เนื้อหาระบุว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีสำคัญหลายคดีถูกวิพากษ์วิจารณ์มากว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความยุติธรรมและหลายคดีวินิจฉัยโดยก้าวล่วงการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรอื่นโดยไม่มีอำนาจขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจและขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง
ซึ่งเหตุผลสำคัญที่สนับสนุนความเห็นที่ว่าการวินิจฉัยของศาลฯไม่ได้ดำเนินการไปโดยความยุติธรรมคือการพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญได้กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับหรือไม่เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคหกบัญญัติไว้ให้วิธีพิจารณาของศาลฯต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
ประกอบกับมาตรา 300 วรรคห้าและบทเฉพาะกาลมาตรา 300 วรรคห้าบัญญัติว่าระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพ.ร.บ. ให้ศาลฯมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ทั้งนี้ต้องตราพ.ร.บ.ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แต่จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 7 ปีแล้วศาลฯก็ยังละเลยที่จะดำเนินการเพื่อให้มีพ.ร.บ.ดังกล่าว
ซ้ำยังได้นำข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยพ.ศ.2550 ที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้กำหนดขึ้นเองแต่เพียงฝ่ายเดียวมาใช้ในการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยเรื่อยมา
ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ใช้ข้อกำหนดนั้นได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น
“ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาสำคัญอย่างยิ่งประเทศที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญต่อหลักนิติรัฐและนิติธรรมไม่อาจมองข้ามการพิจารณาคดีต้องมีกฎเกณฑ์หรือกติกาว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับประชาชนกฎเกณฑ์หรือกติกาว่าด้วยวิธีพิจารณาดังกล่าวจะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กรที่มีความชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตยไม่ใช่ศาลกำหนดเอง”
นับแต่เมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยคดีโดยไม่มีกฎหมายรองรับไปแล้วกว่า 350 เรื่องแยกเป็นที่ทำในรูปคำวินิจฉัยกว่า 92 เรื่องและที่ทำเป็นคำสั่งอีกกว่า 258 เรื่อง
การละเลยต่อหลักการย่อมส่งผลให้การพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญบิดเบี้ยวขาดความชัดเจนในกระบวนการพิจารณาเพราะไม่มีกรอบแห่งการใช้อำนาจเช่น1.ไม่มีกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาในแต่ละประเภทคดีไว้อย่างชัดเจนส่งผลให้บางคดีได้กระทำไปด้วยความรีบเร่งผิดปกติ
2.การทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมายังไม่มีความชัดเจนว่าตุลาการฯซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนได้ทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคสองได้กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด
และ 3.ไม่มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนในราชกิจจานุเบกษาส่งผลให้บางคดีอ่านคำวินิจฉัยไปแล้วหลายเดือนแต่คำวินิจฉัยกลางยังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคสามกำหนดไว้
การไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือการพิจารณาวินิจฉัยคดีที่กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับรวมทั้งการละเลยต่อกระบวนการหรือวิธีพิจารณาคดีที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้จึงทำให้คำวินิจฉัยที่ผ่านมาย่อมมีปัญหาความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมเสียเองและอาจทำให้คำวินิจฉัยดังกล่าวตกไปทั้งฉบับได้
นี่คือคำถามข้อใหญ่ที่พุ่งเข้าสู่ศาลรัฐธรรมนูญตรงๆว่าเหตุใดองค์กรอิสระที่มีหน้าที่รักษาความถูกต้องของกฎหมายรัฐธรรมนูญจึงได้ละเลยต่อการที่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเช่นนี้
เรื่องนี้อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาท่านหนึ่งได้ให้ข้อมูลเรื่องนี้พ.ต.ต.เสงี่ยมสำราญรัตน์ได้เคยยื่นหนังสือลงวันที่ 27 กันยายน 2556 และ 3 ตุลาคม 2556 ให้ศาลรัฐธรรมนูญหยุดการกระทำอันฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 138 (5) มาตรา 216 วรรคหกและมาตรา 300 วรรคห้ามาแล้วซึ่งนายชวนะไตรมาศเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้มีหนังสือลงวันที่ 4 ตุลาคม 2556 ตอบในเรื่องนี้ว่า
ที่รัฐธรรมนูญมาตรา 300 วรรคห้าบัญญัติว่าทั้งนี้ต้องตราพ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้น“ไม่ใช่ระยะเวลาบังคับแต่เป็นระยะเวลาเร่งรัด”
ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวยังอยู่ในกระบวนการทางนิติบัญญัติของรัฐสภาดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจึงนำข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 มาบังคับใช้... นั่นคือคำตอบจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาบอกว่าเป็นข้อบังคับที่ศาลรัฐธรรมนูญเขียนขึ้นใช้เองแล้วก็ใช้ตัดสินคดีเรื่อยมาและคงจะใช้เรื่อยไปใช่หรือไม่???
