โดย : สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์
พักรบ... ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นับจากนี้ไปสถานการณ์การเมืองจะกลับเข้าสู่ช่วง โค้งสุดท้าย ของเกมชิงอำนาจ
เนื่องจากทุกจังหวะย่างก้าวของภาคส่วนต่างๆ ล้วนมีความหมายต่อสถานการณ์ในภาพรวม
เรื่องที่เป็น ไฮไลท์ ที่สุด คือ คดีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเพื่อวินิจฉัย "สถานะ" ของ "นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" จากกรณีโยกย้าย "ถวิล เปลี่ยนศรี" ซึ่งเป็นคดีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งแล้วว่าการโยกย้ายไม่ชอบ และสั่งคืนตำแหน่งให้นายถวิล
18 เม.ย.เป็นวันครบกำหนด 15 วันที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ต้องทำเอกสารชี้แจงต่อศาล นายกฯจะสามารถชี้แจงได้ครบถ้วน หรือศาลจะขอให้ชี้แจงเพิ่มเติม หรือนายกฯจะขอเลื่อนการชี้แจงออกไปอีก ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อกำหนดเวลาในการวินิจฉัยคดี
โดยทางศาลบอกว่า หลังยิ่งลักษณ์ ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามาแล้ว ศาลก็ต้องพิจารณาว่ามีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้หรือไม่ หากเห็นว่าเพียงพอแล้วก็จะนัดฟังคำวินิจฉัยทันที
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีนี้ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาและตัดสินของศาลปกครองมาแล้ว จึงคาดกันว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าจะใช้เวลาพิจารณานาน อาจจะเป็นภายในเดือนนี้หรืออย่างช้าต้นเดือนหน้า น่าจะมีคำวินิจฉัยออกมาได้
คำวินิจฉัยของศาลในคดีนี้ จะเป็นตัวชี้ขาดว่าการเมืองหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร จะยังคงอยู่ในโหมด "ยื้อ" เหมือนเดิม หรือ เข้าสู่สถานการณ์ "แตกหัก"
แนวคำวินิจฉัยของศาลที่จะออกมา ประเด็นหนึ่งที่แทบทุกฝ่ายมองตรงกัน คือ นายกฯยิ่งลักษณ์ "ไม่รอด" แน่ๆ นั่นคือ ศาลคงจะวินิจฉัยให้นายกฯพ้นจากตำแหน่งนายกฯ
วันที่ศาลนัดตัดสินคดี คือวันที่ทั้งฝ่าย กปปส. และ นปช. ประกาศจะนำมวลชนมาโชว์พลัง อย่างไรก็ตาม วันนั้นน่าจะยังไม่มีการเผชิญหน้า เพราะต่างฝ่ายต่างต้องรอฟังคำวินิจฉัยศาล ก่อนจะประกาศยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวที่ชัดเจนต่อไป
สำหรับแนวคำวินิจฉัยศาล มีความเป็นไปได้ในหลายทาง ดังนี้
1.วินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์พ้นจากนายกฯ เท่านั้น ไม่วินิจฉัยประเด็นอื่น
2.วินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์พ้นจากนายกฯ แต่คณะรัฐมนตรีรักษาการต่อไปได้
3.วินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ และ คณะรัฐมนตรีที่ร่วมประชุมเห็นชอบในการโยกย้ายนายถวิล พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีที่ไม่ได้ร่วมประชุมรักษาการต่อไปได้
4.วินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง
5.วินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง และวินิจฉัยให้วุฒิสภาทำหน้าที่สภาผู้แทนฯในการเลือกนายกฯคนใหม่
หากเป็นตามแนวทางที่ 1-3 ฝ่ายรัฐบาลยังพอรับได้ เพราะถึงอย่างไรรัฐบาลก็ยังสามารถรักษาการต่อไปได้ สถานการณ์การเมืองก็ "ยื้อ" กันต่อไป แต่หากศาลวินิจฉัยในแนวทาง 4-5 ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะ "สุญญากาศ" ฝ่ายรัฐบาลประกาศไว้แล้วว่ายอมไม่ได้
เมื่อไม่ยอมแล้วจะทำอย่างไร? มีหลายแนวทาง 1.แนวทางที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลประกาศมาตลอด คือ ระดมมวลชนเพื่อต่อต้านคำวินิจฉัยของศาล
