การขึ้นเวทีปราศรัยต่อมวลมหาประชาชนบนเวทีแยกปทุมวัน เมื่อค่ำวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ตอนหนึ่ง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ประกาศจะทำหนังสือถึงผู้นำโลก
ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดี บารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐอเมริกา นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และจีน
เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจถึงการออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวขจัดอำนาจระบอบทักษิณ
แสดงถึงความพยายามครั้งล่าสุดของกลุ่ม กปปส.ในการชี้แจงให้ประชาคมโลกเข้าใจในจุดยืนของกลุ่มที่ต้องขับไล่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี
โดยผู้ชุมนุมเห็นว่า แม้รัฐบาลชุดนี้จะมาจากกระบวนการเลือกตั้งอันชอบธรรมตามวิถีประชาธิปไตยก็ตาม แต่รัฐบาลเป็นรัฐบาลเงาของระบอบทักษิณ ที่สมควรจะต้องถูกขับให้พ้นไปจากอำนาจ
การเดินเกมทำความเข้าใจกับนานาชาติของกลุ่ม กปปส. มีมาโดยตลอด เห็นได้จากการสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของกลุ่มเป็นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ให้สื่อต่างประเทศได้รับทราบความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในฝั่งของตนเองนั้นมีขึ้น คู่ขนานไปกับที่ฝ่ายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเดินกลยุทธ์ "โลกล้อมไทย" ด้วยการชี้แจงทำความเข้าใจกับรัฐบาลนานาชาติ ถึงสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตลอดจนแนวทางการรับมือและความพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยสันติวิธีของฟากรัฐบาลเอง
โดยย้ำให้เห็นว่ารัฐบาลถอยจนสุดทางจนไม่รู้จะถอยอย่างไรแล้ว ซึ่งก็ได้รับปฏิกิริยาตอบรับในทางที่ดีจากนานาประเทศ
แม้แต่ละชาติจะมีความห่วงกังวลในวิกฤตความแตกแยกที่เกิดขึ้นในไทยอยู่อย่างมากถึงขั้นมีการประกาศเตือนพลเมืองของตนเองให้หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้พื้นที่ที่มีการชุมนุมประท้วงในจุดต่างๆ เพื่อความปลอดภัยก็ตาม
นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยโดย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญคณะทูตานุทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยมารับฟังสรุปสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและชี้แจงถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีของรัฐบาลมาแล้วหลายครั้ง
ทั้งยังทำหนังสือชี้แจงถึงรัฐบาลนานาประเทศโดยการยื่นผ่านสถานทูตต่างประเทศในไทยรวม 32 แห่ง และส่งหนังสือชี้แจงถึงองค์การระหว่างประเทศอีกหลายองค์กร อาทิ ยูเอ็น และสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชอาร์ซี)
ปฏิกิริยาของนานาประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ แสดงความห่วงวิตกกังวลต่อวิกฤตความขัดแย้งในประเทศไทยที่อาจนำพาไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นเสียเลือดเสียเนื้อขึ้นได้
ตลอดจนเรียกร้องให้ทุกฝ่ายต่างยึดมั่นในขันติและหลักสันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งแตกต่างที่มีอยู่ระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ยึดมั่นในกระบวนการทางประชาธิปไตยในการนำพาประเทศพ้นจากภาวะวิกฤตทางการเมือง
"รัฐบาลสหรัฐมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยที่กำลังทวีความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น และได้ติดตามการชุมนุมประท้วงในกรุงเทพฯอย่างใกล้ชิด เราขอให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง มีความอดทนอดกลั้นและเคารพหลักนิติธรรม การใช้การความรุนแรงและการเข้ายึดสถานที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชนนั้นไม่ใช่หนทางที่ยอมรับได้ในการแก้ไขปัญหาความแตกต่างทางการเมือง เราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในบรรทัดฐานสากลที่รับประกันเสรีภาพของสื่อและความปลอดภัยของนักข่าว สหรัฐเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกันแก้ปัญหาความแตกต่างผ่านการเจรจาโดยสันติ บนวิถีทางที่ส่งเสริมประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม"
นี่คือถ้อยแถลงของ นางเจน ซากี โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ที่มีขึ้น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556
ด้าน นางแคเธอรีน แอชตัน ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) ออกแถลงการณ์ระบุว่า อียูสนับสนุนความปรองดองในประเทศไทย พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย หลีกเลี่ยงการยกระดับความรุนแรงและหาทางออกให้กับความต่างด้วยสันติวิธี
