โดย.วีรพงษ์ รามางกูร
ข่าวใหญ่ในช่วงสงกรานต์ขึ้นศักราชใหม่ จุลศักราช 1376 ปีมะเมีย ฉศก ร.ศ.233 ปี 2557 นี้ คงจะไม่มีข่าวใดเด่นกว่าข่าวการประกาศตนเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" ของแกนนำมวลมหาประชาชน ที่เริ่มจากการชุมนุมต่อต้านคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งถูกตีตกไปแล้วตั้งแต่วาระแรกของวุฒิสภา แต่การชุมนุมก็ยังดำเนินต่อไป เพราะกองทัพประกาศตนเป็นกลาง ไม่เป็นฝ่ายรัฐบาลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ตำรวจประกาศไม่ติดอาวุธ
การชุมนุม ย้ายที่ชุมนุมจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาที่สี่แยกปทุมวัน เมื่อผู้มาร่วมชุมนุมน้อยลง เริ่มมีความรุนแรง มีผู้บาดเจ็บล้มตาย และในที่สุดก็มาชุมนุมกันอยู่ในสวนลุมพินี ปักหลักอยู่ที่นั่น แต่ออกกระทำการปิดสถานที่ราชการที่นั่นที่นี่เป็นครั้งคราวในเวลากลางวัน
เมื่อมีการคาดการณ์กันว่าคณะกรรมการ ปปช.จะประณามกล่าวโทษนายกรัฐมนตรี ในความผิดเรื่องโครงการจำนำข้าว ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาถอดถอนนายกรัฐมนตรีจากตำแหน่ง ทั้งๆ ที่นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งไปแล้วตั้งแต่เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา แต่ในยุคนี้การพิจารณาตัดสินของตุลาการภิวัฒน์ จะพิจารณาตัดสินอย่างไรก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด ก็เป็นที่คาดการณ์กันได้ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องตัดสินให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้อาจจะให้พ้นเฉพาะกิจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 182(7) หรือให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะก็ได้ไม่มีใครรู้ เพราะคำวินิจฉัยชี้ขาดสมัยนี้จะออกมาอย่างไรก็ได้ ไม่มีใครทราบ เพื่อจะได้ทำให้เกิดช่องว่าง จะได้ใช้ความในมาตรา 7 แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี "คนกลาง" ที่เป็นคนดีมาทำการปฏิรูปประเทศไทยเป็นเวลาปีครึ่งถึงสองปี
เข้าใจว่าเพื่อให้เป็นไปตามนี้จึงได้มีการประกาศตนเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" หรือ "องค์อธิปัตย์" หรือภาษาฝรั่งเรียกว่า "sovereign" แปลตรงๆ ก็คือผู้ถือ "อำนาจอธิปไตย" หรือ "sovereignty" ซึ่งจะทำได้ก็ต้องฉีกรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญให้หลักประกันไว้ในมาตรา 3 ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
"รัฏฐาธิปัตย์" หรือ "องค์อธิปัตย์" ในการปกครองของไทยที่ผ่านมา ถ้าก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็คือองค์พระมหากษัตริย์ ถ้าหลังจากนั้นรัฏฐาธิปัตย์ หรือ องค์อธิปัตย์ ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ถืออำนาจอธิปไตย ก็คือหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ทำการยึดอำนาจสำเร็จ ถ้าพูดให้เต็มก็ต้องพูดว่าคณะปฏิวัติที่ยึดอำนาจอธิปไตยจากปวงชนชาวไทยได้สำเร็จ
