สัมภาษณ์
หมายเหตุ - นายคณิน บุญสุวรรณ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) และนายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นกรณี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาในฐานะรักษาการประธานวุฒิสภา เสนอให้รัฐบาลเสนอร่าง พ.ร.ฎ.เปิดประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช ออกจากตำแหน่งประธานวุฒิสภา ภายหลังถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด โดยรัฐบาลยืนยันว่าไม่สามารถทำได้เนื่องจากขัดกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
คณิน บุญสุวรรณ
ประเด็นการเปิดประชุมวุฒิสภา หากเปิดประชุมวุฒิสภาไม่ได้ก็ไม่ได้ส่งผลอะไร เพียงแค่ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดใคร วุฒิสภาก็ประชุมไม่ได้ และก็กรณีที่ค้างอยู่เรื่องถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ก็ทำไม่ได้ แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบในกระบวนการทางการเมือง เพราะจริงๆ แล้วเมื่อมีการยุบสภา กระบวนการทางการเมืองมันหยุดพักชั่วคราว เพราะไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีคณะรัฐมนตรี ก็ไม่มีกระบวนการทางการเมือง วุฒิสภาจะเล่นการเมืองโดยลำพังคงไม่ได้ เมื่อก่อนนี้ เมื่อมีการยุบสภา วุฒิสภาก็จะประชุมไม่ได้ เว้นแต่เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนการทางการเมือง เช่น ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการให้ความเห็นชอบ รับทราบ เรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ หรือให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิญาณตน หรือประกาศสงคราม ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ แต่ตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญปี 2540 เขาบัญญัติในเรื่องของการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และเรื่องของการถอดถอนทั้งที่ไม่ควรจะมี เพราะเมื่อมีการยุบสภานายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และ ส.ส.ก็พ้นจากตำแหน่งไปหมดแล้ว ฉะนั้นจะให้วุฒิสภาไปถอดถอนอะไรเขาอีกก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม แต่ที่สำคัญคือ ถึงแม้ในมาตรา 132 บัญญัติให้มีการประชุมวุฒิสภาได้ในเรื่องของการแต่งตั้ง-ถอดถอน แต่เขาก็ไม่ได้ระบุวิธีไว้ เพราะจะบอกว่าเปิดสมัยวิสามัญ ก็ต้องมีรัฐสภาก่อน ซึ่งจะไปตอนที่เปิดประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก ตามมาตรา 127 แต่บังเอิญคราวนี้ การเปิดประชุมรัฐสภาตามมาตรา 127 ทำไม่ได้ เพราะมีการขัดขวางการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) บอยคอตการเลือกตั้ง และ กกต.ก็หน่วงเหนี่ยวการเลือกตั้ง
