สัมภาษณ์พิเศษ
กว่า 3 สัปดาห์แล้วที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับมือภาวะวิกฤตน้ำ
"นายบรรหาร ศิลปอาชา" ประเมินว่า สถานการณ์น้ำปีนี้ มี 10 รัฐบาลก็ "เอาไม่อยูˆ"
นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 เจ้าของทฤษฎี-วิถีการป้องกันน้ำท่วมแบบ "สุพรรณบุรีโมเดล"
มีบารมีในเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาไม่น้อยกว่า 4 สมัย
บรรทัดต่อจากนี้คือวิสัยทัศน์ของ "นายบรรหาร" ที่ถ่ายทอดผ่าน "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงปัญหาน้ำ ปัญหาคน ในฐานะกูรูผู้ชำนาญเรื่องน้ำ
- สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่สุดในรอบ 70 ปี วิเคราะห์ว่าครั้งนี้เหตุใหญ่มาจากอะไร
ตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุ ผมบินตรวจสอบอยู่หลายครั้ง ทำอยู่ทุกวันตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา ปีนี้มีน้ำมากกว่าปกติเยอะ เดิมทีคิดว่าจะไม่มากเท่ากับน้ำท่วมใหญ่ปี"38 แต่สุดท้ายกลับมากกว่าถึงเท่าตัว โดยต้นเหตุมีอยู่ 3 ข้อ 1.พายุไต้ฝุ่น 5 ลูก คือ ไห่หม่า นกเตน ไห่ถาง เนสาด นาลแก ทุกลูกมาตกอยู่เหนือเขื่อนทำให้ปริมาณน้ำมีมาก 2.เขื่อนกักเก็บน้ำไม่ได้จนต้องระบายออก 3.มีน้ำสะสมมาตั้งแต่อำเภอบางระกำ
เขื่อนที่สำคัญในขณะนี้ บางคนยังเข้าใจผิดว่ากรมชลประทานเป็นคนดูแล ซึ่งความจริงไม่ใช่ อย่าง เขื่อนภูมิพล การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เป็นคนดูแลอยู่ บรรจุน้ำได้เต็มที่ 13,500 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ก็ของ กฟผ. เก็บได้เต็มที่ 9,000 ล้าน ลบ.ม. ตอนนี้ เขื่อนใหญ่ที่สุดทั้งสองเขื่อนก็กักเก็บน้ำเต็มที่แล้ว ส่วนในความรับผิดชอบของกรมชลประทานก็มีเขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก็เก็บได้แค่ 1,000 ล้าน ลบ.ม.
คนเข้าใจผิดว่าทำไมต้องปล่อยน้ำ ความจริงน้ำมามากเราก็ปล่อยมาก มาน้อยก็ปล่อยน้อย ถ้าถามว่า ทำไมไม่พร่องน้ำออกให้หมด ความจริงคือพร่องจนหมดอ่างไม่ได้ เพราะต้องเก็บไว้ปั่นกระแสไฟฟ้าก็ต้องเหลือน้ำไว้บ้าง ทุกเขื่อนทำเหมือนกัน แต่ก่อนที่จะมีปัญหาเขื่อนภูมิพลก็ปล่อยน้ำ 120 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน เขื่อนสิริกิติ์ปล่อย 40-50 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน วันนี้ระบายน้ำก็เยอะ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงคือ เราไม่รู้สถานการณ์ไต้ฝุ่นว่าจะมาอย่างไร เราไม่รู้ทิศทางเลย ทำให้ป้องกันไม่ถูก
- การพยากรณ์ของกรมอุตุฯบอกสัญญาณอะไรไม่ได้เลยหรือ
บอกได้แค่ว่ามันจะมาแล้ว อย่างบอกว่ามาถึงเวียดนามแล้ว ก็จะเข้าไทยใน 2-3 วัน แต่ไม่ได้บอกล่วงหน้าเป็น 10-20 วัน ก่อนหน้านี้ที่พายุลูกที่ 4 หรือเนสาดจะมาถึง น้ำที่อำเภอบางระกำสะสมอยู่แล้ว 3,000 ล้าน ลบ.ม. เมื่อพายุเนสาดเข้ามา น้ำท่วมเชียงใหม่ 4 วัน 4 คืน มวลน้ำเคลื่อนตัวจะมารวมอยู่ใต้เขื่อนภูมิพลอีก 3,000 ล้าน ลบ.ม. และฝนตกต่อที่กำแพงเพชรอีก 3 วัน 3 คืน ประมาณ 600 ล้าน ลบ.ม. มวลน้ำทั้งหมดไหลรวมอยู่ที่ชุมแสง พรวดเดียวมารวมกองอยู่ที่ 6-7 พันล้าน ลบ.ม.