ที่สำคัญหากดูตามมาตรา 153 วรรคสองจะพบว่าร่างพ.ร.บ.ที่อ้างว่ายังอยู่ในกระบวนการทางรัฐสภานั้นได้ตกไปหลายปีแล้วใช้ไม่ได้แล้วเพราะไม่ปรากฏว่ามีรัฐบาลใดไม่ว่าจะรัฐบาลนายสมัครสุนทรเวชรัฐบาลนายสมชายวงศ์สวัสดิ์หรือแม้แต่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตรได้ยื่นคำขอต่อรัฐสภาภายใน 60 วันนับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไปให้ยกขึ้นพิจารณาต่อไป
ดังนั้นการพิจารณาตัดสินคดีวินิจฉัยให้คำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2551 ถึงปัจจุบันจึงบอกใครไม่ได้ว่าตัดสินตามกฎหมายอะไรเพราะศาลรัฐธรรมนูญมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายและไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่ยกขึ้นอ้างอิงตามมาตรา 216 วรรคสี่
ไม่มีใครรู้นอกจากคนสวมชุดครุยแดงๆ!!!
นี่คือเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญของหลักความยุติธรรมที่ตุลาการรัฐธรรมนูญจะต้องตอบกับสังคมให้กระจ่างว่าที่นายอุกฤษระบุมารวมทั้งที่อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ข้อมูลมานั้นจริงหรือไม่อย่างไร
ในมุมของนักกฎหมายอาจจะมองว่าถ้าเป็นแบบนี้การตัดสินคดีของศาลรัฐธรรมนูญทุกเรื่องจึงขัดต่อกฎหมายและเป็นโมฆะรวมทั้งตุลาการทุกคนอาจจะเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 157 ด้วย
แต่สำหรับประชาชนทั่วไปกำลังอึงอลกับคำถามที่ว่าตกลงหากที่ผ่านมาตัดสินโดยไม่มีกฎหมายรองรับอย่างที่ว่าจะถือว่าคำวินิจฉัยเหล่านั้น...เถื่อนหรือไม่เถื่อน???
แล้วหากว่าสุดท้ายแล้วพบว่าเกิดเถื่อนขึ้นมาจริงๆความยุติธรรมจะอยู่ที่ตรงไหน
ใช่เพราะไม่มีพ.ร.บ.ดังกล่าวหรือไม่จึงทำให้นายวสันต์สร้อยพิสุทธิ์อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญเคยหลุดวาจากมาว่าบางครั้งก็ตัดสินคดีวินิจฉัยคดีกันแบบลวกๆสุกเอาเผากิน
นี่คือสาเหตุสำคัญใช่หรือไม่ตุลาการรัฐธรรมนูญทุกคนย่อมรู้อยู่แก่ใจ
ที่ผ่านมาหลายเรื่องเป็นเรื่องของตัวบุคคลเช่นเรื่องของนายจรัญภักดีธนากุลที่เซ็นยินยอมให้ภรรยาเกี่ยวกับเรื่องซื้อขายที่ดินแล้วปรากฏว่าคดีซื้อขายที่ดินดังกล่าวของภรรยานายจรัญถูกศาลฎีกาพิพากษาให้เป็นคดีฉ้อโกงซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกสังคมตั้งคำถามเฉพาะตัวว่าแบบนี้ควรมีผลต่อนายจรัญซึ่งเป็นสามีและเซ็นเอกสารให้ภรรยาหรือไม่???
รวมทั้งเมื่อมีคดีกับคนใกล้ตัวมากๆเช่นนี้แล้วการทำหน้าที่ของนายจรัญจะยังคงควารที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมอยู่หรือไม่???
