--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

4 นิคมฯฝั่งตะวันออกระทึก.. ผุดเขื่อน 3 เมตรสู้ /1,000 โรงงานตั้งวอร์รูมลุ้น 24 ชั่วโมง !!?

นิคมอุตสาหกรรมฝั่งตะวันออกเตรียมรับมือสู้ภัยกระแสน้ำหลาก หลัง 5 นิคมฯ ใหญ่พระนคร ศรีอยุธยาล่มมาก่อนหน้านี้ เตรียมสร้างเขื่อน-คันกั้นน้ำ สูง 1.5-3.0 เมตร เพื่อป้องกัน พร้อมตั้งวอร์รูมจับตาสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง เตรียมวางแผนอพยพคน งานหากถูกกระแสน้ำทะลักใส่ เผยข่าวดีสหรัฐฯ เตรียม ยืดสิทธิ์จีเอสพี “เฟอร์นิเจอร์-ชิ้นส่วนยานยนต์-เตาไมโครเวฟ-เลนส์แว่นตา” ซับน้ำตา

จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างหนัก โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ถูกกระแสน้ำทำลาย สร้างความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาหลายแห่งถูกน้ำท่วมได้รับความเสีย หายอย่างหนัก อาทิ นิคมอุตฯ สหรัตนนคร, นิคมฯ โรจนะ, นิคมฯ ไฮเทค, นิคมฯ บางปะอิน,แฟคตอรี แลนด์ นิคมขนาดเล็กก็ถูก น้ำท่วม นอกจากนี้น้ำยังได้ลามมายังจังหวัดปทุมธานี จนต้องป้องกันอย่างแข็งขันในขณะนี้ รวมทั้งบางกระดี ส่วนนิคมทางโซนตะวันออกก็ยังวางใจไม่ได้

ล่าสุดนายศรณ์พงษ์ ชูอาตม์ ผอ. สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางพลี เปิดเผย ว่า ขณะนี้นิคมฯได้รับหนังสือจากกรมชลประทานแจ้งเตือนให้เตรียมความพร้อมรับมือน้ำจากรังสิตที่กำลังจะไหลลงมาด้านฝั่งตะวันออก จึงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ และร่วมประชุมกันตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งที่ผ่านมาได้เสริมเขื่อนกั้นน้ำด้านหลังนิคมฯ สูงขนาด 1.50 เมตร ระยะทาง 4 กิโลเมตร ส่วนด้านหน้ามีถนนของกรมทางหลวงชนบทกั้นน้ำอยู่แล้วจึงไม่ต้องมีเสริมเขื่อนกันน้ำแต่อย่างใด
ขณะที่นิคมอุตฯบางพลีมีพื้นที่ 1,004 ไร่ มีโรงงาน 130 แห่ง เป็นแหล่งผลิตอะไหล่ชิ้น ส่วนยายนต์ อาหาร พลาสติก นมผงดูเม็กซ์ ครีมบำรุงผิวนีเวีย ล้อแม็กซ์เอ็นโก มีแรงงาน ทั้งหมด 25,000 คน วงเงินลงทุน 14,000 ล้านบาท ส่วนที่นิคมอุตฯบางปูก็ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติ การติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และได้เตรียมรถแบ็กโฮ ปั๊มสูบน้ำ สถานีสูบน้ำ 11 จุดน่าจะเพียงพอสำหรับการระบายน้ำ

สำหรับนิคมที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ 2 แห่งคือ นิคมอุตฯบางชันและนิคมอุตฯลาด กระบังนั้น นายประภาส คล้ายศรี ผอ.สำนักงาน นิคมอุตสาหกรรมบางชัน กล่าวว่า เนื่องจาก นิคมฯแห่งนี้อยู่ในแนวกั้นน้ำของกรุงเทพฯ จึงมั่นใจว่าน้ำจะไม่ท่วมนิคมฯอย่างแน่นอน อย่าง ไรก็ตาม ได้เสริมคันกั้นน้ำไว้สูงถึง 2.10 เมตรแล้ว ถ้าเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินก็จะสามารถอพยพคนงานได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีทางเข้า-ออกหลายทาง

