กองทัพเชื่อวิกฤติจบที่โต๊ะเจรจา
แม้สถานการณ์ทางการเมืองในช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ จะคลี่คลายไปแล้วเปลาะหนึ่ง เพราะค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า การตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ของทั้ง ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ จะเลื่อนออกไป และอย่างเร็วที่สุดก็น่าจะถึงคิวตัดสินในเดือนพฤษภาคม แต่บ้านเมืองก็ยังอยู่ในภาวะ "ระเบิดเวลา" ที่พร้อมจะระเบิดได้ทุกเมื่อ
ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ดูสิ้นหวังไร้ทางออก "กองทัพ" ดูเหมือนว่าจะเป็นสถาบันสุดท้ายที่ทุกฝ่ายนึกถึง โดยเฉพาะมวลชนหลักทั้งกลุ่มหนุน และกลุ่มต้านรัฐบาล ต่างก็พยายามลากดึงให้กองทัพเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์ หรือวางบทบาทเข้าข้างกลุ่มตนให้มากที่สุด เพราะเชื่อว่า กองทัพคือตัว "จบเกม" ในฉากสุดท้าย
ปรากฏการณ์ที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) อ้างว่า ตัวแทนเหล่าทัพ และส่วนราชการอื่นๆ ที่ร่วมประชุมกับ ศอ.รส. มีจุดยืนสนับสนุนแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ของศอ.รส. ที่มีท่าทีกดดันการทำงานขององค์กรอิสระ โดยเฉพาะป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ ที่กำลังพิจารณาตัดสินคดีของนายกฯ รวมทั้งข้อเสนอทางออกตามมาตรา 7
เป็นความพยายามใช้กองทัพมา "ตีตราประทับ" ความชอบธรรมของฝ่ายตนในการเคลื่อนไหวเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมืองที่ว่ากันว่าเป็น "สงครามครั้งสุดท้าย" แล้ว !!
ร้อนถึง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ต้องออกมาชี้แจงถึงจุดยืนที่แท้จริงของ ผบ.เหล่าทัพ ว่า "ถ้ามองตามหลักการถือว่าเขาพูดถูก เพราะการประชุม ศอ.รส.แต่ละครั้งจะมีผู้แทนจากเหล่าทัพ ตำรวจ ข้าราชการ เข้าร่วมกันครบ เพื่อรับฟังพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ ส่วนการตั้งหัวข้อ ประเด็น เป็นหน้าที่ของประธาน และเลขาฯ ศอ.รส."
"ถ้าเขาจะอ้างเช่นนั้นก็ถือเป็นสิทธิ์ เพราะคำพูดก็ตรงตามตัวอยู่แล้วคือผู้แทน ไม่ใช่ ผบ.เหล่าทัพ ทั้งนี้ ผู้แทนเหล่าทัพทำหน้าที่เพียงให้ข้อมูล ข้อเสนอ หรือการแสดงความคิดเห็น แต่ไม่สามารถตกลงใจหรือปฏิเสธเรื่องใดๆ ในที่ประชุม ศอ.รส.ได้ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญ"
"เพราะผู้แทนจะต้องทำรายงานในที่ประชุม ศอ.รส. เพื่อเสนอให้ ผบ.แต่ละเหล่าทัพรับทราบทุกครั้ง และถ้าเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจ ผบ.เหล่าทัพก็จะมาหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก่อนจะมีมติเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวทางเหล่าทัพยังไม่มีโอกาสหารือกันเลย ถ้าจะให้พูดเป็นการแจ้งให้ทราบโดยผ่านตัวแทนเหล่าทัพเท่านั้น"
ชัดเจน และจบในตอนว่า ผบ.เหล่าทัพ ยังไม่ได้ตอบรับ หรือปฏิเสธจุดยืนของศอ.รส. และที่แน่ๆ การที่ "ตัวแทน" เหล่าทัพเข้าร่วมประชุมด้วย ก็ใช่ว่าจะนำไปอ้างว่าเป็นจุดยืนของกองทัพได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กองทัพยังพยายามดำรงบทบาทความ "เป็นกลาง" ทางการเมือง เช่นที่เคยเน้นย้ำมาโดยตลอด
