลาดล่าง
ดังนั้นผู้ผลิตไทยควรรักษาคุณภาพของสินค้าให้สม่ำเสมอ ถ้าคุณภาพของสินค้าแย่ลง ผู้บริโภคย่อมหันไปหาสินค้ายี่ห้ออื่น หรือจากแหล่งผลิตอื่น ๆ ช่วยกันรักษาภาพลักษณ์ของสินค้าจากประเทศไทยว่าเป็น "ของดี" ที่ผู้บริโภคยอมจ่ายแพงกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศเวียดนาม หรือจีน
- การจัดงานแสดงสินค้าไทยในเวียดนามมีส่วนช่วยส่งเสริมการขายอย่างไร ?
Thailand Trade Exhibition จัดมาแล้วทั้งหมด 12 ปี ปีละครั้ง ใน 2 เมืองหลักคือ ฮานอย และโฮจิมินห์ แต่เริ่มมาจัดที่เมืองไฮฟองเร็ว ๆ นี้ ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วจัด 4 วัน ในกรุงฮานอย มีคนมาร่วมงานวันละ 30,000 คน งานในครั้งนี้ได้รับความสนใจมากจากผู้ค้า จากผู้ประกอบการไทย จำนวนรวมทั้งสิ้น 140 ราย ออกร้าน 175 คูหา ต้องตัดออกไปถึง 90 คูหา
ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์มากมาย ตั้งแต่ค่าเช่าคูหาเพียงวันละ 15,000 บาท บวกค่าธรรมเนียมเล็กน้อย ค่าโรงแรม ค่าอาหาร และค่าเครื่องบิน โดยกรมส่งเสริมการส่งออกจะช่วยอุดหนุนค่าระวางสินค้าที่มาทางเครื่องบินบางส่วน
สินค้าจากเมืองไทยที่ขนมาจัดแสดงในงานมี 12 ประเภท คือ 1.ชิ้นส่วนรถยนต์ และประดับยนต์ 2.ผลิตภัณฑ์เคมี 3.ผลิตภัณฑ์เด็ก ของเด็กเล่น และเกม 4.วัสดุก่อสร้าง ฮาร์ดแวร์ และ
เครื่องจักรกล 5.อาหารและเครื่องดื่ม 6.เสื้อผ้า สิ่งทอ และ
เครื่องประดับแฟชั่น 7.กลุ่มสินค้าของขวัญและของแต่งบ้าน 8.กลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม 9.กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและของใช้ในครัวเรือน 10.เครื่องหนังและรองเท้า 11.บริการทางการแพทย์ 12.กลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์
- ผู้ประกอบการไทยที่สนใจเข้าร่วมงานครั้งต่อไปควรทำอย่างไร ?
กรมส่งเสริมการส่งออกจัดงานแสดงสินค้าในต่างแดนในตลาดใหม่ทั้งปี ราว 20 งานทั่วโลก สามารถติดตามข้อมูลจาก http://application.depthai.go.th/International_Market/list_thailand.html
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถึงจังหวัดนครพนม ประเทศไทย ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 22-28 กุมภาพันธ์ 2555
โดยกล่าวถึงโอกาสทางการตลาดของสินค้าไทยในเวียดนาม
- โอกาสการเติบโตทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ?
