
Posted on 4 เมษายน 2008 by Kosol Anusim
ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนคนสำคัญคนหนึ่งของไทย ได้เสนอแนวคิด “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ ”การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication)” ไว้ในหนังสือ “ระหว่างกระจกกับตะเกียง” (หน้า 218-220) ไว้ 4 ประการ คือ
1. นักสื่อสารสาธารณะ จะต้องตระหนักว่า ณ นาทีที่เขาส่งสารสาธารณะออกไปนั้น เขาคือผู้ผูกขาดการนำเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็นนั้นๆโดยไร้การแข่งขันใดๆ ดังนั้น สานของเขาควรจะเป็นอะไรที่บ่งบอกได้ว่า เขา (1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ (2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ (3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ และ (4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน
2. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะคัดเลือกและนำเสนอสารของตนอย่างเป็นธรรม และอย่างเคารพความเที่ยงตรง โดยจะต้องซึมซับการใฝ่หาความยุติธรรมจนกลายเป็นนิสัย (habit of justice) ฉะนั้นเขาจะไม่เจาะจงตกแต่งหรือบิดเบือนความคิดตามลีลาของนักโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยการตั้งใจหรือปกปิดหรือซ่อนเร้นจุดสำคัญๆ ซึ่งผู้รับสารจำเป็นต้องทราบในอันที่จะใช้เป็นหลักในการประเมินข้อมูลและข้อคิดเห็นของเขาได้อย่างถูกต้อง ภารกิจตลอดกาลของเขาคือการสร้างความเสมอภาคแห่งโอกาสของความคิดต่างๆ (equality of opportunity among ideas)
3. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะมีนิสัยที่ชอบตริตรองเรื่องราวเกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ ให้มากๆ จนกระทั่งเห็นว่าเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องใหญ่โตกว่าเรื่องส่วนตัว ในกรณีที่การนำเสนอของเขาจำเป็นต้องมีมุมมองเฉพาะของตนเอง เขาควรอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเปิดเผยที่มาของข้อมูล และการก่อรูปของความคิดเห็นของตนอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งความพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบเจตนารมณ์ที่แท้จริงของตนได้ตามหลักของความโปร่งใสด้วย
4. เต็มใจที่จะรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับของตน ทว่าในท้ายที่สุด การสื่อสารของเขาเองจะต้องไม่ยินยอมสูญเสียหลักการที่เขาเชื่อมั่นว่าได้ผ่านการตริตรองมาเป็นอย่างดีแล้ว โดยไม่ประนีประนอมง่ายๆ นอกจากนี้ นักสื่อสารสาธารณะที่ทำงานของตนมาอย่างเต็มที่แล้ว จะต้องยินดีที่จะประจันหน้ากับการท้าทายใดๆมากกว่าการสมยอมอย่างผิดๆ
“นักสื่อสารสาธารณะ” ในความหมายของ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ในที่นี้ ไม่ใช่เพียงแค่สื่อสารมวลชน แต่รวมถึงบุคคลสาธารณะทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ผู้บริหารของรัฐและเอกชน ข้าราชการ นักวิชาชีพต่างๆ ที่จำเป็นต้องสื่อสารข้อความทางสังคมกับสาธารณชน ยกเว้นกิจกรรมที่เป็นความบันเทิงโดยตรงล้วนๆ
เมื่อพิเคราะห์ตามแนวคิดที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา เสนอแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาทันทีว่า หากยึดตามแนวคิดดังกล่าว “นักสื่อสารสาธารณะ” ในสังคมไทย ทั้งสื่อสารมวลชนและบุคคลสาธารณะ จะมีสักกี่สื่อและกี่คนที่ยังคงมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 4 ข้อนั้น