ทั้งนี้ เมื่อชัดเจนว่า กองทัพไม่เล่นด้วยกับบท "แบ็กอัพ" ทางการเมืองให้ฝ่ายรัฐบาล จึงมีการปูดข่าวจากแกนนำ นปช.ว่า มีความพยายามที่จะ "ปฏิวัติ" แต่คนที่ทำจะไม่ใช่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) แต่จะมีการดัน พล.อ.ประยุทธ์ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) แล้วให้ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผบ.ทบ. ขึ้นเป็น ผบ.ทบ.แทน
นอกจากนี้ แกนนำ นปช.ยังให้ข่าวด้วยว่า ความพยายามนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการพบกันของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต รมว.กลาโหม และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. โดยใช้คอนเนกชั่น "บูรพาพยัคฆ์"
แหล่งข่าวความมั่นคงประเมินความพยายามที่จะดึงกองทัพเข้าไปยุ่งกับการเมืองว่า ขณะนี้หน่วยงานความมั่นคงต้องเกาะติดสถานการณ์เป็นพิเศษ เพราะสถานการณ์มีความอ่อนไหวมาก โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของมวลชนทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประกาศให้มวลชนเตรียมพร้อมในการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ ทำให้หน่วยงานความมั่นคงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการดูแลความสงบเรียบร้อย
ทั้งนี้ รัฐบาล และกปปส. ต่างก็ต้องการให้กองทัพเข้าไปสนับสนุนฝ่ายตน แต่ถ้ากองทัพเข้าไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่จบอย่างที่ทุกฝ่ายต้องการ และการแก้ไขปัญหานี้จะต้องให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมาพูดคุยกัน ซึ่งปัญหาอาจจะเบาบางลงไปบ้าง เพราะถ้าต่างฝ่ายต่างเดินเกม และไม่ยอมฟังเหตุผลของแต่ละฝ่าย ปัญหาก็จะยืดเยื้อ ไม่มีวันจบลงง่ายๆ
ส่วนที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประเมินว่า กลุ่มนายทหารเก่าแห่งบูรพาพยัคฆ์เตรียมที่จะปฏิวัตินั้น แหล่งข่าวความมั่นคงมองว่า การปฏิวัติคงเกิดขึ้นได้ยาก หรือถ้าเกิดขึ้นคงจะเกิดในห้วงสุดท้าย หากสถานการณ์บ้านเมืองไม่สามารถเดินต่อไปได้ แต่การปฏิวัติไม่ใช่หนทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด แต่การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือ ทั้งสองฝ่ายหันหน้ามาพูดคุยกันเท่านั้น
“ผบ.เหล่าทัพมีจุดยืนเดียวกัน ที่หวังให้การเมืองแก้ไขปัญหาด้วยการเมือง ถ้าเอากองทัพเข้าไปยุ่งจะทำให้สถานการณ์ไม่จบ หรืออาจจบก็ได้ ไม่มีใครรู้ได้ การพูดว่าทหารเก่าบูรพาพยัคฆ์จะปฏิวัติคงทำไม่ได้ เพราะถ้าไม่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. การปฏิวัติก็ไม่สำเร็จ เพราะกำลังทหารอยู่ในมือพล.อ.ประยุทธ์” แหล่งข่าวความมั่นคง กล่าวย้ำ
จากบทวิเคราะห์ของคน "วงใน" กองทัพ จะเห็นได้ว่า 2 ปรากฏการณ์ร้อนๆ ที่เกิดขึ้นอย่างสอดรับกันย่อมไม่ใช่ "เรื่องบังเอิญ" หากแต่เป็นขบวนการที่ต้องการหยั่งท่าทีของกองทัพว่า จะมีจุดยืนในสถานการณ์ที่แหลมคมเช่นนี้อย่างไร และคล้ายเป็นการ "ดักคอ" กองทัพด้วยว่า ฝ่ายของตนรู้ว่ากองทัพจะเดินเกมอย่างไร และจะต้องเจอแรงต้านอย่างไรบ้าง หลังผ่านช่วงฮันนีมูนอันแสนสั้น
ที่มา.กกรุงเทพธูรกิจ
----------------------------------