เพราะฉะนั้นเมื่อเปิดรัฐสภาไม่ได้ กระบวนการทางการเมืองก็ยังไม่ได้เริ่มต้น นายกฯก็ไม่มี รัฐมนตรีก็ไม่มี สภาผู้แทนราษฎรก็ยังไม่มี เมื่อไม่มีจะให้ ส.ว.เล่นการเมืองกันไปโดยลำพังก็คงไม่ถูก ดังนั้น การเรียกเปิดประชุมรัฐสภาไม่ได้ จะไปหาว่ารัฐบาลไม่ออก พ.ร.ฎ.หน่วงเหนี่ยวเอาไว้ ก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญรองรับเอาไว้ว่า นายกฯต้องเป็นผู้นำความกราบบังคมทูลเพื่อตรา พ.ร.ฎ.จะมีประชุมสมัยวิสามัญได้อย่างไร ในเมื่อยังไม่มีสมัยสามัญที่เริ่มต้นตามมาตรา 127 ต่อมาจึงจะเปิดสมัยวิสามัญ โดยการตราเป็น พ.ร.ฎ.หรือเป็นพระบรมราชโองการที่ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ แต่นี่ไม่มีอะไรสักอย่าง ประเทศนี้ไม่ได้มีแค่วุฒิสภา จะเล่นกันตามลำพังไม่ได้ แต่ประเทศนี้ต้องมีรัฐสภา แล้วเล่นไม่เล่นเปล่า จะไปเอาตัวคนที่เขาพ้นจากตำแหน่งไปแล้วมาเล่นด้วย
การแต่งตั้งกรรมการ ป.ป.ช.คนใหม่ 1 คน ถ้าบอกว่าเป็นเรื่องรีบร้อน เร่งด่วน ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติ มีรัฐสภาอยู่ การที่คณะกรรมการสรรหาจะต้องเลือกกรรมการ ป.ป.ช.เข้ามา แล้วให้วุฒิสภาลงมติให้ความเห็นชอบ ตามกำหนดเวลาที่กำหนดเอาไว้ก็เป็นเรื่องของภาวะปกติ แต่ในขณะนี้ไม่มีรัฐสภา จะไปเอาระยะเวลาที่ว่านี้มาดำเนินการให้เกิดประชุมวิสามัญก็คงจะไม่ได้ เพราะถึงแม้กรรมการ ป.ป.ช.อีก 1 คนนี้จะยังไม่เข้ามา อีก 8 คนที่เหลือก็ทำหน้าที่ได้อยู่แล้ว สำหรับกรณีปี 2549 นั้น เป็นเหตุบังเอิญที่ตอนนั้นต้องมีการขอเปิดประชุมเพื่อเลือก กกต. และตอนนั้น ส.ว.ครบวาระไปหมดพร้อมกัน 200 คน ถ้าไม่มี กกต.ก็จะเลือก ส.ว.ใหม่ไม่ได้ ซึ่งตอนนั้นจะว่าไปก็ไม่ถูก ไม่รู้นักกฎหมายในขณะนั้นเขาวินิจฉัยเรื่องนี้อย่างไร เพราะอย่างที่บอกง่ายๆ ไม่มีสมัยสามัญ จะมีสมัยวิสามัญได้อย่างไร ข้อสำคัญคือ รัฐสภาที่ยุบไป เป็นการสิ้นสุดรัฐสภาชุดที่ 33 ดังนั้น วุฒิสภาที่มีอยู่ตอนที่ยุบสภาก็เป็นชุดที่ 33 เพราะฉะนั้นเมื่อยุบสภาไปแล้ว วุฒิสภาก็ยังทำอะไรไม่ได้ ต้องรอจนกว่ารัฐสภาชุดที่ 34 จะเกิดขึ้น ซึ่งวุฒิสภาชุดที่ 34 จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกตามมาตรา 127 ดังนั้น วุฒิสภาถึงมีอยู่ก็ตาม แต่ไม่ใช่ชุดที่ 33 แล้ว เพราะชุดที่ 33 ได้ยุติไปแล้ว ในขณะที่ชุดที่ 34 ยังไม่เกิด วุฒิสภาปัจจุบันจะบอกว่าคุณต้องออก พ.ร.ฎ.วิสามัญให้ฉัน แล้วฉันจะเล่นกันลำพังมันก็ไม่ได้ จึงตอบคำถามที่ว่า เปิดประชุมวุฒิสภาไม่ได้จะเกิดความเสียหายอะไรหรือไม่ ก็บอกได้ว่าไม่เกิดอะไรเลย ป.ป.ช.อีก 8 คน ก็ยังทำงานได้ จะถอดถอนใครก็รอไปอีกนิดหนึ่งจนกว่าจะมีรัฐสภาแล้ว ต่อจากนั้นคุณจะทำอะไรก็ได้ เพราะถ้าไม่เป็นไปอย่างนี้ต่อไปไม่พอใจอะไรก็ขัดขวางการเลือกตั้งเพื่อให้เปิดรัฐสภาไม่ได้ แล้วฉวยโอกาสให้วุฒิสภาเล่นงานคนอื่นกันตามลำพัง ความเสียหายจะเกิดขึ้นหากเปิดโอกาสให้วุฒิสภาเล่นงานคนอื่นตามลำพังโดยที่เขาไม่มีโอกาสมาโต้ตอบมากกว่า