หรือ 2.การไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลส่วนที่ให้ ครม.พ้นตำแหน่ง แล้วหาทางยื้อต่อไป เช่น ข้อเสนอของ "ชัยเกษม นิติสิริ" รมว.ยุติธรรม เสนอให้รัฐบาลอาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ทูลกล้าฯให้ในหลวงทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าคณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งหรือไม่
ทั้งนี้เมื่อครั้งที่อดีตนายกฯสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญชี้ให้พ้นจากตำแหน่งจากกรณีทำรายการโทรทัศน์ ครม.ก็ยังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกระทั่งสภาผู้แทนฯ โหวตเลือกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มาเป็นนายกฯคนใหม่ และได้ครม.ชุดใหม่ แต่เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสภาผู้แทนฯ จึงเป็นปัญหา
ในมุมของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาฯกปปส. ประกาศไว้แล้วว่า หากศาลวินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ พ้นตำแหน่ง เขาจะประกาศตัวเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" ออกคำสั่งแต่งตั้งนายกฯ นำชื่อนายกฯ และครม.ทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการเอง
ขณะที่ "วุฒิสภา" ก็เป็นอีกกลไกที่ถูกมองว่า อาจจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเสนอชื่อนายกฯคนใหม่ หากยิ่งลักษณ์พ้นเก้าอี้นายกฯ
การ "ประชุมวุฒิสภา" เป็นอีกเรื่องที่เข้ามาผสมโรงรบกวนจิตใจของฝ่ายรัฐบาล โดยทางวุฒิสภาส่งเรื่องมาที่รัฐบาล เพื่อให้นายกฯนำความกราบบังคมทูลเพื่อเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เพื่อให้วุฒิสภาประชุมทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 คือ แต่งตั้งนางสาวสุภา ปิยะจิตติ เป็น ป.ป.ช., แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิศาลปกครอง และถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา
รัฐบาลแสดงท่าทีชัดเจนว่าไม่ต้องการให้มีการเปิดประชุมวุฒิสภาเพื่อดำเนินการดังกล่าว ซึ่งประเด็นสำคัญ นอกจากจะอยู่ที่กรณีถอดถอนนายนิคม แล้ว ยังน่าจะหมายถึงการพยายาม "ตัด" ไม่ให้วุฒิสภาเข้ามาเกี่ยวข้องกับเกมการเมืองในขณะนี้
รัฐบาลได้ส่งหนังสือไปขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกฤษฎีกาตอบกลับมาทำนองว่า ไม่สามารถเปิดประชุมวุฒิสภาได้ ซึ่งรัฐบาลได้ทำหนังสือแจ้งกลับไปยังวุฒิสภา
ต่อมาหลังจากฝ่ายกฎหมายของวุฒิสภาประชุมกันแล้วเห็นว่า น่าจะทำได้ จึงส่งเรื่องกลับมาที่รัฐบาลอีกครั้ง โดย "สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย" รองประธานวุฒิสภา รักษาการประธานวุฒิสภา บอกไว้ว่าหากเห็นไม่ตรงกันอาจต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
คดีจำนำข้าว ที่นายกฯยิ่งลักษณ์ เป็นจำเลยโดนยื่นถอดถอน ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ยังไม่ชัดเจนว่า ป.ป.ช.จะชี้มูลเมื่อใด แต่คงไม่เร็วนัก ล่าสุด ป.ป.ช.มีมติให้เพิ่มพยานอีก 1 ปาก จากเดิมให้ 3 ปาก
ในทางการเมือง คดีจำนำข้าวของนายกฯยิ่งลักษณ์ ไม่น่ากลัวนัก เพราะหาก ป.ป.ช.ชี้ว่าผิด ก็เพียงแค่หยุดปฏิบัติหน้าที่ ในขั้นตอนถอดถอน สุดท้ายก็ไม่น่าจะโดน แต่จะน่ากลัวที่คดีอาญาที่ ป.ป.ช.คงจะส่งต่อไปที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และมีการมองกันว่ายิ่งลักษณ์มีโอกาสน้อยที่จะรอด
การเลือกตั้ง คือ เกมที่ฝ่ายรัฐบาลพยายามกดดันให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เป็นอีกเรื่องที่ต้องจับตาหลังสงกรานต์นี้ โดย กกต.กำหนดนัดพรรคการเมืองทั้งหมดมาหารือในวันที่ 22 เม.ย.นี้ หลังจากที่ก่อนหน้าที่ กกต.ได้หารือกับกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคง และมีความเห็นว่าไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ภายใน 60 วัน ตามที่ฝ่ายรัฐบาลต้องการ
สุดท้าย ฉากจบ ของเกมชิงอำนาจครั้งนี้ จะเป็นอย่างไร... ยื้อ แตกหัก หรือ เจรจา กันได้ ต้องจับตา
