หนึ่งคือการลงมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายของรัฐบาลว่านางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตรนายกรัฐมนตรีจะมีความผิดไปด้วยตามมาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่
หนึ่งคือการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการโยกย้ายนายถวิลเปลี่ยนศรีอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ว่าจะมีผลให้สถานภาพรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่
ทั้ง 2 กรณีไม่ว่าจะมติของป.ป.ช. หรือการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหากมีผลออกมาว่าผิดการทำหน้าที่ในการเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็จะต้องสิ้นสุดลง
นั่นแปลว่าโอกาสที่จะเกิดสุญญากาศทางการเมืองจะมีขึ้นทันที
เพราะต่อให้พรรคเพื่อไทยไปร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องสถานภาพสิ้นสุดลงเฉพาะตัวไม่ใช่คณะรัฐมนตรีทั้งหมดแต่หากดูการวินิจฉัยขององค์กรอิสระที่เป็นขั้วตรงข้ามรัฐบาลจะเห็นว่าผลการวินิจฉัยแทบจะไม่เคยเป็นคุณกับพรรคเพื่อไทยเลยสักครั้ง
มีแต่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่เป็นฝ่ายโชคดีมาโดยตลอดและได้เฮทุกครั้ง
ครั้งนี้แม้แต่อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ออกมาเล่นการเมืองข้างถนนคือนายสุเทพเทือกสุบรรณก็ยังมั่นใจว่ามติและคำวินิจฉัยของป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นคุณกับฝ่ายตนเอง
ถึงขนาดที่กล้าประกาศเลยว่าวันที่มีผลวินิจฉัยออกมาวันนั้นนายสุเทพจะประกาศความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ใช้อำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่และแต่งตั้งสภาประชาชนแทนประชาชนคนไทยทั้งประเทศในทันที
น้ำหนักชัดเจนว่าขั้วตรงข้ามรัฐบาลใจจรดใจจ่อไปที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีของนายถวิลเป็นหลักมากเสียยิ่งกว่ากรณีการมีมติของป.ป.ช.เรื่องทุจริตรับจำนำข้าวเสียอีก
ถามว่าทำไมการโยกย้ายข้าราชการที่ชื่อนายถวิลเปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาฯสมช. ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯระดับ 11 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 แล้วให้พล.ท.ภราดรพัฒนถาบุตรเข้ามาเป็นเลขาฯสมช. แทนจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่คอขาดบาดตายถึงขนาดที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเอามาเป็นประเด็นในการให้สถานภาพการเป็นรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์สิ้นสุดลงหรือไม่เช่นนั้นเชียวหรือ?
หรือว่าในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาลใดโยกย้ายข้าราชการโดยเฉพาะไม่เคยมีการย้ายเขาฯสมช. ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯเลยหรืออย่างไรเพิ่งจะมีรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเช่นนั้นใช่หรือไม่ที่ทำ
คำตอบคือไม่ใช่เลยมีการโยกย้ายในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาโดยตลอดที่สำคัญไม่ต้องย้อนไปไกลแค่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะก็ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 30 มิถุนายน 2552 ให้พล.ท.สุรพลเผื่อนอัยกาพ้นจากเลขาธิการสมช.ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯแล้วก็ตั้งนายถวิลนั่นแหละขึ้นมาแทน...ทำไมทำได้
ซ้ำรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยังย้ายนายพีรพลไตรทศาวิทย์จากปลัดกระทรวงมหาดไทยไปเป็นที่ปรึกษานายกฯก็ทำได้อีกเช่นกัน
เหตุผลที่รู้กันทั้งประเทศว่าเป็นที่มาของการสั่งย้ายพล.ท.สุรพลก็คือการเป็นเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรอดีตนายกฯทำให้รัฐบาลไม่ไว้วางใจที่จะให้ทำหน้าที่สำคัญต่อไป
