
ที่มา:บางกอกทูเดย์
การปกครองแบบ “เผด็จการรัฐสภา” ได้ทำลายความมั่นคงแห่งชาติอย่างร้ายแรงเป็นต้นเหตุแห่งความทรุดโทรมวิกฤติล่มจมของชาติ และทำให้เอกราชและอธิปไตยของชาติอ่อนแอเป็นเหตุให้ต่างชาติเข้ามารุกรานยึดครองประเทศชาติ บ้านเมืองทั้งทางเศรษฐกิจ คือ สงครามรุกรานทางเศรษฐกิจระบบเศรษฐกิจ
แห่งชาติทั้งเศรษฐกิจภาคสาธารณะและเศรษฐกิจภาคเอกชนถูกรุกรานยึดครองเช่น นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจอันเป็นนโยบายรุกรานของต่างชาติและกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับที่เป็นกฎหมายทาสให้ต่างชาติรุกรานยึดครองประเทศไทยทางเศรษฐกิจอย่างเบ็ดเสร็จทั่วด้านเศรษฐกิจภาคเอกชนไทย ถูกกฎหมายล้มละลายยึดกุมอำนาจบริหารและใช้อำนาจบริหารยึดกุมกิจการแผ่นดินสินทรัพย์อันเป็นการทำลายความมั่นคงแห่งชาติทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุด
เศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของชาติที่สำคัญยิ่ง การรุกรานยึดครองชาติ เช่น ธนาคารไทยถูกต่างชาติรุกรานยึดครองจนหมดสิ้น และนำเอาธนาคารในฐานะเจ้าหนี้ไปยึดแผ่นดินสินทรัพย์ธุรกิจบ้านช่องของลูกหนี้ไทยทั่วทุกหย่อมหญ้าจนขณะนี้ “กรรมสิทธิ์ไทยถูกทำลายเปลี่ยนเป็นกรรมสิทธิ์ต่างชาติ” ไปเกือบหมดแล้วข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) คือการขายอำนาจอธิปไตยของชาติกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ คือ รูปธรรมของอธิปไตยต่างชาติพ.ร.บ. เขตเศรษฐกิจพิเศษ คือ
การตัดแบ่งแยกรัฐขายให้แก่ต่างชาติดังนั้น การหยุดงานทั่วไปเพื่อผลักดันให้ผู้ปกครองยกเลิกการปกครองแบบเผด็จการรัฐสภาที่เป็นต้นเหตุของการขายชาติ และการรุกรานของต่างชาติด้วยการสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายสูงสุดคือ ยุติการทำลายความมั่นคงของชาติโดยเด็ดขาดสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ การปฏิบัติตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 2 “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ” และทำตามมาตรา 3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย”อันเป็นการรับสนองพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 คือ สร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยและสร้างการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยใช้หลักกฎหมาย และใช้หลักการปกครองที่ถูกต้องแก้ปัญหาประเทศชาติที่วิกฤติที่สุดในโลกแล้วอันเป็นสิทธิเสรีภาพทางความคิดของมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่า “เสรีภาพทางความคิดเป็นรากฐาน
ของเสรีภาพทั้งปวง” จึงเป็นสิทธิมนุษยชนที่ถูกต้องสิทธิด้านแรงงานระหว่างประเทศโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ในองค์การสหประชาชาติได้รับรองสิทธิด้านแรงงานเป็นสิทธิสากลคือ สิทธิในการหยุดงานทั่วไป หรือ การหยุดงานย่อย ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติและเป็นภาคีของ ILO ด้วยดังนั้น ด้วยเหตุผลหลักการและความถูกต้องทั้งสิ้นดังกล่าวข้างต้นนี้ กรรมกรแรงงาน ทั้งกรรมกรรัฐวิสาหกิจและกรรมกรเอกชน รวมทั้งประชาชนทุก
หมู่เหล่าทั่วประเทศต้องร่วมกันเคลื่อนไหวต่อสู้อย่างสันติอหิงสาพุทธเพื่อหยุดงานทั่วไป เพื่อผลักดันให้ยกเลิกการปกครองแบบเผด็จการรัฐสภา สร้างการปกครองแบบประชาธิปไตย สร้างการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย สร้างรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยเพื่อให้มีการปกครองเฉพาะกาลสร้างประชาธิปไตยเพื่อหยุดการรุกรานยึดครองของต่างชาติ หยุดการขายชาติบ้านเมือง หยุดการคอร์รัปชั่น หยุดการปล้นประชาชนขายชาติโดยเร็วที่สุด
นิรนาม นิรกาย
“การหยุดงาน” ของลูกจ้างในสถานประกอบการเป็นปัญหาสำคัญและเป็นปัญหาที่สร้างความหนักอกหนักใจให้แก่นายจ้างทั้งทางภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นอย่างมากทั้งนี้ เพราะการหยุดงาน ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองสูญเปล่าและส่งผลกระทบต่อการผลิตและบริการเมื่อ 7-10 ปี ที่ผ่านมา อัตราการหยุดงานในสถานประกอบการของลูกจ้างสูงถึงร้อยละ 5-6 (ประมาณ 15-18 วันต่อปี/คน)แต่ในปัจจุบันนี้อัตราการหยุดงานลดลงโดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าขณะนี้อัตราการหยุดงานอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 2-3ในขณะที่สถานประกอบการที่มีการบริหารและการควบคุมอย่างจริงจังอาจมีอัตราสูงเพียงร้อยละ 1.5-2 เท่านั้นโดยเหตุที่
การหยุดงานก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นอย่างมากสถานประกอบการเป็นจำนวนไม่น้อยจึงมีการจัดทำแผนการลดอัตราการหยุดงาน แล้วนำมารวมไว้กับแผนการดำเนินธุรกิจประจำปีและจัดให้มีการควบคุมอย่างจริงจังซึ่งปรากฏว่า “ได้ผล”การลดอัตราการหยุดงานมิใช่เป็นสิ่งที่จะบรรลุความสำเร็จได้โดยง่าย จำเป็นต้องอาศัยหลักและวิธีการตลอดจนความสนใจอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการวิเคราะห์เหตุผลที่ทำให้พนักงานหยุดงานและลักษณะของ
พนักงานที่หยุดงานตลอดจนการพิจารณาปัจจัยหรือตัวแปรอื่นๆ อีกมากการดำเนินการกับผู้ที่หยุดงานมากๆ มีอยู่ 2 วิธี คือ การใช้ไม้นวม (CONSTRUCTIVE APPROACH) กับ การใช้ไม้แข็ง (COERCIVE APPROACH)การใช้ไม้นวม หมายถึงการเริ่มต้นจากการค้นหาเหตุ และใช้การให้คำปรึกษาชี้แนะเป็นกลไกในการแก้ และถ้าไม่ดีขึ้นอาจใช้มาตรการทางวินัยเข้าช่วยกระตุ้นส่วน การใช้ไม้แข็ง ซึ่งในที่นี้หมายถึง...การใช้มาตรการแกมบังคับ ซึ่งควรจะใช้กับผู้ที่สร้าง
ปัญหาจริงๆและภายหลังจากที่ได้พยายามใช้ไม้นวมแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ มาตรการนี้อาจรวมถึงการโยกย้ายหรือเลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยในฐานที่ไม่พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่แต่ทั้งนี้จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าลูกจ้างมีพฤติกรรมที่ส่อให้เห็นว่าได้ใช้สิทธิในการลาโดยมิชอบ และมีการหยุดงานปีละมากๆ ติดต่อกันมาหลายปีพูดกันอย่างง่ายๆ ก็คือ มากครั้ง มากวัน และมากปีจึงจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น