ปัจจุบันสื่อสาธารณะได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสื่อสาธารณะขึ้นมาถึงสองหน่วยงาน คือ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS ที่แปรมาจากสถานีโทรทัศน์ ITV และสถานีโทรทัศน์ NBT ที่เปลี่ยนชื่อมาจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งสื่อสาธารณะทั้งสองแห่ง กิดขึ้นจากการผลักดันของผู้มีอำนาจทางการเมืองต่างวาระกัน โดย สถานีโทรทัศน์ Thai PBS จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ส่วนสถานีโทรทัศน์ NBT จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งสื่อสาธารณะทั้งสองแห่งต่างก็ได้รับการกล่าวอ้างว่าจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสื่อสาธารณะที่มุ่งประโยชน์แก่สาธารณชน ไม่ใช่เป็นกระบอกเสียงให้แก่รัฐบาล
คำถามที่จะต้องถามก็คือ สื่อสาธารณะดังกล่าว มีความน่าเชื่อถือเพียงใดที่จะเป็นไปตามหลัก “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ได้นำเสนอไว้ ทั้งนี้จะต้องย้อนกลับไปพิจารณาบุคคลสาธารณะที่จัดอยู่ในฐานะ “นักการสื่อสารสาธารณะ” ซึ่งได้ก่อตั้งสื่อสาธารณะขึ้นมา นั่นคือคือนักการเมือง รวมถึงผู้ที่มีส่วนในการก่อตั้งและดำเนินงานสื่อสาธารณะทั้งสองแห่ง ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามแนวคิดทั้ง 4 ประการนั้นหรือไม่
ถ้าหากมีคุณสมบัติของผู้ก่อตั้งและผู้บริหารกิจการครบถ้วนตามแนวคิดทั้ง 4 ข้อ ย่อมจะเชื่อได้ว่า สื่อสาธารณะทั้ง 2 แห่ง จะสามารถดำรงฐานะความเป็นสื่อสาธารณะที่รับใช้ประชาชนและสังคม โดยการให้ข้อมูลข่าวสารที่ดี เหมาะสม น่าเชื่อถือ หลากหลายแง่มุม ยึดถือมีความเป็นธรรมและเที่ยงตรง มุ่งประโยชน์ส่วนรวมและโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมถึงการยืนหยัดในหลักการแห่งความเป็นสื่อ ไม่ยอมสยบต่ออำนาจใดๆที่เข้ามาแทรกแซงให้สูญเสียความเป็นสื่อสาธารณะ
ปัญหาในกรณีก็คือ นักการเมืองผู้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “สื่อสาธารณะ” ตามแนวคิด“ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสื่อสาธารณะทั้ง 2 แห่ง มีฐานะอันชวนให้สงสัยยิ่งว่า ขาดคุณสมบัติตามแนวคิดทั้ง 4 ข้อที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ได้เสนอไว้หรือไม่ เพื่อให้พิจารณาได้ง่ายขึ้น จึงขอยกหลักการในข้อแรกมาให้เทียบเคียงกับพฤติกรรมการสื่อสารของนักการเมืองดังนี้
(1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ - ขอให้พิจารณาดูว่า นักการเมืองไทยมีความรู้เพียงพอในเรื่องที่เขาสื่อสารออกมาหรือไม่ หากมีความรู้เพียงพอย่อมสามารถยืนยันหรือกล่าวซ้ำได้โดยไม่แปรเปลี่ยนถ้อยคำหรือท่าทีที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งนักการเมืองไทยมักจะใช้เวลาไม่นานเลยในการเปลี่ยนแปลงคำพูดของตน
(2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ - นักการเมืองไทยมีคุณสมบัติข้อนี้หรือไม่ ซึ่งส่วนมากแล้ว นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่สนใจข้อนี้ เพราะพวกเขาพร้อมที่จะสื่อสารได้ทุกเรื่อง ทุกสถานที่ ทุกเวลา
(3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ - นักการเมืองเคยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลหรือไม่ มีข้อสรุปในสิ่งที่ตนแสดงความคิดเห็น ซึ่งก็คือ “ความเข้าใจ” ในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริงหรือไม่ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนักการเมืองไทยทำ เพราะเขาสามารถสื่อสารในเรื่องที่ถูกถามได้ทุกเรื่องโดยทันที