ส่วน นายบัน คี มุน เลขาธิการยูเอ็น แถลงกับผู้สื่อข่าวที่สำนักงานใหญ่ยูเอ็น ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ เมื่อวันที่ 11 มกราคม แสดงความวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในไทยที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ความอดกลั้น หลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการยั่วยุ และคลี่คลายความเห็นต่างโดยสันติวิธีผ่านการเจรจา พร้อมกับเปิดเผยด้วยว่าตัวเขาได้โทรศัพท์พูดคุยกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แล้วเพื่อจะช่วยประสานความคิดที่แตกต่าง
น่าสังเกตด้วยว่า สื่อต่างประเทศทั่วโลกที่เกาะติดวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยนั้น ในบทความหรือรายงานข่าว จะมีความเหมือนกันอยู่ตรงจุดหนึ่งคือที่ระบุว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ "มาจากการเลือกตั้ง" (Elected) และเมื่อยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ฝ่ายที่เห็นว่าควรเลื่อนการเลือกตั้งหรือพยายามที่จะขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นก็จะเป็นฝ่าย "ต่อต้านประชาธิปไตย" (anti-democracy หรือ undemocratic movement) ซึ่งเป็นคำที่สื่อต่างประเทศหลายสำนักใช้ในการนิยามกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง
ตัวอย่างเช่น บทบรรณาธิการของวอชิงตันโพสต์ เมื่อวันที่ 16 มกราคม รวมถึงกรณี นายไมเคิล อาร์. เทอร์เนอร์ ส.ส.รัฐโอไฮโอ พรรครีพับลิกัน ร่อนจดหมายลงวันที่ 16 มกราคม 2557 ถึงประธานาธิบดีโอบามา เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐแสดงจุดยืนคัดค้านกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์
โดยให้เหตุผลว่าการลุกฮือประท้วงที่กำลังเกิดขึ้นในไทยนั้นเป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตยและความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนกับกลุ่มต่อต้านประชาธิปไตยจะเป็นการบั่นทอนเสถียรภาพทางการเมืองในไทยได้
สาเหตุดังกล่าวทำให้พรรคประชาธิปัตย์ที่มีความใกล้ชิดกับ กปปส. ต้องร่อนหนังสือชี้แจงถึงองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ สถานทูตทุกแห่งในประเทศไทย
โดยอ้างเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยเฉพาะคือการทุจริตคอร์รัปชั่น การใช้อำนาจในสภาในทางที่ผิด
เพื่อแก้ต่างต่อสังคมโลกว่า เหตุใดผู้ชุมนุมถึงปฏิเสธการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้
เป็นแนวรบด้านการต่างประเทศ ที่มีความดุเดือดแหลมคม ไม่แพ้แนวรบทางการเมืองในประเทศ
ที่มา. มติชนรายวัน
----------------------------------------
ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดี บารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐอเมริกา นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และจีน
เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจถึงการออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวขจัดอำนาจระบอบทักษิณ
แสดงถึงความพยายามครั้งล่าสุดของกลุ่ม กปปส.ในการชี้แจงให้ประชาคมโลกเข้าใจในจุดยืนของกลุ่มที่ต้องขับไล่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี
โดยผู้ชุมนุมเห็นว่า แม้รัฐบาลชุดนี้จะมาจากกระบวนการเลือกตั้งอันชอบธรรมตามวิถีประชาธิปไตยก็ตาม แต่รัฐบาลเป็นรัฐบาลเงาของระบอบทักษิณ ที่สมควรจะต้องถูกขับให้พ้นไปจากอำนาจ
การเดินเกมทำความเข้าใจกับนานาชาติของกลุ่ม กปปส. มีมาโดยตลอด เห็นได้จากการสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของกลุ่มเป็นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ให้สื่อต่างประเทศได้รับทราบความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในฝั่งของตนเองนั้นมีขึ้น คู่ขนานไปกับที่ฝ่ายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเดินกลยุทธ์ "โลกล้อมไทย" ด้วยการชี้แจงทำความเข้าใจกับรัฐบาลนานาชาติ ถึงสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตลอดจนแนวทางการรับมือและความพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยสันติวิธีของฟากรัฐบาลเอง
โดยย้ำให้เห็นว่ารัฐบาลถอยจนสุดทางจนไม่รู้จะถอยอย่างไรแล้ว ซึ่งก็ได้รับปฏิกิริยาตอบรับในทางที่ดีจากนานาประเทศ
แม้แต่ละชาติจะมีความห่วงกังวลในวิกฤตความแตกแยกที่เกิดขึ้นในไทยอยู่อย่างมากถึงขั้นมีการประกาศเตือนพลเมืองของตนเองให้หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้พื้นที่ที่มีการชุมนุมประท้วงในจุดต่างๆ เพื่อความปลอดภัยก็ตาม
นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยโดย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญคณะทูตานุทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยมารับฟังสรุปสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและชี้แจงถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีของรัฐบาลมาแล้วหลายครั้ง
