
หลังจากที่กลุ่มคนเสื้อแดง หรือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านสำนักราชเลขาธิการเมื่อบ่ายวานนี้ (17 ส.ค.) ก่อนสลายการชุมนุมอย่างรวดเร็วตามที่แกนนำเคยประกาศไว้ พร้อมยืนยันอีกครั้งว่า จะไม่เคลื่อนไหวประเด็นนี้ต่อไปอีก
อย่างไรก็ดี จากรายงานข่าวที่เกิดขึ้นนับจากเมื่อวานจนถึงวันนี้ ทำให้พบเส้นทางที่สับสนไม่ชัดเจนของการถวายฏีกาครั้งนี้ของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า จะเป็นอย่างไรกันต่อไป ดังนั้น เว็บไซต์ http://www.dailyworldtoday.com/ จึงเกาะสถานการณ์ รวบรวมข่าวต่อเนื่องจากการถวายฏีกา มานำเสนอดังนี้
สำนักราชเลขาฯแถลงการณ์ขั้นตอนปฏิบัติหลังรับฎีกา
ช่วงบ่ายของวันที่ 17 ส.ค. สำนักราชเลขาธิการออกแถลงการณ์ ภายหลังจากที่กลุ่มคนเสื้อแดงได้ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า
ตามที่ นายวีระ มุสิกพงษ์ กับแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ได้ทูลเกล้าถวายฎีกาให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ในวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ บริเวณประตูวิเศษไชยศรี พระบรมมหาราชวังนั้น สำนักราชเลขาธิการขอชี้แจงให้ทราบว่า ตามขั้นตอนที่เคยปฏิบัติมา เมื่อสำนักราชเลขาธิการได้รับการทูลเกล้าถวายฎีกาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษ การขอพระราชทานความเป็นธรรม และการขอพระราชทานความช่วยเหลือ สำนักราชเลขาธิการต้องส่งฎีกาทุกเรื่องไปให้รัฐบาลพิจารณาถวายความเห็นประกอบพระราชดำริต่อไป จึงขอแถลงข่าวมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ปณิธานแจง ส่งกระทรวงยุติธรรมตรวจก่อนขอความเห็นรัฐบาล
หลังจากสำนักราชเลขาฯแถลงการณ์ นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ขั้นตอนต่อไป หลังจากที่สำนักราชเลขาธิการส่งคำขอถวายฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาขอความคิดเห็นจากทางรัฐบาล ว่า
ถ้าเป็นกรณีถวายฎีกาทั่วไปตามโบราณราชประเพณี ขั้นตอนต่อจากนี้ คือ สำนักราชเลขาฯ จะส่งเรื่องมาที่รัฐบาล โดยผ่านทางกระทรวงยุติธรรม ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลก็รอให้กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบความถูกต้องตามขั้นตอน และเมื่อกระทรวงยุติธรรมตรวจสอบแล้วเสร็จ ซึ่งนั่นหมายถึง การตรวจสอบรายชื่อต่างๆด้วย จากนั้น ก็จะส่งกลับมาที่สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาลก็จะทำความเห็นประกอบไปที่สำนักราชเลขาฯ
ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการ ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการตรวจสอบที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรม และเมื่อกลับมาที่สำนักนายกฯ ก็จะมีการทำความเห็นประกอบส่งกลับไปเท่านั้น
รมว.ยุติธรรม เผยส่งกรมราชทัณฑ์ตรวจก่อนกลับมากระทรวง
วันนี้ (18 ส.ค.) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงขั้นตอนการตรวจสอบการยื่นถวายฎีกาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยื่นเมื่อวานที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มาถึงมือตนเอง ซึ่งเชื่อว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารที่นำส่งมา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบวัตถุประสงค์ของการขอฎีกาในครั้งนี้ว่าต้องการร้องทุกข์ หรือต้องการขอพระราชทานอภัยโทษ
หากพบว่า เป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ ... ก็จะส่งเรื่องให้กรมราชทัณฑ์ ตรวจสอบประวัติ และพิจารณาในส่วนของอัตราโทษของผู้ที่ร้องขอ ก่อนจะส่งกลับมายังกระทรวงยุติธรรมพิจารณา ตรวจสอบเอกสารที่ส่งมาว่าถูกต้องตามเงื่อนไขหรือไม่ แต่หากพบว่าไม่เข้าเกณฑ์ตามที่กำหนด ก็ถือว่าจบ ไม่ต้องดำเนินการใดๆต่อ ซึ่งที่ผ่านมานั้น
หากเป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ ให้ญาติ หรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา ส่งเรื่องและวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ก็สามารถส่งได้แล้ว แต่หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าทั้งหมดไม่เข้าเกณฑ์ก็ถือว่าสิ้นสุด
กรมราชภัณฑ์ไม่มีข้อมูลทักษิณ โยนเรื่องกลับยธ.
