
วันศุกร์ 21 สิงหาคม 2009 — chapter 11
SCENARIOS: Will Thaksin petition deepen Thai political crisisBy Martin Petty, August 17, 2009ที่มา – Reutersแปลและเรียบเรียง – chapter 11
SCENARIOS: Will Thaksin petition deepen Thai political crisisBy Martin Petty, August 17, 2009ที่มา – Reutersแปลและเรียบเรียง – chapter 11
กรุงเทพ – ผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มากกว่า ๒๐,๐๐๐ คน ได้ชุมนุมในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ใจกลางกรุงเทพเมื่อวันจันทร์ และยื่นฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้กับมหาเศรษฐีที่กำลังลี้ภัย
แผนการการยื่นถวายฎีกาได้สร้างความหวาดกลัวว่า จะทำให้วิกฤติทางการเมืองของไทยที่เกิดขี้นมาในเวลาสี่ปีนี้ต้องตึงเครียดมากขี้น และจะยิ่งทำลายชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพเอื้อต่อการลงทุน และน่าท่องเที่ยว
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ซึ่งผู้นำส่วนใหญ่เป็นชาวชนบทที่ยากจนได้กล่าวว่า ได้มีประชาชนร่วมลงชื่อการยื่นถวายฎีกาถึง ๓.๕ ล้านคน ซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับพวกคลั่งเจ้าและชนชั้นกลางที่เกลียดทักษิณ
บทความต่อจากนี้ จะเป็นมุมมองของเหตุการณ์ในอนาคตข้างหน้า
ความพยายามที่จะยื่นถวายฎีกาอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่สงบ
การยื่นถวายฎีกาต่อองค์กษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดชอันเป็นที่เคารพ เป็นการกระตุ้นให้เกิดความเกลียดชังในหมู่คนที่ต่อต้านทักษิณ
การยื่นถวายฎีกาได้ผ่านพ้นไปโดยปราศจากเหตุการณ์ใดๆ แต่โอกาสที่ฝ่ายพันธมิตรคลั่งเจ้าจะออกมาประท้วงในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่า เป็นการระคายเบื้องพระยุคลบาท สร้างความน่าสะพรึงกลัวว่าจะมีการปะทะกัน หรือแม้แต่การแทรกแซงของกองทัพ
จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ฝ่ายพันธมิตรได้สัญญาว่าจะไม่ชุมนุมต่อต้านการยื่นถวายฎีกา โดยกล่าวว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะขัดขวางในเรื่องนี้
ผู้วิเคราะห์ข่าวส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า การยื่นถวายฎีกาไม่น่าจะก่อให้เกิดสถานการณ์รุนแรง
พวกเขากล่าวว่า จุดประสงค์ที่อยู่เบื้องหลังการยื่นถวายฎีกานี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแรงสนับสนุนจำนวนมหาศาลที่มีต่อทักษิณ เพื่อให้กระแสการเคลื่อนไหวยังคงมีอย่างต่อเนื่อง พวกเขามองว่าโอกาสที่ทักษิณที่กำลังลี้ภัยจะได้รับการประทานอภัยโทษนั้นมีน้อยมาก ซึ่งทักษิณยังคงยืนยันว่า การถูกตัดสินว่ากระทำผิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง
นายวีระ ประทีปชัยกูร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เขียนไว้ว่า “ไม่สำคัญว่าทักษิณจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ แต่ที่สำคัญที่สุด จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความนิยมที่ยังมีต่อทักษิณอย่างมาก”
นักลงทุนในตลาดหุ้นต่างเป็นกังวลล่วงหน้าก่อนที่จะมีการชุมนุมในวันจันทร์ แต่การที่หุ้นตกในวันนั้นเป็นเพราะปัจจัยอื่น ในขณะที่การยื่นถวายฎีกายังไม่เสร็จสิ้น ตลาดหุ้นจะยังมีราคาที่ผันผวนต่อไป
อภิสิทธิ์รวบรวมเสียงสนับสนุนจากชาวชนบท เพือรักษาอำนาจ
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้แผนแล้วแผนเล่า โดยตั้งเป้าจะเอาชนะใจคนยากจนชาวชนบท ซึ่งเป็นฐานเสียงของทักษิณ โดยมุ่งหวังจะรักษาอำนาจ และเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่จะได้คะแนนเสียงนำพรรคเพื่อไทยที่นิยมทักษิณ
