ผมคุยนอกรอบกับท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน 'ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ' หลังแถลงข่าวเรื่องผลการตรวจสอบประมวลจริยธรรม ของนายกรัฐมนตรี 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 'นลินี ทวีสิน' รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 'ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ' และรายสุดท้ายคือ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี 'อำพน กิตติอำพน' ถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีผู้เสนอให้ยุบรวมองค์กรอิสระบางองค์กรเข้าด้วยกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจะมาถึง
ท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน บอกว่า "มันเป็นเรื่องไม่เที่ยง พวกเรา(ผู้ตรวจการแผ่นดิน)มีกันแค่สามคน เขาจะแก้หรือจะทำอะไรยิ่งง่ายใหญ่"
ผม บอกท่านไปว่ามันไม่แฟร์ โดยเฉพาะวันนี้การที่ผู้ที่ผู้ตรวจการสามท่านลงมติเหมือนหันสปอร์ตไลท์ไปที่ ตัวนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ฝ่ายการเมืองอาจจะไม่พอใจ
ท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ย้ำกับผมอีกว่า "เรา ทำใจได้ อะไรที่เกิดขึ้น ก็ย่อมมีดับไป เราทำงานข้าราชการ มันก็มีวันเกษียณอายุราชการ ทำงานเอกชนก็มีวันหนึ่งที่เขาบอกเลิกจ้างเรา หรือบริษัทเลิกกิจการ"
ผมยังไม่ย่อท้อที่จะแย้งท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า "แต่ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์หรือผลกำไรให้องค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่นี่ทำเพื่อประเทศชาติโดยแท้"
ท่านประธานผาณิต บอกผมว่า "ทุกอย่างขอให้เป็นเรื่องอนาคต"
ครับ ผมเห็นด้วยว่าเป็นเรื่องอนาคต แต่ก็ไม่ควรที่จะลืมซึ่งอดีตเพราะไม่เช่นนั้นการพัฒนาประชาธิปไตยจะไร้ฐานราก
สำหรับผมแล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แสดงให้เห็นว่าเป็น 'ยักษ์ที่เพิ่งตื่นจากหลับใหล' เสียดายที่ยักษ์ตนนี้ตื่นสายไป เพราะมาตื่นเอาเมื่อวันที่การเมือง กำลังจะเขย่ารัฐธรรมนูญ และเป็นไปได้ที่จะทำลายซึ่งองค์กรควบคุมจริยธรรมนักการเมืองแห่งนี้
ห้วง หนึ่งของการเมือง ที่ความประพฤติแม้ไม่มีใบเสร็จมามัดการกระทำความผิด แต่สังคมตระหนักรู้ว่าการกระทำของนักการเมืองผู้นั้นไร้ซึ่งคุณธรรม จริยธรรม แต่ไม่มีใครชี้ผิด นักการเมืองจึง 'ย่ามใจ' ตัดสินใจ 'บุ่มบ่าม' เพราะสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผิดๆ โกงได้แต่ต้องไม่ให้มีใบเสร็จมามัดตัวเอง
ดังนั้น ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จึงกลับมามองว่าที่บ้านเมืองไม่มีพัฒนาการ เพราะมาตรฐานทาง'จริยธรรม'นักการเมืองไม่มี
ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จึงกำหนดให้มีผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยแก้ไขจุดบกพร่องในอดีต
ในอดีตปี พ.ศ.2517 คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้มี 'ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา' ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2517 แต่ในขั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญโดยตัดผู้ตรวจการแผ่นดินออกไป
ใน ปี พ.ศ.2538 เกิดแรงผลักดันอย่างจริงจังในการที่จะบัญญัติสถาบันผู้ตรวจการรัฐสภาไว้ ในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย โดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญ พุทธศักราช 2534 ฉบับที่ 5 ปีพุทธศักราช 2538 โดยบัญญัติในมาตรา 162 ทวิ ดังนี้
“พระ มหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ตรวจการรัฐสภามีจำนวนไม่เกินห้าคน ตามมติของรัฐสภาและให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่ง ตั้งผู้ตรวจการรัฐสภา”
แต่เนื่องจากไม่มีบทบังคับในเรื่องระยะเวลาการดำเนินการจึงไม่มีการตั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน
ภาย หลังจากมีกระแสผลักดันให้มีการปฏิรูปการเมือง จนกระทั่งได้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 211 เรื่องการตั้งคณะกรรมการสภาร่างรัฐธรรมนูญ การจัดตั้งระบบผู้ตรวจการแผ่นดินจึงประสบความสำเร็จ โดยใช้ชื่อว่า “ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” และได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 หมวด 6 รัฐสภา ส่วนที่ 7 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
1 เมษายน 2543 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'พิเชต สุนทรพิพิธ' เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาคนแรกของไทย
หลัง รัฐประหาร 2549 มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จและจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ผลปรากฏว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากเห็นชอบให้นำร่างรัฐ ธรรมนูญ 2550 มาใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ซึ่งยังคงระบบผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พร้อมทั้งมอบอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมให้อีกหลายประการ และเปลี่ยนแปลงชื่อจาก 'ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา' เป็น 'ผู้ตรวจการแผ่นดิน'
'ผู้ ตรวจการแผ่นดิน'ทำให้เป็นที่ประจักษ์ถึงความจำเป็นที่ต้องควบคุมจริยธรรม นักการเมือง เพราะไม่ว่ายุคสมัยใด 'สันดาน' นักการเมืองไม่เคยเปลี่ยน
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น