นายนที จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีที่ กรมราชทัณฑ์ อยู่ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประมวลคำพิพากษาของคดีและพฤติการณ์ของผู้ต้องโทษว่า เคยมีพฤติการณ์หลบหนี และสำนึกผิดหรือไม่ รวมทั้ง การตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์ถวายฎีกาตามประมวลกฎหมายอาญาว่า
ในกรณีการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยมีประวัติการรับโทษ ดังนั้นแม้กระทรวงยุติธรรม ส่งเรื่องมาให้ทางกรมพิจารณา ก็คงไม่สามารถให้ข้อมูลใด ๆ เพิ่มเติมได้ ซึ่งในส่วนนี้ กระทรวงยุติธรรมก็คงต้องไปตรวจสอบข้อมูลในทางคดีกับศาล ได้เพียงอย่างเดียว
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ซึ่งเมื่อทางกรมราชทัณฑ์ ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์ต่างๆ ของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้ ทำให้ผู้ที่จะพิจารณาความเหมาะสม กรณีฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ไปตกอยู่กับดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แต่เพียงผู้เดียว
ครม.ไม่แน่ใจจะหารือเรื่องการถวายฏีกาของกลุ่มเสื้อแดงหรือไม่
ช่วงเช้ามีรายงานข่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (18 ส.ค.) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณาเนื้อหาฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ของกลุ่มคนเสื้อแดง หลังสำนักเลขาธิการรับเรื่องและส่งให้รัฐบาลตามกระบวนการ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีจะได้หารือกับหน่วยงานที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล เช่น สำนักงานกฤษฎีกา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมถึงกระทรวงยุติธรรม โดยจะพิจารณาว่าการยื่นฎีกาดังกล่าวจะเข้าหลักเกณฑ์ข้อกฎหมายหรือไม่
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เปิดเผยภายหลังว่า การประชุม ครม. วันนี้ ในวาระไม่ได้มีการระบุเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาด้วย
นายกฯเผยรัฐบาลอาจใช้เวลา 60 วันตรวจสอบฎีกา
วันนี้ (18 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า หลังรัฐบาลได้รับเรื่องถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดงจากสำนักราชเลขาธิการแล้ว จะส่งให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาต่อไป โดยปกติต้องใช้เวลาตรวจสอบฎีกา 60 วัน แต่กรณีนี้มีความซับซ้อนและมีผู้ลงชื่อจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลามากกว่านั้น และไม่ทันการชุมนุมใหญ่ วันที่ 26 สิงหาคม ที่มีข่าวว่ากลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมเพื่อฟังคำตอบจากรัฐบาล
นายกฯยืนยันไม่มีการล้มฎีกา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่มีการหารือเรื่องการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเห็นว่าเหมือนการถวายฎีกาทั่วไป ที่ทางสำนักราชเลขาธิการ จะส่งเรื่องมาให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่าฎีกาดังกล่าวเป็นประเภทใด และส่งต่อไปยังหน่วยงานของรัฐบาลที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อสรุปความเห็น และส่งกลับไปยังสำนักราชเลขาธิการ ทั้งนี้ ยืนยันว่า รัฐบาลจะปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีการยับยั้งหรือล้มฎีกาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังขอความร่วมมือผู้ที่ถวายฎีกาดังกล่าว อย่าบิดเบือนข้อเท็จจริง และขอความร่วมมือสรุปข้อเท็จจริงส่งให้รัฐบาลประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อเป็นการสร้างความสบายใจให้กับประชาชน