แต่สาเหตุที่มีปัญหาหนัก คือ คันกั้นน้ำบางโฉมศรี มันขาดอยู่ 50-60 เมตร ขาดตรงคอประตูน้ำ บางกะดีก็ขาดอีกเยอะ ตรงนี้เส้นทางขาดอยู่เดือน กว่า ทำให้น้ำไหลบ่าลงมา ซึ่งกรมชลประทานทำอะไรไม่ได้ ชาวบ้านเขาไม่ให้ทำ จนต้องขอร้องให้ทหารมาช่วยทำการปิดจุดขาด
เส้นทางน้ำ 3 สายมารวมกันทำให้เกิดปัญหาหนัก สายแรกเขื่อนป่าสักฯต้องเปิดระบายน้ำมากขึ้น ไม่เช่นนั้นเขื่อนจะแตก สายที่สองมวลน้ำสะสมที่แม่น้ำเจ้าพระยา สายที่สามมวลน้ำที่แม่น้ำลพบุรีเป็นน้ำทุ่ง ทั้งหมดมารวมกันทำให้ท่วมนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นี่คือสาเหตุที่สำคัญที่สุด มันเป็นน้ำทุ่งผสมกับน้ำท่า
เรื่องนี้ผมว่ากรมชลประทานรู้ แต่ก็ไม่ได้พูด ผมวิเคราะห์ว่าต้องมาจากสาเหตุนี้ ไม่ใช่ว่ามีแต่มวลน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะตรงนี้น้ำกองกันอยู่ 7 พันล้าน ลบ.ม. ผมบินไปดูหลายรอบก็เป็นอย่างนี้
- กรมชลประทานไม่ได้ชี้แจงเพราะอะไร
ผมสันนิษฐานและวิเคราะห์เอาจากข้อมูลกรมชลประทานเหมือนกันนะสาเหตุนี้ แต่ถ้ากรมชลประทานวิเคราะห์ออกไปก็ถูกเล่นงานอยู่แล้ว เขาก็กลัว ไม่กล้าทำอะไรมาก แต่ผมไม่กลัวเลยกล้าออกมาพูดถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น
- ถ้ากรมชลประทานเปิดเผยข้อมูลจริง แล้วถูกเล่นงาน จะยุติธรรมหรือ
ก็ไม่รู้...เขาอาจจะหาแพะก็ได้ วันนี้กรมชลฯก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นแพะอยู่แล้ว ก็ถูกเล่นงานตลอด เมื่อก่อนปี 2538 ความขัดแย้งระหว่างประชาชนก็ไม่มี แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีใครยอมใคร อย่างประตูน้ำคลอง 1 ผู้นำชาวบ้านถือปืน กรมชลประทานจะทำอะไรได้ ถึงต้องออกคำสั่งให้รองอธิบดีมาถือกุญแจ
- แก้ปัญหาด้วยวิธีการเปลี่ยนคนถือกุญแจประตูน้ำถูกต้องแล้วหรือ
เขาอาจจะมีเหตุผลมากกว่านั้นก็ได้ แต่ผมไม่รู้
- การแก้ไขปัญหาระยะสั้นเฉพาะหน้าจะทำอย่างไร
ประเด็นปัญหากรมชลฯต้องตรวจสอบว่า ประตูน้ำที่อยู่มานานตรงไหนจะรับไหวบ้าง และตรวจสอบคันกั้นน้ำทั้งหมดว่ามีตรงไหนขาดระยะบ้าง ก็ต้องซ่อมแซม ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดน้ำทะลักรุนแรงอีก
- ควรป้องกันพื้นที่ กทม.อย่างไร
สถานการณ์โดยสรุปมีน้ำตอนบน กทม.ประมาณ 4 ล้าน ลบ.ม. ตอนล่างนครสวรรค์มีอีกประมาณ 10,000 ล้าน ลบ.ม. โชคดีที่ฝนไม่ตก ไม่อย่างนั้นต้องขอให้พระเจ้าช่วย
ถามว่า จะป้องกันอย่างไร ก็มีเรื่องแปลกที่ว่า เดิมทีจะต้องระบายน้ำก้อนแรก 4 ล้าน ลบ.ม.ออกไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านคลองระพีพัฒน์ แต่เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ผมบินไปดูมา พบว่าจากคลอง 26 คลองระพีพัฒน์ตก คลองรังสิต ยังมีคนทำนาอยู่ แถมยังสูบน้ำลงคลองรังสิตด้วย
ต้องพยายามระบายน้ำคลองรังสิตออกไปให้เยอะทางฝั่งตะวันออก เมื่อผมบินดูช่วงคลอง 13 ปรากฏว่าเส้นทางน้ำมีขยะ มีผักตบชวาเต็มไปหมด อีกทั้งการสร้างสะพานของรัฐที่สร้างใหม่ มีตอม่อทั้งหมด 200 ต้น วางห่างกันเพียง 15 ซ.ม. การออกแบบวางตอม่อแบบถี่ยิบทำให้เกิดทางขวางน้ำ น้ำระบายออกไม่ได้
