--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

ไขคำตอบ เนติบริกรเผด็จการรัฐประหาร..!!?

อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยุค “รัฐบาล คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ) กลายเป็นบุคคลที่สังคมจับตามากที่สุดคนหนึ่ง ภายหลังมีกระแสข่าวหลุดออกมาว่าคือ “ผู้อยู่เบื้องหลัง วางหมาก-วางเกม ให้กับม็อบกบฎ กปปส.

แต่แม้วันนี้ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แต่กลับตรวจสอบพบว่า ในเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ปรากฏชื่อ  เข้าไป มีบทบาท กับเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหารทั้ง 2 อย่างชัดเจน

และเมื่อตรวจสอบยังพบว่า การรัฐประหารทั้ง 2 ครั้ง ยังมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการออกประกาศ-คำสั่ง ไปจนถึง ความเคลื่อนไหวต่างๆ

ที่สำคัญ ก็คือ “ประกาศ-คำสั่งและความเคลื่อนไหว” ของทั้ง 2 เหตุการณ์ดังกล่าวนั้น กลับมีความใกล้เคียงอย่างยิ่งกับ “ประกาศ-คำสั่งและความเคลื่อนไหว” ของ “รัฎฐาธิปัตย์ กปปส.” อย่าง “สุเทพ เทือกสุบรรณ” และปฏิบัติการต่างๆของม็อบกบฎอย่างชัดเจนอย่างน้อย 8 เหตุการณ์ด้วยกัน

1.กรณีการประกาศยึดอำนาจ และการฉีกรัฐธรรมนูญ

รสช.2534 – ปฏิบัติการยึดอำนาจ 23 กุมภาพันธ์ 2534 และได้มีการแถลงการณ์ยึดอำนาจในวันเดียวกัน
คมช..2549 – ปฏิบัติการยึดอำนาจวันที่ 19 กันยายน 2549 เมื่อกระทำการจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้มีการแถลงในวันที่ 20 กันยายน 2549 

กปปส.2557 – สุเทพ เทือกสุบรรณ แม้จะปฏิบัติการยังไม่แล้วเสร็จ แต่ก็ได้ดำเนินการ แถลงการณ์ยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2556 โดยอ้างว่า “คณะรัฐมนตรี”ถือว่าเป็นโมฆะแล้ว และประเทศตกอยู่ในภาวะสุญญากาศ ขอประชาชนมั่นใจประชาภิวัฒน์ โดยจะมีการเร่งจัดหา “นายกรัฐมนตรี” ของประชาชน

2.การสั่งจำกัดสิทธิประชาชน –ห้ามชุมนุมการเมือง-ห้ามกิจกรรมพรรคการเมือง
รสช.2534 – ออกประกาศ รสช.ฉบับที่ 7 ห้ามชุมนุมทางการเมือง และประกาศ รสช.ฉบับที่ 20 ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือจัดกิจกรรมทางการ

คมช.2549 – ออกประกาศ คปค.ฉบับที่ 7 ห้ามชุมนุมทางการเมือง และประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือจัดกิจกรรมทางการเมือง

กปปส.2557 – ปฏิบัติการยังไม่สำเร็จ แต่ก็พยายามขัดขวางการเลือกตั้ง ไม่ให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รัฎฐาธิปัตย์ กปปส. ปราศรัยเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ระบุว่า “จะตั้งสภาประชาชน เลือกคนที่ประชาชนเชื่อถือไว้วางใจมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่ใช่คนของพรรคไหนทั้งนั้น”

3.การสั่งข้าราชการมารายงานตัว โดยเฉพาะข้าราชการถูกมองว่าอยู่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองก็ถูกโยกย้ายออกจากตำแหน่ง
รสช.2534 – ประกาศ รสช.ฉบับที่ 12 มีคำสั่งให้ข้าราชการมารายงานตัว ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534
คมช.2549- คำสั่ง คปค. ที่ 11/2549 ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2549 เรื่องให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ โยกย้าย 4 นายตำรวจ มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนตามสังกัดเดิมไปพลางก่อน ได้แก่
พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ผอ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ นักบริหาร 11
พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นักบริหาร 11
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร.
พล.ต.ท.ชลอ ชูวงษ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.
กปปส.2557 – 27 ธันวาคม 2556 “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รัฎฐาธิปัตย์ กปปส.ปราศรัยขู่อาฆาตข้าราชการจำนวนมาก ในทุกๆทิศทาง โดยจะมีการเอาผิดตามกฎหมายไปจนถึงการจะใช้อำนาจในการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและขู่ว่าจะมีการอายัดทรัพย์สินด้วย อาทิ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. , พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร., นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ

4.การออกคำสั่งควบคุมสิทธิเสรีภาพสื่อสารมวลชน
รสช.2534- ประกาศ รสช.ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์งดเผยแพร่ราชการปกติของสถานี และให้สถานีวิทยุถ่ายทอดกระจายเสียงจากสถานีวิทยุกองพลที่ 1 รักษาพระองค์เท่านั้น ส่วนสถานีโทรทัศน์ให้ถ่ายทอดออกรายการจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 เท่านั้น
คมช.2549- ประกาศ คปค.ฉบับที่ 10 ขอความร่วมมือสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสาร โดยอ้างเรื่องการเกิดความแตกแยกความสามัคคี
กปปส.2557 – สุเทพ เทือกสุบรรณ แถลง เมื่อ 1 ธันวาคม 2557 ให้ข้าราชการหยุดงานตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม และสั่งไม่ให้ “สื่อมวลชน” เสนอข่าวรัฐบาล โดยให้ทุกสำนักนำเสนอข่าวของ กปปส.