ทุกครั้งที่มีการปฏิวัติรัฐประหารสำเร็จ ก่อนที่จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับสั้นและชั่วคราว ซึ่งปกติจะมีอยู่เพียง 20-30 มาตรา ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าหัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์ หรือ องค์อธิปัตย์
รัฏฐาธิปัตย์ หรือ องค์อธิปัตย์ ย่อมเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของตัวเอง ไม่ได้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนใครๆ ทั้งนั้น แม้แต่ปวงชนชาวไทย
เมื่ออำนาจอธิปไตยถูกยึดไปจากปวงชนชาวไทยแล้ว ผู้เป็นเจ้าของอธิปไตย หรือรัฏฐาธิปัตย์ หรือ องค์อธิปัตย์ ย่อมถืออำนาจเด็ดขาดอย่างสมบูรณ์ เหนือสถาบันหรือองค์กรทางการเมืองทั้งหมด คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ย่อมเป็นกฎหมายที่อยู่เหนือบรรดากฎหมายทั้งปวง รวมถึงรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงที่สุดด้วย ในขณะที่รัฏฐาธิปัตย์ยังไม่ยอมจำกัดอำนาจของตนเอง ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ในทางทฤษฎีรัฏฐาธิปัตย์อาจจะออกคำสั่งให้คงไว้หรือยกเลิกสถาบันหรือองค์กรการเมืองใดๆ ก็ได้ จะประกาศเปลี่ยนรูปแบบของรัฐหรือรูปแบบการปกครองของประเทศไปในรูปแบบใดๆ ก็ได้ แม้แต่จะออกคำสั่งประหารชีวิตผู้ใดก็ได้
ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในทางทฤษฎีอีกเช่นกัน องค์อธิปัตย์ จะประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศใดๆ ก็ได้ จะประกาศสงครามกับประเทศใดๆ ก็ได้ หรือจะประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศใดๆ เช่น สหประชาชาติ อาเซียน แล้วประกาศปิดประเทศเสียเฉยๆ ก็ได้ เช่นสมัยนายพลเนวิน สถาปนาคนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของประเทศพม่า
เรื่องใครจะประกาศตั้งตัวเป็นรัฏฐาธิปัตย์จึงเป็นเรื่องใหญ่ ที่ไม่มีใครที่ยังมีสติสัมปชัญญะจะกล้าประกาศตนเช่นนั้น แม้แต่หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหาร ซึ่งเมื่อประกาศยึดอำนาจอธิปไตย จากพระมหากษัตริย์หรือจากปวงชนได้เป็นผลสำเร็จ ก็ไม่กล้าประกาศตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์อย่างชัดแจ้ง แม้ว่าผลของการทำปฏิวัติรัฐประหารสำเร็จ ตนเองจะกลายเป็นองค์อธิปัตย์หรือรัฏฐาธิปัตย์ ออกคำสั่งออกประกาศคณะปฏิวัติ คณะรัฐประหารหรือคณะปฏิรูปอะไรก็แล้วแต่ แต่ก็ไม่กล้าประกาศว่าตนเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" คนทั่วไปจึงไม่ทราบว่าหมายความว่าอย่างไร เพราะเข้าใจว่าการกระทำเช่นนั้นย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การประกาศเป็นรัฏฐาธิปัตย์โดยการชุมนุมเดินขบวนจะได้รับการต่อต้านจากประชาชนสื่อมวลชน และประชาคมระหว่างประเทศ ความเป็นไปได้แทบไม่มี หรือถ้าจะมีก็ต้องใช้กองกำลังติดอาวุธเข้ายึดอำนาจอธิปไตย หรือ "อำนาจรัฐ" อย่างที่ เหมา เจ๋อ ตุง เคยกล่าวเอาไว้ว่า "อำนาจรัฐย่อมมาได้จากปากกระบอกปืน" เท่านั้น
แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือ เมื่อมีการประกาศตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ผ่านทางการชุมนุม ผ่านทางสื่อต่างๆ กลับปรากฏว่าผู้คนรู้สึก "เฉยๆ" หรือไม่ก็อาจจะเห็นด้วยเสียด้วยซ้ำ กองทัพที่ถืออาวุธก็ "เฉยๆ" ไม่มีปฏิกิริยาอะไร ยกเว้นแต่กลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายตรงกันข้ามเท่านั้นที่แสดงปฏิกิริยาในเชิงลบและต่อต้านการประกาศนั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจจะด้วยเหตุผลหลายอย่างเช่น