- การผันน้ำลงทางฝั่งตะวันตกถูกต้องแล้วใชˆไหม
สิ่งที่อธิบดีกรมชลประทานพูดก็มีเหตุผล ว่าน้ำมามีปัจจัยหลายอย่างควบคุมไม่ได้ เช่น น้ำทุ่งควบคุมไม่ได้ว่าจะไปที่ไหน เจอที่ลุ่มก็ขังไว้ก่อน เจอที่ดอนน้ำก็ไหลไป นี่คือข้อเท็จจริง
หากจะผันออกฝั่งตะวันตกปริมาณมากจะเป็นปัญหาเหมือนในขณะนี้ เพราะมีคลองผันน้ำ 4 เส้นทาง คือ คลองมะขามเฒ่า คลองพงษ์เทพ อู่ทอง แม่น้ำน้อย แต่ตอนนี้ทุกคลองเกินพิกัดหมดแล้ว
- หาก กทม.ต้องจมน้ำ 1 เดือนจะทำอย่างไร
ผมว่าไม่จมหรอก แต่เขาเตือนไว้ก่อนก็ดี...ในใจลึก ๆ ผมยังมั่นใจว่าไม่จม แต่ปี 2538 มันจมอยู่เดือนกว่าแถวฝั่งธนบุรีและริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำก็วิ่งไปตามคลองเต็มไปหมด แต่ปีนั้นปัญหาประชาชนปะทะกันเองไม่มี แต่ตอนนี้พอผันน้ำลงทางไหนก็มีปัญหาตรงนั้น
อีกอย่างที่จะบอกคือ อย่าไปรณรงค์สร้างบ้านจัดสรรกันเยอะ เพราะที่สร้างกัน มันอยู่ในพื้นที่รับน้ำทั้งหมด
- ระยะยาวควรแก้ปัญหาอย่างไร
วิธีที่จะช่วยในระยะยาวคือ จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาต้องสร้างเขื่อน เช่น นครสวรรค์ เขื่อนบริเวณชุมแสงต้องทำ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยาจะป้องกันสถานที่สำคัญได้บางส่วน งานนี้รัฐจะหมดเงิน 4 พันล้านบาท 6 พันล้านบาทก็ต้องทำให้เขา และจังหวัดภาคอีสานเจอน้ำท่วมตรงไหนก็ต้องทำเขื่อนด้วย กว่าจะเสร็จผูกพันงบประมาณก็อีก 3-4 ปี ถ้าไม่รีบทำก็ป้องกันไม่ทัน
- สูตรที่รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" ควรเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เสียหายอย่างไร
ก็ต้องฟื้นฟู แก้ปัญหา เช่น ชุมชน อาคารบ้านเรือน ไร่นา ก็คงต้องใช้เงินมากหน่อย อุตสาหกรรมก็ต้องหาทางเยียวยา
ที่จริงอยุธยาผมไม่อยากจะบอกเลยนะ ว่ามันเป็นพื้นที่ลุ่ม เป็นที่รับน้ำเต็มที่ แต่ที่คนมุ่งไปทำธุรกิจที่นั่นเพราะได้รับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนเขต 3
- 6 นิคมอุตสาหกรรมที่เสียหายไปแล้ว รัฐบาลควรจะแก้ปัญหาอย่างไร
ก็ต้องดูความเหมาะสมในการช่วยเหลือ แต่ผมว่านายกรัฐมนตรีท่านก็ทำดีที่สุดแล้ว ไม่ควรจะไปตำหนิท่าน เพราะเดิมทีท่านก็ไม่ได้เป็นนักการเมือง ทำได้ขนาดนี้ก็น่าพอใจ
ส่วนกรมชลประทานจะมาบอกว่า ต้องรับผิดชอบคนเดียวก็ไม่ถูกต้อง เรื่องน้ำ มันไม่เข้าใครออกใคร บอกไม่ได้ทั้งหมดหรอก ก็ทำได้แต่ประเมินได้นิดหน่อย
- รัฐบาลกับ กทม.มาจากคนละพรรคทำให้แก้ปัญหายากขึ้นหรือไม่
สมัยปี 2538 ผมแก้ปัญหาร่วมกับ ผู้ว่าฯ กทม. ท่านกฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา และปลัด กทม. ท่านประเสริฐ สมะลาภา เราทำงานกันเต็มที่ แต่ครั้งนี้คนละพรรค คนละขั้ว ผมก็ไม่ทราบว่าทำงานมีปัญหาหรือไม่ เพราะผมไม่ได้อยู่ข้างใน