ทั้งยังทำหนังสือชี้แจงถึงรัฐบาลนานาประเทศโดยการยื่นผ่านสถานทูตต่างประเทศในไทยรวม 32 แห่ง และส่งหนังสือชี้แจงถึงองค์การระหว่างประเทศอีกหลายองค์กร อาทิ ยูเอ็น และสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชอาร์ซี)
ปฏิกิริยาของนานาประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ แสดงความห่วงวิตกกังวลต่อวิกฤตความขัดแย้งในประเทศไทยที่อาจนำพาไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นเสียเลือดเสียเนื้อขึ้นได้
ตลอดจนเรียกร้องให้ทุกฝ่ายต่างยึดมั่นในขันติและหลักสันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งแตกต่างที่มีอยู่ระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ยึดมั่นในกระบวนการทางประชาธิปไตยในการนำพาประเทศพ้นจากภาวะวิกฤตทางการเมือง
"รัฐบาลสหรัฐมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยที่กำลังทวีความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น และได้ติดตามการชุมนุมประท้วงในกรุงเทพฯอย่างใกล้ชิด เราขอให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง มีความอดทนอดกลั้นและเคารพหลักนิติธรรม การใช้การความรุนแรงและการเข้ายึดสถานที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชนนั้นไม่ใช่หนทางที่ยอมรับได้ในการแก้ไขปัญหาความแตกต่างทางการเมือง เราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในบรรทัดฐานสากลที่รับประกันเสรีภาพของสื่อและความปลอดภัยของนักข่าว สหรัฐเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกันแก้ปัญหาความแตกต่างผ่านการเจรจาโดยสันติ บนวิถีทางที่ส่งเสริมประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม"
นี่คือถ้อยแถลงของ นางเจน ซากี โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ที่มีขึ้น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556
ด้าน นางแคเธอรีน แอชตัน ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) ออกแถลงการณ์ระบุว่า อียูสนับสนุนความปรองดองในประเทศไทย พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย หลีกเลี่ยงการยกระดับความรุนแรงและหาทางออกให้กับความต่างด้วยสันติวิธี
ส่วน นายบัน คี มุน เลขาธิการยูเอ็น แถลงกับผู้สื่อข่าวที่สำนักงานใหญ่ยูเอ็น ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ เมื่อวันที่ 11 มกราคม แสดงความวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในไทยที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ความอดกลั้น หลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการยั่วยุ และคลี่คลายความเห็นต่างโดยสันติวิธีผ่านการเจรจา พร้อมกับเปิดเผยด้วยว่าตัวเขาได้โทรศัพท์พูดคุยกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แล้วเพื่อจะช่วยประสานความคิดที่แตกต่าง
น่าสังเกตด้วยว่า สื่อต่างประเทศทั่วโลกที่เกาะติดวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยนั้น ในบทความหรือรายงานข่าว จะมีความเหมือนกันอยู่ตรงจุดหนึ่งคือที่ระบุว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ "มาจากการเลือกตั้ง" (Elected) และเมื่อยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ฝ่ายที่เห็นว่าควรเลื่อนการเลือกตั้งหรือพยายามที่จะขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นก็จะเป็นฝ่าย "ต่อต้านประชาธิปไตย" (anti-democracy หรือ undemocratic movement) ซึ่งเป็นคำที่สื่อต่างประเทศหลายสำนักใช้ในการนิยามกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง
ตัวอย่างเช่น บทบรรณาธิการของวอชิงตันโพสต์ เมื่อวันที่ 16 มกราคม รวมถึงกรณี นายไมเคิล อาร์. เทอร์เนอร์ ส.ส.รัฐโอไฮโอ พรรครีพับลิกัน ร่อนจดหมายลงวันที่ 16 มกราคม 2557 ถึงประธานาธิบดีโอบามา เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐแสดงจุดยืนคัดค้านกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์
โดยให้เหตุผลว่าการลุกฮือประท้วงที่กำลังเกิดขึ้นในไทยนั้นเป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตยและความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนกับกลุ่มต่อต้านประชาธิปไตยจะเป็นการบั่นทอนเสถียรภาพทางการเมืองในไทยได้
สาเหตุดังกล่าวทำให้พรรคประชาธิปัตย์ที่มีความใกล้ชิดกับ กปปส. ต้องร่อนหนังสือชี้แจงถึงองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ สถานทูตทุกแห่งในประเทศไทย
โดยอ้างเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยเฉพาะคือการทุจริตคอร์รัปชั่น การใช้อำนาจในสภาในทางที่ผิด
เพื่อแก้ต่างต่อสังคมโลกว่า เหตุใดผู้ชุมนุมถึงปฏิเสธการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้
เป็นแนวรบด้านการต่างประเทศ ที่มีความดุเดือดแหลมคม ไม่แพ้แนวรบทางการเมืองในประเทศ
ที่มา. มติชนรายวัน
----------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น