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////
พักรบ... ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นับจากนี้ไปสถานการณ์การเมืองจะกลับเข้าสู่ช่วง โค้งสุดท้าย ของเกมชิงอำนาจ
เนื่องจากทุกจังหวะย่างก้าวของภาคส่วนต่างๆ ล้วนมีความหมายต่อสถานการณ์ในภาพรวม
เรื่องที่เป็น ไฮไลท์ ที่สุด คือ คดีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเพื่อวินิจฉัย "สถานะ" ของ "นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" จากกรณีโยกย้าย "ถวิล เปลี่ยนศรี" ซึ่งเป็นคดีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งแล้วว่าการโยกย้ายไม่ชอบ และสั่งคืนตำแหน่งให้นายถวิล
18 เม.ย.เป็นวันครบกำหนด 15 วันที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ต้องทำเอกสารชี้แจงต่อศาล นายกฯจะสามารถชี้แจงได้ครบถ้วน หรือศาลจะขอให้ชี้แจงเพิ่มเติม หรือนายกฯจะขอเลื่อนการชี้แจงออกไปอีก ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อกำหนดเวลาในการวินิจฉัยคดี
โดยทางศาลบอกว่า หลังยิ่งลักษณ์ ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามาแล้ว ศาลก็ต้องพิจารณาว่ามีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้หรือไม่ หากเห็นว่าเพียงพอแล้วก็จะนัดฟังคำวินิจฉัยทันที
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีนี้ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาและตัดสินของศาลปกครองมาแล้ว จึงคาดกันว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าจะใช้เวลาพิจารณานาน อาจจะเป็นภายในเดือนนี้หรืออย่างช้าต้นเดือนหน้า น่าจะมีคำวินิจฉัยออกมาได้
คำวินิจฉัยของศาลในคดีนี้ จะเป็นตัวชี้ขาดว่าการเมืองหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร จะยังคงอยู่ในโหมด "ยื้อ" เหมือนเดิม หรือ เข้าสู่สถานการณ์ "แตกหัก"
แนวคำวินิจฉัยของศาลที่จะออกมา ประเด็นหนึ่งที่แทบทุกฝ่ายมองตรงกัน คือ นายกฯยิ่งลักษณ์ "ไม่รอด" แน่ๆ นั่นคือ ศาลคงจะวินิจฉัยให้นายกฯพ้นจากตำแหน่งนายกฯ
วันที่ศาลนัดตัดสินคดี คือวันที่ทั้งฝ่าย กปปส. และ นปช. ประกาศจะนำมวลชนมาโชว์พลัง อย่างไรก็ตาม วันนั้นน่าจะยังไม่มีการเผชิญหน้า เพราะต่างฝ่ายต่างต้องรอฟังคำวินิจฉัยศาล ก่อนจะประกาศยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวที่ชัดเจนต่อไป
สำหรับแนวคำวินิจฉัยศาล มีความเป็นไปได้ในหลายทาง ดังนี้
1.วินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์พ้นจากนายกฯ เท่านั้น ไม่วินิจฉัยประเด็นอื่น
2.วินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์พ้นจากนายกฯ แต่คณะรัฐมนตรีรักษาการต่อไปได้
3.วินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ และ คณะรัฐมนตรีที่ร่วมประชุมเห็นชอบในการโยกย้ายนายถวิล พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีที่ไม่ได้ร่วมประชุมรักษาการต่อไปได้
4.วินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง
5.วินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง และวินิจฉัยให้วุฒิสภาทำหน้าที่สภาผู้แทนฯในการเลือกนายกฯคนใหม่
หากเป็นตามแนวทางที่ 1-3 ฝ่ายรัฐบาลยังพอรับได้ เพราะถึงอย่างไรรัฐบาลก็ยังสามารถรักษาการต่อไปได้ สถานการณ์การเมืองก็ "ยื้อ" กันต่อไป แต่หากศาลวินิจฉัยในแนวทาง 4-5 ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะ "สุญญากาศ" ฝ่ายรัฐบาลประกาศไว้แล้วว่ายอมไม่ได้
เมื่อไม่ยอมแล้วจะทำอย่างไร? มีหลายแนวทาง 1.แนวทางที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลประกาศมาตลอด คือ ระดมมวลชนเพื่อต่อต้านคำวินิจฉัยของศาล
หรือ 2.การไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลส่วนที่ให้ ครม.พ้นตำแหน่ง แล้วหาทางยื้อต่อไป เช่น ข้อเสนอของ "ชัยเกษม นิติสิริ" รมว.ยุติธรรม เสนอให้รัฐบาลอาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ทูลกล้าฯให้ในหลวงทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าคณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งหรือไม่