แต่วันนี้อธิบดี-เจ้าหน้าที่กรม ชลประทานก็ทำงานเต็มที่ ท่านธีระ (วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ) ก็เป็นคนที่รัฐบาลจะต้องฟัง แต่ใน ศปภ.มีที่ปรึกษาเยอะมาก ล่าสุดเอาคุณปราโมทย์ (ไม้กลัด) มาอีกคน ทำให้มีหลายความเห็น ต้องเสียเวลาวินิจฉัยอีก ถ้าฟังกรมชลประทานเป็นหลัก สถานการณ์จะดีขึ้นกว่านี้ เพราะเขาอยู่กับน้ำ อยู่กับชุมชน เขาจะรู้ดีว่าต้องทำอย่างไร
- การปรับเปลี่ยนกำลังพล อย่างกรณีย้ายผู้ว่าฯ ปทุมธานีเหมาะหรือไม่
ย้ายเลยหรือ ย้ายจังหวัดเดียวเองหรือ ไหนว่าจะชะลอไว้ก่อน รอให้น้ำลด แปลว่าอาจจะมีเหตุผลพอสมควร
- การเปลี่ยนม้ากลางศึก เปลี่ยนคนถือกุญแจประตูน้ำ นายกฯต้องการส่งสัญญาณอะไร
รองอธิบดีคนนี้ (ชัชวาล ปัญญาวาทีนันท์) เพิ่งจะเข้ามาเป็น ดูงานด้านบริหาร อธิบดีใช้งานส่วนนี้อยู่แล้ว ท่านก็อยู่พื้นที่มาหลายเดือน นี่คือการจัด คำสั่งให้ถูกต้องชัดเจน ว่าใครจะถือกุญแจ ไม่เช่นนั้นชาวบ้านยึดเอาไปทำเองหมด ทุกวันนี้ทหารยังไม่กล้ามีปัญหากับชาวบ้านเลย แล้วกรมชลฯจะทำอย่างไร
ผมเชื่อถือกรมชลประทาน ตัวเลข มันถูกต้อง แต่หัวใจสำคัญคือ การบริหารจัดการ จะสั่งซี้ซั้วไม่ได้ เอาข้อมูลจากกรมชลฯไปก็ต้องคิดให้ได้ว่าจะทำอย่างไรต่อ
- เท่ากับว่าตอนนี้การแก้ปัญหาน้ำมีคนทำงานถึง 4 รัฐบาล (ไทยรักไทย พลังประชาชน เพื่อไทย และชาติไทย) ในฐานะท่านเป็นพรรคร่วมรัฐบาลมีอะไรจะแนะนำบ้าง
ที่จริง...ผมไม่รู้ว่าเวลาประชุมเขาทำอย่างไรบ้าง แต่ผมเคยบอกว่า น่าจะต้องยึดแนวคิดกรมชลประทานเป็นหลัก ส่วนที่ปรึกษาคนอื่นเสนออะไรก็พิจารณากันอีกที พวกนี้อยู่กับน้ำมา 40 ปี แต่คนที่ไม่รู้ เป็นอาจารย์ นักทฤษฎี ไม่รู้เรื่องจะแก้ปัญหาอย่างไร อย่างผมเองยังต้องขอข้อมูลกรมชลประทานมาทำงานเองเลย
- หากต้องเข้าไปช่วยรัฐบาลวันนี้ 1 เรื่องที่ "บรรหาร" จะทำคืออะไร
หากผมเข้าไปทำงาน ใครพูดมาไม่ถูกต้องผมก็โวยวาย แต่ทั้งหมดที่ผมเล่ามา ผมก็เอามาจากกรมชลประทาน และวิเคราะห์ซ้ำอีกทีหนึ่ง เขามีเหตุผล ก็ต้องเชื่อถือเขา ส่วนผมอยู่กับน้ำมา 20-30 ปี ก็พอมีประสบการณ์บ้าง
- ทุกสายตาที่รุมจ้อง ศปภ.เกินกว่าครึ่งคิดว่าพึ่งไม่ได้แล้ว
ผมว่ายังพึ่งได้ วันนี้นายกฯมีอำนาจเต็มเลย อย่างผมยังไม่มีอำนาจสั่งอะไรเลย ผมเคยเป็นนายกฯมา ผมรู้ดีว่าสั่งการได้ทุกเรื่อง สั่งได้ทั้งทหารและพลเรือน แต่บังเอิญท่านได้รับข้อมูลหลายทาง ก็สับสน ถ้าเป็นผมฟังทีเดียวก็จบเลย
- การประกาศมาตรา 31 พ.ร.บ. ปภ.กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผลต่างกันอย่างไร
เพราะวันนี้ทหาร ตำรวจ ไม่กล้าทำอะไรรุนแรงกับประชาชน การต้องประกาศมาตรา 31 ผมว่าดีกว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ขนาดญี่ปุ่นเจอสึนามิเขายังไม่กล้าประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเลย ไม่อย่างนั้นต่างประเทศตกใจแย่ ทำลายภาพลักษณ์หมด และการประกาศต้องประกาศทั่วประเทศ ก็โกลาหลกันไปใหญ่ นี่เรายังโชคดีที่เจอแค่น้ำท่วม ไม่เจอแผ่นดินไหวเหมือนประเทศอื่น
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