ผู้คนในกรุงเทพฯหรือคนชั้นสูงที่สนับสนุนการชุมนุมในสวนลุมพินีก็ไม่เข้าใจ แปลว่าอะไร มีความหมายอย่างไร ผลที่ตามมาจะมีอะไรบ้าง กระทบต่อระบบกฎหมาย กระทบต่อขบวนการการปกครองประเทศอย่างไร ต่างจากการปฏิวัติรัฐประหารซึ่งพวกเราเคยชินกันมา แล้วเข้าใจเอาเองว่าคณะปฏิวัติคงไม่เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม รวมทั้งสถาบันการเมืองที่สำคัญๆ ของประเทศ หรือผู้คนในกรุงเทพฯเข้าใจดี จึงไม่ต่อต้าน แต่การประกาศเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เมื่อมีช่องว่างจากการวินิจฉัยตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้เพราะยังไม่เคยมีเป็นตัวอย่าง
หรือไม่ที่ผู้คนหรือสื่อมวลชนรู้สึก "เฉยๆ" ก็เพราะเห็นว่าเป็นเพียง "จำอวด" หรือ "วาทกรรม" ทางการเมือง เป็นเรื่องตลกที่เป็นไปไม่ได้ นอกเสียจากมีการปฏิวัติรัฐประหารก่อนที่แกนนำจะได้เป็นองค์อธิปัตย์ หรือ รัฏฐาธิปัตย์ จริงๆ ก็ได้ ทางกองทัพก็คงจะคิดอย่างนั้นก็ได้ จึงไม่มีปฏิกิริยาอะไร เพราะถ้าเกิดเป็นเช่นนั้นจริงๆ ตำแหน่งผู้บัญชาการเหล่าทัพ ก็อาจจะถูกสับเปลี่ยนโดยองค์อธิปัตย์ใหม่เอาง่ายๆ ก็ได้
หรือเป็นไปได้ว่า "กลอนพาไป" ผู้พูดไม่ได้จริงจังอะไรกับสิ่งที่ตนพูด จะว่าผู้พูดไม่รู้สึกผลของการได้มาซึ่ง "อำนาจรัฐ" กับสิ่งที่ตนพูด จะว่าผู้พูดไม่รู้ถึงผลของการได้มาซึ่ง "อำนาจรัฐ" จนตนเองเป็นรัฏฐาธิปัตย์ สามารถทำอะไรก็ได้ จะแต่งตั้งใครเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ ใครเป็นสมาชิกสถานิติบัญญัติก็ได้ จะแต่งตั้งถอดถอนตุลาการหรือยกเลิกหรือเพิ่มศาลขึ้นมาอีกก็ได้ ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้เพราะพื้นฐานการศึกษาก็ดี ประสบการณ์ทางการเมืองอันยาวนานก็ดี ก็ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น ถ้าหากเป็น "กลอนพาไป" ผู้พูดไม่ได้จริงจังอะไร พวกผู้ฟังจึงไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องจริงจังมีสาระอะไรที่จะไปเอาใจใส่ ผู้ที่ไม่จริงจังก็คำพูดเล่นๆ ว่าจะสถาปนาตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ต่างหากเป็นคนที่ไม่ปกติ
อาจจะเป็นไปได้เหมือนกันที่ผู้ที่พูดว่า จะสถาปนาตัวเองเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ต้องการจะพูดยั่วยุฝ่ายตรงกันข้ามให้โกรธแค้น หัวเสียจะได้ออกมาเดินขบวนคัดค้าน เกิดความวุ่นวายทำให้มีการปะทะกัน อย่างที่หลายคนหลายฝ่ายวิเคราะห์จนเป็นที่วิตกวิจารณ์กัน
ก็เป็นไปได้อีกนั่นแหละว่าต้องการเป็นข่าวพาดหัว เพื่อจะได้ยึดพื้นที่ในหน้าหนังสือพิมพ์ เหมือนข่าว "ปิดกรุงเทพฯ" หรือ Shut Down Bangkok หรือสร้างข่าวว่าประเทศไทยอุดมไปด้วยก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน จะต้องยึดคืน ปตท. การสร้างข่าวต่างๆ เหล่านี้แพร่สะพัดอย่างรวดเร็วทั้งๆ ที่เป็นข่าวโจ๊ก ก็เพราะผู้ชุมนุมมีแนวร่วมที่เป็นสื่อกระแสหลักโดยทั่วไป
