ชัดเจนแล้วว่า ที่ประชุม “ป.ป.ช.” มีมติออกมา ไม่รับข้อเสนอ “นายกรัฐมนตรี” ในฐานะ “ผู้ถูกร้อง” ที่จะให้มีการสอบพยานเพิ่มเติมจำนวน 11 คน โดยจะเปิดโอกาสให้เพียงแค่ 3 คนเท่านั้น ที่ “ป.ป.ช.” พอใจจะเปิดโอกาสให้ชี้แจง
ในส่วนของ “ป.ป.ช.” นั้นมี “พยาน” ที่ “กรรมการ ป.ป.ช” หมายหมั้นปั้นมือมานานว่าจะสามารถให้ข้อมูลเป็นหลักฐานได้ แม้ที่ผ่านมาจะไม่ยอมเปิดเผยให้ทราบว่ามีใครอยู่บ้าง แต่ก็พอจะอ่านออกว่า “ผู้นำฝ่ายค้าน-ส.ส.ฝ่ายค้าน-ผู้สมัครรับการสรรหาเป็น ป.ป.ช.ที่ต้องการจะสร้างผลงาน” ต่างมีชื่อกันอยู่ครบ!!!
แต่ที่ “ป.ป.ช.” มั่นใจว่า สามารถเอาชนะ “โครงการจำนำข้าว”ได้แน่ๆ ภายหลัง “รวมสำนวน” กรณี “การยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง”และ “กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีเหตุอันควรสงสัยว่าท่านได้ปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าว โดยเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการตามที่มีอำนาจหน้าที่” เข้าด้วยกันเสร็ตสรรพเรียบร้อย ก็คือ การที่ “ป.ป.ช.” อ้างว่า นายกรัฐมนตรีเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการตามที่มีอำนาจหน้าที่” ภายหลังจาก “ป.ป.ช.” มีหนังสือเสนอแนะให้รัฐบาลยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการทุจริต !!
หากอ่านเผินๆอาจจะทำให้มองได้ว่า “รัฐบาล” ไม่ได้สนใจในคำแนะนำ-ข้อเสนอของ ป.ป.ช.หรืออย่างไร ถึงได้ทู่ซี้ดำเนิน “โครงการรับจำนำข้าว” ไม่เชื่อในข้อเสนอของ “องค์กรอิสระ” ที่อุตส่าห์เสนอหน้าเข้ามาแทรกแซง ด้าน “นโยบาย” ของ “ฝ่ายบริหาร”
แต่ในข้อเท็จจริงเมื่อตรวจสอบจะพบว่า หนังสือที่ ป.ป.ช.อ้างว่าได้ส่งข้อเสนอแนะโครงการรับจำนำข้าวให้กับ “นายกรัฐมนตรี” จะพบว่า “ป.ป.ช.” ใช้เวลาเพียง 20 กว่าวันเท่านั้นในการ “ตัดสินถูก-ผิด” พร้อมแนะนำให้ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว ???
โดยจากการตรวจสอบพบว่า “ป.ป.ช.” ได้มี “หนังสือ ด่วนมากที่ ปช 0003/0118 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2554” ถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยืนยันข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริตจากการแทรกแซงตลาดข้าวด้วยวิธีการรับจำนำในยังรัฐบาล พร้อมข้อเสนอแนะให้รัฐบาลยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและนำระบบการประกันความเสี่ยงด้านราคาข้าวมาดำเนินการแทน
ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเงื่อนเวลาต่างๆ ที่ “รัฐบาล” เข้ามารับหน้าที่ในการบริหารประเทศ หลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 จะพบว่า “รัฐบาล” ได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 23 สิงหาคม 2554 จากนั้น “คณะรัฐมนตรี” ได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/2555 เมื่อ “วันที่ 13 กันยายน 2554” ซึ่งเป็นการเริ่มต้นโครงการรับจำนำข้าว ปี 2554/2554 ระยะเวลาโครงการวันที่ 7 ตุลาคม 2554-29 กุมภาพันธ์ 2555 ส่วนภาคใต้ 1 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม 2555
แต่ที่ถือว่าเป็น “วันกดปุ่มเริ่มโครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายหาเสียง” จริงๆ ก็คือ “วันที่ 7 ตุลาคม 2554”
ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเงื่อนเวลาต่างๆ ที่ “รัฐบาล” เข้ามารับหน้าที่ในการบริหารประเทศ หลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 จะพบว่า “รัฐบาล” ได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 23 สิงหาคม 2554 จากนั้น “คณะรัฐมนตรี” ได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/2555 เมื่อ “วันที่ 13 กันยายน 2554” ซึ่งเป็นการเริ่มต้นโครงการรับจำนำข้าว ปี 2554/2554 ระยะเวลาโครงการวันที่ 7 ตุลาคม 2554-29 กุมภาพันธ์ 2555 ส่วนภาคใต้ 1 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม 2555
แต่ที่ถือว่าเป็น “วันกดปุ่มเริ่มโครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายหาเสียง” จริงๆ ก็คือ “วันที่ 7 ตุลาคม 2554”
ซึ่งเท่ากับว่า “ป.ป.ช.” ใช้เวลา เพียง 45 วัน (23 สิงหาคม -7 ตุลาคม 2554 )นับจากวันที่รัฐบาลเข้ามารับหน้าที่บริหารประเทศวันแรก ในการตัดสินว่า “ควรยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว” !
และ “ป.ป.ช.” ใช้เวลาเพียง 24 วัน (13 กันยายน-7 ตุลาคม 2554) ในการติดตามการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าว และพิสูจน์ว่าจะมีการทุจริตในการดำเนินโครงการ !!
และที่สำคัญคือ “ป.ป.ช.” ใช้เวลาเพียงไม่ถึง 1 วัน (7 ตุลาคม 2554 ) ในการพิพากษาว่า “โครงการรับจำนำข้าว” จะมีการ “ทุจริต” เกิดขึ้นและจะต้อง “ยกเลิกโครงการ” เพียงสถานเดียว
แม้ “ป.ป.ช.” จะมีหนังสือถึง “รัฐบาล” อีกครั้ง คือ “หนังสือที่ ปช 0003/0189 ลงวันที่ 30 เมษายน 2555” เพื่อเตือนเกี่ยวกับ “โครงการรับจำนำข้าว” พร้อมข้อเสนอแนะ อีกครั้ง
แต่หนังสือฉบับที่ 2 ของ “ป.ป.ช.” ดังกล่าว จะสามารถเชื่อถือได้แค่ไหน อย่างไร ??
ในเมื่อ “หนังสือฉบับแรก” ที่ “ป.ป.ช.” ส่งมา ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มโครงการรับจำนำข้าว … ได้แสดงให้เห็นถึง “ทิศทาง” ความเชื่อของ “ป.ป.ช.” แล้วว่า “โครงการรับจำนำข้าว” มีการ “ทุจริต”
เพราะเห็น “ธง” ทิวปลิวไสว … ตั้งแต่ไก่ยังไม่โห่ !!!
เพราะเห็น “ธง” ทิวปลิวไสว … ตั้งแต่ไก่ยังไม่โห่ !!!
ที่มา.พระนครสาส์น
-----------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น