และจึงไม่แปลกที่สังคมจะมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับมาตรฐานการตัดสินคดีจนนำมาซึ่งคำว่า 2 มาตรฐานบ้างไม่มีมาตรฐานบ้างรวมไปกระทั่งถึงไม่มีความยุติธรรมที่แท้จริง
มิน่ากรณีกระแสข่าวที่ว่าพ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรีอยากเห็นบ้านเมืองเดินไปข้างหน้าและแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีถึงขั้นออกปากว่าหากมีการคืนความเป็นธรรมให้ประเทศให้กับครอบครัวชินวัตรทางตระกูลชินวัตรก็พร้อมเสียสละและยุติการเป็นนักการเมือง
นั่นแปลว่าตระกูลชินวัตรยังคงรู้สึกมาโดยตลอดว่าที่ผ่านมาไม่ได้รับความเป็นธรรม
เมื่อใดที่ได้รับความเป็นธรรมก็พร้อมที่จะยุติบทบาทในการทวงคืนความเป็นธรรมยุติบทบาทในทางการเมืองซึ่งบางกอกทูเดย์เองก็เห็นด้วยและสนับสนุนกับแนวความคิดนี้มาโดยตลอดว่าปัญหาสามารถจบได้ด้วยความยุติธรรมไม่ใช่ด้วยตุลาการภิวัตน์อย่างที่พยายามกระทำกันอยู่
และเมื่อจบแล้วพ.ต.ท.ทักษิณก็จะต้องวางมือให้ทุกคนยอมรับจริงๆอย่าให้มีประเด็นข้ออ้างเหมือนที่ผ่านๆมาอีก
สาเหตุหนึ่งที่ขั้วการเมืองตรงข้ามยังก้าวข้ามไม่พ้นคนชื่อทักษิณก็เป็นเพราะที่ผ่านมายังมีคนรอบข้างยังมีคนใกล้ตัวยังมีพรรคพวกและวงศาคณาญาติที่ใช้บารมีของอดีตนายกฯทักษิณไปแสวงหาผลประโยชน์ไปกอบโกยจนกลายเป็นเรื่องฉาวโฉ่สารพัดทั้งเรื่องโยกย้ายแต่งตั้งเรื่องโครงการสัมปทานต่างๆหรือแม้แต่เรื่องการทำมาหากินแบบซิกแซก
ซึ่งอดีตนายกฯทักษิณอาจจะไม่รู้เรื่องด้วยจริงๆแต่ภาพลักษณ์ก็เปื้อนไปแล้วและขบวนการทำลายล้างทางการเมืองของขั้วตรงข้ามก็กระหน่ำใส่จนจริงเท็จไม่สนใจแต่มีคนเชื่อปักใจว่าระบอบทักษิณโกงและทำให้ม็อบกปปส. ปลุกติดด้วยข้อหาเหล่านั้น
ฉะนั้นหากถึงวันที่ได้รับความเป็นธรรมคืนมาแล้วอดีตนายกฯทักษิณต้องวางมือให้ได้จริงๆอย่าให้ใครเอาชื่อไปแอบอ้างหากินได้อีกจะต้องอยู่เงียบๆแล้วเชื่อเถอะคนไทยนั้นลืมง่ายและพร้อมที่จะให้อภัยและลืมเลือน
ในวันที่สังคมลืมเลือนความเกลียดชังไปแล้วดีไม่ดีด้วยความที่เป็นคนมีฝีมือมีความคิดเป็นที่ประจักษ์เผลอๆหากประเทศชาติมีปัญหาต้องการคนเก่งมาช่วยแก้ไขสังคมอาจจะเป็นฝ่ายที่เรียกร้องให้อดีตนายกฯทักษิณกลับมาแสดงฝีมือก็เป็นได้
จริงๆแค่เพียงวันนี้โลว์โปรไฟล์ได้จริงๆไม่ให้ใครไปหาเพื่อแอบอ้างหากินอีกต่อไปได้จริงๆสถานการณ์ก็คงจะดีกว่านี้เยอะเลยไม่ต้องมาลุ้นระทึกว่าขั้วตรงข้ามเอยมือที่มองไม่เห็นเอยจะรุมกันเชือดยกตระกูลเมื่อไหร่
คืนความเป็นธรรมทักษิณล้างมือทางการเมือง... จบสวยกว่าการใช้ตุลาการภิวัตน์สหบาทาเยอะเลยว่ามั้ย... ตุลาการฯทั้งหลาย
ที่มา.บางกอกทูเดย์
---------------------------------------
ซึ่งเหตุผลสำคัญที่สนับสนุนความเห็นที่ว่าการวินิจฉัยของศาลฯไม่ได้ดำเนินการไปโดยความยุติธรรมคือการพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญได้กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับหรือไม่เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคหกบัญญัติไว้ให้วิธีพิจารณาของศาลฯต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
ประกอบกับมาตรา 300 วรรคห้าและบทเฉพาะกาลมาตรา 300 วรรคห้าบัญญัติว่าระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพ.ร.บ. ให้ศาลฯมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ทั้งนี้ต้องตราพ.ร.บ.ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แต่จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 7 ปีแล้วศาลฯก็ยังละเลยที่จะดำเนินการเพื่อให้มีพ.ร.บ.ดังกล่าว
ซ้ำยังได้นำข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยพ.ศ.2550 ที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้กำหนดขึ้นเองแต่เพียงฝ่ายเดียวมาใช้ในการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยเรื่อยมา
ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ใช้ข้อกำหนดนั้นได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น
“ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาสำคัญอย่างยิ่งประเทศที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญต่อหลักนิติรัฐและนิติธรรมไม่อาจมองข้ามการพิจารณาคดีต้องมีกฎเกณฑ์หรือกติกาว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับประชาชนกฎเกณฑ์หรือกติกาว่าด้วยวิธีพิจารณาดังกล่าวจะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กรที่มีความชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตยไม่ใช่ศาลกำหนดเอง”
นับแต่เมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยคดีโดยไม่มีกฎหมายรองรับไปแล้วกว่า 350 เรื่องแยกเป็นที่ทำในรูปคำวินิจฉัยกว่า 92 เรื่องและที่ทำเป็นคำสั่งอีกกว่า 258 เรื่อง
การละเลยต่อหลักการย่อมส่งผลให้การพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญบิดเบี้ยวขาดความชัดเจนในกระบวนการพิจารณาเพราะไม่มีกรอบแห่งการใช้อำนาจเช่น1.ไม่มีกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาในแต่ละประเภทคดีไว้อย่างชัดเจนส่งผลให้บางคดีได้กระทำไปด้วยความรีบเร่งผิดปกติ
2.การทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมายังไม่มีความชัดเจนว่าตุลาการฯซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนได้ทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคสองได้กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด
และ 3.ไม่มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนในราชกิจจานุเบกษาส่งผลให้บางคดีอ่านคำวินิจฉัยไปแล้วหลายเดือนแต่คำวินิจฉัยกลางยังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคสามกำหนดไว้
การไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือการพิจารณาวินิจฉัยคดีที่กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับรวมทั้งการละเลยต่อกระบวนการหรือวิธีพิจารณาคดีที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้จึงทำให้คำวินิจฉัยที่ผ่านมาย่อมมีปัญหาความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมเสียเองและอาจทำให้คำวินิจฉัยดังกล่าวตกไปทั้งฉบับได้
นี่คือคำถามข้อใหญ่ที่พุ่งเข้าสู่ศาลรัฐธรรมนูญตรงๆว่าเหตุใดองค์กรอิสระที่มีหน้าที่รักษาความถูกต้องของกฎหมายรัฐธรรมนูญจึงได้ละเลยต่อการที่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเช่นนี้
เรื่องนี้อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาท่านหนึ่งได้ให้ข้อมูลเรื่องนี้พ.ต.ต.เสงี่ยมสำราญรัตน์ได้เคยยื่นหนังสือลงวันที่ 27 กันยายน 2556 และ 3 ตุลาคม 2556 ให้ศาลรัฐธรรมนูญหยุดการกระทำอันฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 138 (5) มาตรา 216 วรรคหกและมาตรา 300 วรรคห้ามาแล้วซึ่งนายชวนะไตรมาศเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้มีหนังสือลงวันที่ 4 ตุลาคม 2556 ตอบในเรื่องนี้ว่า
ที่รัฐธรรมนูญมาตรา 300 วรรคห้าบัญญัติว่าทั้งนี้ต้องตราพ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้น“ไม่ใช่ระยะเวลาบังคับแต่เป็นระยะเวลาเร่งรัด”
ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวยังอยู่ในกระบวนการทางนิติบัญญัติของรัฐสภาดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจึงนำข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 มาบังคับใช้... นั่นคือคำตอบจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาบอกว่าเป็นข้อบังคับที่ศาลรัฐธรรมนูญเขียนขึ้นใช้เองแล้วก็ใช้ตัดสินคดีเรื่อยมาและคงจะใช้เรื่อยไปใช่หรือไม่???