"นายบรรหาร ศิลปอาชา" ประเมินว่า สถานการณ์น้ำปีนี้ มี 10 รัฐบาลก็ "เอาไม่อยูˆ"
นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 เจ้าของทฤษฎี-วิถีการป้องกันน้ำท่วมแบบ "สุพรรณบุรีโมเดล"
มีบารมีในเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาไม่น้อยกว่า 4 สมัย
บรรทัดต่อจากนี้คือวิสัยทัศน์ของ "นายบรรหาร" ที่ถ่ายทอดผ่าน "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงปัญหาน้ำ ปัญหาคน ในฐานะกูรูผู้ชำนาญเรื่องน้ำ
- สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่สุดในรอบ 70 ปี วิเคราะห์ว่าครั้งนี้เหตุใหญ่มาจากอะไร
ตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุ ผมบินตรวจสอบอยู่หลายครั้ง ทำอยู่ทุกวันตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา ปีนี้มีน้ำมากกว่าปกติเยอะ เดิมทีคิดว่าจะไม่มากเท่ากับน้ำท่วมใหญ่ปี"38 แต่สุดท้ายกลับมากกว่าถึงเท่าตัว โดยต้นเหตุมีอยู่ 3 ข้อ 1.พายุไต้ฝุ่น 5 ลูก คือ ไห่หม่า นกเตน ไห่ถาง เนสาด นาลแก ทุกลูกมาตกอยู่เหนือเขื่อนทำให้ปริมาณน้ำมีมาก 2.เขื่อนกักเก็บน้ำไม่ได้จนต้องระบายออก 3.มีน้ำสะสมมาตั้งแต่อำเภอบางระกำ
เขื่อนที่สำคัญในขณะนี้ บางคนยังเข้าใจผิดว่ากรมชลประทานเป็นคนดูแล ซึ่งความจริงไม่ใช่ อย่าง เขื่อนภูมิพล การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เป็นคนดูแลอยู่ บรรจุน้ำได้เต็มที่ 13,500 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ก็ของ กฟผ. เก็บได้เต็มที่ 9,000 ล้าน ลบ.ม. ตอนนี้ เขื่อนใหญ่ที่สุดทั้งสองเขื่อนก็กักเก็บน้ำเต็มที่แล้ว ส่วนในความรับผิดชอบของกรมชลประทานก็มีเขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก็เก็บได้แค่ 1,000 ล้าน ลบ.ม.
คนเข้าใจผิดว่าทำไมต้องปล่อยน้ำ ความจริงน้ำมามากเราก็ปล่อยมาก มาน้อยก็ปล่อยน้อย ถ้าถามว่า ทำไมไม่พร่องน้ำออกให้หมด ความจริงคือพร่องจนหมดอ่างไม่ได้ เพราะต้องเก็บไว้ปั่นกระแสไฟฟ้าก็ต้องเหลือน้ำไว้บ้าง ทุกเขื่อนทำเหมือนกัน แต่ก่อนที่จะมีปัญหาเขื่อนภูมิพลก็ปล่อยน้ำ 120 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน เขื่อนสิริกิติ์ปล่อย 40-50 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน วันนี้ระบายน้ำก็เยอะ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงคือ เราไม่รู้สถานการณ์ไต้ฝุ่นว่าจะมาอย่างไร เราไม่รู้ทิศทางเลย ทำให้ป้องกันไม่ถูก
- การพยากรณ์ของกรมอุตุฯบอกสัญญาณอะไรไม่ได้เลยหรือ
บอกได้แค่ว่ามันจะมาแล้ว อย่างบอกว่ามาถึงเวียดนามแล้ว ก็จะเข้าไทยใน 2-3 วัน แต่ไม่ได้บอกล่วงหน้าเป็น 10-20 วัน ก่อนหน้านี้ที่พายุลูกที่ 4 หรือเนสาดจะมาถึง น้ำที่อำเภอบางระกำสะสมอยู่แล้ว 3,000 ล้าน ลบ.ม. เมื่อพายุเนสาดเข้ามา น้ำท่วมเชียงใหม่ 4 วัน 4 คืน มวลน้ำเคลื่อนตัวจะมารวมอยู่ใต้เขื่อนภูมิพลอีก 3,000 ล้าน ลบ.ม. และฝนตกต่อที่กำแพงเพชรอีก 3 วัน 3 คืน ประมาณ 600 ล้าน ลบ.ม. มวลน้ำทั้งหมดไหลรวมอยู่ที่ชุมแสง พรวดเดียวมารวมกองอยู่ที่ 6-7 พันล้าน ลบ.ม.
