ธนาคารโลก และ TDRI เห็นตรงกันว่าหลังจากน้ำลดจะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างรายได้เกิดขึ้นมากมายจากการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการ การจับจ่ายเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โรงงาน ซื้อครื่องใช้ไฟฟ้าแทนของเดิมที่เสียหาย การซ่อมรถยนต์ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นในปีหน้า คาดว่าจะขายได้มากกว่า 4.4% ส่วนในปีนี้อัตราการเติบโตจะต่ำกว่า 3.6% ที่ประเมินเอาไว้ช่วงต้นปี กระทรวงการคลังเตรียมเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยระดมเงินจากประชาชน ให้สิทธิพิเศษงดเว้นภาษีจากเงินปันผลเป็นสิ่งจูงใจให้ซื้อหน่วยลงทุน แต่ยังไม่ได้กำหนดขนาดกองทุนว่าจะระดมเงินเท่าไร เพราะต้องรอหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปความต้องการเงินทุนฟื้นฟูแต่ละด้านก่อน
น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารโลกประเมินความเสียหายเศรษฐกิจไทยจากปัญหาอุทกภัยเอาไว้ไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท และจะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายอยู่ในระดับติดลบ เนื่องจากความเสียหายในภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม การลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจะส่งผลให้เศรษฐกิจในปีหน้าเติบโตได้สูงกว่าระดับ 4.4% แต่ในปีนี้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะต่ำกว่า 3.6% ที่ประเมินเอาไว้เมื่อต้นปี
รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา ฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เมื่อเกิดภัยพิบัติคนทั่วไปมักคาดการณ์กันว่าจะมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่เกิดขึ้นมักตรงข้าม เราจะพบว่าเมื่อประเทศเกิดปัญหาภัยพิบัติอย่างรุนแรง เผชิญความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ในไตรมาสต่อๆไปกลับมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น
“สิ่งที่พบช่วงหลังภัยพิบัติคือกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างรายได้บางประเภทลดลงเพราะเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะภาคการผลิต แต่ขณะเดียวกันจะมีกิจกรรมที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นเกิดขึ้นอีกมาก เช่น อุปกรณ์และวัสดุก่อสร้าง อิฐ หิน ปูน ทราย ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่มบรรจุขวด ปั๊มน้ำ อุปกรณ์ไฟฟ้า ตู้เย็น ทีวี. เครื่องซักผ้า ธุรกิจจัดสวน ไม้ดอกประดับ อู่ซ่อมรถ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจประกันภัย เวชภัณฑ์ การรักษาพยาบาล รวมไปถึงการเร่งจ่ายงบประมาณภาครัฐเพื่อชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากภาวะน้ำท่วม ซึ่งการเพิ่มขึ้นของยอดขายเหล่านี้จะมีผลทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น และทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นด้วย”
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงหลังประชุมจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยว่า กระทรวงการคลังจะเสนอจัดตั้งกองทุน Infrastructure Fund เพื่อใช้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานหลังจากการเกิดอุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรม 6-7 แห่ง โดยกองทุนดังกล่าวจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกำหนดมาตรการจูงใจให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีเงินปันผล ส่วนขนาดของกองทุนยังต้องหารือกับอีกหลายหน่วยงาน
นอกจากนี้กระทรวงการคลังเตรียมเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อกำหนดให้นิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งจะต้องลงทุนสร้างเขื่อนถาวรเป็นคอนกรีตมีความสูงกว่าระดับน้ำที่ท่วมในปีนี้ และมีความแข็งแรงเพียงพอ
ที่มา:หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารโลกประเมินความเสียหายเศรษฐกิจไทยจากปัญหาอุทกภัยเอาไว้ไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท และจะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายอยู่ในระดับติดลบ เนื่องจากความเสียหายในภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม การลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจะส่งผลให้เศรษฐกิจในปีหน้าเติบโตได้สูงกว่าระดับ 4.4% แต่ในปีนี้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะต่ำกว่า 3.6% ที่ประเมินเอาไว้เมื่อต้นปี
รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา ฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เมื่อเกิดภัยพิบัติคนทั่วไปมักคาดการณ์กันว่าจะมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่เกิดขึ้นมักตรงข้าม เราจะพบว่าเมื่อประเทศเกิดปัญหาภัยพิบัติอย่างรุนแรง เผชิญความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ในไตรมาสต่อๆไปกลับมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น
“สิ่งที่พบช่วงหลังภัยพิบัติคือกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างรายได้บางประเภทลดลงเพราะเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะภาคการผลิต แต่ขณะเดียวกันจะมีกิจกรรมที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นเกิดขึ้นอีกมาก เช่น อุปกรณ์และวัสดุก่อสร้าง อิฐ หิน ปูน ทราย ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่มบรรจุขวด ปั๊มน้ำ อุปกรณ์ไฟฟ้า ตู้เย็น ทีวี. เครื่องซักผ้า ธุรกิจจัดสวน ไม้ดอกประดับ อู่ซ่อมรถ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจประกันภัย เวชภัณฑ์ การรักษาพยาบาล รวมไปถึงการเร่งจ่ายงบประมาณภาครัฐเพื่อชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากภาวะน้ำท่วม ซึ่งการเพิ่มขึ้นของยอดขายเหล่านี้จะมีผลทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น และทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นด้วย”
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงหลังประชุมจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยว่า กระทรวงการคลังจะเสนอจัดตั้งกองทุน Infrastructure Fund เพื่อใช้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานหลังจากการเกิดอุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรม 6-7 แห่ง โดยกองทุนดังกล่าวจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกำหนดมาตรการจูงใจให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีเงินปันผล ส่วนขนาดของกองทุนยังต้องหารือกับอีกหลายหน่วยงาน
นอกจากนี้กระทรวงการคลังเตรียมเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อกำหนดให้นิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งจะต้องลงทุนสร้างเขื่อนถาวรเป็นคอนกรีตมีความสูงกว่าระดับน้ำที่ท่วมในปีนี้ และมีความแข็งแรงเพียงพอ
ที่มา:หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น