โดย. วีรพงษ์ รามางกูร
ก่อนสิ้นปี 2556 หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง ธปท. หรือสภาพัฒน์ ต่างก็เสนอตัวเลขพยากรณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกว่า สหรัฐอเมริกาคงจะอยู่ในภาวะทรงตัวหรือดีขึ้นเล็กน้อย ส่วนยุโรปคงจะยังย่ำแย่ต่อไป ญี่ปุ่นไม่ค่อยแน่นักว่าจะยังคงรักษาภาวะการฟื้นตัวของตนได้แค่ไหน
หลังจากการเปลี่ยนนโยบายการเงิน หลังจากปลดผู้ว่าการธนาคารกลาง ส่วนจีนประกาศชัดเจนว่าจะลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของตนลง
ในขณะเดียวกัน ภาวะการเงินของโลกก็คาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาน่าจะลดการเพิ่มปริมาณเงิน หรือที่เรียกอย่างโก้ว่า การผ่อนคลายทางด้านปริมาณ หรือ คิวอี ลงจนเลิกไปในที่สุด
การที่ชาวโลกคาดการณ์ว่ามาตรการคิวอีจะลดลงก็เป็นผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นมาเรื่อยๆ จาก 28 บาทมาเป็น 33 บาทในเวลาไม่ถึงปี และอาจจะแข็งค่าต่อเนื่องไปอีกเมื่อเทียบกับเงินบาท เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงก็น่าจะเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกและการท่องเที่ยวที่หลุดจากเป้าหมด
มีความเคลื่อนไหวในเอเชีย กล่าวคือ จีนประกาศว่า ตนมีนโยบายให้มีการใช้เงินหยวนเป็นสื่อกลางในการค้าขายและการลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย แต่จะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป
กล่าวคือ จีนมีนโยบายที่จะทำให้เงินหยวนเป็นเงินตราระหว่างประเทศ หรือ Internationalized มากยิ่งขึ้น โดยจะให้เงินหยวนมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น แม้จะไม่บอกว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ แต่ก็คงคาดกันว่าไม่น้อยกว่าเงินยูโร และคงมากกว่าเงินเยนมาก
เพราะญี่ปุ่นประกาศอยู่เสมอมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 แล้วว่าญี่ปุ่นไม่มีความปรารถนาที่จะให้เงินเยนเป็นเงินตราระหว่างประเทศ
ถ้าดูทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุน ไม่ว่าจะเป็นเงินลงทุนโดยตรงหรือ FDI ที่จะมาสร้างโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการผลิตสินค้าและบริการเพื่อส่งออก เนื่องจากในภูมิภาคนี้คุณภาพของแรงงานไทยดีที่สุด แม้ว่าเวียดนามกำลังตามมาติดๆ ค่าแรงในเมืองจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนแซงหน้าประเทศไทยไปแล้ว
จีนจึงต้องมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมที่ประหยัดแรงงาน แล้วสั่งสินค้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งสร้างการใช้จ่ายของคนจีนในประเทศให้มากขึ้น
รวมทั้งอนุญาตให้มณฑลและท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น โดยปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ ไม่ยอมลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดความกดดันในเรื่องเงินเฟ้อ เพราะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของจีนเป็นไปอย่างเป็นระบบชัดเจนและสอดคล้องกัน โดยประกาศว่านโยบายเช่นนี้จะทำให้จีนมีการนำเข้ามากยิ่งขึ้น ลดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลง
แม้อัตราการเพิ่มของรายได้ประชาชาติของจีนจะลดลง แต่สัดส่วนของการนำเข้าของจีนจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อการส่งออกของประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ซึ่งจะเปิดสมบูรณ์ขึ้นในต้นปี 2558 และในบรรดาประเทศอาเซียนด้วยกัน ไทยน่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดในแง่ที่ตั้ง