แต่สาเหตุที่มีปัญหาหนัก คือ คันกั้นน้ำบางโฉมศรี มันขาดอยู่ 50-60 เมตร ขาดตรงคอประตูน้ำ บางกะดีก็ขาดอีกเยอะ ตรงนี้เส้นทางขาดอยู่เดือน กว่า ทำให้น้ำไหลบ่าลงมา ซึ่งกรมชลประทานทำอะไรไม่ได้ ชาวบ้านเขาไม่ให้ทำ จนต้องขอร้องให้ทหารมาช่วยทำการปิดจุดขาด
เส้นทางน้ำ 3 สายมารวมกันทำให้เกิดปัญหาหนัก สายแรกเขื่อนป่าสักฯต้องเปิดระบายน้ำมากขึ้น ไม่เช่นนั้นเขื่อนจะแตก สายที่สองมวลน้ำสะสมที่แม่น้ำเจ้าพระยา สายที่สามมวลน้ำที่แม่น้ำลพบุรีเป็นน้ำทุ่ง ทั้งหมดมารวมกันทำให้ท่วมนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นี่คือสาเหตุที่สำคัญที่สุด มันเป็นน้ำทุ่งผสมกับน้ำท่า
เรื่องนี้ผมว่ากรมชลประทานรู้ แต่ก็ไม่ได้พูด ผมวิเคราะห์ว่าต้องมาจากสาเหตุนี้ ไม่ใช่ว่ามีแต่มวลน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะตรงนี้น้ำกองกันอยู่ 7 พันล้าน ลบ.ม. ผมบินไปดูหลายรอบก็เป็นอย่างนี้
- กรมชลประทานไม่ได้ชี้แจงเพราะอะไร
ผมสันนิษฐานและวิเคราะห์เอาจากข้อมูลกรมชลประทานเหมือนกันนะสาเหตุนี้ แต่ถ้ากรมชลประทานวิเคราะห์ออกไปก็ถูกเล่นงานอยู่แล้ว เขาก็กลัว ไม่กล้าทำอะไรมาก แต่ผมไม่กลัวเลยกล้าออกมาพูดถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น
- ถ้ากรมชลประทานเปิดเผยข้อมูลจริง แล้วถูกเล่นงาน จะยุติธรรมหรือ
ก็ไม่รู้...เขาอาจจะหาแพะก็ได้ วันนี้กรมชลฯก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นแพะอยู่แล้ว ก็ถูกเล่นงานตลอด เมื่อก่อนปี 2538 ความขัดแย้งระหว่างประชาชนก็ไม่มี แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีใครยอมใคร อย่างประตูน้ำคลอง 1 ผู้นำชาวบ้านถือปืน กรมชลประทานจะทำอะไรได้ ถึงต้องออกคำสั่งให้รองอธิบดีมาถือกุญแจ
- แก้ปัญหาด้วยวิธีการเปลี่ยนคนถือกุญแจประตูน้ำถูกต้องแล้วหรือ
เขาอาจจะมีเหตุผลมากกว่านั้นก็ได้ แต่ผมไม่รู้
- การแก้ไขปัญหาระยะสั้นเฉพาะหน้าจะทำอย่างไร
ประเด็นปัญหากรมชลฯต้องตรวจสอบว่า ประตูน้ำที่อยู่มานานตรงไหนจะรับไหวบ้าง และตรวจสอบคันกั้นน้ำทั้งหมดว่ามีตรงไหนขาดระยะบ้าง ก็ต้องซ่อมแซม ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดน้ำทะลักรุนแรงอีก
- ควรป้องกันพื้นที่ กทม.อย่างไร
สถานการณ์โดยสรุปมีน้ำตอนบน กทม.ประมาณ 4 ล้าน ลบ.ม. ตอนล่างนครสวรรค์มีอีกประมาณ 10,000 ล้าน ลบ.ม. โชคดีที่ฝนไม่ตก ไม่อย่างนั้นต้องขอให้พระเจ้าช่วย
ถามว่า จะป้องกันอย่างไร ก็มีเรื่องแปลกที่ว่า เดิมทีจะต้องระบายน้ำก้อนแรก 4 ล้าน ลบ.ม.ออกไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านคลองระพีพัฒน์ แต่เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ผมบินไปดูมา พบว่าจากคลอง 26 คลองระพีพัฒน์ตก คลองรังสิต ยังมีคนทำนาอยู่ แถมยังสูบน้ำลงคลองรังสิตด้วย
ต้องพยายามระบายน้ำคลองรังสิตออกไปให้เยอะทางฝั่งตะวันออก เมื่อผมบินดูช่วงคลอง 13 ปรากฏว่าเส้นทางน้ำมีขยะ มีผักตบชวาเต็มไปหมด อีกทั้งการสร้างสะพานของรัฐที่สร้างใหม่ มีตอม่อทั้งหมด 200 ต้น วางห่างกันเพียง 15 ซ.ม. การออกแบบวางตอม่อแบบถี่ยิบทำให้เกิดทางขวางน้ำ น้ำระบายออกไม่ได้