เมื่อคราวเปิดข่าว "ปิดกรุงเทพฯ" ก็เป็นข่าวพาดหัวยักษ์ของหนังสือพิมพ์อยู่หลายวัน คนกรุงเทพฯก็เฉยๆ ไม่ว่าอะไรแม้ว่าจะหวาดวิตก ถ้าปิดตรงนี้ก็เลี่ยงไปทางอื่น สื่อมวลชนก็ไม่ว่าอะไร แถมยังแอบสนับสนุนเอาใจช่วยเสียด้วยซ้ำไป จึงไม่มีใครที่ทำใจเป็นกลางๆ เข้าใจว่าคนในกรุงเทพฯคิดอะไรและทำไมจึงคิดเช่นนั้น
เมื่อบรรยากาศเป็นอย่างนี้ก็คงจะเดาได้ว่า สถานการณ์การต่อสู้ขัดแย้ง ระหว่างคนกรุงเทพฯที่ไม่ชอบรัฐบาลกับผู้คนในต่างจังหวัด ก็คงจะดำรงคงอยู่กับเราอีกนาน เพราะผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯ คนกรุงเทพฯและสื่อมวลชนซึ่งส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯก็เฉยๆ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ไม่มีใครว่า ส่วนคนต่างจังหวัดไม่เห็นด้วยจะชุมนุมคัดค้าน ก็คัดค้านอยู่ในต่างจังหวัด ไม่เข้ามาปะทะกัน อำนาจรัฐก็อ่อนแรงลง ทหารก็ประกาศตนเป็นกลาง ตำรวจก็ถูกสั่งไม่ให้ติดอาวุธ เพราะกลัวว่าจะเกิดความรุนแรงเป็นเหตุให้ทหารเข้ามาแทรกแซง
คงต้องรอว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยต่อจากศาลปกครองอย่างไร ในคดีโยกย้ายเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ถ้าวินิจฉัยถอดถอนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะเพื่อให้เกิดช่องว่าง แล้วมีรัฏฐาธิปัตย์ใหม่ โดยไม่ยึดอำนาจอธิปไตยจากปวงชนชาวไทย ด้วย "ปากกระบอกปืน" อย่างที่อดีตประธาน เหมา เจ๋อ ตุง ว่าไว้ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
น่าจะเป็นจำอวดมากกว่า
ที่มา.มติชนออนไลน์
___________________________________
ข่าวใหญ่ในช่วงสงกรานต์ขึ้นศักราชใหม่ จุลศักราช 1376 ปีมะเมีย ฉศก ร.ศ.233 ปี 2557 นี้ คงจะไม่มีข่าวใดเด่นกว่าข่าวการประกาศตนเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" ของแกนนำมวลมหาประชาชน ที่เริ่มจากการชุมนุมต่อต้านคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งถูกตีตกไปแล้วตั้งแต่วาระแรกของวุฒิสภา แต่การชุมนุมก็ยังดำเนินต่อไป เพราะกองทัพประกาศตนเป็นกลาง ไม่เป็นฝ่ายรัฐบาลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ตำรวจประกาศไม่ติดอาวุธ
การชุมนุม ย้ายที่ชุมนุมจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาที่สี่แยกปทุมวัน เมื่อผู้มาร่วมชุมนุมน้อยลง เริ่มมีความรุนแรง มีผู้บาดเจ็บล้มตาย และในที่สุดก็มาชุมนุมกันอยู่ในสวนลุมพินี ปักหลักอยู่ที่นั่น แต่ออกกระทำการปิดสถานที่ราชการที่นั่นที่นี่เป็นครั้งคราวในเวลากลางวัน
เมื่อมีการคาดการณ์กันว่าคณะกรรมการ ปปช.จะประณามกล่าวโทษนายกรัฐมนตรี ในความผิดเรื่องโครงการจำนำข้าว ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาถอดถอนนายกรัฐมนตรีจากตำแหน่ง ทั้งๆ ที่นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งไปแล้วตั้งแต่เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา แต่ในยุคนี้การพิจารณาตัดสินของตุลาการภิวัฒน์ จะพิจารณาตัดสินอย่างไรก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด ก็เป็นที่คาดการณ์กันได้ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องตัดสินให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้อาจจะให้พ้นเฉพาะกิจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 182(7) หรือให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะก็ได้ไม่มีใครรู้ เพราะคำวินิจฉัยชี้ขาดสมัยนี้จะออกมาอย่างไรก็ได้ ไม่มีใครทราบ เพื่อจะได้ทำให้เกิดช่องว่าง จะได้ใช้ความในมาตรา 7 แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี "คนกลาง" ที่เป็นคนดีมาทำการปฏิรูปประเทศไทยเป็นเวลาปีครึ่งถึงสองปี