เวียดนามเป็นตลาดเกิดใหม่ที่ยังมีอนาคตไกลมากสำหรับสินค้าไทยหลากหลายชนิด ซึ่งขณะนี้เวียดนามมีประชากรทั้งหมด 89.57 ล้านคน อยู่ในวัยทำงานถึง 46 ล้านคน เศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เวลานี้ก้าวขึ้นสู่การเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีฐานะระดับกลางแล้ว รายได้ประชากรอยู่ที่ 1,300 เหรียญสหรัฐ/คน/ปี
ประเทศไทยเราได้ดุลการค้ากับเวียดนามอย่างต่อเนื่อง
ปี 2554 เราได้ดุลสูงถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 20% ทำให้ฝ่ายเวียดนามขอให้ฝ่ายไทยช่วยซื้อสินค้าเวียดนามให้มากขึ้น จนปีที่แล้วยอดนำเข้าสินค้าจากเวียดนามสูงกว่าปีก่อนถึง 46% สินค้าไทยที่ส่งไปเวียดนามมีมูลค่ามากเป็นอันดับ 9 ของตลาดส่งออกของสินค้าไทยทั่วโลก และเป็นอันดับ 4 ของตลาดอาเซียน
สินค้าส่งออกจากไทยมีความหลากหลาย แต่ละประเภทกระจายน้ำหนักออกไปที่เท่า ๆ กัน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป
เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ รถยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ
ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเวียดนาม ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ด้ายและเส้นใย เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลนส์ แว่นตา น้ำมันดิบ
สินค้าไทยยังมีศักยภาพที่จะโตได้อย่างต่อเนื่องในเวียดนาม เนื่องจากคนเวียดนามให้ความนิยมในสินค้าไทยมาก เมื่อเห็นป้ายบอกว่าเป็น "Product of Thailand" ก็เชื่อในคุณภาพ และยอมจ่ายแพงกว่าสินค้าจากประเทศตัวเอง หรือสินค้าจากจีน
ผู้บริโภคจำนวนมากเมื่อนำสินค้าไทยไปใช้ เลือกที่จะไม่แกะฉลากออกเพื่อบอกว่าเขาใช้ของดีจากเมืองไทย
- สินค้าชนิดใดบ้างที่มีโอกาสเติบโต ?
มองดูแล้ว สินค้าไทยที่มีโอกาสเติบโตในเวียดนาม ได้แก่ 1.เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องแก้ว บรรจุภัณฑ์พลาสติก 2.ผลิตภัณฑ์ซักล้าง พวกน้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ แชมพู เสื้อผ้า 3.เครื่องประดับสำหรับสาวเริ่มทำงาน จากตลาดกลางลงตลาดล่าง 4.เครื่องใช้ไฟฟ้า
สินค้าที่ทำในประเทศไทย หรือออกแบบโดยบริษัทไทย
แม้ผลิตในจีน จะได้รับความนิยมกว่าสินค้าไม่มีชื่อที่ผลิตในจีน หรือเวียดนาม ตัวอย่างเช่น กระทะไฟฟ้า-ปิ้งย่าง ที่เป็นแบรนด์ไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้มากในตลาดสดในฮานอย
ผู้ประกอบการไทยมักเข้ามาเปิดตลาดในโฮจิมินห์มากกว่าในฮานอย เนื่องจากความเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้า และเศรษฐกิจของประเทศที่ยาวนาน
- แบรนด์ไทยยอดนิยมในเวียดนามมีอะไรบ้าง ?
แบรนด์ไทยยอดนิยมในเวียดนามมีมากมาย เช่น เครื่องดื่มกระทิงแดง ผลิตภัณฑ์อาหารซีพี ผงซักฟอกเปา ปลากระป๋องสามแม่ครัว กระดาษทิสชูเซลล็อกซ์ เครื่องครัวสเตนเลสหัวม้าลาย และนกนางนวล รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ใช้ตราสากล แต่ผลิตในประเทศไทย เช่น อาหารสัตว์เลี้ยง และแชมพู
- โอกาสของผลไม้ไทยในเวียดนาม ?
ราว 70% ของปริมาณผลผลิตรวมผลไม้ไทยจาก 3 จังหวัดภาคตะวันออก ระยอง จันทบุรี และตราด เข้าสู่ตลาดเวียดนาม ออกมาผ่านลาว แล้วเข้าเวียดนาม เข้าสู่ฮานอย ใช้เวลาเดินทางกว่า 24 ชั่วโมง พ่อค้าแม่ค้าเวียดนามไปรับซื้อถึงที่ ตั้งจุดรับซื้อตามจังหวัดต่าง ๆ ของไทย แล้วคัดส่งมาขายในเวียดนาม และต่อไปในจีน
แม้เวียดนามมีผลไม้คล้ายไทย เช่น ลำไย ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง แต่ยังสู้ของจากไทยที่มีรสชาติจัดจ้านกว่าไม่ได้ ทำให้ผลไม้ของไทยขายได้ราคาดีกว่าผลไม้เวียดนามถึง 2 เท่า เป็นที่นิยมมากในตลาดบน
เกรดผลไม้ของเวียดนามที่ส่งไปขายในไทยก็มี แต่คุณภาพอาจไม่เท่าคุณภาพที่ส่งไปยุโรป แต่ในเรื่องมาตรฐานสุขอนามัยแล้วถือว่ามีความปลอดภัยอยู่สูง เนื่องจากเวียดนามให้ความสำคัญในการตรวจสอบชนิดของยาปราบศัตรูพืชที่ใช้ ต้องผ่านกรมวิชาการเกษตรของไทยอย่างสม่ำเสมอ
ประเทศไทยเป็น 1 ใน 7 ประเทศเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ส่งผัก ผลไม้ เข้าไปขายในเวียดนามได้
- ผู้ผลิตไทยควรมีกลยุทธ์อย่างไรในการรักษาตลาดเวียดนาม ?
