ปัญหาหลังน้ำลดยังเป็นปัญหาใหญ่ไม่ต่างกับปัญหาน้ำท่วมในขณะนี้
เพราะการฟื้นฟูความเสียหาย ถนน สถานที่ราชการ หรือแม้แต่การฟื้นฟูสภาพจิตใจต้องใช้งบประมาณทั้งนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รมว. มหาดไทย ได้ระบุว่า รัฐบาลอาจต้องใช้งบประมาณสูงถึง 8 หมื่นล้านบาทในการฟื้นฟูหลังน้ำลด
ส่วนความเสียหายได้ขยายวงกว้างไปกว่า 27 จังหวัด 186 อำเภอ 1,463 ตำบล 10,999 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 779,522 ครัวเรือน 2,320,169 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 10,209, 891 ไร่
ขณะเดียวกันเป็นที่น่าจับตาอย่างยิ่งว่า “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)” จะมีงบประมาณ เข้าไปฟื้นฟูท้องถิ่นของตนเองหรือไม่? เพราะขณะนี้บางแห่งได้เทงบประมาณไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจนแทบจะเกลี้ยงคลัง
“อบต.บางแห่งใช้เงินจ่ายขาดสะสมที่มีอยู่ไปจนหมด เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ทันท่วงทีกับความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน” เสียงสะท้อน
จาก “กำนันตั๊ม” นพดล แก้วสุพัฒน์นายกสมาคมองค์การบริหาร ส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
ส่วน “นายหัวชวน” นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ก็ออกมาเสนอแนะให้ทางการและภาคเอกชนเตรียมการช่วยเหลือหลังสถาน-การณ์น้ำลดลง ซึ่งจะเกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย
“ในท้องถิ่น โดยเฉพาะนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และผู้ใหญ่บ้าน จะต้องรู้รายละเอียด เป็นอย่างดีว่า บริเวณ นั้นมีบ้านเรือนประชาชนอยู่กี่หลัง ซึ่งต้องให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากๆ เพราะคนนอกจะไม่มีข้อมูล เหล่านี้” นายชวนกล่าว
คำถามที่ตามมาคือ งบประมาณ “ก้อนต่อไป” จะถึงมือท้องถิ่นเมื่อไหร่ และอย่างไร ลำพังงบประมาณที่ท้อง ถิ่นได้รับการจัดสรรนั้น ยังถือว่าไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือ ส่วนรายได้ที่ท้องถิ่นสามารถจัดเก็บได้ ล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม
ไม่ว่าจะเป็นกรณีน้ำท่วมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม น้ำท่วมพื้นที่เศรษฐกิจในเขตเทศบาล น้ำท่วมแหล่งท่องเที่ยว ล้วนแต่กระทบ กับรายได้ท้องถิ่นทั้งนั้น
“หลังจากน้ำลดมาตรการฟื้นฟูทุกด้านคงต้องใช้งบประมาณ อีกหลายพันล้านบาท ถ้ารัฐบาลไม่ช่วยเหลือก็คงไม่มีงบฯ ดำเนินการและไม่ทราบว่ารัฐบาลจะชดเชยงบฯส่วนนี้ให้อบต.หรือไม่” นายกสมาคม อบต. ระบุ
ด้านกรมส่งเสริมการปก-ครองท้องถิ่น หรือสถ. ได้ร่อนหนังสือแจ้งให้ท้องถิ่นทุกแห่ง เร่งสำรวจความเสียหายทันที หลังน้ำลด เพื่อขอรับงบประมาณช่วยเหลือจากภาครัฐ
วันนี้ท้องถิ่นยังคงนั่งรอความหวังจากรัฐบาลที่จะปล่อยงบ “ก้อนโต” ลงมาให้เพื่อฟื้นฟูท้องถิ่นของตนเอง ท่ามกลางสายตาที่มองมายังท้องถิ่นว่าจะบริหารจัด การงบถึงมือผู้ประสบภัยหรือไม่ ลำพังแค่เงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ยังเป็นปัญหาและยังไม่ทั่วถึง
งานนี้จึงต้องจับตาว่า “อาฟเตอร์ช็อก” รอบนี้จะรุนแรงแค่ไหน
ที่มา:สยามธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น