--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557

เพื่อไทย ดึงองค์กรระหว่างประเทศแทรกแทรง องค์กร์อิสระ สำเร็จ..

ที่พรรคเพื่อไทย คณะทำงานฝ่ายต่างประเทศ พรรคเพื่อไทย โดยน.ส.จารุพรรณ กุลดิลก อดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และน.ส.ภูวนิดา คุณผลิน อดีตส.ส.กรุงเทพฯ ร่วมกันแถลงข่าวกรณีการเดินทางไปยื่นหนังสือถึงเลขาธิการสหภาพรัฐสภาสากล (ไอพียู) เพื่อขอให้ไอพียูย้ำเตือนประเทศไทยกรณีการบังคับใช้กฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง (ไอซีซีพีอาร์) ภายหลัง ส.ส.และส.ว. 308 คน ถูกกล่าวหาว่า ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย และถูกยื่นถอดถอนสิทธิทางการเมือง โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

โดยน.ส.จารุพรรณ แถลงว่า ภายหลังการยื่นหนังสือในเดือน มี.ค. ขอให้ไอพียูตรวสอบองค์กรที่กำลังตรวจสอบกรณี 308 ส.ส.และส.ว. รวมถึงขอให้ตรวจสอบการถอนประกันนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ และเลขาธิการนปช.ในคดีการก่อการร้าย และกรณีการสอบสวนโครงการรับจำนำข้าว ล่าสุดไอพียูได้แจ้งมายังคณะทำงานฯว่า ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีดังกล่าว และส่งหมายเตือนไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

"องค์กรระหว่างประเทศทั้งไอพียู สหประชาชาติ และนานาประเทศกำลังติดตามว่า องค์กรอิสระที่มีอำนาจเทียบเท่าศาล ป.ป.ช. ที่มีการตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ โดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปสังเกตการณ์ได้ จะอธิบายความเป็นนิติรัฐ นิติธรรมได้ยากลำบาก ดังนั้นองค์กรระหว่างประเทศที่ดูแลและคุ้มครองหลักประชาธิปไตย และหลักสิทธิมนุษยชน จึงต้องตรวจสอบการพิจารณาคดีอย่างใก้ลชิด โดยจะต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งหลักประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน หากเจ้าพนักงานงานยุติธรรมคนใดละเมิดอนุสัญญาระหว่างประเทศจะถูกขึ้นบัญชีดำในระดับนานาชาติได้ " น.ส.จารุพรรณ กล่าว

เมื่อถามว่าหากป.ป.ช.ยืนยันว่า การตรวจสอบดังกล่วเป็นกระบวนการภายในประเทศองค์กรต่างชาติไม่สามารถเข้ามาก้าวก่ายได้ น.ส.จารุพรรณ กล่าวว่า ป.ป.ช.จะไม่สามารถอ้างว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องตรวจสอบเฉพาะภายในประเทศ เพราะประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีอนุสัญญาต้องยึดตามกรอบอนุสัญญาระหว่างประเทศ โดยต้องให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิในการพิจารณาอย่างเป็นธรรม เรื่องการตรวจสอบ 308 ส.ส.และส.ว.ว่า มีความผิดล้มล้างประชาธิไตย เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่มีผู้คนให้ความสนใจ รวมถึงเรื่องการถอนประกันนายณัฐวุฒิและนายจตุพร ซึ่งจะมีผลในวันที่ 18 เม.ย. ทำให้สงสัยว่า เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมืองหรือไม่ นานาอารยะประเทศจึงให้ความสำคัญ

ขณะที่น.ส.ภูวนิดา กล่าวว่า การไปยื่นหนังสือของคณะทำงานฯ ดำเนินการไปตามหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาไทย โดยอยากให้ไอพียูพิจารณาตรวจสอบ และติดตามกระบวนการยุติธรรม และการอำนวยความยุติธรรมของไทยเพื่อให้มีพัฒนาการที่เป็นมาตรฐานสากล.

ที่มา.นสพ.เดลินิวส์
-------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น