ส่วนนิคมอุตฯลาดกระบัง ขณะนี้มีน้ำฝนท่วมขังในนิคมฯบางพื้นที่ แต่เป็นห่วงหลังจากได้รับแจ้งจากประตูน้ำชลหารพิจิตรว่าจำเป็นต้องระบายน้ำที่มาจากด้านเหนือลง มา ซึ่งจะทำให้น้ำรอบนิคมฯสูงขึ้น 50-80 ซม. ตอนนี้ได้วางเขื่อนกั้นน้ำแล้วสูง 1 เมตร ทำให้เป็นห่วงน้ำจะเข้าท่วมในเขตนิคมฯ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางนิคมฯร่วมกับทหารจากกอง พลทหารราบที่ 11 จำนวน 80 นายกำลังเตรียมพร้อม และกำลังจะเข้ามาเสริมอีก 100 นาย ตรึงกำลังป้องกันอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ นิคมอุตฯลาดกระบัง ผลิตอิเล็ก ทรอนิกส์ ชิ้นส่วน อาหาร อัญมณี มีโรงงาน 254 แห่ง วงเงินลงทุน 80,000 ล้านบาท มีแรงงานทั้งหมด 45,000 คน ขณะที่ทางฝั่งตะวันตก นางนงนุช ศรีประเสริฐ ผอ.สำนักงาน นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ตั้งวอร์รูมเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำที่ระบาย จากด้านทิศเหนืออย่างใกล้ชิด และได้สร้างเขื่อนกั้นน้ำสูง 2.80 เมตรไว้พร้อมแล้ว และต้องรายงานความเคลื่อนไหวให้ผู้บังคับบัญชาทราบวันละ 4 ครั้ง จึงมั่นใจว่าสามารถจะแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นิคมอุตสาหกรรม ฝั่งตะวันออก 4 แห่งที่ถือเป็นนิคมฯขนาดใหญ่ ที่ยังไม่ถูกน้ำท่วม แต่ก็อยู่ในแนวเส้นทางน้ำไหลผ่าน โดยทุกฝ่ายพยายามหาทางปกป้องนิคมฯเหล่านี้เต็มกำลังความสามารถ ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง มีโรงงานภายในนิคมฯจำนวน 231 โรงงาน เงินลงทุน 89,491 ล้านบาท นิคมอุตสาหกรรมบางชัน มีโรงงาน 93 โรงงาน เงินลงทุน 19,848 ล้านบาท นิคมอุตสาหกรรมบางพลี มีโรงงาน 137 โรงงาน เงินลงทุน 54,291 ล้านบาท และนิคมอุตสาหกรรมบางปู มีโรงงาน 456 โรงงาน เงินลงทุน 105,502 ล้านบาท ผู้ประกอบการย้ายฐานผลิตจ้าละหวั่น

นายสาธิต เกียรติกำจร เจ้าหน้าที่ประจำนิคมอุตสาหกรรมพิจิตร กล่าวว่า หลังจากน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ปรากฏว่ามีผู้ผลิตสินค้าหลายยี่ห้อ อาทิ นิคอน ฟูจิกูระ รองเท้าเอ็นโก เข้ามาติดต่อขอซื้อพื้นที่เพื่อผลิตสินค้า แต่ทางนิคมฯมีนโยบายให้เช่าไม่ได้ขาย จึงมีโรงงานบางรายกลับไป มีเพียงเอ็กโกเท่านั้นที่สนใจจะขยายโรงงานจาก 25 ไร่ เป็น 45 ไร่ และจะเปิดกำลังการผลิต วันที่ 19 ตุลาคมนี้

ขณะที่นายปรีชา จรเณ ผอ.สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง กล่าวว่า พื้นที่นิคมฯแหลมฉบังเต็มหมดแล้วที่พอเหลืออยู่จะเป็นนิคมฯปิ่นทองและอมตะซิตี้ อย่างไรก็ ตาม ที่แหลมฉบังยังต้องการแรงงานจำนวนมาก 1,000-2,000 คน ซึ่งคาดว่าจะรองรับแรงงานที่จะมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานีได้

