โดย รัตนา จีนกลาง
ท่ามกลางสุญญากาศทางการเมือง การใช้ชีวิตในทุกวันนี้ต้องระแวดระวังภัยรอบด้าน โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ข่าวคราวอุบัติเหตุเภทภัยต่าง ๆ ขโมยขโจรชุกชุมเหลือเกิน การขับรถไปทำงานก็ต้องใจร่ม ๆ ใจเย็น ๆ มีสติเกินร้อย เพราะการพลาดเพียงเสี้ยววินาทีก็อาจจะสูญเสียหลายสิ่งได้
ในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมานี้ ต้องยอมรับว่า "ความสุข" ของคนไทยได้หายไปเยอะทีเดียว นับตั้งแต่สังคมไทยก้าวเข้าสู่โหมดของความขัดแย้งทางการเมือง ส่งผลทำให้ผู้คนในสังคมมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันหลายกลุ่มหลายขั้ว
การโหมกระพือของสื่อ และข้อมูลข่าวสารสะพัดในโลกโซเชียลมีเดีย ยิ่งตอกย้ำความแตกแยก ตอกย้ำความแตกต่างของผู้คนมากขึ้นทุกวัน ไม่เว้นแม้แต่ในครอบครัวเดียวกัน ในหมู่บ้านเดียวกัน หรือในองค์กรเดียวกัน
แต่ท้ายที่สุดแล้ว... ทุกคนก็ต้องกลับมาทำหน้าที่หลักของตนเอง ตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินเลี้ยงดูจุนเจือครอบครัวกันต่อไป อย่าปล่อยให้ความเห็นต่างทางการเมืองมามีอิทธิพลกับชีวิตมากจนเกินไป
ความสุข สนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว นับจากนี้ไปทุกคนต้องเผชิญกับความจริงอีกครั้ง
ความจริงที่ว่าก็คือมีแต่ปัจจัยลบรุมเร้า เศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ มีแต่เทรนด์ขาลง อันสืบเนื่องมาจากปัจจัยภายในประเทศที่คนไทยก่อขึ้นกันเอง
วันนี้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจติดขัดไปหมด การบริโภคสินค้าและบริการต่าง ๆ ซบเซาหนักเพราะกำลังซื้อหาย รายได้หดกันถ้วนหน้า
อารมณ์การจับจ่ายก็ไม่มี ไฮโซไฮซ้อหยุดซื้อสินค้าแบรนด์เนม ผู้คนทั่วไปขาดความมั่นใจ ขอเก็บเงินไว้ในกระเป๋าดีกว่า เพราะไม่รู้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะออกหัวออกก้อยอย่างไร
ส่วนการลงทุนใหม่ ๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนก็ไม่เกิด เพราะขาดความเชื่อมั่นในเสถียรภาพรัฐบาลและนโยบายเศรษฐกิจ บรรยากาศการค้า การลงทุนจึงแขวนไว้บนความไม่แน่นอนอย่างยิ่ง
ขณะที่ภาคการส่งออกก็เริ่มจะโงหัวรับอานิสงส์จากเงินบาทอ่อนค่า และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่การเดินเครื่องผลิตสินค้าก็ไม่เต็มร้อย ออร์เดอร์ไม่ชุกชุมเหมือนยุคก่อน
ขณะที่ภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่จะดึงเงินตราต่างประเทศเข้ามาโดยตรงก็ยังไม่ดีเท่าที่ควรหากการชุมนุมยังยืดเยื้อเช่นนี้ ซึ่งจะมีเพียงเมืองท่องเที่ยวในบางจังหวัดเท่านั้นที่ชาวต่างชาติหนีกรุงแห่ไปเที่ยว เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่
เมื่อปัจจัยลบรุมล้อมเช่นนี้แล้ว เราจะอยู่กันอย่างไร...?