ถ้าคุณต้องการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคุณ ก็มีทางเดียว คือ ให้ กกต.ดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้เสร็จเร็วที่สุด แล้วเปิดรัฐสภาตามมาตรา 127 จากนั้นไปคุณจะทำอะไรก็ได้สารพัด แต่เวลานี้จะให้เปิดเพื่อให้คุณเล่นกันตามลำพังฝ่ายเดียวมันไม่ได้ เหมือนการพูดเอาแต่ได้ ข้อกฎหมายก็ไม่ชัดเจน รองประธานวุฒิสภาที่มีหนังสือมาตอนแรกก็บอกให้นายกฯเป็นผู้กราบบังคมทูล แต่ก็ไม่มีช่องทางไหนทำได้ จะเปิดวิสามัญก็ไม่ได้เพราะยังไม่มีรัฐสภา ไม่มีประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลและลงนามสนองพระบรมราชโองการ สรุปคุณก็รู้ว่าทำอะไรไม่ได้สักอย่าง ตอนหลังก็ให้เลขาธิการวุฒิสภาส่งหนังสือมา ซึ่งเลขาธิการวุฒิสภาก็ไม่ใช่เลขาธิการสภา ถ้าจะทำเรื่องที่เกี่ยวกับธุรการของรัฐสภาก็ต้องให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทำ ยิ่งบอกให้เปิดประชุมรัฐสภา นอกจากนี้นายนิคมก็ยังอยู่ แม้จะหยุดปฏิบัติหน้าที่แต่เขาก็ยังเป็นรองประธานรัฐสภาอยู่แม้ในขณะที่ไม่มีรัฐสภา เขาก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน ทางเดียวคือ กกต.ต้องเร่งจัดการเลือกตั้ง เพราะหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยอะไรขึ้นมาที่ส่งผลกระทบต่อคณะรัฐมนตรีก็จะยุ่งกันไปใหญ่
สำหรับเรื่อง ส.ว.ชุดใหม่ แม้จะรับรองครบ 95% ก็เปิดประชุมไม่ได้อยู่ดี เพราะจะปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ต่อเมื่อได้ปฏิญาณตน แล้วนี่สภายังไม่เปิดคุณจะไปปฏิญาณตนกับใคร เมื่อปฏิญาณตนไม่ได้ก็เข้าทำหน้าที่ไม่ได้ ก็ไม่สามารถลงมติถอดถอนใครได้ แล้วก็จะวนกันไปอยู่ทางเดิม ขอย้ำอีกครั้งว่าทางออกมีทางเดียวคือการจัดการเลือกตั้งให้ลุล่วง หรือไม่ก็ฉีกรัฐธรรมนูญ ปฏิวัติ ทำรัฐประหารไปเลย แต่จะปฏิวัติก็ทำไม่ได้อีกเพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
จึงมีทางเดียวจะชอบหรือไม่ชอบก็ต้องจัดการเลือกตั้ง และถ้ายังยื้อกันอยู่แบบนี้งบประมาณปี 2558 ใครจะเป็นคนทำ จะให้สภาประชาชนมาทำเหรอ เพราะงบประมาณอย่างช้าเดือนมิถุนายนก็ต้องเข้าสภาแล้ว แต่วันนี้ดูแล้วแค่เรื่องงบประมาณปี 2558 อย่างเดียวก็มืดมนแล้ว
พนัส ทัศนียานนท์
ต้องแยกการพิจารณาเป็น 2 ประเด็น เปิดเพื่ออะไร หากเป็นการเปิดเพื่อถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ไม่สามารถเปิดได้ ผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 273 วรรค 2 เนื่องจากไม่มีประธานสภา นำความกราบบังคมทูล ส่วนที่จะมีการเปิดเพื่อพิจารณาเพื่อการเห็นชอบนางสุภา ปิยะจิตติ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มองว่าการเปิดเพื่อพิจารณานางสุภาทำไมต้องเปิด ภายในวันที่ 24 เมษายน แสดงว่าผู้ที่ทำหน้าที่ในช่วงนั้นเป็นสมาชิกวุฒิสภาชุดเก่าและจะปฏิบัติหน้าทีได้เพียง 5 วันเท่านั้น เมื่อพ้นไปก็ต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาใหม่จากสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ ที่จะมีการประกาศรับรอง ในวันที่ 28 เมษายน ดังนั้นควรเปิดประชุมในช่วงที่มีการรับรองสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ ครบ 95% ซึ่งการพิจารณาเรื่องนางสุภานั้น สามารถทำได้ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม
ส่วนที่มีการยกการออก พ.ร.ฎ.เปิดประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญ เมื่อปี 2549 นั้น เนื่องจากครั้งนั้นมีความจำเป็นต้องพิจารณา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดใหม่ เพราะ กกต.ชุดเก่าถูกลงโทษให้พ้นจากตำแหน่งหากไม่มี กกต.ชุดใหม่ก็ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ จึงต้องมีการเปิดประชุม โดยอย่างไรการพิจารณาถอดถอนนายนิคมนั้น แม้จะยังไม่สามารถเปิดประชุมพิจาณาเรื่องนี้ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเรื่องนี้จะตกไปหรือเป็นโมฆะ
ส่วนเงื่อนเวลาที่บอกต้องทำภายใน 20 วัน เมื่อได้รับเรื่องจาก ป.ป.ช.เป็นเพียงข้อบังคบเพื่อให้ขั้นตอนการทำงานเร็วขึ้น เพราะเรื่องการพิจารณานางสุภาก็เช่นกันตามข้อบังคับให้ทำภายใน 20 วัน ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ 30 วัน ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่มีผลต่อการพิจารณา
หมายเหตุ - นายคณิน บุญสุวรรณ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) และนายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นกรณี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาในฐานะรักษาการประธานวุฒิสภา เสนอให้รัฐบาลเสนอร่าง พ.ร.ฎ.เปิดประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช ออกจากตำแหน่งประธานวุฒิสภา ภายหลังถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด โดยรัฐบาลยืนยันว่าไม่สามารถทำได้เนื่องจากขัดกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
คณิน บุญสุวรรณ
ประเด็นการเปิดประชุมวุฒิสภา หากเปิดประชุมวุฒิสภาไม่ได้ก็ไม่ได้ส่งผลอะไร เพียงแค่ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดใคร วุฒิสภาก็ประชุมไม่ได้ และก็กรณีที่ค้างอยู่เรื่องถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ก็ทำไม่ได้ แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบในกระบวนการทางการเมือง เพราะจริงๆ แล้วเมื่อมีการยุบสภา กระบวนการทางการเมืองมันหยุดพักชั่วคราว เพราะไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีคณะรัฐมนตรี ก็ไม่มีกระบวนการทางการเมือง วุฒิสภาจะเล่นการเมืองโดยลำพังคงไม่ได้ เมื่อก่อนนี้ เมื่อมีการยุบสภา วุฒิสภาก็จะประชุมไม่ได้ เว้นแต่เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนการทางการเมือง เช่น ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการให้ความเห็นชอบ รับทราบ เรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ หรือให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิญาณตน หรือประกาศสงคราม ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ แต่ตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญปี 2540 เขาบัญญัติในเรื่องของการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และเรื่องของการถอดถอนทั้งที่ไม่ควรจะมี เพราะเมื่อมีการยุบสภานายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และ ส.ส.ก็พ้นจากตำแหน่งไปหมดแล้ว ฉะนั้นจะให้วุฒิสภาไปถอดถอนอะไรเขาอีกก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม แต่ที่สำคัญคือ ถึงแม้ในมาตรา 132 บัญญัติให้มีการประชุมวุฒิสภาได้ในเรื่องของการแต่งตั้ง-ถอดถอน แต่เขาก็ไม่ได้ระบุวิธีไว้ เพราะจะบอกว่าเปิดสมัยวิสามัญ ก็ต้องมีรัฐสภาก่อน ซึ่งจะไปตอนที่เปิดประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก ตามมาตรา 127 แต่บังเอิญคราวนี้ การเปิดประชุมรัฐสภาตามมาตรา 127 ทำไม่ได้ เพราะมีการขัดขวางการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) บอยคอตการเลือกตั้ง และ กกต.ก็หน่วงเหนี่ยวการเลือกตั้ง
เพราะฉะนั้นเมื่อเปิดรัฐสภาไม่ได้ กระบวนการทางการเมืองก็ยังไม่ได้เริ่มต้น นายกฯก็ไม่มี รัฐมนตรีก็ไม่มี สภาผู้แทนราษฎรก็ยังไม่มี เมื่อไม่มีจะให้ ส.ว.เล่นการเมืองกันไปโดยลำพังก็คงไม่ถูก ดังนั้น การเรียกเปิดประชุมรัฐสภาไม่ได้ จะไปหาว่ารัฐบาลไม่ออก พ.ร.ฎ.หน่วงเหนี่ยวเอาไว้ ก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญรองรับเอาไว้ว่า นายกฯต้องเป็นผู้นำความกราบบังคมทูลเพื่อตรา พ.ร.ฎ.จะมีประชุมสมัยวิสามัญได้อย่างไร ในเมื่อยังไม่มีสมัยสามัญที่เริ่มต้นตามมาตรา 127 ต่อมาจึงจะเปิดสมัยวิสามัญ โดยการตราเป็น พ.ร.ฎ.หรือเป็นพระบรมราชโองการที่ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ แต่นี่ไม่มีอะไรสักอย่าง ประเทศนี้ไม่ได้มีแค่วุฒิสภา จะเล่นกันตามลำพังไม่ได้ แต่ประเทศนี้ต้องมีรัฐสภา แล้วเล่นไม่เล่นเปล่า จะไปเอาตัวคนที่เขาพ้นจากตำแหน่งไปแล้วมาเล่นด้วย
การแต่งตั้งกรรมการ ป.ป.ช.คนใหม่ 1 คน ถ้าบอกว่าเป็นเรื่องรีบร้อน เร่งด่วน ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติ มีรัฐสภาอยู่ การที่คณะกรรมการสรรหาจะต้องเลือกกรรมการ ป.ป.ช.เข้ามา แล้วให้วุฒิสภาลงมติให้ความเห็นชอบ ตามกำหนดเวลาที่กำหนดเอาไว้ก็เป็นเรื่องของภาวะปกติ แต่ในขณะนี้ไม่มีรัฐสภา จะไปเอาระยะเวลาที่ว่านี้มาดำเนินการให้เกิดประชุมวิสามัญก็คงจะไม่ได้ เพราะถึงแม้กรรมการ ป.ป.ช.อีก 1 คนนี้จะยังไม่เข้ามา อีก 8 คนที่เหลือก็ทำหน้าที่ได้อยู่แล้ว สำหรับกรณีปี 2549 นั้น เป็นเหตุบังเอิญที่ตอนนั้นต้องมีการขอเปิดประชุมเพื่อเลือก กกต. และตอนนั้น ส.