เมื่อกองทัพกัมพูชาพยายามชดเชยความเสียเปรียบทางยุทธวิธีต่อหน่วยปืนใหญ่ของไทย ที่มีข่าวว่าการปะทะเมื่อวันศุกร์ทำให้ทหารกัมพูชาบาดเจ็บและเสียชีวิตไปหลายนาย จนกระทั่งในวันนี้กองทัพกัมพูชาต้องงัดเอา BM 21 ออกมาใช้ ซึ่งก็มีข่าวว่าสามารถกดดันกองทัพไทยได้พอสมควร เพราะ BM 21 เป็นอาวุธจรวดหลายลำกล้องที่เกาหลีเหนือเคยใช้ถล่มเกาะยอนเปียงของเกาหลีใต้มาก่อน มีพิสัยทำการไกลกว่าปืนใหญ่ของไทย
สำหรับคุณสมบัติของ BM 21 ในบล็อก Analyo ได้ลงรายละเอียดดังต่อไปนี้
BM21 เป็นระบบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. ไม่นำวิถีซึ่งผลิตในสหภาพโซเวียตเดิมครับ ระบบจะประกอบไปด้วยรถบรรทุก 6 ล้อ รถมีพิสัยปฏิบัติการได้ราว 400 กิโลเมตร ด้านหลังจะเป็นแท่นยิงซึ่งมีท่อยิงจำนวน 40 ท่อยิงซึ่งทำการยิงจรวดได้ 2 นัดต่อวินาที ทำการเล็งด้วยตาด้วยกล้องเล็งด้านข้างตัวรถ โดยมีพลประจำรถ 5 นาย และ ทำการยิงได้ภายใน 3 นาทีนับจากรถจอด และเปลี่ยนที่ตั้งได้หลังจากทำการยิงเสร็จแล้วภายใน 2 นาที การบรรจุจรวดทำด้วยคนโดยใช้เวลาราว 10 นาที
ตัวจรวดขนาด 122 มม. มีหลายแบบให้เลือกใช้ตามแต่ภารกิจ โดยมีตั้งแต่จรวดติดหัวรบบรรจุดินระเบิด จรวดบรรจุกับระเบิดรถถังหรือระเบิดสังหารบุคคล จรวดบรรจุอมภัณฑ์ย่อย (submunitions) หรือลูกระเบิดขนาดเล็กสำหรับทำลายรถถัง ระเบิดควัน ไปจนถึงทุ่นระเบิดใต้น้ำ โดยมีระยะยิงราว 30 – 40 กิโลเมตร
ข้อเสียของ BM21 ก็คือความแม่นยำมีไม่มากนัก จึงทำให้ไม่สามารถทำการโจมตีที่ต้องใช้ความแม่นยำสูงได้ ดังนั้นความมุ่งหมายของอาวุธประเภทนี้คือการทำลายเป็นพื้นที่
สำหรับกองทัพไทย ปรากฎว่าเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554 มีข่าวว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานพิธีส่งมอบต้นแบบจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 ซึ่งเป็นอาวุธยิงจรวดหลายลำกล้องเช่นเดียวกัน แต่มีการเน้นความแม่นยำที่เหนือกว่า และมีระยะยิงที่ไกลกว่า (60 – 100 กิโลเมตร)
โดยพลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นประธานส่งมอบ และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานรับมอบ พร้อมด้วยพลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท ปลัดกระทรวงกลาโหม พลโท ดร.ฐิตินันท์ ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พลตรี สุกิจ เนื่องจำนงค์ ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ และพลตรี เฉลิมเกียรติ เมฆทรัพย์ ผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ กองพลทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ดำเนินการวิจัยพัฒนาจรวดหลายลำกล้องจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีของมิตรประเทศมา ตั้งแต่ ปลายปี 2552 ขณะนี้ต้นแบบจรวดพร้อมส่งมอบให้กองทัพบกนำไปทดลองใช้งาน ทั้งนี้ต้นแบบจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 เป็นโครงการที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศและกองทัพบกได้ลงนาม ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ตามแผนการพัฒนาและเสริมสร้างกำลังกองทัพในการพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องเพื่อ เสริมสร้างความมั่นคงด้านการทหารของประเทศ ตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม โดยกองพลทหารปืนใหญ่เป็นหน่วยงานที่นำจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 นี้ไปทดลองใช้งาน
ดังนั้นเป็นไปได้ว่าหากความขัดแย้งระหว่างสองประเทศบานปลายออกไป กองทัพไทยอาจใช้ DTI-1 ที่เพิ่งเข้าประจำการทำการตอบโต้กัมพูชา!!!
