--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไม่สนแรงกดดันค่าเงินบาท แบงก์ชาติยืนกรานทำดีแล้ว


เศรษฐกิจไทยจะฟื้นเมื่อไร และจะฟื้นเป็นรูปตัวยู รูปตัววีหรือรูปตัวดับเบิลยู ยังคงเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลให้กับภาคธุรกิจโดยตลอด แต่ที่เป็นแรงกดดันและภาคธุรกิจโดยเฉพาะภาคธุรกิจส่งออกร้องให้ภาครัฐแก้ปัญหามากที่สุดในขณะนี้คือ เรื่องของค่าเงินบาทซึ่ง นายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)ได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง “ภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทยในปัจจุบัน” โดยสนับสนุนนโยบายใช้ค่าเงินบาทอ่อนของม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเพิ่มรายได้ให้ภาคการส่งออก การท่องเที่ยวและการเกษตรโดยเห็นว่าเงินบาทควรอ่อนค่าที่ระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งไตรมาสแรกปี 2552 ธปท. สามารถดูแลให้เงินบาทอ่อนค่าประมาณ 35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

แต่กลับมาแข็งค่าไตรมาส 2 อยู่ที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯอดีตรองนายกรัฐมนตรียังได้เสนอให้รัฐบาลเร่งปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอี ท่องเที่ยว ที่อยู่อาศัย อุปโภคบริโภค เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์หดตัวถึง 220,000 ล้านบาท และให้รัฐบาลเร่งการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งจะต้องไม่ขึ้นภาษีแต่จะต้องลดภาษีแทน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวโดยเร็ว“หากรัฐบาลทำตามข้อเสนอแนะทั้ง 3 เรื่องได้เร็ว จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเป็นรูปตัวยูกลับไปอยู่ระดับใกล้เคียงไตรมาส 3ปี 2551 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 3.9 ภายในเวลา12 เดือนจากนี้ หากรัฐบาลดำเนินนโยบายล่าช้าจะต้องใช้เวลาฟื้นตัวถึง 18 เดือน ส่วนจีดีพีไตรมาส 4 ปีนี้เทียบกับปีที่ผ่านมาเป็นบวก เพราะจีดีพีไตรมาส 4 ปีที่แล้วต่ำมากติดลบร้อยละ 4.3เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนัก”และไม่เพียงแค่นายโอฬารหรือ ม.ร.ว.จัตุมงคล จะมองในเรื่องของค่าเงินบาท ก่อนหน้านี้ นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ได้ออกมาระบุเช่นกันว่า ธปท. ไม่ได้บริหารจัดการค่าเงินบาทให้เหมาะสมทำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง กระทบการส่งออกของไทยและนโยบายการเงินช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้

3 กูรูหรือ 3 เซียนเศรษฐกิจที่ออกมาพูดสอดคล้องกันว่า ธปท.จำเป็นที่จะต้องดูแลค่าเงินบาทให้เหมาะสมกว่านี้ ทำเอานางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. หงุดหงิดและรับไม่ได้ จนถึงกับออกมาย้อนถามว่าไม่เหมาะสมอย่างไรธปท. ดูแลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มกับเงินสกุลภูมิภาคและประเทศคู่แข่ง เรื่องเงินบาทเอาความรู้สึกมาพูดไม่ได้ต้องเอาข้อมูลมาดูกัน ยืนยันอีกครั้งว่าอย่าดูค่าเงินบาทเป็นรายวันและอย่านำไปเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯการพิจารณาค่าเงินบาทต้องเทียบกับคู่ค้า ซึ่งเงินบาทเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับเงินสกุลอื่นๆ มีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นบ้างแต่เป็นเพียงเล็กน้อย และหากเทียบกับบางสกุลเงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่า และไม่ได้ทำให้ไทยเสียความสามารถทางการแข่งขันในภาพรวมของการส่งออก แต่หากพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรมก็จะมีความแตกต่างกันบ้าง“อยากเรียนถามว่าไม่เหมาะสมอย่างไร อยากให้ดูแลให้เกาะกลุ่มกับภูมิภาค เราก็ทำได้ เอาความรู้สึกมาพูดไม่ได้หรอก แต่ต้องนำเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาประกอบกัน”