เข้าใจว่าเพื่อให้เป็นไปตามนี้จึงได้มีการประกาศตนเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" หรือ "องค์อธิปัตย์" หรือภาษาฝรั่งเรียกว่า "sovereign" แปลตรงๆ ก็คือผู้ถือ "อำนาจอธิปไตย" หรือ "sovereignty" ซึ่งจะทำได้ก็ต้องฉีกรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญให้หลักประกันไว้ในมาตรา 3 ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
"รัฏฐาธิปัตย์" หรือ "องค์อธิปัตย์" ในการปกครองของไทยที่ผ่านมา ถ้าก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็คือองค์พระมหากษัตริย์ ถ้าหลังจากนั้นรัฏฐาธิปัตย์ หรือ องค์อธิปัตย์ ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ถืออำนาจอธิปไตย ก็คือหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ทำการยึดอำนาจสำเร็จ ถ้าพูดให้เต็มก็ต้องพูดว่าคณะปฏิวัติที่ยึดอำนาจอธิปไตยจากปวงชนชาวไทยได้สำเร็จ
ทุกครั้งที่มีการปฏิวัติรัฐประหารสำเร็จ ก่อนที่จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับสั้นและชั่วคราว ซึ่งปกติจะมีอยู่เพียง 20-30 มาตรา ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าหัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์ หรือ องค์อธิปัตย์
รัฏฐาธิปัตย์ หรือ องค์อธิปัตย์ ย่อมเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของตัวเอง ไม่ได้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนใครๆ ทั้งนั้น แม้แต่ปวงชนชาวไทย
เมื่ออำนาจอธิปไตยถูกยึดไปจากปวงชนชาวไทยแล้ว ผู้เป็นเจ้าของอธิปไตย หรือรัฏฐาธิปัตย์ หรือ องค์อธิปัตย์ ย่อมถืออำนาจเด็ดขาดอย่างสมบูรณ์ เหนือสถาบันหรือองค์กรทางการเมืองทั้งหมด คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ย่อมเป็นกฎหมายที่อยู่เหนือบรรดากฎหมายทั้งปวง รวมถึงรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงที่สุดด้วย ในขณะที่รัฏฐาธิปัตย์ยังไม่ยอมจำกัดอำนาจของตนเอง ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ในทางทฤษฎีรัฏฐาธิปัตย์อาจจะออกคำสั่งให้คงไว้หรือยกเลิกสถาบันหรือองค์กรการเมืองใดๆ ก็ได้ จะประกาศเปลี่ยนรูปแบบของรัฐหรือรูปแบบการปกครองของประเทศไปในรูปแบบใดๆ ก็ได้ แม้แต่จะออกคำสั่งประหารชีวิตผู้ใดก็ได้
ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในทางทฤษฎีอีกเช่นกัน องค์อธิปัตย์ จะประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศใดๆ ก็ได้ จะประกาศสงครามกับประเทศใดๆ ก็ได้ หรือจะประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศใดๆ เช่น สหประชาชาติ อาเซียน แล้วประกาศปิดประเทศเสียเฉยๆ ก็ได้ เช่นสมัยนายพลเนวิน สถาปนาคนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของประเทศพม่า