(4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน - ข้อนี้ นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่คิดและสื่อสารอะไรที่มีความซับซ้อนแบบนี้
เมื่อพิจารณาครบถ้วนกระบวนความตามหลักการข้อแรกแห่ง “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ ”การสื่อสารสาธารณะ” แล้วก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่า นักการเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนักการสื่อสารสาธารณะ ขาดคุณสมบัติทั้ง 4 ข้อนั้น
ฉะนั้น จึงเป็นที่น่าหวั่นวิตกว่า สื่อสาธารณะที่นักการเมืองผลักดันจัดตั้งกันขึ้นมานั้น จะอยู่ในสภาพที่เป็นสื่อสาธารณะแต่เพียงรูปแบบ ส่วนเนื้อหานั้นก็คือสื่อของรัฐ หรือของกลุ่มคนที่มีอำนาจอิทธิพลคอยชี้นำ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรที่จะให้โอกาสสื่อสาธารณะดังกล่าวได้ดำเนินบทบาทตามภาระหน้าที่ไปตามปกติ เพียงแต่ประชาชนคนไทยที่มีส่วนในการเป็นเจ้าของก็ควรจับตามอง ตรวจสอบ การทำงานของสื่อดังกล่าว หากแม้นปรากฏว่ามีการละเมิด “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ขึ้นมาเมื่อใดก็จะได้หาทางแก้ไขได้ทันท่วงที
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราทราบว่าคุณสมบัติของนักการเมืองที่เป็นผู้ผลักดันก่อตั้งสื่อนั้นขึ้นมา ไม่ผ่านแม้เพียงหลักการข้อแรกของ “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” ดังกล่าว เราก็จะได้ยิ่งระมัดระวังมากขึ้น ในการดูแล “สื่อสาธารณะ” ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง.
ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนคนสำคัญคนหนึ่งของไทย ได้เสนอแนวคิด “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ ”การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication)” ไว้ในหนังสือ “ระหว่างกระจกกับตะเกียง” (หน้า 218-220) ไว้ 4 ประการ คือ
1. นักสื่อสารสาธารณะ จะต้องตระหนักว่า ณ นาทีที่เขาส่งสารสาธารณะออกไปนั้น เขาคือผู้ผูกขาดการนำเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็นนั้นๆโดยไร้การแข่งขันใดๆ ดังนั้น สานของเขาควรจะเป็นอะไรที่บ่งบอกได้ว่า เขา (1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ (2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ (3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ และ (4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน
2. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะคัดเลือกและนำเสนอสารของตนอย่างเป็นธรรม และอย่างเคารพความเที่ยงตรง โดยจะต้องซึมซับการใฝ่หาความยุติธรรมจนกลายเป็นนิสัย (habit of justice) ฉะนั้นเขาจะไม่เจาะจงตกแต่งหรือบิดเบือนความคิดตามลีลาของนักโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยการตั้งใจหรือปกปิดหรือซ่อนเร้นจุดสำคัญๆ ซึ่งผู้รับสารจำเป็นต้องทราบในอันที่จะใช้เป็นหลักในการประเมินข้อมูลและข้อคิดเห็นของเขาได้อย่างถูกต้อง ภารกิจตลอดกาลของเขาคือการสร้างความเสมอภาคแห่งโอกาสของความคิดต่างๆ (equality of opportunity among ideas)
3. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะมีนิสัยที่ชอบตริตรองเรื่องราวเกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ ให้มากๆ จนกระทั่งเห็นว่าเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องใหญ่โตกว่าเรื่องส่วนตัว ในกรณีที่การนำเสนอของเขาจำเป็นต้องมีมุมมองเฉพาะของตนเอง เขาควรอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเปิดเผยที่มาของข้อมูล และการก่อรูปของความคิดเห็นของตนอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งความพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบเจตนารมณ์ที่แท้จริงของตนได้ตามหลักของความโปร่งใสด้วย
4. เต็มใจที่จะรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับของตน ทว่าในท้ายที่สุด การสื่อสารของเขาเองจะต้องไม่ยินยอมสูญเสียหลักการที่เขาเชื่อมั่นว่าได้ผ่านการตริตรองมาเป็นอย่างดีแล้ว โดยไม่ประนีประนอมง่ายๆ นอกจากนี้ นักสื่อสารสาธารณะที่ทำงานของตนมาอย่างเต็มที่แล้ว จะต้องยินดีที่จะประจันหน้ากับการท้าทายใดๆมากกว่าการสมยอมอย่างผิดๆ
“นักสื่อสารสาธารณะ” ในความหมายของ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ในที่นี้ ไม่ใช่เพียงแค่สื่อสารมวลชน แต่รวมถึงบุคคลสาธารณะทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ผู้บริหารของรัฐและเอกชน ข้าราชการ นักวิชาชีพต่างๆ ที่จำเป็นต้องสื่อสารข้อความทางสังคมกับสาธารณชน ยกเว้นกิจกรรมที่เป็นความบันเทิงโดยตรงล้วนๆ
เมื่อพิเคราะห์ตามแนวคิดที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา เสนอแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาทันทีว่า หากยึดตามแนวคิดดังกล่าว “นักสื่อสารสาธารณะ” ในสังคมไทย ทั้งสื่อสารมวลชนและบุคคลสาธารณะ จะมีสักกี่สื่อและกี่คนที่ยังคงมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 4 ข้อนั้น
ปัจจุบันสื่อสาธารณะได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสื่อสาธารณะขึ้นมาถึงสองหน่วยงาน คือ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS ที่แปรมาจากสถานีโทรทัศน์ ITV และสถานีโทรทัศน์ NBT ที่เปลี่ยนชื่อมาจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งสื่อสาธารณะทั้งสองแห่ง กิดขึ้นจากการผลักดันของผู้มีอำนาจทางการเมืองต่างวาระกัน โดย สถานีโทรทัศน์ Thai PBS จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ส่วนสถานีโทรทัศน์ NBT จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งสื่อสาธารณะทั้งสองแห่งต่างก็ได้รับการกล่าวอ้างว่าจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสื่อสาธารณะที่มุ่งประโยชน์แก่สาธารณชน ไม่ใช่เป็นกระบอกเสียงให้แก่รัฐบาล
คำถามที่จะต้องถามก็คือ สื่อสาธารณะดังกล่าว มีความน่าเชื่อถือเพียงใดที่จะเป็นไปตามหลัก “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ได้นำเสนอไว้ ทั้งนี้จะต้องย้อนกลับไปพิจารณาบุคคลสาธารณะที่จัดอยู่ในฐานะ “นักการสื่อสารสาธารณะ” ซึ่งได้ก่อตั้งสื่อสาธารณะขึ้นมา นั่นคือคือนักการเมือง รวมถึงผู้ที่มีส่วนในการก่อตั้งและดำเนินงานสื่อสาธารณะทั้งสองแห่ง ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามแนวคิดทั้ง 4 ประการนั้นหรือไม่
ถ้าหากมีคุณสมบัติของผู้ก่อตั้งและผู้บริหารกิจการครบถ้วนตามแนวคิดทั้ง 4 ข้อ ย่อมจะเชื่อได้ว่า สื่อสาธารณะทั้ง 2 แห่ง จะสามารถดำรงฐานะความเป็นสื่อสาธารณะที่รับใช้ประชาชนและสังคม โดยการให้ข้อมูลข่าวสารที่ดี เหมาะสม น่าเชื่อถือ หลากหลายแง่มุม ยึดถือมีความเป็นธรรมและเที่ยงตรง มุ่งประโยชน์ส่วนรวมและโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมถึงการยืนหยัดในหลักการแห่งความเป็นสื่อ ไม่ยอมสยบต่ออำนาจใดๆที่เข้ามาแทรกแซงให้สูญเสียความเป็นสื่อสาธารณะ