ทั้งนี้เมื่อครั้งที่อดีตนายกฯสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญชี้ให้พ้นจากตำแหน่งจากกรณีทำรายการโทรทัศน์ ครม.ก็ยังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกระทั่งสภาผู้แทนฯ โหวตเลือกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มาเป็นนายกฯคนใหม่ และได้ครม.ชุดใหม่ แต่เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสภาผู้แทนฯ จึงเป็นปัญหา
ในมุมของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาฯกปปส. ประกาศไว้แล้วว่า หากศาลวินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ พ้นตำแหน่ง เขาจะประกาศตัวเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" ออกคำสั่งแต่งตั้งนายกฯ นำชื่อนายกฯ และครม.ทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการเอง
ขณะที่ "วุฒิสภา" ก็เป็นอีกกลไกที่ถูกมองว่า อาจจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเสนอชื่อนายกฯคนใหม่ หากยิ่งลักษณ์พ้นเก้าอี้นายกฯ
การ "ประชุมวุฒิสภา" เป็นอีกเรื่องที่เข้ามาผสมโรงรบกวนจิตใจของฝ่ายรัฐบาล โดยทางวุฒิสภาส่งเรื่องมาที่รัฐบาล เพื่อให้นายกฯนำความกราบบังคมทูลเพื่อเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เพื่อให้วุฒิสภาประชุมทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 คือ แต่งตั้งนางสาวสุภา ปิยะจิตติ เป็น ป.ป.ช., แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิศาลปกครอง และถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา
รัฐบาลแสดงท่าทีชัดเจนว่าไม่ต้องการให้มีการเปิดประชุมวุฒิสภาเพื่อดำเนินการดังกล่าว ซึ่งประเด็นสำคัญ นอกจากจะอยู่ที่กรณีถอดถอนนายนิคม แล้ว ยังน่าจะหมายถึงการพยายาม "ตัด" ไม่ให้วุฒิสภาเข้ามาเกี่ยวข้องกับเกมการเมืองในขณะนี้
รัฐบาลได้ส่งหนังสือไปขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกฤษฎีกาตอบกลับมาทำนองว่า ไม่สามารถเปิดประชุมวุฒิสภาได้ ซึ่งรัฐบาลได้ทำหนังสือแจ้งกลับไปยังวุฒิสภา
ต่อมาหลังจากฝ่ายกฎหมายของวุฒิสภาประชุมกันแล้วเห็นว่า น่าจะทำได้ จึงส่งเรื่องกลับมาที่รัฐบาลอีกครั้ง โดย "สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย" รองประธานวุฒิสภา รักษาการประธานวุฒิสภา บอกไว้ว่าหากเห็นไม่ตรงกันอาจต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
คดีจำนำข้าว ที่นายกฯยิ่งลักษณ์ เป็นจำเลยโดนยื่นถอดถอน ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ยังไม่ชัดเจนว่า ป.ป.ช.จะชี้มูลเมื่อใด แต่คงไม่เร็วนัก ล่าสุด ป.ป.ช.มีมติให้เพิ่มพยานอีก 1 ปาก จากเดิมให้ 3 ปาก
ในทางการเมือง คดีจำนำข้าวของนายกฯยิ่งลักษณ์ ไม่น่ากลัวนัก เพราะหาก ป.ป.ช.ชี้ว่าผิด ก็เพียงแค่หยุดปฏิบัติหน้าที่ ในขั้นตอนถอดถอน สุดท้ายก็ไม่น่าจะโดน แต่จะน่ากลัวที่คดีอาญาที่ ป.ป.ช.คงจะส่งต่อไปที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และมีการมองกันว่ายิ่งลักษณ์มีโอกาสน้อยที่จะรอด
การเลือกตั้ง คือ เกมที่ฝ่ายรัฐบาลพยายามกดดันให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เป็นอีกเรื่องที่ต้องจับตาหลังสงกรานต์นี้ โดย กกต.กำหนดนัดพรรคการเมืองทั้งหมดมาหารือในวันที่ 22 เม.ย.นี้ หลังจากที่ก่อนหน้าที่ กกต.ได้หารือกับกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคง และมีความเห็นว่าไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ภายใน 60 วัน ตามที่ฝ่ายรัฐบาลต้องการ
สุดท้าย ฉากจบ ของเกมชิงอำนาจครั้งนี้ จะเป็นอย่างไร... ยื้อ แตกหัก หรือ เจรจา กันได้ ต้องจับตา
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น