เรื่องใครจะประกาศตั้งตัวเป็นรัฏฐาธิปัตย์จึงเป็นเรื่องใหญ่ ที่ไม่มีใครที่ยังมีสติสัมปชัญญะจะกล้าประกาศตนเช่นนั้น แม้แต่หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหาร ซึ่งเมื่อประกาศยึดอำนาจอธิปไตย จากพระมหากษัตริย์หรือจากปวงชนได้เป็นผลสำเร็จ ก็ไม่กล้าประกาศตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์อย่างชัดแจ้ง แม้ว่าผลของการทำปฏิวัติรัฐประหารสำเร็จ ตนเองจะกลายเป็นองค์อธิปัตย์หรือรัฏฐาธิปัตย์ ออกคำสั่งออกประกาศคณะปฏิวัติ คณะรัฐประหารหรือคณะปฏิรูปอะไรก็แล้วแต่ แต่ก็ไม่กล้าประกาศว่าตนเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" คนทั่วไปจึงไม่ทราบว่าหมายความว่าอย่างไร เพราะเข้าใจว่าการกระทำเช่นนั้นย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การประกาศเป็นรัฏฐาธิปัตย์โดยการชุมนุมเดินขบวนจะได้รับการต่อต้านจากประชาชนสื่อมวลชน และประชาคมระหว่างประเทศ ความเป็นไปได้แทบไม่มี หรือถ้าจะมีก็ต้องใช้กองกำลังติดอาวุธเข้ายึดอำนาจอธิปไตย หรือ "อำนาจรัฐ" อย่างที่ เหมา เจ๋อ ตุง เคยกล่าวเอาไว้ว่า "อำนาจรัฐย่อมมาได้จากปากกระบอกปืน" เท่านั้น
แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือ เมื่อมีการประกาศตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ผ่านทางการชุมนุม ผ่านทางสื่อต่างๆ กลับปรากฏว่าผู้คนรู้สึก "เฉยๆ" หรือไม่ก็อาจจะเห็นด้วยเสียด้วยซ้ำ กองทัพที่ถืออาวุธก็ "เฉยๆ" ไม่มีปฏิกิริยาอะไร ยกเว้นแต่กลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายตรงกันข้ามเท่านั้นที่แสดงปฏิกิริยาในเชิงลบและต่อต้านการประกาศนั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจจะด้วยเหตุผลหลายอย่างเช่น
ผู้คนในกรุงเทพฯหรือคนชั้นสูงที่สนับสนุนการชุมนุมในสวนลุมพินีก็ไม่เข้าใจ แปลว่าอะไร มีความหมายอย่างไร ผลที่ตามมาจะมีอะไรบ้าง กระทบต่อระบบกฎหมาย กระทบต่อขบวนการการปกครองประเทศอย่างไร ต่างจากการปฏิวัติรัฐประหารซึ่งพวกเราเคยชินกันมา แล้วเข้าใจเอาเองว่าคณะปฏิวัติคงไม่เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม รวมทั้งสถาบันการเมืองที่สำคัญๆ ของประเทศ หรือผู้คนในกรุงเทพฯเข้าใจดี จึงไม่ต่อต้าน แต่การประกาศเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เมื่อมีช่องว่างจากการวินิจฉัยตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้เพราะยังไม่เคยมีเป็นตัวอย่าง
หรือไม่ที่ผู้คนหรือสื่อมวลชนรู้สึก "เฉยๆ" ก็เพราะเห็นว่าเป็นเพียง "จำอวด" หรือ "วาทกรรม" ทางการเมือง เป็นเรื่องตลกที่เป็นไปไม่ได้ นอกเสียจากมีการปฏิวัติรัฐประหารก่อนที่แกนนำจะได้เป็นองค์อธิปัตย์ หรือ รัฏฐาธิปัตย์ จริงๆ ก็ได้ ทางกองทัพก็คงจะคิดอย่างนั้นก็ได้ จึงไม่มีปฏิกิริยาอะไร เพราะถ้าเกิดเป็นเช่นนั้นจริงๆ ตำแหน่งผู้บัญชาการเหล่าทัพ ก็อาจจะถูกสับเปลี่ยนโดยองค์อธิปัตย์ใหม่เอาง่ายๆ ก็ได้