ส่วนการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่มาลงทุนในตลาดทุนของเราตลอดปีนี้หรือปีต่อไป คงเป็นการขายหุ้นและตราสารทางการเงิน ทำให้ราคาหุ้น ราคาพันธบัตร และตราสารทางการเงินต่าง ๆ น่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องต่อไป ค่าเงินบาทก็คงจะอ่อนค่าลงต่อไป จาก 33 บาท อาจไปถึง 35 บาทก็ได้ พร้อมกับดอกเบี้ยจะยิ่งถีบตัวสูงขึ้นเพราะเงินไหลออก
แต่การคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2557 และอาจจะรวมไปถึงปี 2558 กลับไม่สดใส เมื่อเทียบกับประเทศในประชาคมอาเซียนด้วยกัน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ จะยกเว้นก็แต่ประเทศอินโดนีเซีย
ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะผู้คนดูไม่ออกว่าการเมืองของเราจะผันแปรไปอย่างไร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่ส่วนใหญ่จะมองไปในทางลบมากกว่า พวกเรากันเองก็มีความรู้สึกอย่างนั้น ถ้าไม่หลอกตัวเอง
ในระยะสั้นภายในปี 2557 นี้ อาจจะมีปฏิวัติรัฐประหารตามที่ผู้ชุมนุมและนายทหารนอกราชการ 2-3 คนต้องการ หลังการปฏิวัติรัฐประหาร รัฐบาลที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งขึ้นมาจะอยู่ได้นานแค่ไหน
6 เดือน ปีหนึ่ง แล้วมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่สภานิติบัญญัติที่คณะปฏิวัติแต่งตั้งขึ้น แล้วพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังแพ้การเลือกตั้งอีก
จะทำอย่างไร เพราะประชาชนภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ยังไม่ยอมเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญอย่างไร จะปฏิรูปการเมืองอย่างไร กองทัพจะยื่นมือเข้ามาช่วยอย่างไร
ถ้ามีฝ่าย "คนเสื้อแดง" จากต่างจังหวัดยกเข้ามาชุมนุมเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 2553 จะทำอย่างไร จะต้องกระชับพื้นที่ หรือขอพื้นที่คืนอย่างที่เคยทำมาอีกหรือไม่
มหาอำนาจที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง อันได้แก่ สหรัฐ รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน จะว่าอย่างไร หรือจะคิดว่า "ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ" อย่างที่เคยคิดได้หรือไม่ เพราะครั้งนี้ประเทศเหล่านี้รวมทั้งประเทศอื่นอีก 50 ประเทศ ประกาศสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง ถ้าเกิดมีปฏิวัติรัฐประหาร ปฏิกิริยาของเขาที่แสดงผ่านออกมาทางองค์การค้าระหว่างประเทศ ผ่านทางองค์กรสิทธิมนุษยชน และอื่นๆ จะเป็นอย่างไร
ในขณะที่ตะวันตก รวมทั้งจีนและอาเซียนสามารถกดดันให้พม่าเดินหน้าไปสู่ระบบ แก้ไขรัฐธรรมนูญของเขาให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แล้วจะยอมให้ประเทศไทยหันกลับไปแทนที่พม่าได้อย่างไร
แต่ถ้ากองทัพไม่กล้าทำการปฏิวัติ ไม่กล้าทำการรัฐประหาร แล้วประกาศตน "เป็นกลาง" ซึ่งไม่มีกองทัพที่ไหนในประเทศที่เจริญแล้วเขาทำกัน แล้วความขัดแย้งระหว่างคนกรุงเทพฯ กับคนต่างจังหวัดที่กำลังเผชิญหน้ากันอยู่อย่างนี้จะทำอย่างไร ถ้าการเลือกตั้งทั่วไปจัดขึ้นไม่ได้ หรือจัดขึ้นได้อย่างทุลักทุเล แล้วศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นโมฆะอีกจนรัฐบาลเพื่อไทยทนไม่ไหวถอนตัวออกไป อะไรจะเกิดขึ้น