แม้สถานการณ์ทางการเมืองในช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ จะคลี่คลายไปแล้วเปลาะหนึ่ง เพราะค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า การตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ของทั้ง ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ จะเลื่อนออกไป และอย่างเร็วที่สุดก็น่าจะถึงคิวตัดสินในเดือนพฤษภาคม แต่บ้านเมืองก็ยังอยู่ในภาวะ "ระเบิดเวลา" ที่พร้อมจะระเบิดได้ทุกเมื่อ
ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ดูสิ้นหวังไร้ทางออก "กองทัพ" ดูเหมือนว่าจะเป็นสถาบันสุดท้ายที่ทุกฝ่ายนึกถึง โดยเฉพาะมวลชนหลักทั้งกลุ่มหนุน และกลุ่มต้านรัฐบาล ต่างก็พยายามลากดึงให้กองทัพเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์ หรือวางบทบาทเข้าข้างกลุ่มตนให้มากที่สุด เพราะเชื่อว่า กองทัพคือตัว "จบเกม" ในฉากสุดท้าย
ปรากฏการณ์ที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) อ้างว่า ตัวแทนเหล่าทัพ และส่วนราชการอื่นๆ ที่ร่วมประชุมกับ ศอ.รส. มีจุดยืนสนับสนุนแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ของศอ.รส. ที่มีท่าทีกดดันการทำงานขององค์กรอิสระ โดยเฉพาะป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ ที่กำลังพิจารณาตัดสินคดีของนายกฯ รวมทั้งข้อเสนอทางออกตามมาตรา 7
เป็นความพยายามใช้กองทัพมา "ตีตราประทับ" ความชอบธรรมของฝ่ายตนในการเคลื่อนไหวเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมืองที่ว่ากันว่าเป็น "สงครามครั้งสุดท้าย" แล้ว !!
ร้อนถึง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ต้องออกมาชี้แจงถึงจุดยืนที่แท้จริงของ ผบ.เหล่าทัพ ว่า "ถ้ามองตามหลักการถือว่าเขาพูดถูก เพราะการประชุม ศอ.รส.แต่ละครั้งจะมีผู้แทนจากเหล่าทัพ ตำรวจ ข้าราชการ เข้าร่วมกันครบ เพื่อรับฟังพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ ส่วนการตั้งหัวข้อ ประเด็น เป็นหน้าที่ของประธาน และเลขาฯ ศอ.รส."
"ถ้าเขาจะอ้างเช่นนั้นก็ถือเป็นสิทธิ์ เพราะคำพูดก็ตรงตามตัวอยู่แล้วคือผู้แทน ไม่ใช่ ผบ.เหล่าทัพ ทั้งนี้ ผู้แทนเหล่าทัพทำหน้าที่เพียงให้ข้อมูล ข้อเสนอ หรือการแสดงความคิดเห็น แต่ไม่สามารถตกลงใจหรือปฏิเสธเรื่องใดๆ ในที่ประชุม ศอ.รส.ได้ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญ"
"เพราะผู้แทนจะต้องทำรายงานในที่ประชุม ศอ.รส. เพื่อเสนอให้ ผบ.แต่ละเหล่าทัพรับทราบทุกครั้ง และถ้าเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจ ผบ.เหล่าทัพก็จะมาหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก่อนจะมีมติเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวทางเหล่าทัพยังไม่มีโอกาสหารือกันเลย ถ้าจะให้พูดเป็นการแจ้งให้ทราบโดยผ่านตัวแทนเหล่าทัพเท่านั้น"
ชัดเจน และจบในตอนว่า ผบ.เหล่าทัพ ยังไม่ได้ตอบรับ หรือปฏิเสธจุดยืนของศอ.รส. และที่แน่ๆ การที่ "ตัวแทน" เหล่าทัพเข้าร่วมประชุมด้วย ก็ใช่ว่าจะนำไปอ้างว่าเป็นจุดยืนของกองทัพได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กองทัพยังพยายามดำรงบทบาทความ "เป็นกลาง" ทางการเมือง เช่นที่เคยเน้นย้ำมาโดยตลอด