ในฐานะที่เป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า ได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน จึงต้องมานั่งคิดทบทวนตนเองว่าจะฝ่าวิกฤตรอบนี้ไปได้อย่างไร
แม้ว่าจะฝ่าวิกฤตมาได้หลายรอบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นยุคฟองสบู่แตก ยุคซับไพรม ยุคปฏิวัติรัฐประหาร คัมภีร์ส่วนตัวที่งัดมาใช้ได้ทุกครั้งก็คือ การบริหารใจให้นิ่งมีสติ, การจัดการกับเงินในกระเป๋าดูแลรายรับ-รายจ่าย ลดการก่อหนี้ที่เกินตัว และจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายเงินทองให้ดี
การมีเงินเดือนสูง หรือมีเงินเดือนต่ำ ไม่สำคัญเท่ากับว่า เรามีเงินเหลือใช้-เหลือเก็บเท่าไหร่ ต้องรู้จักใช้เงินให้เป็น ซึ่งจะต้องทำคู่ขนานไปกับการใช้ชีวิตให้มีความสุขกับสิ่งใกล้ตัว ให้เวลากับการอ่านหนังสือที่ชื่นชอบแทนการออกไปเดินห้าง หรือท่องราตรี
ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การหันมาดูแลตัวเองให้ดี เพราะเมื่อเราเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีใครมาเจ็บปวดแทนเราได้ แถมยังต้องเสียเงินในการรักษาจำนวนมาก ยิ่งจะทำให้ครอบครัวเดือดร้อนลำบากมากขึ้น
เริ่มต้นกันวันนี้เลย จัดสรรเวลาไปออกกำลังกาย ย้ายตัวเองออกไปสัมผัสธรรมชาติ กินลม-ชมวิว ดูพระอาทิตย์ทอแสงยามเช้า คุยกับพ่อแม่ และคนที่เรารัก ไม่ละเลยเพื่อนสนิทมิตรสหาย
ไม่ตกเป็นทาส "สังคมก้มหน้า" เสพติดไลน์ เฟซบุ๊ก มากล้นจนเกินไป
แม้ว่าคนเราจะมีทุกข์กันสารพัดอย่าง แต่บทสรุปสุดท้ายแล้ว มนุษย์มีทุกข์แค่ 2 อย่าง คือ "ทุกข์กาย และทุกข์ใจ"
ทุกข์ที่ใจบำบัดเยียวยาได้ด้วยสติและหลักธรรม ทุกข์ที่กายก็ต้องหมั่นตรวจเช็กสุขภาพตนเอง ดูแลเรื่องอาหารการกินให้ดี
บรรทัดสุดท้ายนี้ ขอให้ผู้อ่านมี
กำลังใจ-กินอิ่ม-นอนหลับ-ยิ้มได้ ทุกคน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
--------------------------------------------
ท่ามกลางสุญญากาศทางการเมือง การใช้ชีวิตในทุกวันนี้ต้องระแวดระวังภัยรอบด้าน โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ข่าวคราวอุบัติเหตุเภทภัยต่าง ๆ ขโมยขโจรชุกชุมเหลือเกิน การขับรถไปทำงานก็ต้องใจร่ม ๆ ใจเย็น ๆ มีสติเกินร้อย เพราะการพลาดเพียงเสี้ยววินาทีก็อาจจะสูญเสียหลายสิ่งได้
ในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมานี้ ต้องยอมรับว่า "ความสุข" ของคนไทยได้หายไปเยอะทีเดียว นับตั้งแต่สังคมไทยก้าวเข้าสู่โหมดของความขัดแย้งทางการเมือง ส่งผลทำให้ผู้คนในสังคมมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันหลายกลุ่มหลายขั้ว
การโหมกระพือของสื่อ และข้อมูลข่าวสารสะพัดในโลกโซเชียลมีเดีย ยิ่งตอกย้ำความแตกแยก ตอกย้ำความแตกต่างของผู้คนมากขึ้นทุกวัน ไม่เว้นแม้แต่ในครอบครัวเดียวกัน ในหมู่บ้านเดียวกัน หรือในองค์กรเดียวกัน
แต่ท้ายที่สุดแล้ว... ทุกคนก็ต้องกลับมาทำหน้าที่หลักของตนเอง ตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินเลี้ยงดูจุนเจือครอบครัวกันต่อไป อย่าปล่อยให้ความเห็นต่างทางการเมืองมามีอิทธิพลกับชีวิตมากจนเกินไป
ความสุข สนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว นับจากนี้ไปทุกคนต้องเผชิญกับความจริงอีกครั้ง
ความจริงที่ว่าก็คือมีแต่ปัจจัยลบรุมเร้า เศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ มีแต่เทรนด์ขาลง อันสืบเนื่องมาจากปัจจัยภายในประเทศที่คนไทยก่อขึ้นกันเอง