ว.ครบวาระไปหมดพร้อมกัน 200 คน ถ้าไม่มี กกต.ก็จะเลือก ส.ว.ใหม่ไม่ได้ ซึ่งตอนนั้นจะว่าไปก็ไม่ถูก ไม่รู้นักกฎหมายในขณะนั้นเขาวินิจฉัยเรื่องนี้อย่างไร เพราะอย่างที่บอกง่ายๆ ไม่มีสมัยสามัญ จะมีสมัยวิสามัญได้อย่างไร ข้อสำคัญคือ รัฐสภาที่ยุบไป เป็นการสิ้นสุดรัฐสภาชุดที่ 33 ดังนั้น วุฒิสภาที่มีอยู่ตอนที่ยุบสภาก็เป็นชุดที่ 33 เพราะฉะนั้นเมื่อยุบสภาไปแล้ว วุฒิสภาก็ยังทำอะไรไม่ได้ ต้องรอจนกว่ารัฐสภาชุดที่ 34 จะเกิดขึ้น ซึ่งวุฒิสภาชุดที่ 34 จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกตามมาตรา 127 ดังนั้น วุฒิสภาถึงมีอยู่ก็ตาม แต่ไม่ใช่ชุดที่ 33 แล้ว เพราะชุดที่ 33 ได้ยุติไปแล้ว ในขณะที่ชุดที่ 34 ยังไม่เกิด วุฒิสภาปัจจุบันจะบอกว่าคุณต้องออก พ.ร.ฎ.วิสามัญให้ฉัน แล้วฉันจะเล่นกันลำพังมันก็ไม่ได้ จึงตอบคำถามที่ว่า เปิดประชุมวุฒิสภาไม่ได้จะเกิดความเสียหายอะไรหรือไม่ ก็บอกได้ว่าไม่เกิดอะไรเลย ป.ป.ช.อีก 8 คน ก็ยังทำงานได้ จะถอดถอนใครก็รอไปอีกนิดหนึ่งจนกว่าจะมีรัฐสภาแล้ว ต่อจากนั้นคุณจะทำอะไรก็ได้ เพราะถ้าไม่เป็นไปอย่างนี้ต่อไปไม่พอใจอะไรก็ขัดขวางการเลือกตั้งเพื่อให้เปิดรัฐสภาไม่ได้ แล้วฉวยโอกาสให้วุฒิสภาเล่นงานคนอื่นกันตามลำพัง ความเสียหายจะเกิดขึ้นหากเปิดโอกาสให้วุฒิสภาเล่นงานคนอื่นตามลำพังโดยที่เขาไม่มีโอกาสมาโต้ตอบมากกว่า
ถ้าคุณต้องการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคุณ ก็มีทางเดียว คือ ให้ กกต.ดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้เสร็จเร็วที่สุด แล้วเปิดรัฐสภาตามมาตรา 127 จากนั้นไปคุณจะทำอะไรก็ได้สารพัด แต่เวลานี้จะให้เปิดเพื่อให้คุณเล่นกันตามลำพังฝ่ายเดียวมันไม่ได้ เหมือนการพูดเอาแต่ได้ ข้อกฎหมายก็ไม่ชัดเจน รองประธานวุฒิสภาที่มีหนังสือมาตอนแรกก็บอกให้นายกฯเป็นผู้กราบบังคมทูล แต่ก็ไม่มีช่องทางไหนทำได้ จะเปิดวิสามัญก็ไม่ได้เพราะยังไม่มีรัฐสภา ไม่มีประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลและลงนามสนองพระบรมราชโองการ สรุปคุณก็รู้ว่าทำอะไรไม่ได้สักอย่าง ตอนหลังก็ให้เลขาธิการวุฒิสภาส่งหนังสือมา ซึ่งเลขาธิการวุฒิสภาก็ไม่ใช่เลขาธิการสภา ถ้าจะทำเรื่องที่เกี่ยวกับธุรการของรัฐสภาก็ต้องให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทำ ยิ่งบอกให้เปิดประชุมรัฐสภา นอกจากนี้นายนิคมก็ยังอยู่ แม้จะหยุดปฏิบัติหน้าที่แต่เขาก็ยังเป็นรองประธานรัฐสภาอยู่แม้ในขณะที่ไม่มีรัฐสภา เขาก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน ทางเดียวคือ กกต.ต้องเร่งจัดการเลือกตั้ง เพราะหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยอะไรขึ้นมาที่ส่งผลกระทบต่อคณะรัฐมนตรีก็จะยุ่งกันไปใหญ่