ด้านนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในช่วงหลังน้ำลด กระทรวงอุตสาหกรรมมีมาตรการช่วยเหลือโดยการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรนำเข้ามาทดแทนเครื่องจักรที่เสียหาย และอากรขา เข้าสำหรับวัตถุดิบนำเข้าที่เสียหายจากน้ำท่วม รวมทั้งอนุญาตให้ย้ายโรงงานไปอยู่ที่นิคมฯ/เขตประกอบการอุตสาหกรรมอื่นได้ รวมทั้งจะมีการเสนอเพิ่มเติมต่อบีโอไอให้ยกเว้นอากรขาเข้า ในกรณีวัตถุดิบนำเข้ามาผลิตเพื่อ การส่งออก หากเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติทุกกรณี นอกจากนี้ ยังได้ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีแก่สถานประกอบการ และยกเว้นไม่เก็บค่าธรรมเนียมการต่อใบ อนุญาตเป็นระยะเวลา 5 ปี สหรัฐขยายสิทธิจีเอสพีช่วยน้ำท่วม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมได้สร้างความเสียหายให้กับภาค อุตสาหกรรมของไทยนั้น ยังมีข่าวดีอยู่บ้างเมื่อมีรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าใน ต่างประเทศ ณ นครชิคาโกว่า สหรัฐอเมริกาได้ต่ออายุจีเอสพี หรือโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ให้สิทธิกับประเทศไทย โดยส่งสินค้าไปสหรัฐจะไม่เสียภาษีศุลกากรนำเข้า ไปจนถึงวันที่ 31 ก.ค.2556 และให้มีผลบังคับย้อนหลังไปตั้งแต่ 31 ธ.ค. 2553 ซึ่งส่งผลดีต่อสินค้าไทยหลายรายการ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เตาอบไมโครเวฟ เลนส์แว่นตา เป็นต้น สอดคล้องกับราย งานข่าวก่อนหน้านี้ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรของสหรัฐ อเมริกาได้อนุญาตให้ประเทศไทยสามารถส่งออกผลแก้วมังกรสดไปยังสหรัฐแล้ว การที่สหรัฐยอมรับแก้วมังกรนำเข้าจากไทยทำให้ไทยสามารถส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปยังสหรัฐเพิ่มจากเดิม 6 ชนิด เป็น 7 ชนิด ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด เงาะ สับปะรด มะม่วง และแก้วมังกร ซึ่งเป็นโอกาสของเกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกรของไทยที่จะสามารถขยายช่องทางการตลาดและจำหน่ายผลผลิตได้มากขึ้น

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า จากกรณีน้ำท่วมในกว่า 20 จังหวัดของไทย ส่งผลทำให้วัตถุดิบสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมไม่สามารถป้อนเข้าโรงงานผลิตได้ รวมถึงเส้นทางการขนส่งถูกตัดขาด อย่างไรก็ตาม น้ำท่วมไม่น่าจะกระทบตัวเลขการส่งออกปีนี้ที่ 20% แต่อาจจะต้องทบทวนตัวเลขเป้าหมายปีหน้า ไม่น่าจะโตได้ 15% เพราะความเสียหายเกิดขึ้นหลายจุด โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมาจากอุทกภัยโดยตรงจนผลิตต่อไม่ได้ ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่มีพื้นที่เพาะปลูก เพาะเลี้ยง หรือสินค้าที่ต้องใช้วัตถุดิบจากท้องที่ เช่น หนังสัตว์ รวมทั้งอุตสาหกรรมหนักประเภทชิ้นส่วนยาน ยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เบา เช่น เครื่องสำอาง เป็นต้น “ได้ประสานไปยังสมาคมต่างๆ เพื่อให้ทำการสำรวจคลังสินค้าของสมาชิกที่ยังมีพื้นที่ว่างสามารถให้บริการแก่ผู้ประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วมได้ และทางกรมฯ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่ประสบ ปัญหาต่อไป” นางนันทวัลย์ กล่าว

ที่มา:สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น