ปัญหาในกรณีก็คือ นักการเมืองผู้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “สื่อสาธารณะ” ตามแนวคิด“ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสื่อสาธารณะทั้ง 2 แห่ง มีฐานะอันชวนให้สงสัยยิ่งว่า ขาดคุณสมบัติตามแนวคิดทั้ง 4 ข้อที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ได้เสนอไว้หรือไม่ เพื่อให้พิจารณาได้ง่ายขึ้น จึงขอยกหลักการในข้อแรกมาให้เทียบเคียงกับพฤติกรรมการสื่อสารของนักการเมืองดังนี้
(1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ - ขอให้พิจารณาดูว่า นักการเมืองไทยมีความรู้เพียงพอในเรื่องที่เขาสื่อสารออกมาหรือไม่ หากมีความรู้เพียงพอย่อมสามารถยืนยันหรือกล่าวซ้ำได้โดยไม่แปรเปลี่ยนถ้อยคำหรือท่าทีที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งนักการเมืองไทยมักจะใช้เวลาไม่นานเลยในการเปลี่ยนแปลงคำพูดของตน
(2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ - นักการเมืองไทยมีคุณสมบัติข้อนี้หรือไม่ ซึ่งส่วนมากแล้ว นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่สนใจข้อนี้ เพราะพวกเขาพร้อมที่จะสื่อสารได้ทุกเรื่อง ทุกสถานที่ ทุกเวลา
(3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ - นักการเมืองเคยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลหรือไม่ มีข้อสรุปในสิ่งที่ตนแสดงความคิดเห็น ซึ่งก็คือ “ความเข้าใจ” ในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริงหรือไม่ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนักการเมืองไทยทำ เพราะเขาสามารถสื่อสารในเรื่องที่ถูกถามได้ทุกเรื่องโดยทันที
(4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน - ข้อนี้ นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่คิดและสื่อสารอะไรที่มีความซับซ้อนแบบนี้
เมื่อพิจารณาครบถ้วนกระบวนความตามหลักการข้อแรกแห่ง “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ ”การสื่อสารสาธารณะ” แล้วก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่า นักการเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนักการสื่อสารสาธารณะ ขาดคุณสมบัติทั้ง 4 ข้อนั้น
ฉะนั้น จึงเป็นที่น่าหวั่นวิตกว่า สื่อสาธารณะที่นักการเมืองผลักดันจัดตั้งกันขึ้นมานั้น จะอยู่ในสภาพที่เป็นสื่อสาธารณะแต่เพียงรูปแบบ ส่วนเนื้อหานั้นก็คือสื่อของรัฐ หรือของกลุ่มคนที่มีอำนาจอิทธิพลคอยชี้นำ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรที่จะให้โอกาสสื่อสาธารณะดังกล่าวได้ดำเนินบทบาทตามภาระหน้าที่ไปตามปกติ เพียงแต่ประชาชนคนไทยที่มีส่วนในการเป็นเจ้าของก็ควรจับตามอง ตรวจสอบ การทำงานของสื่อดังกล่าว หากแม้นปรากฏว่ามีการละเมิด “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ขึ้นมาเมื่อใดก็จะได้หาทางแก้ไขได้ทันท่วงที
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราทราบว่าคุณสมบัติของนักการเมืองที่เป็นผู้ผลักดันก่อตั้งสื่อนั้นขึ้นมา ไม่ผ่านแม้เพียงหลักการข้อแรกของ “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” ดังกล่าว เราก็จะได้ยิ่งระมัดระวังมากขึ้น ในการดูแล “สื่อสาธารณะ” ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น