ที่สำคัญหากดูตามมาตรา 153 วรรคสองจะพบว่าร่างพ.ร.บ.ที่อ้างว่ายังอยู่ในกระบวนการทางรัฐสภานั้นได้ตกไปหลายปีแล้วใช้ไม่ได้แล้วเพราะไม่ปรากฏว่ามีรัฐบาลใดไม่ว่าจะรัฐบาลนายสมัครสุนทรเวชรัฐบาลนายสมชายวงศ์สวัสดิ์หรือแม้แต่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตรได้ยื่นคำขอต่อรัฐสภาภายใน 60 วันนับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไปให้ยกขึ้นพิจารณาต่อไป
ดังนั้นการพิจารณาตัดสินคดีวินิจฉัยให้คำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2551 ถึงปัจจุบันจึงบอกใครไม่ได้ว่าตัดสินตามกฎหมายอะไรเพราะศาลรัฐธรรมนูญมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายและไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่ยกขึ้นอ้างอิงตามมาตรา 216 วรรคสี่
ไม่มีใครรู้นอกจากคนสวมชุดครุยแดงๆ!!!
นี่คือเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญของหลักความยุติธรรมที่ตุลาการรัฐธรรมนูญจะต้องตอบกับสังคมให้กระจ่างว่าที่นายอุกฤษระบุมารวมทั้งที่อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ข้อมูลมานั้นจริงหรือไม่อย่างไร
ในมุมของนักกฎหมายอาจจะมองว่าถ้าเป็นแบบนี้การตัดสินคดีของศาลรัฐธรรมนูญทุกเรื่องจึงขัดต่อกฎหมายและเป็นโมฆะรวมทั้งตุลาการทุกคนอาจจะเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 157 ด้วย
แต่สำหรับประชาชนทั่วไปกำลังอึงอลกับคำถามที่ว่าตกลงหากที่ผ่านมาตัดสินโดยไม่มีกฎหมายรองรับอย่างที่ว่าจะถือว่าคำวินิจฉัยเหล่านั้น...เถื่อนหรือไม่เถื่อน???
แล้วหากว่าสุดท้ายแล้วพบว่าเกิดเถื่อนขึ้นมาจริงๆความยุติธรรมจะอยู่ที่ตรงไหน
ใช่เพราะไม่มีพ.ร.บ.ดังกล่าวหรือไม่จึงทำให้นายวสันต์สร้อยพิสุทธิ์อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญเคยหลุดวาจากมาว่าบางครั้งก็ตัดสินคดีวินิจฉัยคดีกันแบบลวกๆสุกเอาเผากิน
นี่คือสาเหตุสำคัญใช่หรือไม่ตุลาการรัฐธรรมนูญทุกคนย่อมรู้อยู่แก่ใจ
ที่ผ่านมาหลายเรื่องเป็นเรื่องของตัวบุคคลเช่นเรื่องของนายจรัญภักดีธนากุลที่เซ็นยินยอมให้ภรรยาเกี่ยวกับเรื่องซื้อขายที่ดินแล้วปรากฏว่าคดีซื้อขายที่ดินดังกล่าวของภรรยานายจรัญถูกศาลฎีกาพิพากษาให้เป็นคดีฉ้อโกงซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกสังคมตั้งคำถามเฉพาะตัวว่าแบบนี้ควรมีผลต่อนายจรัญซึ่งเป็นสามีและเซ็นเอกสารให้ภรรยาหรือไม่???
รวมทั้งเมื่อมีคดีกับคนใกล้ตัวมากๆเช่นนี้แล้วการทำหน้าที่ของนายจรัญจะยังคงควารที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมอยู่หรือไม่???