จตุพรเผยรบ.ยื้อถวายฎีกาฯ อาจเร่งเสื้อแดงชุมนุมขับไล่เร็วขึ้น
นายจตุพร พรหมพันธุ์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เปิดเผยช่วงบ่ายวันนี้ (18 ส.ค.) ว่า หากรัฐบาลแสดงออกให้เห็นถึงความพยายามที่จะดึงเรื่องไว้ โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างการทำความเห็นประกอบ หรือพยายามล้มฎีกาก็จะเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มคนเสิ้อแดงต้องออกมาชุมนุมใหญ่เร็วขึ้น
นายจตุพร กล่าวว่า ตามขั้นตอนประเพณีปฏิบัติที่เคยมีมาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น สำนักราชเลขาธิการจะส่งเรื่องให้กับรัฐบาลเพื่อพิจารณาถวายความเห็นประกอบ ซึ่งรัฐบาลจะถวายความเห็นประกอบอย่างไรก็ได้ จะบอกว่าการถวายฎีกาไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายก็ได้ เพราะเป็นเพียงแค่ความเห็น
“แถลงการณ์(สำนักราชเลขาธิการ)มีความชัดเจนว่า รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ที่จะยับยั้งฎีกา ทำได้เพียงถวายความเห็นประกอบจะทำเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมเคยออกแถลงการณ์มาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้น แค่เพียงกระทรวงยุติธรรมส่งแถลงการณ์ให้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็เป็นอันเสร็จสิ้นแล้ว ความจริงแล้วในวันที่ 19 ส.ค.ก็สามารถถวายความเห็นประกอบได้แล้ว”
อย่างไรก็ดี จากรายงานข่าวที่เกิดขึ้นนับจากเมื่อวานจนถึงวันนี้ ทำให้พบเส้นทางที่สับสนไม่ชัดเจนของการถวายฏีกาครั้งนี้ของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า จะเป็นอย่างไรกันต่อไป ดังนั้น เว็บไซต์ http://www.dailyworldtoday.com/ จึงเกาะสถานการณ์ รวบรวมข่าวต่อเนื่องจากการถวายฏีกา มานำเสนอดังนี้
สำนักราชเลขาฯแถลงการณ์ขั้นตอนปฏิบัติหลังรับฎีกา
ช่วงบ่ายของวันที่ 17 ส.ค. สำนักราชเลขาธิการออกแถลงการณ์ ภายหลังจากที่กลุ่มคนเสื้อแดงได้ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า
ตามที่ นายวีระ มุสิกพงษ์ กับแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ได้ทูลเกล้าถวายฎีกาให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ในวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ บริเวณประตูวิเศษไชยศรี พระบรมมหาราชวังนั้น สำนักราชเลขาธิการขอชี้แจงให้ทราบว่า ตามขั้นตอนที่เคยปฏิบัติมา เมื่อสำนักราชเลขาธิการได้รับการทูลเกล้าถวายฎีกาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษ การขอพระราชทานความเป็นธรรม และการขอพระราชทานความช่วยเหลือ สำนักราชเลขาธิการต้องส่งฎีกาทุกเรื่องไปให้รัฐบาลพิจารณาถวายความเห็นประกอบพระราชดำริต่อไป จึงขอแถลงข่าวมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ปณิธานแจง ส่งกระทรวงยุติธรรมตรวจก่อนขอความเห็นรัฐบาล
หลังจากสำนักราชเลขาฯแถลงการณ์ นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ขั้นตอนต่อไป หลังจากที่สำนักราชเลขาธิการส่งคำขอถวายฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาขอความคิดเห็นจากทางรัฐบาล ว่า
ถ้าเป็นกรณีถวายฎีกาทั่วไปตามโบราณราชประเพณี ขั้นตอนต่อจากนี้ คือ สำนักราชเลขาฯ จะส่งเรื่องมาที่รัฐบาล โดยผ่านทางกระทรวงยุติธรรม ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลก็รอให้กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบความถูกต้องตามขั้นตอน และเมื่อกระทรวงยุติธรรมตรวจสอบแล้วเสร็จ ซึ่งนั่นหมายถึง การตรวจสอบรายชื่อต่างๆด้วย จากนั้น ก็จะส่งกลับมาที่สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาลก็จะทำความเห็นประกอบไปที่สำนักราชเลขาฯ
ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการ ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการตรวจสอบที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรม และเมื่อกลับมาที่สำนักนายกฯ ก็จะมีการทำความเห็นประกอบส่งกลับไปเท่านั้น
รมว.ยุติธรรม เผยส่งกรมราชทัณฑ์ตรวจก่อนกลับมากระทรวง
วันนี้ (18 ส.ค.) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงขั้นตอนการตรวจสอบการยื่นถวายฎีกาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยื่นเมื่อวานที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มาถึงมือตนเอง ซึ่งเชื่อว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารที่นำส่งมา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบวัตถุประสงค์ของการขอฎีกาในครั้งนี้ว่าต้องการร้องทุกข์ หรือต้องการขอพระราชทานอภัยโทษ
หากพบว่า เป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ ... ก็จะส่งเรื่องให้กรมราชทัณฑ์ ตรวจสอบประวัติ และพิจารณาในส่วนของอัตราโทษของผู้ที่ร้องขอ ก่อนจะส่งกลับมายังกระทรวงยุติธรรมพิจารณา ตรวจสอบเอกสารที่ส่งมาว่าถูกต้องตามเงื่อนไขหรือไม่ แต่หากพบว่าไม่เข้าเกณฑ์ตามที่กำหนด ก็ถือว่าจบ ไม่ต้องดำเนินการใดๆต่อ ซึ่งที่ผ่านมานั้น
หากเป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ ให้ญาติ หรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา ส่งเรื่องและวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ก็สามารถส่งได้แล้ว แต่หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าทั้งหมดไม่เข้าเกณฑ์ก็ถือว่าสิ้นสุด
กรมราชภัณฑ์ไม่มีข้อมูลทักษิณ โยนเรื่องกลับยธ.
นายนที จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีที่ กรมราชทัณฑ์ อยู่ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประมวลคำพิพากษาของคดีและพฤติการณ์ของผู้ต้องโทษว่า เคยมีพฤติการณ์หลบหนี และสำนึกผิดหรือไม่ รวมทั้ง การตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์ถวายฎีกาตามประมวลกฎหมายอาญาว่า
ในกรณีการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยมีประวัติการรับโทษ ดังนั้นแม้กระทรวงยุติธรรม ส่งเรื่องมาให้ทางกรมพิจารณา ก็คงไม่สามารถให้ข้อมูลใด ๆ เพิ่มเติมได้ ซึ่งในส่วนนี้ กระทรวงยุติธรรมก็คงต้องไปตรวจสอบข้อมูลในทางคดีกับศาล ได้เพียงอย่างเดียว
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ซึ่งเมื่อทางกรมราชทัณฑ์ ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์ต่างๆ ของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้ ทำให้ผู้ที่จะพิจารณาความเหมาะสม กรณีฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ไปตกอยู่กับดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แต่เพียงผู้เดียว
ครม.ไม่แน่ใจจะหารือเรื่องการถวายฏีกาของกลุ่มเสื้อแดงหรือไม่
ช่วงเช้ามีรายงานข่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (18 ส.ค.) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณาเนื้อหาฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ของกลุ่มคนเสื้อแดง หลังสำนักเลขาธิการรับเรื่องและส่งให้รัฐบาลตามกระบวนการ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีจะได้หารือกับหน่วยงานที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล เช่น สำนักงานกฤษฎีกา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมถึงกระทรวงยุติธรรม โดยจะพิจารณาว่าการยื่นฎีกาดังกล่าวจะเข้าหลักเกณฑ์ข้อกฎหมายหรือไม่
