พรรคเพื่อไทยคิดแต่เรื่องแบบนี้ ปัญหาประชาชนถึงมาทีหลัง จนทำให้เรื่องน้ำท่วม ของแพง ไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพราะมัวแต่สาละวนอยู่กับความพยายามที่จะจุดประเด็นให้เกิดความขัดแย้ง”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สะกิดต่อมจินตนาการของนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคเพื่อไทย หลังออกมาระบุว่า มีกระบวนการ ’ล้ม“ รัฐบาล พรรคเพื่อไทยโดยใช้แผนการ 9 ข้อ เมื่อ ’จินตนาการ“ มา ก็ไม่แปลกหาก สกลธี ภัททิยกุล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ จะจินตนาการกลับไปว่า 9ข้อที่ว่านั้น รัฐบาลล้วนทำตัวเองทั้งสิ้น คือ 1. นายกฯไร้ความสามารถขาดภาวะผู้นำ บริหารผิดพลาดและถูกแทรกแซงจาก พ.ต.ท.ทักษิณพี่ชาย 2. เอาแต่โยกย้ายข้าราชการโดยปราศจากความเป็นธรรม 3. ทำไม่ได้ตามที่หาเสียงไว้ 4. ปล่อยคนเสื้อแดงแทรกแซงการทำงานหน่วยงานต่าง ๆ 5. ปล่อยให้กระบวนการหมิ่นสถาบันให้ดำรงอยู่ 6.การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและองค์กรอิสระ 7. ปล่อยสินค้าอุปโภค-บริโภคแพงขึ้น 8. ไม่สามารถแก้อุทกภัยได้ 9. ความพยายามเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
แต่เรื่องหนึ่งที่ทำไปทำมา ทำท่าจะเป็นเรื่องขึ้นมา หลังแกนนำคนเสื้อแดงจุดประเด็นเรื่องการแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551
ล่าสุด นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ แกนนำกลุ่ม นปช. เอาด้วยกับ พล.อ.จงศักดิ์ พานิชกุล ที่ปรึกษารมว.กลาโหม ที่เสนอให้กฤษฎีกาตีความว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล โดยระบุว่าเป็น กฎหมายยุค คมช.และที่สำคัญ การผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้องค์ประชุมสภา ’ไม่ครบ“
ถือว่ากฎหมายฉบับนี้เป็น ’ผลไม้พิษ“ อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีอีก 170 ฉบับที่มีลักษณะเดียวกัน
ขณะที่ พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี แกนนำ ตท.10 พรรคเพื่อไทย ระบุว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้สมควรแก้ไขเพราะ รมว.กลาโหมไม่มีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายอะไรได้เลย เช่นเดียวกับ พล.ท.มะ โพธิ์งาม ผู้ช่วยรัฐมนตรีและ ตท.10 อีกคนระบุว่า
“ประชาชนเลือกมาทำงาน ถ้าทำงานไม่สะดวกก็ต้องแก้ไข ประชาชนให้อำนาจเรามาเป็นฝ่ายบริหาร ถ้าทำไม่ได้จะสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างไร”
จากข้อมูลพบว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านวาระ 3 จากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 50 ด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ 85 เสียง
น่าคิดว่าการแก้ไขนั้นจะทำได้หรือไม่ เพราะในมาตรา 43 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว (5)ระบุว่า การพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการทหารต้องผ่านมติสภากลาโหม
น่าสนใจว่า เหตุที่คนพรรคเพื่อไทยต้องการแก้ไข มาจากคำพูดในโอกาส 5 ปีรัฐประหาร 19 ก.ย. ที่ว่า ’กองทัพยังเข้มแข็งอยู่“ ใช่หรือไม่
ทำไมฝ่ายการเมืองต้องเข้าไปโยกย้าย และหากเข้าไปใครจะรับประกันได้ว่า จะไม่มีสภาพอย่างที่เกิดขึ้นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
ทุกวันนี้การแต่งตั้งตำแหน่งระดับหัวแถวต่าง ๆ ผ่านคนในประเทศหรือคนไกลบ้านก็รู้ ๆ กันอยู่
กองทัพเป็นเครื่องมือรัฐบาลนั้นใช่ แต่กองทัพไม่ใช่เครื่องมือทางการเมืองของใคร ที่ยิ่งกว่าอะไรทั้งนั้นคือ กองทัพต้องไม่ใช่และทำเพื่อใครคนหนึ่งคนใดเป็นการเฉพาะ.
ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=8&contentId=167489
ที่มา: เดลินิวส์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น