เช่นเดียวกับกรณีย้ายนายพีรพลก็เพราะแค่ลูกของนายพีรพลเป็นเพื่อนกับลูกพ.ต.ท.ทักษิณ
นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ซึ่งในวันนั้นนายถวิลที่วันนี้พูดว่าที่ต่อสู้ไม่ใช่เพราะต้องการตำแหน่งคืนแต่เพราะต้องการความยุติธรรมเกียรติศักดิ์ศรีของข้าราชการนั้นไม่เคยพูดถึงศักดิ์ศรีข้าราชการของพล.ท.สุรพลที่ตัวเองขึ้นไปนั่งเก้าอี้แทนเลยสักนิดเดียว
นายถวิลไม่เคยพูดให้พล.ท.สุรพลลุกขึ้นต่อสู้เพื่อความยุติธรรมเกียรติศักดิ์ศรีของข้าราชการเลย
หรือความยุติธรรมเกียรติศักดิ์ศรีของข้าราชการของพล.ท.สุรพลกับนายถวิลนั้นแตกต่างกัน
หรือการที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่ไว้วางใจนายถวิลที่ใกล้ชิดกับประชาธิปัตย์และไปขึ้นเวทีขั้วตรงข้ามรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอดนั้นมีน้ำหนักน้อยกว่าแค่การที่พล.ท.สุรพลเป็นตท.10
เพราะเรื่องเหมือนกันแต่องค์กรอิสระทำให้กลายเป็นคนละเรื่องเดียวกันใช่หรือไม่จึงทำให้คำว่า 2 มาตรฐานไม่เคยจบไปเสียทีและทำให้วลี“ความยุติธรรมไม่มีความสามัคคีไม่เกิด”ยังดังก้องในประเทศนี้
วันนี้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้นหลังสงกรานต์กำลังถูกจับตามองจากทุกฝ่ายว่าจะนำอะไรมาสู่ประเทศไทยความแตกแยกความเสียหายหรือว่าจะทำให้ไฟที่กำลังจะลุกโชนดับลง
นายสุเทพรอคำตัดสินด้วยความมั่นใจและกระหยิ่มถึงขั้นประกาศจุดยืนจะเป็นรัฏฐาธิปัตย์โดยไม่กระมิดกระเมี้ยนอีกต่อไปซึ่งหากตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาตรงกับธงของนายสุเทพจริงๆนั่นแปลว่ารัฏฐาธิปัตย์เกิดขึ้นแน่เพราะมีการประกาศล่วงหน้าเอาไว้แล้วศาลรัฐธรรมนูญก็รู้แล้ว
ก็เท่ากับตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเข้าทางเพื่อให้นายสุเทพเป็นรัฏฐาธิปัตย์
สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาจากฝั่งของคนรักประชาธิปไตยไม่เอาการทำรัฐประหารทุกรูปแบบจะยอมรับการเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของนายสุเทพแต่โดยดีหรือไม่คงไม่มีใครบอกได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจะมีการนองเลือดตามมาหรือไม่
สิ่งที่บอกได้คือความไม่เข้าใจว่าทำไมนายสุเทพจึงกล้าย่ามใจจนประกาศตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์
เพราะที่ผ่านมาแม้นายสุเทพจะเลือกเล่นการเมืองนอกเกมรัฐสภาออกมาเล่นการเมืองต่อสู้ข้างถนนนาน 4-5 เดือนสู้ไม่ถอยก็ยังต้องชมว่าเป็นนักต่อสู้ที่เข้มแข็งคนหนึ่งแต่พอมาประกาศตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์นี่มันไม่ใช่แล้ว
เพราะการปฏิวัติประชาชนถ้าประชาชนทั้งประเทศเอาด้วยนั่นคือการปฏิวัติประชาชนที่แท้จริง
แต่นี่นายสุเทพรู้อยู่แก่ใจว่าไม่ใช่... ผู้คนตั้งครึ่งค่อนประเทศไม่ได้เอาด้วยกับวิธีการของนายสุเทพ
มีเพียงมวลมหาประชาชนของนายสุเทพเท่านั้นที่นายสุเทพกล่าวอ้างว่าเป็นมติของคนเหล่านั้นที่จะให้นายสุเทพเป็นรัฏฐาธิปัตย์
ซึ่งหากมวลมหาประชาชนของนายสุเทพมีมากเกินครึ่งค่อนประเทศจริงๆมีมากกว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับนายสุเทพจริงๆทำไม่นายสุเทพไม่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้งไปเลยเพราะถ้ามวลมหาประชาชนมีมากมายมหาศาลจริงจะต้องชนะเลือกตั้งแน่จะต้องกลัวพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งไปทำไม
การเลือกเป็นรัฏฐาธิปัตย์ด้วยวิธีพิสดารต่างหากที่นายสุเทพจะตอบคนทั้งประเทศจะตอบลูกหลานไทยจะตอบนิสิตนักศึกษาที่เรียนนิติศาสตร์รัฐศาสตร์อย่างไร
คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญจากประเด็นนายถวิลจะทำให้เกิดการ “เปลี่ยนสีเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมือง”ตามมาหรือไม่
หรือจะเลวร้ายถึงขั้นเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่โหมดของการแตกหักทางการเมืองอย่างรุนแรง