สำหรับเรื่อง ส.ว.ชุดใหม่ แม้จะรับรองครบ 95% ก็เปิดประชุมไม่ได้อยู่ดี เพราะจะปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ต่อเมื่อได้ปฏิญาณตน แล้วนี่สภายังไม่เปิดคุณจะไปปฏิญาณตนกับใคร เมื่อปฏิญาณตนไม่ได้ก็เข้าทำหน้าที่ไม่ได้ ก็ไม่สามารถลงมติถอดถอนใครได้ แล้วก็จะวนกันไปอยู่ทางเดิม ขอย้ำอีกครั้งว่าทางออกมีทางเดียวคือการจัดการเลือกตั้งให้ลุล่วง หรือไม่ก็ฉีกรัฐธรรมนูญ ปฏิวัติ ทำรัฐประหารไปเลย แต่จะปฏิวัติก็ทำไม่ได้อีกเพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
จึงมีทางเดียวจะชอบหรือไม่ชอบก็ต้องจัดการเลือกตั้ง และถ้ายังยื้อกันอยู่แบบนี้งบประมาณปี 2558 ใครจะเป็นคนทำ จะให้สภาประชาชนมาทำเหรอ เพราะงบประมาณอย่างช้าเดือนมิถุนายนก็ต้องเข้าสภาแล้ว แต่วันนี้ดูแล้วแค่เรื่องงบประมาณปี 2558 อย่างเดียวก็มืดมนแล้ว
พนัส ทัศนียานนท์
ต้องแยกการพิจารณาเป็น 2 ประเด็น เปิดเพื่ออะไร หากเป็นการเปิดเพื่อถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ไม่สามารถเปิดได้ ผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 273 วรรค 2 เนื่องจากไม่มีประธานสภา นำความกราบบังคมทูล ส่วนที่จะมีการเปิดเพื่อพิจารณาเพื่อการเห็นชอบนางสุภา ปิยะจิตติ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มองว่าการเปิดเพื่อพิจารณานางสุภาทำไมต้องเปิด ภายในวันที่ 24 เมษายน แสดงว่าผู้ที่ทำหน้าที่ในช่วงนั้นเป็นสมาชิกวุฒิสภาชุดเก่าและจะปฏิบัติหน้าทีได้เพียง 5 วันเท่านั้น เมื่อพ้นไปก็ต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาใหม่จากสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ ที่จะมีการประกาศรับรอง ในวันที่ 28 เมษายน ดังนั้นควรเปิดประชุมในช่วงที่มีการรับรองสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ ครบ 95% ซึ่งการพิจารณาเรื่องนางสุภานั้น สามารถทำได้ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม
ส่วนที่มีการยกการออก พ.ร.ฎ.เปิดประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญ เมื่อปี 2549 นั้น เนื่องจากครั้งนั้นมีความจำเป็นต้องพิจารณา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดใหม่ เพราะ กกต.ชุดเก่าถูกลงโทษให้พ้นจากตำแหน่งหากไม่มี กกต.ชุดใหม่ก็ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ จึงต้องมีการเปิดประชุม โดยอย่างไรการพิจารณาถอดถอนนายนิคมนั้น แม้จะยังไม่สามารถเปิดประชุมพิจาณาเรื่องนี้ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเรื่องนี้จะตกไปหรือเป็นโมฆะ
ส่วนเงื่อนเวลาที่บอกต้องทำภายใน 20 วัน เมื่อได้รับเรื่องจาก ป.ป.ช.เป็นเพียงข้อบังคบเพื่อให้ขั้นตอนการทำงานเร็วขึ้น เพราะเรื่องการพิจารณานางสุภาก็เช่นกันตามข้อบังคับให้ทำภายใน 20 วัน ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ 30 วัน ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่มีผลต่อการพิจารณา
ที่มา.มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น