ร่อนลงกลางวงนักข่าว ลุยดงปากเหยี่ยวปากกานักข่าว กลางวงเสวนา “ชมรมคอลัมนิสต์ นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ไทย” คุยแบบเป็นกันเองตามสไตล์ “บิ๊กบัง-พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน” หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ในท่ามกลางสารพัดข่าวลือข่าว ปล่อยเกี่ยวกับสถานการณ์ปฏิวัติที่โชยกลิ่นคละคลุ้ง ในปริมณฑลการเมืองไทย
คำถามอันดับแรกๆ ยิงตรงเป้าถามใจรุ่นพี่วัดใจน้องเลิฟอย่าง “บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ผบ.ทบ.คนปัจจุบัน ด้วยสารพัน ปัญหาอันทอดยอดไปถึงเหตุบ้านการเมืองที่วุ่นวายในท้ายที่สุด “บิ๊กตู่” จะเลือกเดินตามรอย “บิ๊กบัง” กระทำการปฏิวัติรัฐประหารเฉกเช่นคืนวันเก่าๆ ครั้ง 19 กันยายน 2549 หรือไม่???
แม้จะไม่ยอมตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำ แต่ในทุกวลีที่เจรจา ล้วนสะท้อนนัยแห่ง ลับ ลวง พราง ตามแบบต้นตำรับอย่าง “บิ๊กบัง”
“ทำปฏิวัตินั้นทำไม่ยาก แต่ถ้าทำไปแล้วสิ่งแวดล้อม รอบข้างทั้งภายในและภายนอกประเทศเขาจะยอมรับ หรือไม่”
“ส่วนตัวผมถ้าได้อ่านหนังสือปรัชญาการเมือง 10 ข้อของ นิโคโล มาเคลเวลลี่ ก่อนผมคงไม่ตัดสินใจ ปฏิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน”
ขยายความถอดรหัสจากปรัชญาของ “มาเคลเวลลี่” ที่เขียนไว้ในหนังสือ “THE PRINCE” อันมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องถึงเกมการชิงอำนาจ เสนอแนวคิดทางการเมืองแบบ ใหม่ ที่สนับสนุนการใช้อำนาจและความรุนแรง ซึ่งแยกย่อย ออกเป็น 10 ข้อดังนี้
1.แยกการเมืองออกจากศาสนา (secularization) สำหรับแมคเคียเวลลี การเมืองและศาสนาเป็นคนละเรื่องกัน การเล่นการเมืองไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงศีลธรรมจรรยา ซึ่งไม่เคยมีใคร เสนอแนวคิดแบบนี้มาก่อน ในขณะที่เพลโตที่บอกว่าผู้ปกครองควรมีคุณธรรม ออกัสติน บอกว่าต้องเชื่อฟังพระเจ้า แต่แมคเคียเวลลีเป็นคนแรกที่บอกว่า การเมืองต้องแยกจากศาสนา ศีลธรรม จรรยา และพระเจ้า
2.รัฐเป็นสิ่งสูงสุด ความต้องการของแต่ละคนที่เข้ามารวมตัวเป็นรัฐคือผลประโยชน์ รัฐจึงเป็นตัวแทนของบุคคลในการหาและรักษาผลประโยชน์ ดังนั้น การคงอยู่ของรัฐและเจตจำนงของรัฐจะต้องอยู่เหนือสิ่งอื่นใด แม้กระทั่งปัจเจกบุคคล
3.ต้องแยกรัฐออกจากศีลธรรมจรรยา ดังนั้น จึงไม่อาจพูดได้ว่ารัฐทำผิดหรือถูก เช่นเดียวกับบุคคลที่เป็นตัวแทนของรัฐ (รัฐบาล กษัตริย์ ผู้ครองนคร) จะไปวินิจฉัยว่าเขาทำผิดหรือถูกไม่ได้เช่นกัน เพราะผลประโยชน์ของรัฐย่อมเหนือความถูกผิดทั้งปวง
4.ผู้ครองนครหรือนักการเมืองเป็นนักฉวยโอกาส (opportunists) ทุกคน แรงจูงใจที่ทำ ให้เกิดการเมือง คือผลประโยชน์ ดังนั้น นักการเมืองหรือผู้ครองนครต้องกระทำการทุกอย่างเมื่อมีโอกาส เพื่อผลประโยชน์รัฐ
5.อย่ากลัวถ้าจะต้องทำผิดบ้าง ผู้ปกครองที่ประสบความสำเร็จต้องทำผิดบ้าง และควรใช้ ประโยชน์จากการทำผิดนั้นด้วย เพราะบางสิ่งบางอย่างที่คนภายนอกมองเห็นว่าดี แต่ในทางปฏิบัติ กลับไม่ได้ผลดีตามที่เห็น ในขณะที่ของที่ดูไม่ดีก็อาจจะใช้การได้ ดังนั้น ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องเลือก แต่สิ่งที่ดีๆ แต่ควรดูว่าสิ่งๆ นั้นเมื่อนำไปปฏิบัติแล้วได้ประโยชน์หรือไม่ เพราะเมื่อจุดหมายหรือผล ที่ได้มันได้ประโยชน์ จะถือว่าสิ่งๆ นั้นเป็นสิ่งที่ดี