- การผันน้ำลงทางฝั่งตะวันตกถูกต้องแล้วใชˆไหม
สิ่งที่อธิบดีกรมชลประทานพูดก็มีเหตุผล ว่าน้ำมามีปัจจัยหลายอย่างควบคุมไม่ได้ เช่น น้ำทุ่งควบคุมไม่ได้ว่าจะไปที่ไหน เจอที่ลุ่มก็ขังไว้ก่อน เจอที่ดอนน้ำก็ไหลไป นี่คือข้อเท็จจริง
หากจะผันออกฝั่งตะวันตกปริมาณมากจะเป็นปัญหาเหมือนในขณะนี้ เพราะมีคลองผันน้ำ 4 เส้นทาง คือ คลองมะขามเฒ่า คลองพงษ์เทพ อู่ทอง แม่น้ำน้อย แต่ตอนนี้ทุกคลองเกินพิกัดหมดแล้ว
- หาก กทม.ต้องจมน้ำ 1 เดือนจะทำอย่างไร
ผมว่าไม่จมหรอก แต่เขาเตือนไว้ก่อนก็ดี...ในใจลึก ๆ ผมยังมั่นใจว่าไม่จม แต่ปี 2538 มันจมอยู่เดือนกว่าแถวฝั่งธนบุรีและริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำก็วิ่งไปตามคลองเต็มไปหมด แต่ปีนั้นปัญหาประชาชนปะทะกันเองไม่มี แต่ตอนนี้พอผันน้ำลงทางไหนก็มีปัญหาตรงนั้น
อีกอย่างที่จะบอกคือ อย่าไปรณรงค์สร้างบ้านจัดสรรกันเยอะ เพราะที่สร้างกัน มันอยู่ในพื้นที่รับน้ำทั้งหมด
- ระยะยาวควรแก้ปัญหาอย่างไร
วิธีที่จะช่วยในระยะยาวคือ จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาต้องสร้างเขื่อน เช่น นครสวรรค์ เขื่อนบริเวณชุมแสงต้องทำ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยาจะป้องกันสถานที่สำคัญได้บางส่วน งานนี้รัฐจะหมดเงิน 4 พันล้านบาท 6 พันล้านบาทก็ต้องทำให้เขา และจังหวัดภาคอีสานเจอน้ำท่วมตรงไหนก็ต้องทำเขื่อนด้วย กว่าจะเสร็จผูกพันงบประมาณก็อีก 3-4 ปี ถ้าไม่รีบทำก็ป้องกันไม่ทัน
- สูตรที่รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" ควรเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เสียหายอย่างไร
ก็ต้องฟื้นฟู แก้ปัญหา เช่น ชุมชน อาคารบ้านเรือน ไร่นา ก็คงต้องใช้เงินมากหน่อย อุตสาหกรรมก็ต้องหาทางเยียวยา
ที่จริงอยุธยาผมไม่อยากจะบอกเลยนะ ว่ามันเป็นพื้นที่ลุ่ม เป็นที่รับน้ำเต็มที่ แต่ที่คนมุ่งไปทำธุรกิจที่นั่นเพราะได้รับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนเขต 3
- 6 นิคมอุตสาหกรรมที่เสียหายไปแล้ว รัฐบาลควรจะแก้ปัญหาอย่างไร
ก็ต้องดูความเหมาะสมในการช่วยเหลือ แต่ผมว่านายกรัฐมนตรีท่านก็ทำดีที่สุดแล้ว ไม่ควรจะไปตำหนิท่าน เพราะเดิมทีท่านก็ไม่ได้เป็นนักการเมือง ทำได้ขนาดนี้ก็น่าพอใจ
ส่วนกรมชลประทานจะมาบอกว่า ต้องรับผิดชอบคนเดียวก็ไม่ถูกต้อง เรื่องน้ำ มันไม่เข้าใครออกใคร บอกไม่ได้ทั้งหมดหรอก ก็ทำได้แต่ประเมินได้นิดหน่อย
- รัฐบาลกับ กทม.มาจากคนละพรรคทำให้แก้ปัญหายากขึ้นหรือไม่
สมัยปี 2538 ผมแก้ปัญหาร่วมกับ ผู้ว่าฯ กทม. ท่านกฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา และปลัด กทม. ท่านประเสริฐ สมะลาภา เราทำงานกันเต็มที่ แต่ครั้งนี้คนละพรรค คนละขั้ว ผมก็ไม่ทราบว่าทำงานมีปัญหาหรือไม่ เพราะผมไม่ได้อยู่ข้างใน