นางธาริษา กล่าวนางธาริษาได้มีการยืนยันด้วยว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการที่ประเทศไทยเกินดุลการค้า และมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งก็เหมือนกับตลาดหุ้นในภูมิภาคไม่ได้มีความผิดปกติ ไม่ได้เกิดจากการเก็งกำไร และไม่มีแก๊งป่วนบาท“ค่าเงินบาทไม่ได้แข็งค่าจนสุดโต่ง จากต้นปีที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มาเคลื่อนไหวที่ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในปัจจุบัน ยืนยันค่าเงินบาทที่แท้จริงไม่ได้ทำให้ไทยเสียความสามารถทางการแข่งขัน เพราะเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มกับเงินสกุลคู่ค้า”อย่างไรก็ตาม นางธาริษากล่าวว่าไม่มีใครบอกได้ว่าอัตราค่าเงินเท่าไรถึงจะเหมาะสม ผู้ที่จะชี้ได้คือตลาดซื้อขายเงินตราหากมีความพยายามแทรกแซง โดยตลาดเห็นว่าเป็นอัตราที่ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ก็จะเกิดการเก็งกำไรขึ้น“หากเกิดเก็งกำไร เราจะต้านได้แค่ไหน ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนที่เท่าไร เหมาะสมหรือไม่ ควรปล่อยไปตามตลาด”

แต่ก็ยอมรับว่าที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้ปล่อยอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอย่างสิ้นเชิง โดยดูแลในระดับหนึ่งแต่ไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องอยู่ในระดับใด“เราไม่ ได้ปล่อยมันไป ก็ดูระดับหนึ่งแค่นั้นเอง แต่ไม่ได้ไปเขียนบนกระดานว่า เราอยากได้ 35 บาทหรือ 36 บาท เขียนตัวเลขใส่กระดานอย่างนั้นไม่ได้”ส่วนที่มีภาคธุรกิจเอกชนบอกว่า ธปท. ไม่ต้องประกาศว่าจะให้อัตราอยู่เท่าไร แต่ให้ช่วยดูแลในทางลับจะเป็นไปได้หรือไม่นั้นผู้ว่าการ ธปท. ความจริงเรื่องค่าเงินไม่ควรพูดเลย ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ตลาดจะจับสัญญาณทั้งสิ้นสำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง นางธาริษากล่าวว่าตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 2 หลายตัวมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจไทยดีขึ้น ทั้งข้อมูลเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ เช่น ตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น ดังนั้น หากไม่มีข่าวร้ายที่รุนแรง เช่น การล้มละลายของสถาบันการเงินเกิดขึ้นอีกเศรษฐกิจก็น่าจะดีขึ้น โดยปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินในไตรมาส 2 ที่ปรับตัวดีขึ้นจะเกิดขึ้นต่อเนื่องหรือไม่“แต่ก็ยอมรับว่าปัจจัยทางการเมืองก็มีความสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจ หากการเมืองนิ่ง ประชาชนและนักลงทุนจะมีความเชื่อมั่นและมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น”

และในส่วนของข้อเรียกร้องให้มีการแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก นางธาริษามองว่าเรื่องนี้เป็นข้อเรียกร้องมาทุกยุคสมัย แต่สิ่งที่ต้องคำนึง คือ ทุกนโยบายมีทั้งคนได้คนเสียเช่น เรื่องลดดอกเบี้ย ผู้ส่งออกต้องการให้ลดมากๆ แต่ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินออมได้รับผลกระทบ ดังนั้น ต้องดูความพอดีเหมาะสมของประเทศซึ่งแบบนี้ค่อนข้างที่จะชัดเจนแล้วว่า ไม่ว่าใครพูดหรือภาคธุรกิจจะมองอย่างไร ผู้ว่าการ ธปท. ก็ยืนกรานเรื่องความเป็นอิสระในการดูแลค่าเงินบาทตามสไตล์ ธปท. เช่นเดิม มิน่าแม้กระทั่ง นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังไม่กล้าสั่งการอะไรมากนัก เพราะเกรงจะถูกจวกว่า“แทรกแซง” นี่เอง ■

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น