ดูเหมือนอภิสิทธิ์ทำให้เศรษฐกิจกระเตื้องขี้น แต่ความพยายามที่จะเพิ่มเสียงสนับสนุนจากคนยากจนดูเหมือนจะไม่ได้ผลนัก พวกเขาเหล่านั้นยังคงนิยมในตัวทักษิณ เนื่องจากนโยบายประชานิยมที่ทักษิณได้ทำไว้ในสมัยเป็นนายก
รศ. ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล ภาควิชารัฐศาสตร์ กล่าวว่า “อภิสิทธิ์รู้ดีว่าเป็นเรื่องสำคัญเพียงใดในการที่จะดึงฐานเสียงของทักษิณ และความพยายามที่จะเลียนแบบนโยบายประชานิยม”
“แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าคนยากจนยังมองไม่เห็นผลจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่อภิสิทธิ์ได้สัญญาไว้ พวกเขาคงไม่เปลี่ยนใจ”
ถ้าการเมืองไทยยังคงอยู่ในทางตันแบบนี้ ราคาในตลาดหุ้นไทยยังคงได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในเอเซีย
ถ้ามีการเลือกตั้ง พรรคนิยมทักษิณจะนอนมา
อภิสิทธิ์ปฎิเสธที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่จนกระทั่งเศรษฐกิจฟื้นตัว และจนกว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นักวิจารณ์กล่าวว่า อภิสิทธิ์กำลังซื้อเวลาเพื่อหาทางที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์มีฐานเสียงที่แข็งแกร่งมากขี้น
เอแบคโพล สำรวจความเห็นมาสองครั้งเผยว่า อภิสิทธิ์มีความสามารถน้อยกว่าทักษิณ ซึ่งความนิยมของทักษิณจะช่วยให้พรรคเพื่อไทยกลับมาชนะในการเลือกตั้งครั้งหน้า แม้จะไม่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากอย่างเบ็ดเสร็จ
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (scenario) ต่อไปนี้จะนำไปสู่ความวุ่นวายมากขี้น เนื่องจากหลายๆกลุ่มที่ต่อต้านทักษิณไม่ยอมรับรัฐบาลอันเสมือนเป็นตัวแทนของอาชญากรที่กำลังหลบหนี และพวกเขาเชื่อว่าเป็นการท้าท้ายต่อระบอบกษัตริย์
ด้วยภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเช่นนี้ อาจทำให้ตลาดหุ้นร่วง
สถานการณ์ที่ต่างคนต่างคุมเชิง, การยึดอำนาจของกองทัพ
ดูเหมือนว่าไม่น่าจะเกิดขี้นได้ในขั้นนี้ แต่จะตัดการทำรัฐประหารโดยกองทัพทิ้งออกไปเลยก็ไม่ได้ สำหรับประเทศที่มีประชาธิปไตยอย่างลุ่มๆดอนๆ และมีการทำรัฐประหารหรือพยายามที่จะทำรัฐประหารถึง ๑๘ ครั้ง ในรอบ ๗๗ ปี
กระแสข่าวลือเรื่องรัฐประหารยังคงวนเวียนอยู่ และนักวิเคราะห์กล่าวว่า อภิสิทธิ์ยังคงได้รับการหนุนหลังจากกองทัพที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองและกระหายอำนาจ และยังคงบงการอภิสิทธิ์ได้อยู่
จาคอบ แรมเซย์ นักวิเคราะห์จากคอนโทรลริสค์กล่าวว่า “มุมมองจากวงในยังคงเห็นว่า อภิสิทธิ์จะยังได้รับการหนุนหลังจากทหาร เพราะทหารยังไม่สามารถหาคนมาแทนได้”
ภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้ ย่อมเป็นการฝืนความต้องการของสังคม หลังจากการทำรัฐประหารปล้นอำนาจของทักษิณในปี พ.ศ.๒๕๔๙ กองทัพยังคงอยู่เบื้องหลังของรัฐบาลมือสมัครเล่นชุดนี้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อกู้ความมีเสถียรภาพหรือ
อภิสิทธิ์กล่าวว่า เขามีความมุ่งมั่นที่จะให้มีการสมานฉันท์แห่งชาติ แต่ดูเหมือนว่าแต่ละฝ่ายต่างไม่ยอมรอมชอมกัน และเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขี้นได้ในเร็ววันนี้
คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ส่งมอบรายงานต่อรัฐสภา ซึ่งดูเหมือนว่าฝ่ายต่อต้านทักษิณจะไม่เห็นด้วยกับความพยายามของฝ่ายสนับสนุนทักษิณ ที่จะให้มีการนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบถึงสองพรรค
ยูเรเซียกรุ๊ป (Eurasia Group) ได้ส่งรายงานถึงลูกค้าว่า “จะต้องได้รับการเห็นชอบจากกองทัพ ราชวงศ์ และศักดินาในกรุงเทพ”
“นับว่าเป็นเรื่องยากสำหรับกำลังฝ่ายต่อต้านทักษิณ เนื่องจากพวกนี้เป็นกังวลว่าถ้ามีการยินยอม จะเป็นการนำไปสู่การตั้งรัฐบาลของฝ่ายนิยมทักษิณ และยิ่งประวัติการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ที่ขาดความสามารถในการบริหารงาน”
มติจากมหาชนในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้จะเป็นหนทางอีกยาวไกล ซึ่งจะช่วยรักษาความแตกแยกในทางการเมือง ถ้ามีการแก้ไขตลาดหุ้นจะขานรับด้วยความยินดี แต่จะไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าผลที่ได้คือรัฐบาลเงาของทักษิณ
แผนการการยื่นถวายฎีกาได้สร้างความหวาดกลัวว่า จะทำให้วิกฤติทางการเมืองของไทยที่เกิดขี้นมาในเวลาสี่ปีนี้ต้องตึงเครียดมากขี้น และจะยิ่งทำลายชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพเอื้อต่อการลงทุน และน่าท่องเที่ยว
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ซึ่งผู้นำส่วนใหญ่เป็นชาวชนบทที่ยากจนได้กล่าวว่า ได้มีประชาชนร่วมลงชื่อการยื่นถวายฎีกาถึง ๓.๕ ล้านคน ซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับพวกคลั่งเจ้าและชนชั้นกลางที่เกลียดทักษิณ
บทความต่อจากนี้ จะเป็นมุมมองของเหตุการณ์ในอนาคตข้างหน้า
ความพยายามที่จะยื่นถวายฎีกาอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่สงบ
การยื่นถวายฎีกาต่อองค์กษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดชอันเป็นที่เคารพ เป็นการกระตุ้นให้เกิดความเกลียดชังในหมู่คนที่ต่อต้านทักษิณ
การยื่นถวายฎีกาได้ผ่านพ้นไปโดยปราศจากเหตุการณ์ใดๆ แต่โอกาสที่ฝ่ายพันธมิตรคลั่งเจ้าจะออกมาประท้วงในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่า เป็นการระคายเบื้องพระยุคลบาท สร้างความน่าสะพรึงกลัวว่าจะมีการปะทะกัน หรือแม้แต่การแทรกแซงของกองทัพ
จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ฝ่ายพันธมิตรได้สัญญาว่าจะไม่ชุมนุมต่อต้านการยื่นถวายฎีกา โดยกล่าวว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะขัดขวางในเรื่องนี้
ผู้วิเคราะห์ข่าวส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า การยื่นถวายฎีกาไม่น่าจะก่อให้เกิดสถานการณ์รุนแรง
พวกเขากล่าวว่า จุดประสงค์ที่อยู่เบื้องหลังการยื่นถวายฎีกานี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแรงสนับสนุนจำนวนมหาศาลที่มีต่อทักษิณ เพื่อให้กระแสการเคลื่อนไหวยังคงมีอย่างต่อเนื่อง พวกเขามองว่าโอกาสที่ทักษิณที่กำลังลี้ภัยจะได้รับการประทานอภัยโทษนั้นมีน้อยมาก ซึ่งทักษิณยังคงยืนยันว่า การถูกตัดสินว่ากระทำผิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง
นายวีระ ประทีปชัยกูร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เขียนไว้ว่า “ไม่สำคัญว่าทักษิณจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ แต่ที่สำคัญที่สุด จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความนิยมที่ยังมีต่อทักษิณอย่างมาก”
นักลงทุนในตลาดหุ้นต่างเป็นกังวลล่วงหน้าก่อนที่จะมีการชุมนุมในวันจันทร์ แต่การที่หุ้นตกในวันนั้นเป็นเพราะปัจจัยอื่น ในขณะที่การยื่นถวายฎีกายังไม่เสร็จสิ้น ตลาดหุ้นจะยังมีราคาที่ผันผวนต่อไป
อภิสิทธิ์รวบรวมเสียงสนับสนุนจากชาวชนบท เพือรักษาอำนาจ
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้แผนแล้วแผนเล่า โดยตั้งเป้าจะเอาชนะใจคนยากจนชาวชนบท ซึ่งเป็นฐานเสียงของทักษิณ โดยมุ่งหวังจะรักษาอำนาจ และเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่จะได้คะแนนเสียงนำพรรคเพื่อไทยที่นิยมทักษิณ
ดูเหมือนอภิสิทธิ์ทำให้เศรษฐกิจกระเตื้องขี้น แต่ความพยายามที่จะเพิ่มเสียงสนับสนุนจากคนยากจนดูเหมือนจะไม่ได้ผลนัก พวกเขาเหล่านั้นยังคงนิยมในตัวทักษิณ เนื่องจากนโยบายประชานิยมที่ทักษิณได้ทำไว้ในสมัยเป็นนายก
รศ. ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล ภาควิชารัฐศาสตร์ กล่าวว่า “อภิสิทธิ์รู้ดีว่าเป็นเรื่องสำคัญเพียงใดในการที่จะดึงฐานเสียงของทักษิณ และความพยายามที่จะเลียนแบบนโยบายประชานิยม”
“แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าคนยากจนยังมองไม่เห็นผลจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่อภิสิทธิ์ได้สัญญาไว้ พวกเขาคงไม่เปลี่ยนใจ”
ถ้าการเมืองไทยยังคงอยู่ในทางตันแบบนี้ ราคาในตลาดหุ้นไทยยังคงได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในเอเซีย
ถ้ามีการเลือกตั้ง พรรคนิยมทักษิณจะนอนมา
อภิสิทธิ์ปฎิเสธที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่จนกระทั่งเศรษฐกิจฟื้นตัว และจนกว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นักวิจารณ์กล่าวว่า อภิสิทธิ์กำลังซื้อเวลาเพื่อหาทางที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์มีฐานเสียงที่แข็งแกร่งมากขี้น
เอแบคโพล สำรวจความเห็นมาสองครั้งเผยว่า อภิสิทธิ์มีความสามารถน้อยกว่าทักษิณ ซึ่งความนิยมของทักษิณจะช่วยให้พรรคเพื่อไทยกลับมาชนะในการเลือกตั้งครั้งหน้า แม้จะไม่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากอย่างเบ็ดเสร็จ
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (scenario) ต่อไปนี้จะนำไปสู่ความวุ่นวายมากขี้น เนื่องจากหลายๆกลุ่มที่ต่อต้านทักษิณไม่ยอมรับรัฐบาลอันเสมือนเป็นตัวแทนของอาชญากรที่กำลังหลบหนี และพวกเขาเชื่อว่าเป็นการท้าท้ายต่อระบอบกษัตริย์
ด้วยภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเช่นนี้ อาจทำให้ตลาดหุ้นร่วง
สถานการณ์ที่ต่างคนต่างคุมเชิง, การยึดอำนาจของกองทัพ
ดูเหมือนว่าไม่น่าจะเกิดขี้นได้ในขั้นนี้ แต่จะตัดการทำรัฐประหารโดยกองทัพทิ้งออกไปเลยก็ไม่ได้ สำหรับประเทศที่มีประชาธิปไตยอย่างลุ่มๆดอนๆ และมีการทำรัฐประหารหรือพยายามที่จะทำรัฐประหารถึง ๑๘ ครั้ง ในรอบ ๗๗ ปี
กระแสข่าวลือเรื่องรัฐประหารยังคงวนเวียนอยู่ และนักวิเคราะห์กล่าวว่า อภิสิทธิ์ยังคงได้รับการหนุนหลังจากกองทัพที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองและกระหายอำนาจ และยังคงบงการอภิสิทธิ์ได้อยู่
จาคอบ แรมเซย์ นักวิเคราะห์จากคอนโทรลริสค์กล่าวว่า “มุมมองจากวงในยังคงเห็นว่า อภิสิทธิ์จะยังได้รับการหนุนหลังจากทหาร เพราะทหารยังไม่สามารถหาคนมาแทนได้”
ภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้ ย่อมเป็นการฝืนความต้องการของสังคม หลังจากการทำรัฐประหารปล้นอำนาจของทักษิณในปี พ.ศ.๒๕๔๙ กองทัพยังคงอยู่เบื้องหลังของรัฐบาลมือสมัครเล่นชุดนี้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อกู้ความมีเสถียรภาพหรือ
อภิสิทธิ์กล่าวว่า เขามีความมุ่งมั่นที่จะให้มีการสมานฉันท์แห่งชาติ แต่ดูเหมือนว่าแต่ละฝ่ายต่างไม่ยอมรอมชอมกัน และเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขี้นได้ในเร็ววันนี้
คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ส่งมอบรายงานต่อรัฐสภา ซึ่งดูเหมือนว่าฝ่ายต่อต้านทักษิณจะไม่เห็นด้วยกับความพยายามของฝ่ายสนับสนุนทักษิณ ที่จะให้มีการนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบถึงสองพรรค
ยูเรเซียกรุ๊ป (Eurasia Group) ได้ส่งรายงานถึงลูกค้าว่า “จะต้องได้รับการเห็นชอบจากกองทัพ ราชวงศ์ และศักดินาในกรุงเทพ”
“นับว่าเป็นเรื่องยากสำหรับกำลังฝ่ายต่อต้านทักษิณ เนื่องจากพวกนี้เป็นกังวลว่าถ้ามีการยินยอม จะเป็นการนำไปสู่การตั้งรัฐบาลของฝ่ายนิยมทักษิณ และยิ่งประวัติการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ที่ขาดความสามารถในการบริหารงาน”
มติจากมหาชนในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้จะเป็นหนทางอีกยาวไกล ซึ่งจะช่วยรักษาความแตกแยกในทางการเมือง ถ้ามีการแก้ไขตลาดหุ้นจะขานรับด้วยความยินดี แต่จะไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าผลที่ได้คือรัฐบาลเงาของทักษิณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น