6.ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องเป็นคนดี แต่ควรแสร้งแสดง ให้คนอื่นคิดว่าเป็นคนดี ด้วยวิธีการต่างๆ เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการเป็นคนดีเสียเองซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร
7.ผู้ปกครองควรให้คนกลัวมากกว่าคนรัก เพราะความรักอาจกลายเป็นความเกลียดได้ แต่ความกลัวนั้น จะไม่รักและไม่เกลียด ผู้ปกครองจึงควรใช้อำนาจ (power) และความรุนแรง (violence) เพื่อให้ผู้อื่นกลัว
8.หลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ เพราะการประจบ สอพลอ คือความอ่อนแอ และทำให้ลุ่มหลง ไม่อาจมอง เห็นความจริงได้ ผู้ปกครองจึงควรสนับสนุนการพูดความ จริงและตั้งคนฉลาดเป็นที่ปรึกษา และรับประกันเสรีภาพ ของที่ปรึกษาที่จะพูดความจริงอย่างตรงไปตรงมา
9.ผู้มีอำนาจย่อมเป็นผู้ถูกเสมอ เพราะคนมีอำนาจ จะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีใครกล้าว่าว่าผิด จุดมุ่งหมาย ย่อมสำคัญกว่าวิธีการ จะทำอะไรก็ได้เพื่อให้บรรลุจุดหมาย
และ 10.ผู้มีอำนาจไม่ควรอยู่ที่ทางสายกลาง เมื่อจะทำอะไรให้เต็มที่และเปิดเผย แมคเคียเวลลี กล่าวว่า เราไม่สามารถรับใช้พระเจ้าและซีซาร์ได้ในขณะเดียวกัน หรือเราไม่สามารถถือดาบกับไบเบิลได้พร้อมๆกัน
หรือแม้กระทั่งเนื้อหาในหนังสือ “THE PRINCE” บทที่ 8 ที่ระบุว่า “ในการเข้าครองรัฐหนึ่งๆ ผู้ชนะพึงต้อง จัดการกระทำทารุณกรรมทั้งหมดเสียในทันทีทันใด เพื่อที่ว่าจะได้ไม่ต้องกระทำซ้ำอีกทุกเมื่อเชื่อวัน”
คัดเฉพาะเนื้อๆ เน้นๆ จากหนังสือของปราชญ์ชาวอิตาลี จับกับ “อารมณ์” ของ “บิ๊กบัง” หลังวันก่อการที่ถูกบริภาษว่า “ไม่สะเด็ดน้ำ” น่าจะเข้าใจอารมณ์กันได้ว่า ด้วยโครงสร้างอันสลับซับซ้อนของการเมืองไทย การจะปฏิวัติแบบเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด มันมีต้นทุนที่สูงส่งและเป็นเดิมพันที่สุ่มเสี่ยง..
ถึงบรรทัดนี้ แม้ “บิ๊กบัง” จะพูดไม่ชัดว่า “บิ๊กตู่” จะปฏิวัติ หรือไม่??? แต่นัยแห่งคำตอบอันกำกวม ก็น่าจะตอบโจทย์คำถามแห่งการตบเท้าที่โชยกลิ่นมาแล้วจะมีวิธีใดในการป้องปรามการปฏิวัติรัฐประหาร???“บิ๊กบัง” ตอบง่ายๆ สั้นๆ “รัฐบาลต้องบริหารงบประมาณ อย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันไม่ให้กองทัพขยับเข้ามาใกล้ศูนย์อำนาจ ทางการเมือง”
ชัดถ้อยชัดคำและกระจ่างแจ้ง หากจับจากงบประมาณกองทัพไทยที่มีเพียง 0.9 ของจีดีพีประเทศ ซึ่งมีจำนวนห่างไกลกันเหลือเกินกับงบกองทัพของนานาอารยประเทศ ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2% ของจีดีพี
แม้เงื่อนไขดังกล่าว จะขัดกับประชาธิปไตยแบบไทยๆ แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้น ต้องย้อนกลับไปถามว่า ตั้งแต่ครั้งอภิวัฒน์ประเทศ ปี 2475 บ้านเมืองนี้ถูกทหารปฏิวัติรัฐประหารมากี่รอบแล้ว..เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากโดนปฏิวัติ...โปรดฟังอีกครั้ง!!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น