ทั้งนี้ เมื่อชัดเจนว่า กองทัพไม่เล่นด้วยกับบท "แบ็กอัพ" ทางการเมืองให้ฝ่ายรัฐบาล จึงมีการปูดข่าวจากแกนนำ นปช.ว่า มีความพยายามที่จะ "ปฏิวัติ" แต่คนที่ทำจะไม่ใช่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) แต่จะมีการดัน พล.อ.ประยุทธ์ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) แล้วให้ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผบ.ทบ. ขึ้นเป็น ผบ.ทบ.แทน
นอกจากนี้ แกนนำ นปช.ยังให้ข่าวด้วยว่า ความพยายามนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการพบกันของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต รมว.กลาโหม และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. โดยใช้คอนเนกชั่น "บูรพาพยัคฆ์"
แหล่งข่าวความมั่นคงประเมินความพยายามที่จะดึงกองทัพเข้าไปยุ่งกับการเมืองว่า ขณะนี้หน่วยงานความมั่นคงต้องเกาะติดสถานการณ์เป็นพิเศษ เพราะสถานการณ์มีความอ่อนไหวมาก โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของมวลชนทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประกาศให้มวลชนเตรียมพร้อมในการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ ทำให้หน่วยงานความมั่นคงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการดูแลความสงบเรียบร้อย
ทั้งนี้ รัฐบาล และกปปส. ต่างก็ต้องการให้กองทัพเข้าไปสนับสนุนฝ่ายตน แต่ถ้ากองทัพเข้าไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่จบอย่างที่ทุกฝ่ายต้องการ และการแก้ไขปัญหานี้จะต้องให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมาพูดคุยกัน ซึ่งปัญหาอาจจะเบาบางลงไปบ้าง เพราะถ้าต่างฝ่ายต่างเดินเกม และไม่ยอมฟังเหตุผลของแต่ละฝ่าย ปัญหาก็จะยืดเยื้อ ไม่มีวันจบลงง่ายๆ
ส่วนที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประเมินว่า กลุ่มนายทหารเก่าแห่งบูรพาพยัคฆ์เตรียมที่จะปฏิวัตินั้น แหล่งข่าวความมั่นคงมองว่า การปฏิวัติคงเกิดขึ้นได้ยาก หรือถ้าเกิดขึ้นคงจะเกิดในห้วงสุดท้าย หากสถานการณ์บ้านเมืองไม่สามารถเดินต่อไปได้ แต่การปฏิวัติไม่ใช่หนทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด แต่การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือ ทั้งสองฝ่ายหันหน้ามาพูดคุยกันเท่านั้น
“ผบ.เหล่าทัพมีจุดยืนเดียวกัน ที่หวังให้การเมืองแก้ไขปัญหาด้วยการเมือง ถ้าเอากองทัพเข้าไปยุ่งจะทำให้สถานการณ์ไม่จบ หรืออาจจบก็ได้ ไม่มีใครรู้ได้ การพูดว่าทหารเก่าบูรพาพยัคฆ์จะปฏิวัติคงทำไม่ได้ เพราะถ้าไม่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. การปฏิวัติก็ไม่สำเร็จ เพราะกำลังทหารอยู่ในมือพล.อ.ประยุทธ์” แหล่งข่าวความมั่นคง กล่าวย้ำ
จากบทวิเคราะห์ของคน "วงใน" กองทัพ จะเห็นได้ว่า 2 ปรากฏการณ์ร้อนๆ ที่เกิดขึ้นอย่างสอดรับกันย่อมไม่ใช่ "เรื่องบังเอิญ" หากแต่เป็นขบวนการที่ต้องการหยั่งท่าทีของกองทัพว่า จะมีจุดยืนในสถานการณ์ที่แหลมคมเช่นนี้อย่างไร และคล้ายเป็นการ "ดักคอ" กองทัพด้วยว่า ฝ่ายของตนรู้ว่ากองทัพจะเดินเกมอย่างไร และจะต้องเจอแรงต้านอย่างไรบ้าง หลังผ่านช่วงฮันนีมูนอันแสนสั้น
ที่มา.กกรุงเทพธูรกิจ
----------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น