วันนี้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจติดขัดไปหมด การบริโภคสินค้าและบริการต่าง ๆ ซบเซาหนักเพราะกำลังซื้อหาย รายได้หดกันถ้วนหน้า
อารมณ์การจับจ่ายก็ไม่มี ไฮโซไฮซ้อหยุดซื้อสินค้าแบรนด์เนม ผู้คนทั่วไปขาดความมั่นใจ ขอเก็บเงินไว้ในกระเป๋าดีกว่า เพราะไม่รู้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะออกหัวออกก้อยอย่างไร
ส่วนการลงทุนใหม่ ๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนก็ไม่เกิด เพราะขาดความเชื่อมั่นในเสถียรภาพรัฐบาลและนโยบายเศรษฐกิจ บรรยากาศการค้า การลงทุนจึงแขวนไว้บนความไม่แน่นอนอย่างยิ่ง
ขณะที่ภาคการส่งออกก็เริ่มจะโงหัวรับอานิสงส์จากเงินบาทอ่อนค่า และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่การเดินเครื่องผลิตสินค้าก็ไม่เต็มร้อย ออร์เดอร์ไม่ชุกชุมเหมือนยุคก่อน
ขณะที่ภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่จะดึงเงินตราต่างประเทศเข้ามาโดยตรงก็ยังไม่ดีเท่าที่ควรหากการชุมนุมยังยืดเยื้อเช่นนี้ ซึ่งจะมีเพียงเมืองท่องเที่ยวในบางจังหวัดเท่านั้นที่ชาวต่างชาติหนีกรุงแห่ไปเที่ยว เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่
เมื่อปัจจัยลบรุมล้อมเช่นนี้แล้ว เราจะอยู่กันอย่างไร...?
ในฐานะที่เป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า ได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน จึงต้องมานั่งคิดทบทวนตนเองว่าจะฝ่าวิกฤตรอบนี้ไปได้อย่างไร
แม้ว่าจะฝ่าวิกฤตมาได้หลายรอบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นยุคฟองสบู่แตก ยุคซับไพรม ยุคปฏิวัติรัฐประหาร คัมภีร์ส่วนตัวที่งัดมาใช้ได้ทุกครั้งก็คือ การบริหารใจให้นิ่งมีสติ, การจัดการกับเงินในกระเป๋าดูแลรายรับ-รายจ่าย ลดการก่อหนี้ที่เกินตัว และจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายเงินทองให้ดี
การมีเงินเดือนสูง หรือมีเงินเดือนต่ำ ไม่สำคัญเท่ากับว่า เรามีเงินเหลือใช้-เหลือเก็บเท่าไหร่ ต้องรู้จักใช้เงินให้เป็น ซึ่งจะต้องทำคู่ขนานไปกับการใช้ชีวิตให้มีความสุขกับสิ่งใกล้ตัว ให้เวลากับการอ่านหนังสือที่ชื่นชอบแทนการออกไปเดินห้าง หรือท่องราตรี
ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การหันมาดูแลตัวเองให้ดี เพราะเมื่อเราเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีใครมาเจ็บปวดแทนเราได้ แถมยังต้องเสียเงินในการรักษาจำนวนมาก ยิ่งจะทำให้ครอบครัวเดือดร้อนลำบากมากขึ้น
เริ่มต้นกันวันนี้เลย จัดสรรเวลาไปออกกำลังกาย ย้ายตัวเองออกไปสัมผัสธรรมชาติ กินลม-ชมวิว ดูพระอาทิตย์ทอแสงยามเช้า คุยกับพ่อแม่ และคนที่เรารัก ไม่ละเลยเพื่อนสนิทมิตรสหาย
ไม่ตกเป็นทาส "สังคมก้มหน้า" เสพติดไลน์ เฟซบุ๊ก มากล้นจนเกินไป
แม้ว่าคนเราจะมีทุกข์กันสารพัดอย่าง แต่บทสรุปสุดท้ายแล้ว มนุษย์มีทุกข์แค่ 2 อย่าง คือ "ทุกข์กาย และทุกข์ใจ"
ทุกข์ที่ใจบำบัดเยียวยาได้ด้วยสติและหลักธรรม ทุกข์ที่กายก็ต้องหมั่นตรวจเช็กสุขภาพตนเอง ดูแลเรื่องอาหารการกินให้ดี
บรรทัดสุดท้ายนี้ ขอให้ผู้อ่านมี
กำลังใจ-กินอิ่ม-นอนหลับ-ยิ้มได้ ทุกคน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
--------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น