แม้ว่าสินค้าไทยเป็นที่ต้องการและนิยมมากในเวียดนาม แต่ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายไทยต้องตระหนักว่าเศรษฐกิจเวียดนามเจริญขึ้น เขาต้องการสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น และมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากขึ้น เมื่อคนมีเงินมากขึ้น ย่อมเป็นห่วงสุขภาพมากขึ้น อย่ามองเพื่อนบ้านว่าเป็นแค่ตลาดล่าง
ดังนั้นผู้ผลิตไทยควรรักษาคุณภาพของสินค้าให้สม่ำเสมอ ถ้าคุณภาพของสินค้าแย่ลง ผู้บริโภคย่อมหันไปหาสินค้ายี่ห้ออื่น หรือจากแหล่งผลิตอื่น ๆ ช่วยกันรักษาภาพลักษณ์ของสินค้าจากประเทศไทยว่าเป็น "ของดี" ที่ผู้บริโภคยอมจ่ายแพงกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศเวียดนาม หรือจีน
- การจัดงานแสดงสินค้าไทยในเวียดนามมีส่วนช่วยส่งเสริมการขายอย่างไร ?
Thailand Trade Exhibition จัดมาแล้วทั้งหมด 12 ปี ปีละครั้ง ใน 2 เมืองหลักคือ ฮานอย และโฮจิมินห์ แต่เริ่มมาจัดที่เมืองไฮฟองเร็ว ๆ นี้ ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วจัด 4 วัน ในกรุงฮานอย มีคนมาร่วมงานวันละ 30,000 คน งานในครั้งนี้ได้รับความสนใจมากจากผู้ค้า จากผู้ประกอบการไทย จำนวนรวมทั้งสิ้น 140 ราย ออกร้าน 175 คูหา ต้องตัดออกไปถึง 90 คูหา
ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์มากมาย ตั้งแต่ค่าเช่าคูหาเพียงวันละ 15,000 บาท บวกค่าธรรมเนียมเล็กน้อย ค่าโรงแรม ค่าอาหาร และค่าเครื่องบิน โดยกรมส่งเสริมการส่งออกจะช่วยอุดหนุนค่าระวางสินค้าที่มาทางเครื่องบินบางส่วน
สินค้าจากเมืองไทยที่ขนมาจัดแสดงในงานมี 12 ประเภท คือ 1.ชิ้นส่วนรถยนต์ และประดับยนต์ 2.ผลิตภัณฑ์เคมี 3.ผลิตภัณฑ์เด็ก ของเด็กเล่น และเกม 4.วัสดุก่อสร้าง ฮาร์ดแวร์ และ
เครื่องจักรกล 5.อาหารและเครื่องดื่ม 6.เสื้อผ้า สิ่งทอ และ
เครื่องประดับแฟชั่น 7.กลุ่มสินค้าของขวัญและของแต่งบ้าน 8.กลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม 9.กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและของใช้ในครัวเรือน 10.เครื่องหนังและรองเท้า 11.บริการทางการแพทย์ 12.กลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์
- ผู้ประกอบการไทยที่สนใจเข้าร่วมงานครั้งต่อไปควรทำอย่างไร ?
กรมส่งเสริมการส่งออกจัดงานแสดงสินค้าในต่างแดนในตลาดใหม่ทั้งปี ราว 20 งานทั่วโลก สามารถติดตามข้อมูลจาก http://application.depthai.go.th/International_Market/list_thailand.html
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น