5.การกำจัดนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม ด้วยการออกคำสั่งให้มีรายงานตัวและมีการควบคุมตัว
รสช.2534 – มีความพยายามจับกุมบุคคล 3 คนในวันที่ก่อการรัฐประหาร คือ พล.ต.มนูญ รูปขจร นายไกรศักด์ ชุณหะวัณ และร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แต่ทั้ง 3 คนได้ ลี้ภัยไปต่างประเทศ
คมช.2549 – ควบคุมตัว นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จาก คำสั่งคณะปฏิรูปฉบับที่ 9/2549 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549
กปปส.2557- สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ปราศรัยอย่างชัดเจนว่าจะมีการระดมมวลชนไล่ล่า “นายกรัฐมนตรี” โดยจะมีการติดตามเพื่อควบคุมตัว “นายกรัฐมนตรี” และ “รัฐมนตรี” ทุกคน และในวันที่ 14 มกราคม 2557 “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ยัง
ปราศรัยเปิด รายชื่อบัญชีดำ ที่จะดำเนินการบุกจับตัว ประกอบด้วย 1.นายสุรพงษ์ โตวิจักขณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 3.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี 4.นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 5.นายภูมิธรรม เวชชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย และ 6.นายปลอดประสพ สุรัสสวี รองนายกรัฐมนตรี



6.การดำเนินการเพื่ออายัดทรัพย์สินของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง อย่างไม่เป็นธรรม
รสช.2534 – ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2534 ให้อายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน พร้อมตั้ง “คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน” ขึ้นมา มีจำนวน 7 คนโดยมี “พล.อ.สิทธิ์ จิรโรจน์” เป็นประธาน เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินและเตรียมการไปสู่การ “ยึดทรัพย์” นักการเมืองและบุคคลที่อยู่ในฝ่ายตรงข้ามกับคณะยึดอำนาจ
คมช.2549- ประกาศ คปค.ฉบับที่ 23 ลงวันที่ 24 กันยายน 2549 ให้มี “คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน” ให้ตรวจสอบโครงการตามนโยบายต่างๆของรัฐบาลที่ถูกยึดอำนาจอย่างละเอียด พร้อมตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จากนั้นก็มี ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) มาตรวจสอบข้อกล่าวหาต่างๆ ที่ คมช.กล่าวหารัฐบาลชุดก่อน เพื่อเป็นการปูทางไปสู่การ “ยึดทรัพย์” นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม
กปปส.2557- สุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศบ่อยครั้งว่า หากได้เป็น “รัฎฐาธิปัตย์” เมื่อไรจะยึดทรัพย์นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทันที

7.การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งคณะรัฐมนตรี เพื่อสืบทอดอำนาจ
รสช.2534 – พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้มีการประกาศใช้ “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534” เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 จากนั้นก็ได้เสนอชื่อ “นายอานันท์ ปันยารชุน” เป็นนายกรัฐมนตรี
คมช.2549 – พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ได้ ประกาศใช้ “รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ.2549” ในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 จากนั้นก็มีการเสนอชื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันเดียวกัน
กปปส.2557 – สุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศจะเป็น “รัฎฐาธิปัตย์” ในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี และรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายกฯคนกลาง ด้วยตัวเอง

8.การกระทำในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่-นิรโทษกรรมตัวเอง
รสช.2534 – ประกาศใช้ ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 ในวันที่ 1 มีนาคม 2534 โดยนิรโทษกรรมตัวเองเอาไว้ในมาตรา 32
คมช.2549- ประกาศใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ.2549” ในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 โดยนิรโทษกรรมตัวเองเอาไว้ในมาตรา 37

กปปส.2557- สุเทพ เทือกสุบรรณ แม้จะประกาศปฏิบัติการ “ประชาภิวัฒน์” ยึดอำนาจโดยประชาชน” แต่ยังไม่กล้าที่จะพูดเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนว่าท้ายที่สุดแล้วจะต้องมีการฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 เนื่องจาก “รัฐธรรมนูญ” กำหนดให้ “นายกรัฐมนตรี” จะต้องเป็น “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ซึ่งในทุกข้อเสนอ กปปส. นั้น “นายกรัฐมนตรี” ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แม้แต่แนวทางเดียว ดังนั้นจึงค่อนข้างที่จะชัดเจนว่าหากปฏิบัติการของ กปปส.สำเร็จ ก็ต้องมีการฉีกรัฐธรรมนูญและเป็นไปได้สูงที่จะต้องมีการนิรโทษกรรมให้กับ “แกนนำ กปปส.” เนื่องจากโดนคดีร้ายแรงด้วยกันทั้งสิ้น

ดังนั้น จึงค่อนข้างจะชัดเจนว่า เหตุการณ์ รัฐประหาร 2534 และ รัฐประหาร 2549 มีปรากฎการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นและคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาด

โดยทั้งสองครั้งมีความเชื่อมโยงกับเขา ในฐานะมือกฎหมายใหญ่
ที่น่าสนใจไปยิ่งกว่านั้นคือ เหตุการณ์ทั้งหมดสอดคล้องกับสิ่งที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. ปฏิบัติการและประกาศออกมาตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการชุมนุม 

ซึ่งคนที่จะ ตอบ ได้ชัดเจนว่า ทั้ง 3 เหตุการณ์ เกี่ยวข้องกันหรือไม่ และเป็น ฝีมือ การวางหมาก-วางเกมของใคร ที่สำคัญคือ คนๆนั้น เป็น คนเดียวกัน หรือไม่  ก็คงหนีไม่พ้น คนชื่อ มีชัย ฤชุพันธุ์

ที่มา.พระนครสาส์น
--------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น