แต่วันนี้อธิบดี-เจ้าหน้าที่กรม ชลประทานก็ทำงานเต็มที่ ท่านธีระ (วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ) ก็เป็นคนที่รัฐบาลจะต้องฟัง แต่ใน ศปภ.มีที่ปรึกษาเยอะมาก ล่าสุดเอาคุณปราโมทย์ (ไม้กลัด) มาอีกคน ทำให้มีหลายความเห็น ต้องเสียเวลาวินิจฉัยอีก ถ้าฟังกรมชลประทานเป็นหลัก สถานการณ์จะดีขึ้นกว่านี้ เพราะเขาอยู่กับน้ำ อยู่กับชุมชน เขาจะรู้ดีว่าต้องทำอย่างไร
- การปรับเปลี่ยนกำลังพล อย่างกรณีย้ายผู้ว่าฯ ปทุมธานีเหมาะหรือไม่
ย้ายเลยหรือ ย้ายจังหวัดเดียวเองหรือ ไหนว่าจะชะลอไว้ก่อน รอให้น้ำลด แปลว่าอาจจะมีเหตุผลพอสมควร
- การเปลี่ยนม้ากลางศึก เปลี่ยนคนถือกุญแจประตูน้ำ นายกฯต้องการส่งสัญญาณอะไร
รองอธิบดีคนนี้ (ชัชวาล ปัญญาวาทีนันท์) เพิ่งจะเข้ามาเป็น ดูงานด้านบริหาร อธิบดีใช้งานส่วนนี้อยู่แล้ว ท่านก็อยู่พื้นที่มาหลายเดือน นี่คือการจัด คำสั่งให้ถูกต้องชัดเจน ว่าใครจะถือกุญแจ ไม่เช่นนั้นชาวบ้านยึดเอาไปทำเองหมด ทุกวันนี้ทหารยังไม่กล้ามีปัญหากับชาวบ้านเลย แล้วกรมชลฯจะทำอย่างไร
ผมเชื่อถือกรมชลประทาน ตัวเลข มันถูกต้อง แต่หัวใจสำคัญคือ การบริหารจัดการ จะสั่งซี้ซั้วไม่ได้ เอาข้อมูลจากกรมชลฯไปก็ต้องคิดให้ได้ว่าจะทำอย่างไรต่อ
- เท่ากับว่าตอนนี้การแก้ปัญหาน้ำมีคนทำงานถึง 4 รัฐบาล (ไทยรักไทย พลังประชาชน เพื่อไทย และชาติไทย) ในฐานะท่านเป็นพรรคร่วมรัฐบาลมีอะไรจะแนะนำบ้าง
ที่จริง...ผมไม่รู้ว่าเวลาประชุมเขาทำอย่างไรบ้าง แต่ผมเคยบอกว่า น่าจะต้องยึดแนวคิดกรมชลประทานเป็นหลัก ส่วนที่ปรึกษาคนอื่นเสนออะไรก็พิจารณากันอีกที พวกนี้อยู่กับน้ำมา 40 ปี แต่คนที่ไม่รู้ เป็นอาจารย์ นักทฤษฎี ไม่รู้เรื่องจะแก้ปัญหาอย่างไร อย่างผมเองยังต้องขอข้อมูลกรมชลประทานมาทำงานเองเลย
- หากต้องเข้าไปช่วยรัฐบาลวันนี้ 1 เรื่องที่ "บรรหาร" จะทำคืออะไร
หากผมเข้าไปทำงาน ใครพูดมาไม่ถูกต้องผมก็โวยวาย แต่ทั้งหมดที่ผมเล่ามา ผมก็เอามาจากกรมชลประทาน และวิเคราะห์ซ้ำอีกทีหนึ่ง เขามีเหตุผล ก็ต้องเชื่อถือเขา ส่วนผมอยู่กับน้ำมา 20-30 ปี ก็พอมีประสบการณ์บ้าง
- ทุกสายตาที่รุมจ้อง ศปภ.เกินกว่าครึ่งคิดว่าพึ่งไม่ได้แล้ว
ผมว่ายังพึ่งได้ วันนี้นายกฯมีอำนาจเต็มเลย อย่างผมยังไม่มีอำนาจสั่งอะไรเลย ผมเคยเป็นนายกฯมา ผมรู้ดีว่าสั่งการได้ทุกเรื่อง สั่งได้ทั้งทหารและพลเรือน แต่บังเอิญท่านได้รับข้อมูลหลายทาง ก็สับสน ถ้าเป็นผมฟังทีเดียวก็จบเลย
- การประกาศมาตรา 31 พ.ร.บ. ปภ.กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผลต่างกันอย่างไร
เพราะวันนี้ทหาร ตำรวจ ไม่กล้าทำอะไรรุนแรงกับประชาชน การต้องประกาศมาตรา 31 ผมว่าดีกว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ขนาดญี่ปุ่นเจอสึนามิเขายังไม่กล้าประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเลย ไม่อย่างนั้นต่างประเทศตกใจแย่ ทำลายภาพลักษณ์หมด และการประกาศต้องประกาศทั่วประเทศ ก็โกลาหลกันไปใหญ่ นี่เรายังโชคดีที่เจอแค่น้ำท่วม ไม่เจอแผ่นดินไหวเหมือนประเทศอื่น
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น