หากเกิดขึ้นจริงก็ต้องถือเป็นตราบาปของกลุ่มคนที่คิดจะ“เปลี่ยนสี”ทั้งหลายนั่นแหละ
ที่มา.บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////
หนึ่งคือการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการโยกย้ายนายถวิลเปลี่ยนศรีอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ว่าจะมีผลให้สถานภาพรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่
ทั้ง 2 กรณีไม่ว่าจะมติของป.ป.ช. หรือการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหากมีผลออกมาว่าผิดการทำหน้าที่ในการเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็จะต้องสิ้นสุดลง
นั่นแปลว่าโอกาสที่จะเกิดสุญญากาศทางการเมืองจะมีขึ้นทันที
เพราะต่อให้พรรคเพื่อไทยไปร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องสถานภาพสิ้นสุดลงเฉพาะตัวไม่ใช่คณะรัฐมนตรีทั้งหมดแต่หากดูการวินิจฉัยขององค์กรอิสระที่เป็นขั้วตรงข้ามรัฐบาลจะเห็นว่าผลการวินิจฉัยแทบจะไม่เคยเป็นคุณกับพรรคเพื่อไทยเลยสักครั้ง
มีแต่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่เป็นฝ่ายโชคดีมาโดยตลอดและได้เฮทุกครั้ง
ครั้งนี้แม้แต่อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ออกมาเล่นการเมืองข้างถนนคือนายสุเทพเทือกสุบรรณก็ยังมั่นใจว่ามติและคำวินิจฉัยของป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นคุณกับฝ่ายตนเอง
ถึงขนาดที่กล้าประกาศเลยว่าวันที่มีผลวินิจฉัยออกมาวันนั้นนายสุเทพจะประกาศความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ใช้อำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่และแต่งตั้งสภาประชาชนแทนประชาชนคนไทยทั้งประเทศในทันที
น้ำหนักชัดเจนว่าขั้วตรงข้ามรัฐบาลใจจรดใจจ่อไปที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีของนายถวิลเป็นหลักมากเสียยิ่งกว่ากรณีการมีมติของป.ป.ช.เรื่องทุจริตรับจำนำข้าวเสียอีก
ถามว่าทำไมการโยกย้ายข้าราชการที่ชื่อนายถวิลเปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาฯสมช. ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯระดับ 11 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 แล้วให้พล.ท.ภราดรพัฒนถาบุตรเข้ามาเป็นเลขาฯสมช. แทนจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่คอขาดบาดตายถึงขนาดที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเอามาเป็นประเด็นในการให้สถานภาพการเป็นรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์สิ้นสุดลงหรือไม่เช่นนั้นเชียวหรือ?
หรือว่าในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาลใดโยกย้ายข้าราชการโดยเฉพาะไม่เคยมีการย้ายเขาฯสมช. ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯเลยหรืออย่างไรเพิ่งจะมีรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเช่นนั้นใช่หรือไม่ที่ทำ
คำตอบคือไม่ใช่เลยมีการโยกย้ายในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาโดยตลอดที่สำคัญไม่ต้องย้อนไปไกลแค่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะก็ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 30 มิถุนายน 2552 ให้พล.ท.สุรพลเผื่อนอัยกาพ้นจากเลขาธิการสมช.ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯแล้วก็ตั้งนายถวิลนั่นแหละขึ้นมาแทน...ทำไมทำได้
ซ้ำรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยังย้ายนายพีรพลไตรทศาวิทย์จากปลัดกระทรวงมหาดไทยไปเป็นที่ปรึกษานายกฯก็ทำได้อีกเช่นกัน
เหตุผลที่รู้กันทั้งประเทศว่าเป็นที่มาของการสั่งย้ายพล.ท.สุรพลก็คือการเป็นเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรอดีตนายกฯทำให้รัฐบาลไม่ไว้วางใจที่จะให้ทำหน้าที่สำคัญต่อไป
เช่นเดียวกับกรณีย้ายนายพีรพลก็เพราะแค่ลูกของนายพีรพลเป็นเพื่อนกับลูกพ.ต.ท.ทักษิณ
นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ซึ่งในวันนั้นนายถวิลที่วันนี้พูดว่าที่ต่อสู้ไม่ใช่เพราะต้องการตำแหน่งคืนแต่เพราะต้องการความยุติธรรมเกียรติศักดิ์ศรีของข้าราชการนั้นไม่เคยพูดถึงศักดิ์ศรีข้าราชการของพล.ท.สุรพลที่ตัวเองขึ้นไปนั่งเก้าอี้แทนเลยสักนิดเดียว
นายถวิลไม่เคยพูดให้พล.ท.สุรพลลุกขึ้นต่อสู้เพื่อความยุติธรรมเกียรติศักดิ์ศรีของข้าราชการเลย
หรือความยุติธรรมเกียรติศักดิ์ศรีของข้าราชการของพล.ท.สุรพลกับนายถวิลนั้นแตกต่างกัน
หรือการที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่ไว้วางใจนายถวิลที่ใกล้ชิดกับประชาธิปัตย์และไปขึ้นเวทีขั้วตรงข้ามรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอดนั้นมีน้ำหนักน้อยกว่าแค่การที่พล.ท.สุรพลเป็นตท.10
เพราะเรื่องเหมือนกันแต่องค์กรอิสระทำให้กลายเป็นคนละเรื่องเดียวกันใช่หรือไม่จึงทำให้คำว่า 2 มาตรฐานไม่เคยจบไปเสียทีและทำให้วลี“ความยุติธรรมไม่มีความสามัคคีไม่เกิด”ยังดังก้องในประเทศนี้
วันนี้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้นหลังสงกรานต์กำลังถูกจับตามองจากทุกฝ่ายว่าจะนำอะไรมาสู่ประเทศไทยความแตกแยกความเสียหายหรือว่าจะทำให้ไฟที่กำลังจะลุกโชนดับลง
นายสุเทพรอคำตัดสินด้วยความมั่นใจและกระหยิ่มถึงขั้นประกาศจุดยืนจะเป็นรัฏฐาธิปัตย์โดยไม่กระมิดกระเมี้ยนอีกต่อไปซึ่งหากตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาตรงกับธงของนายสุเทพจริงๆนั่นแปลว่ารัฏฐาธิปัตย์เกิดขึ้นแน่เพราะมีการประกาศล่วงหน้าเอาไว้แล้วศาลรัฐธรรมนูญก็รู้แล้ว
ก็เท่ากับตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเข้าทางเพื่อให้นายสุเทพเป็นรัฏฐาธิปัตย์
สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาจากฝั่งของคนรักประชาธิปไตยไม่เอาการทำรัฐประหารทุกรูปแบบจะยอมรับการเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของนายสุเทพแต่โดยดีหรือไม่คงไม่มีใครบอกได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจะมีการนองเลือดตามมาหรือไม่
สิ่งที่บอกได้คือความไม่เข้าใจว่าทำไมนายสุเทพจึงกล้าย่ามใจจนประกาศตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์
เพราะที่ผ่านมาแม้นายสุเทพจะเลือกเล่นการเมืองนอกเกมรัฐสภาออกมาเล่นการเมืองต่อสู้ข้างถนนนาน 4-5 เดือนสู้ไม่ถอยก็ยังต้องชมว่าเป็นนักต่อสู้ที่เข้มแข็งคนหนึ่งแต่พอมาประกาศตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์นี่มันไม่ใช่แล้ว
เพราะการปฏิวัติประชาชนถ้าประชาชนทั้งประเทศเอาด้วยนั่นคือการปฏิวัติประชาชนที่แท้จริง
แต่นี่นายสุเทพรู้อยู่แก่ใจว่าไม่ใช่... ผู้คนตั้งครึ่งค่อนประเทศไม่ได้เอาด้วยกับวิธีการของนายสุเทพ
มีเพียงมวลมหาประชาชนของนายสุเทพเท่านั้นที่นายสุเทพกล่าวอ้างว่าเป็นมติของคนเหล่านั้นที่จะให้นายสุเทพเป็นรัฏฐาธิปัตย์
ซึ่งหากมวลมหาประชาชนของนายสุเทพมีมากเกินครึ่งค่อนประเทศจริงๆมีมากกว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับนายสุเทพจริงๆทำไม่นายสุเทพไม่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้งไปเลยเพราะถ้ามวลมหาประชาชนมีมากมายมหาศาลจริงจะต้องชนะเลือกตั้งแน่จะต้องกลัวพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งไปทำไม
การเลือกเป็นรัฏฐาธิปัตย์ด้วยวิธีพิสดารต่างหากที่นายสุเทพจะตอบคนทั้งประเทศจะตอบลูกหลานไทยจะตอบนิสิตนักศึกษาที่เรียนนิติศาสตร์รัฐศาสตร์อย่างไร
คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญจากประเด็นนายถวิลจะทำให้เกิดการ “เปลี่ยนสีเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมือง”ตามมาหรือไม่
หรือจะเลวร้ายถึงขั้นเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่โหมดของการแตกหักทางการเมืองอย่างรุนแรง
หากเกิดขึ้นจริงก็ต้องถือเป็นตราบาปของกลุ่มคนที่คิดจะ“เปลี่ยนสี”ทั้งหลายนั่นแหละ
ที่มา.บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น