หรือเป็นไปได้ว่า "กลอนพาไป" ผู้พูดไม่ได้จริงจังอะไรกับสิ่งที่ตนพูด จะว่าผู้พูดไม่รู้สึกผลของการได้มาซึ่ง "อำนาจรัฐ" กับสิ่งที่ตนพูด จะว่าผู้พูดไม่รู้ถึงผลของการได้มาซึ่ง "อำนาจรัฐ" จนตนเองเป็นรัฏฐาธิปัตย์ สามารถทำอะไรก็ได้ จะแต่งตั้งใครเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ ใครเป็นสมาชิกสถานิติบัญญัติก็ได้ จะแต่งตั้งถอดถอนตุลาการหรือยกเลิกหรือเพิ่มศาลขึ้นมาอีกก็ได้ ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้เพราะพื้นฐานการศึกษาก็ดี ประสบการณ์ทางการเมืองอันยาวนานก็ดี ก็ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น ถ้าหากเป็น "กลอนพาไป" ผู้พูดไม่ได้จริงจังอะไร พวกผู้ฟังจึงไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องจริงจังมีสาระอะไรที่จะไปเอาใจใส่ ผู้ที่ไม่จริงจังก็คำพูดเล่นๆ ว่าจะสถาปนาตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ต่างหากเป็นคนที่ไม่ปกติ
อาจจะเป็นไปได้เหมือนกันที่ผู้ที่พูดว่า จะสถาปนาตัวเองเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ต้องการจะพูดยั่วยุฝ่ายตรงกันข้ามให้โกรธแค้น หัวเสียจะได้ออกมาเดินขบวนคัดค้าน เกิดความวุ่นวายทำให้มีการปะทะกัน อย่างที่หลายคนหลายฝ่ายวิเคราะห์จนเป็นที่วิตกวิจารณ์กัน
ก็เป็นไปได้อีกนั่นแหละว่าต้องการเป็นข่าวพาดหัว เพื่อจะได้ยึดพื้นที่ในหน้าหนังสือพิมพ์ เหมือนข่าว "ปิดกรุงเทพฯ" หรือ Shut Down Bangkok หรือสร้างข่าวว่าประเทศไทยอุดมไปด้วยก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน จะต้องยึดคืน ปตท. การสร้างข่าวต่างๆ เหล่านี้แพร่สะพัดอย่างรวดเร็วทั้งๆ ที่เป็นข่าวโจ๊ก ก็เพราะผู้ชุมนุมมีแนวร่วมที่เป็นสื่อกระแสหลักโดยทั่วไป
เมื่อคราวเปิดข่าว "ปิดกรุงเทพฯ" ก็เป็นข่าวพาดหัวยักษ์ของหนังสือพิมพ์อยู่หลายวัน คนกรุงเทพฯก็เฉยๆ ไม่ว่าอะไรแม้ว่าจะหวาดวิตก ถ้าปิดตรงนี้ก็เลี่ยงไปทางอื่น สื่อมวลชนก็ไม่ว่าอะไร แถมยังแอบสนับสนุนเอาใจช่วยเสียด้วยซ้ำไป จึงไม่มีใครที่ทำใจเป็นกลางๆ เข้าใจว่าคนในกรุงเทพฯคิดอะไรและทำไมจึงคิดเช่นนั้น
เมื่อบรรยากาศเป็นอย่างนี้ก็คงจะเดาได้ว่า สถานการณ์การต่อสู้ขัดแย้ง ระหว่างคนกรุงเทพฯที่ไม่ชอบรัฐบาลกับผู้คนในต่างจังหวัด ก็คงจะดำรงคงอยู่กับเราอีกนาน เพราะผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯ คนกรุงเทพฯและสื่อมวลชนซึ่งส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯก็เฉยๆ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ไม่มีใครว่า ส่วนคนต่างจังหวัดไม่เห็นด้วยจะชุมนุมคัดค้าน ก็คัดค้านอยู่ในต่างจังหวัด ไม่เข้ามาปะทะกัน อำนาจรัฐก็อ่อนแรงลง ทหารก็ประกาศตนเป็นกลาง ตำรวจก็ถูกสั่งไม่ให้ติดอาวุธ เพราะกลัวว่าจะเกิดความรุนแรงเป็นเหตุให้ทหารเข้ามาแทรกแซง
คงต้องรอว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยต่อจากศาลปกครองอย่างไร ในคดีโยกย้ายเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ถ้าวินิจฉัยถอดถอนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะเพื่อให้เกิดช่องว่าง แล้วมีรัฏฐาธิปัตย์ใหม่ โดยไม่ยึดอำนาจอธิปไตยจากปวงชนชาวไทย ด้วย "ปากกระบอกปืน" อย่างที่อดีตประธาน เหมา เจ๋อ ตุง ว่าไว้ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
น่าจะเป็นจำอวดมากกว่า
ที่มา.มติชนออนไลน์
___________________________________
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น