--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มาตรา 67 วรรคสอง (ตอนที่ 5)

ที่มา:บางกอกทูเดย์

ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีความเห็นเกี่ยวกับ “มาตรา67 วรรคสอง” ไว้ในคำวินิจฉัยที่ 3/2552 หน้าที่ 13เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552 ดังนี้“หากปรากฏว่า การดำเนินโครงการหรือกิจการอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชนทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพต่อบุคคลหรือชุมชน บุคคลหรือชุมชนย่อมมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสามเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ดำเนินโครงการหรือกิจการนั้นจัดให้มีการศึกษาและประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

หรือการให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพให้ความเห็นก่อนดำเนินโครงการหรือกิจการได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา67 วรรคสอง”จากความเห็นในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่3/2552 ทำให้เห็นถึงการรับรองสิทธิชุมชนที่จะฟ้องร้องได้ตามมาตรา 67 วรรคสามในคำวินิจฉัยดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า...บุคคลหรือชุมชนย่อมมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองอ่านแค่นี้ก็

คงตีความได้ว่า...ผู้ที่จะฟ้องต่อศาลปกครองได้นั้น มีทั้งบุคคลทั่วไปและกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเป็นชุมชนแต่ก็มีข้อสังเกตประกอบความเห็นดังกล่าวตามมาเช่นกัน เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสามนั้นให้สิทธิแก่ชุมชนฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เท่านั้นในมาตรา 67 วรรคสาม ระบุเพียงว่า เป็นสิทธิของชุมชนที่จะฟ้องร้อง และให้ได้รับความคุ้มครอง แต่มาตรา 67 วรรคสาม มิได้มีคำ

ว่า “บุคคล” รวมอยู่ด้วยพิจารณาต่อที่คำว่า “เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ดำเนินโครงการหรือกิจการนั้น” ก็ไม่สอดคล้องกับมาตรา 67 วรรคสาม ทั้งหมด เพราะมาตรา 67 วรรคสาม กำหนดให้ฟ้องได้ 5 ส่วนคือ ฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจราชการส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่นของรัฐ เท่านั้น โดยให้สิทธิแก่ชุมชนในการฟ้องเพื่อให้ทั้ง 5 ส่วนนั้น ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 67ไม่มีข้อความใดในมาตรา 67 วรรค

สาม ที่ระบุให้ชุมชนมีสิทธิฟ้องร้อง “เอกชน” ไว้ด้วย จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า ความเห็นในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุรวมไปถึงการฟ้องร้องเอกชนได้ด้วยนั้น จะต้องตามมาตรา 67 วรรคสามหรือไม่หรือจะแปลความหมายว่า...บุคคลหรือชุมชนสามารถใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของเอกชนนั้นก็คงจะเกินเลยไปกว่า อำนาจของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 223อีกทั้งคำว่า “หากปรากฏว่า” กับคำ

ว่า “ก่อนดำเนินโครงการหรือกิจการ” ย่อมเกิดความหมายที่ขัดกันเองในความหมายของการใช้ภาษาหรือไม่เพราะถ้าก่อนการกระทำแล้ว จะมีการปรากฏผลจากการกระทำได้อย่างไร?ดังนั้น คำว่า “ก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว”ในส่วนสุดท้ายของมาตรา 67 วรรคสอง ควรจะพิจารณาในความหมายใด ถ้าพิจารณาว่า สิทธิชุมชนเกิดขึ้นตั้งแต่การอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโครงการหรือการจะกระทำกิจกรรมใดๆผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นก็จะเป็นการคาดคะเนล่วงหน้ากันเกินไป

หรือไม่?แต่ถ้าพิจารณาว่า...เมื่อโครงการหรือกิจกรรมใดๆที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ กำลังที่จะเปิดดำเนินการตามแผนการลงทุนชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ ได้รับฟังข้อมูลที่จะต้องมีตามมาตรา 303 (1) แล้ว ชุมชนเหล่านั้นเชื่ออย่างมีหลักการและเหตุผลทางวิชาการประกอบว่า...โครงการหรือกิจกรรมนั้น ถ้าเริ่มเปิดดำเนินการโดยไม่มีการศึกษาผลกระทบไว้ก็อาจจะส่งผลกระทบที่รุนแรงทั้งด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากร และสุขภาพ ก็ชอบที่จะใช้สิทธิดังกล่าวฟ้องร้อง

ต่อศาล เพื่อให้หน่วยราชการระงับการเปิดโครงการหรือกิจกรรมนั้นเอาไว้ก่อนได้แต่ถ้าพิจารณาว่า...สิทธิชุมชนเกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่เริ่มดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรมใดๆ เพียงแค่มีการคาดเดาว่าจะเกิดผลกระทบ ก็สามารถใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 67 วรรคสาม ได้ปัญหาก็คงจะตามมาอย่างเหลือคณานับ! 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น