และจึงไม่แปลกที่สังคมจะมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับมาตรฐานการตัดสินคดีจนนำมาซึ่งคำว่า 2 มาตรฐานบ้างไม่มีมาตรฐานบ้างรวมไปกระทั่งถึงไม่มีความยุติธรรมที่แท้จริง
มิน่ากรณีกระแสข่าวที่ว่าพ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรีอยากเห็นบ้านเมืองเดินไปข้างหน้าและแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีถึงขั้นออกปากว่าหากมีการคืนความเป็นธรรมให้ประเทศให้กับครอบครัวชินวัตรทางตระกูลชินวัตรก็พร้อมเสียสละและยุติการเป็นนักการเมือง
นั่นแปลว่าตระกูลชินวัตรยังคงรู้สึกมาโดยตลอดว่าที่ผ่านมาไม่ได้รับความเป็นธรรม
เมื่อใดที่ได้รับความเป็นธรรมก็พร้อมที่จะยุติบทบาทในการทวงคืนความเป็นธรรมยุติบทบาทในทางการเมืองซึ่งบางกอกทูเดย์เองก็เห็นด้วยและสนับสนุนกับแนวความคิดนี้มาโดยตลอดว่าปัญหาสามารถจบได้ด้วยความยุติธรรมไม่ใช่ด้วยตุลาการภิวัตน์อย่างที่พยายามกระทำกันอยู่
และเมื่อจบแล้วพ.ต.ท.ทักษิณก็จะต้องวางมือให้ทุกคนยอมรับจริงๆอย่าให้มีประเด็นข้ออ้างเหมือนที่ผ่านๆมาอีก
สาเหตุหนึ่งที่ขั้วการเมืองตรงข้ามยังก้าวข้ามไม่พ้นคนชื่อทักษิณก็เป็นเพราะที่ผ่านมายังมีคนรอบข้างยังมีคนใกล้ตัวยังมีพรรคพวกและวงศาคณาญาติที่ใช้บารมีของอดีตนายกฯทักษิณไปแสวงหาผลประโยชน์ไปกอบโกยจนกลายเป็นเรื่องฉาวโฉ่สารพัดทั้งเรื่องโยกย้ายแต่งตั้งเรื่องโครงการสัมปทานต่างๆหรือแม้แต่เรื่องการทำมาหากินแบบซิกแซก
ซึ่งอดีตนายกฯทักษิณอาจจะไม่รู้เรื่องด้วยจริงๆแต่ภาพลักษณ์ก็เปื้อนไปแล้วและขบวนการทำลายล้างทางการเมืองของขั้วตรงข้ามก็กระหน่ำใส่จนจริงเท็จไม่สนใจแต่มีคนเชื่อปักใจว่าระบอบทักษิณโกงและทำให้ม็อบกปปส. ปลุกติดด้วยข้อหาเหล่านั้น
ฉะนั้นหากถึงวันที่ได้รับความเป็นธรรมคืนมาแล้วอดีตนายกฯทักษิณต้องวางมือให้ได้จริงๆอย่าให้ใครเอาชื่อไปแอบอ้างหากินได้อีกจะต้องอยู่เงียบๆแล้วเชื่อเถอะคนไทยนั้นลืมง่ายและพร้อมที่จะให้อภัยและลืมเลือน
ในวันที่สังคมลืมเลือนความเกลียดชังไปแล้วดีไม่ดีด้วยความที่เป็นคนมีฝีมือมีความคิดเป็นที่ประจักษ์เผลอๆหากประเทศชาติมีปัญหาต้องการคนเก่งมาช่วยแก้ไขสังคมอาจจะเป็นฝ่ายที่เรียกร้องให้อดีตนายกฯทักษิณกลับมาแสดงฝีมือก็เป็นได้
จริงๆแค่เพียงวันนี้โลว์โปรไฟล์ได้จริงๆไม่ให้ใครไปหาเพื่อแอบอ้างหากินอีกต่อไปได้จริงๆสถานการณ์ก็คงจะดีกว่านี้เยอะเลยไม่ต้องมาลุ้นระทึกว่าขั้วตรงข้ามเอยมือที่มองไม่เห็นเอยจะรุมกันเชือดยกตระกูลเมื่อไหร่
คืนความเป็นธรรมทักษิณล้างมือทางการเมือง... จบสวยกว่าการใช้ตุลาการภิวัตน์สหบาทาเยอะเลยว่ามั้ย... ตุลาการฯทั้งหลาย
ที่มา.บางกอกทูเดย์
---------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น