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เปิดเผยภายหลังว่า การประชุม ครม. วันนี้ ในวาระไม่ได้มีการระบุเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาด้วย
นายกฯเผยรัฐบาลอาจใช้เวลา 60 วันตรวจสอบฎีกา
วันนี้ (18 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า หลังรัฐบาลได้รับเรื่องถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดงจากสำนักราชเลขาธิการแล้ว จะส่งให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาต่อไป โดยปกติต้องใช้เวลาตรวจสอบฎีกา 60 วัน แต่กรณีนี้มีความซับซ้อนและมีผู้ลงชื่อจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลามากกว่านั้น และไม่ทันการชุมนุมใหญ่ วันที่ 26 สิงหาคม ที่มีข่าวว่ากลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมเพื่อฟังคำตอบจากรัฐบาล
นายกฯยืนยันไม่มีการล้มฎีกา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่มีการหารือเรื่องการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเห็นว่าเหมือนการถวายฎีกาทั่วไป ที่ทางสำนักราชเลขาธิการ จะส่งเรื่องมาให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่าฎีกาดังกล่าวเป็นประเภทใด และส่งต่อไปยังหน่วยงานของรัฐบาลที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อสรุปความเห็น และส่งกลับไปยังสำนักราชเลขาธิการ ทั้งนี้ ยืนยันว่า รัฐบาลจะปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีการยับยั้งหรือล้มฎีกาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังขอความร่วมมือผู้ที่ถวายฎีกาดังกล่าว อย่าบิดเบือนข้อเท็จจริง และขอความร่วมมือสรุปข้อเท็จจริงส่งให้รัฐบาลประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อเป็นการสร้างความสบายใจให้กับประชาชน
จตุพรเผยรบ.ยื้อถวายฎีกาฯ อาจเร่งเสื้อแดงชุมนุมขับไล่เร็วขึ้น
นายจตุพร พรหมพันธุ์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เปิดเผยช่วงบ่ายวันนี้ (18 ส.ค.) ว่า หากรัฐบาลแสดงออกให้เห็นถึงความพยายามที่จะดึงเรื่องไว้ โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างการทำความเห็นประกอบ หรือพยายามล้มฎีกาก็จะเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มคนเสิ้อแดงต้องออกมาชุมนุมใหญ่เร็วขึ้น
นายจตุพร กล่าวว่า ตามขั้นตอนประเพณีปฏิบัติที่เคยมีมาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น สำนักราชเลขาธิการจะส่งเรื่องให้กับรัฐบาลเพื่อพิจารณาถวายความเห็นประกอบ ซึ่งรัฐบาลจะถวายความเห็นประกอบอย่างไรก็ได้ จะบอกว่าการถวายฎีกาไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายก็ได้ เพราะเป็นเพียงแค่ความเห็น
“แถลงการณ์(สำนักราชเลขาธิการ)มีความชัดเจนว่า รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ที่จะยับยั้งฎีกา ทำได้เพียงถวายความเห็นประกอบจะทำเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมเคยออกแถลงการณ์มาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้น แค่เพียงกระทรวงยุติธรรมส่งแถลงการณ์ให้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็เป็นอันเสร็จสิ้นแล้ว ความจริงแล้วในวันที่ 19 ส.ค.ก็สามารถถวายความเห็นประกอบได้แล้ว”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น