หรือแม้แต่อาจมีการปฏิบัติการทางทหารที่เฉียบขาดรุนแรงกว่านี้
ได้แต่หวังว่าทั้งสองประเทศจะยุติการใช้ความรุนแรงปฏิบัติโต้ตอบกัน และหันหน้าเข้าเจรจา เพราะสงครามไม่ใช่สงกรานต์ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมมีผู้บาดเจ็บสูญเสีย และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งขนาดใหญ่ขึ้นได้
ที่มา.Siam Intelligence
สำหรับคุณสมบัติของ BM 21 ในบล็อก Analyo ได้ลงรายละเอียดดังต่อไปนี้
BM21 เป็นระบบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. ไม่นำวิถีซึ่งผลิตในสหภาพโซเวียตเดิมครับ ระบบจะประกอบไปด้วยรถบรรทุก 6 ล้อ รถมีพิสัยปฏิบัติการได้ราว 400 กิโลเมตร ด้านหลังจะเป็นแท่นยิงซึ่งมีท่อยิงจำนวน 40 ท่อยิงซึ่งทำการยิงจรวดได้ 2 นัดต่อวินาที ทำการเล็งด้วยตาด้วยกล้องเล็งด้านข้างตัวรถ โดยมีพลประจำรถ 5 นาย และ ทำการยิงได้ภายใน 3 นาทีนับจากรถจอด และเปลี่ยนที่ตั้งได้หลังจากทำการยิงเสร็จแล้วภายใน 2 นาที การบรรจุจรวดทำด้วยคนโดยใช้เวลาราว 10 นาที
ตัวจรวดขนาด 122 มม. มีหลายแบบให้เลือกใช้ตามแต่ภารกิจ โดยมีตั้งแต่จรวดติดหัวรบบรรจุดินระเบิด จรวดบรรจุกับระเบิดรถถังหรือระเบิดสังหารบุคคล จรวดบรรจุอมภัณฑ์ย่อย (submunitions) หรือลูกระเบิดขนาดเล็กสำหรับทำลายรถถัง ระเบิดควัน ไปจนถึงทุ่นระเบิดใต้น้ำ โดยมีระยะยิงราว 30 – 40 กิโลเมตร
ข้อเสียของ BM21 ก็คือความแม่นยำมีไม่มากนัก จึงทำให้ไม่สามารถทำการโจมตีที่ต้องใช้ความแม่นยำสูงได้ ดังนั้นความมุ่งหมายของอาวุธประเภทนี้คือการทำลายเป็นพื้นที่
สำหรับกองทัพไทย ปรากฎว่าเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554 มีข่าวว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานพิธีส่งมอบต้นแบบจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 ซึ่งเป็นอาวุธยิงจรวดหลายลำกล้องเช่นเดียวกัน แต่มีการเน้นความแม่นยำที่เหนือกว่า และมีระยะยิงที่ไกลกว่า (60 – 100 กิโลเมตร)
โดยพลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นประธานส่งมอบ และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานรับมอบ พร้อมด้วยพลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท ปลัดกระทรวงกลาโหม พลโท ดร.ฐิตินันท์ ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พลตรี สุกิจ เนื่องจำนงค์ ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ และพลตรี เฉลิมเกียรติ เมฆทรัพย์ ผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ กองพลทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ดำเนินการวิจัยพัฒนาจรวดหลายลำกล้องจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีของมิตรประเทศมา ตั้งแต่ ปลายปี 2552 ขณะนี้ต้นแบบจรวดพร้อมส่งมอบให้กองทัพบกนำไปทดลองใช้งาน ทั้งนี้ต้นแบบจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 เป็นโครงการที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศและกองทัพบกได้ลงนาม ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ตามแผนการพัฒนาและเสริมสร้างกำลังกองทัพในการพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องเพื่อ เสริมสร้างความมั่นคงด้านการทหารของประเทศ ตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม โดยกองพลทหารปืนใหญ่เป็นหน่วยงานที่นำจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 นี้ไปทดลองใช้งาน
ดังนั้นเป็นไปได้ว่าหากความขัดแย้งระหว่างสองประเทศบานปลายออกไป กองทัพไทยอาจใช้ DTI-1 ที่เพิ่งเข้าประจำการทำการตอบโต้กัมพูชา!!!
หรือแม้แต่อาจมีการปฏิบัติการทางทหารที่เฉียบขาดรุนแรงกว่านี้
ได้แต่หวังว่าทั้งสองประเทศจะยุติการใช้ความรุนแรงปฏิบัติโต้ตอบกัน และหันหน้าเข้าเจรจา เพราะสงครามไม่ใช่สงกรานต์ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมมีผู้บาดเจ็บสูญเสีย และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งขนาดใหญ่ขึ้นได้
ที่มา.Siam Intelligence
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น