ที่มา มติชน
ปัจจัยหลักที่จะทำให้รัฐบาลอยู่หรือไปเวลานี้ ไม่ใช่เกิดจาก "ศึกนอก"หากแต่เป็น "ศึกใน""ศึกใน" ที่ถูกฉายภาพออกมาจนโดดเด่นชัดเจนว่า "ขัดแย้งกันจริง"และ "รุนแรง" อาจถึงขั้นผีไม่เผา เงาไม่เหยียบโดยเฉพาะตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่ นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่งสัญญาณชัดๆ ผ่านนายกฯอภิสิทธิ์และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
หลังเดินทางกลับมาจากเยอรมนีว่า ต้องเป็น พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร.เป็นความชัดเจนที่ว่ากันว่า ทำให้นายกฯอภิสิทธิ์ตกอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเพราะคำกล่าวอ้างของ "นิพนธ์" บ่งบอกถึงความต้องการของ "ผู้ใหญ่ที่เคารพ"ขณะที่อีกฝ่ายคือ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจ ก็มี "ผู้ใหญ่ที่เคารพ" ออกแรงหนุนเช่นกันคำพูดที่ส่งสัญญาณผ่านแกนนำพรรคภูมิใจไทย อย่าง ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ในฐานะ กตช. ก็ชัดเจนว่า ให้สนับสนุน พล.ต.อ.จุมพลที่น่ากลัวก็คือ คำพูดของ "นิพนธ์" ที่ถูกกล่าวอ้างว่า ถ้ายังดื้อดึงอาจจะเป็นเรื่องยากในการบริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปไม่มีใครรู้เหตุผลว่า ทำไม "คนพวกเดียวกัน" ต้องยืนคนละมุม ทั้งที่สามารถพูดคุยกันได้ที่สำคัญ ไม่มีใครรู้เหตุผลที่ลึกกว่านั้นว่า
ทำไม ต้อง พล.ต.อ.ปทีปทำไม ต้อง พล.ต.อ.จุมพลไม่มีคำตอบ ไม่มีเหตุผลแต่หากสามารถทำให้ชะตากรรมนายกรัฐมนตรียืนอยู่ปากเหวได้ ก็คงไม่ใช่เรื่องธรรมดาทั้งหมดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกฯอภิสิทธิ์แต่ไม่ว่าจะออกทางไหน ต้องยอมรับว่าเวลานี้แรงบีบของคนเคยรักกัน เป็นแรงบีบที่หนักหนาสาหัส
ถึงกับมีเสียงเล็ดลอดออกจากปากนายกฯอภิสิทธิ์ ในทำนอง "เล่นกันขนาดนี้เลยหรือ"เมื่อดูธรรมชาติบวกกับความมั่นใจตัวเองของนายกฯอภิสิทธิ์ทำให้หลายฝ่ายหวาดหวั่นอยู่ไม่น้อยกับ "เด็กดื้อ" ที่มีเวทมนตร์อยู่ในมือเสียงกระซิบเบาๆ ของ "ชัย ชิดชอบ" ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ว่าหลังผ่านงบประมาณวาระ 3 อาจจะมีการ "ยุบสภา"
ไม่ใช่เรื่องที่เกินเลย และไกลเกินความเป็นจริงหากคนที่ถืออำนาจในการ "ยุบสภา" ในมือมองว่าถูกรังแก ทำร้ายจากเพื่อนห้องเดียวกัน และทนภาวะที่กดดันไม่ไหวแต่ถามว่า "กล้าหรือไม่"?เพราะการจะยุบสภา ต้องมององค์ประกอบรอบด้าน ที่ชัดเจนคือฝ่ายทหาร ที่เวลานี้มองว่ารัฐบาลอ่อนแอขณะที่เงาทมึนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
กลับแข็งแรงและกำลังทาบทับทุกส่วนของด้ามขวานทองฉะนั้นการ "ยุบสภา" จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักในภาวะเช่นนี้แม้จะยังคงใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 แต่ก็จะไม่สามารถ "ทัดทาน" ความนิยมในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ที่จะส่งผลถึงอาการแลนด์สไลด์ทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยอย่างแน่นอนหากมองถึงทางออกคงมีไม่กี่ทาง
ที่แกนนำของพรรคประชาธิปัตย์หลายคนนั่งวิเคราะห์และจับยามสามตาทางหนึ่ง ตัดสินใจเลือก พล.ต.อ.จุมพล นั่งเป็น ผบ.ตร.จะได้หมดเรื่องหมดราวทางหนึ่ง นายกรัฐมนตรีลาออก เพื่อล้างไพ่จัดโผ ครม.กันใหม่ก่อนจะ "เขี่ยพรรคภูมิใจไทย" ที่เป็นหนามตำเท้าออกจากการร่วมรัฐบาล และจัดตั้งรัฐบาลใหม่เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยและอีกทาง นายกรัฐมนตรีลาออก เพื่อล้างไพ่กันใหม่ ก่อนจะอาศัยอำนาจบารมีของ "ผู้ใหญ่ที่เคารพ"
จัดตั้งรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ ดันอดีตนายกฯชวน หลีกภัย ขึ้นนั่งเก้าอี้ผู้นำอีกรอบ ก่อนส่งสาย "บัญญัติ บรรทัดฐาน" ขึ้นมาเป็นมือประสานกับพรรคเพื่อไทย ให้เข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลแต่ทางเลือกนี้ จะต้องหาเหตุและผลให้ดี เพราะ "สีเสื้อ" ของแต่ละฝ่ายแรงเหลือเกินเหล่านี้คือ "ทางเลือก"ทางเลือกที่มีการหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันเป็นการภายในของพรรคประชาธิปัตย์ในภาวะที่นายกรัฐมนตรี ถูกขี่คอ ขย่มซ้ำ โดยเฉพาะจากคนภายในด้วยกันเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น