มีการจัดตั้ง "สภาประชาชน" ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะมีใครที่ "มวลมหาประชาชน" ไว้ใจแต่งตั้งขึ้นบ้าง แล้วสภาประชาชนแต่งตั้ง "นายกรัฐมนตรีคนกลาง" ซึ่งไม่เชื่อว่ามี ราษฎรอาวุโสคนหนึ่งก็หายหน้าไปนานแล้ว อีกคนก็ประกาศถอย เพราะเสนอความคิดที่เป็นนามธรรมสวยหรู ได้รับการยกย่องจากสื่อมวลชน แต่ยังไม่เคยมีอะไรออกมาเป็นรูปธรรม
ใช้เงินไปถึง 2,000 ล้านบาทศึกษาหาทาง "ปฏิรูป" การเมืองของประเทศ จนป่านนี้ก็ไม่มีใครเคยอ่านผลงานที่มีราคาถึง 2,000 ล้านบาทอีกที ตกลงก็ยังไม่รู้ว่าใครจะรับเป็นประธาน "สภาประชาชน" ใครจะเป็น "คนดี" มีความเป็นกลาง ไม่เลือกข้าง ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จนเกิดความมั่นใจทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ทำให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวได้
ในระยะยาว ขณะนี้เกิด "ทฤษฎี" จำนวนมากมายหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเมืองไทยว่าเป็นความขัดแย้งทางโครงสร้าง
มีทั้งที่พูดกันได้อย่างเปิดเผยและไม่สามารถพูดได้อย่างเปิดเผย แต่ก็คุยซุบซิบกันในวงการสภากาแฟ
ในขณะที่สื่อมวลชนไทยเลือกข้างไปแล้ว
คงไม่มีใครไม่ถูกบังคับให้เลือกข้าง ถ้ายังเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา แต่สื่อมวลชนต่างประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษกลับเสนอข้อมูลและความคิดเห็นได้อย่างเสรีกว่า เพราะไม่ต้อง "เซ็นเซอร์" ตัวเองอย่างที่สื่อมวลชนไทยส่วนน้อยที่เลือกอีกข้างต้องทำ
คนที่อ่านภาษาอังกฤษได้และต้องการอ่าน ต้องการเปิดหูเปิดตาตัวเองก็สามารถหาอ่านได้ ไม่ยากเย็นอะไร เพราะทุกวันนี้ในโลกออนไลน์มีราคาถูกกว่าหนังสือพิมพ์หรือซื้อหนังสือทั้งเล่ม คนต่างจังหวัดทุกวันนี้ลูกหลานที่อ่านภาษาอังกฤษได้ก็มีอยู่
ทุกหมู่บ้าน มิได้ผูกขาดอยู่แต่ชนชั้นนำในกรุงเทพฯเท่านั้น ถ้าความขัดแย้งเชิงโครงสร้างอย่างนี้มีอยู่ อุบัติเหตุทางการเมืองเกิดขึ้นได้เสมอ
"อุบัติเหตุทางการเมือง" อาจจะถูกสร้างขึ้นโดยซีไอเอ โดยเคจีบี หรือโดยมหาอำนาจใดก็ได้ ถ้าเขาเห็นว่าถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้แล้วจะเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของชาติเขา
ถ้าเชื่อว่า ปัจจัยทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญ การคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งระยะสั้นและปานกลางและระยะยาวจะอาศัยแต่เพียงปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งนอกและในประเทศไม่ได้ ต้องอาศัยการวิเคราะห์ทางการเมืองเข้ามาเป็นส่วนประกอบด้วย
แต่การคาดการณ์เหตุการณ์ทางการเมืองระยะสั้นทำได้ยาก เพราะขึ้นอยู่กับคนที่กุมชะตาบ้านเมืองทั้ง 2 ฝ่ายที่มีเพียง 4-5 คน อย่างมากก็ไม่เกิน 10 คน
ในระยะยาวน่าจะคาดการณ์อะไรได้บ้าง
แต่ปัจจัยต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้า "ดุลแห่งความกลัว" หรือ "Balance of Terror" ที่ ดร.เฮนรี่ คริสซิงเกอร์ เคยเสนอไว้เกิดเปลี่ยนไป อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ
การพยากรณ์เศรษฐกิจจึงทำไม่ได้ในระยะต่อไปนี้
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
---------------------------------
ก่อนสิ้นปี 2556 หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง ธปท. หรือสภาพัฒน์ ต่างก็เสนอตัวเลขพยากรณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกว่า สหรัฐอเมริกาคงจะอยู่ในภาวะทรงตัวหรือดีขึ้นเล็กน้อย ส่วนยุโรปคงจะยังย่ำแย่ต่อไป ญี่ปุ่นไม่ค่อยแน่นักว่าจะยังคงรักษาภาวะการฟื้นตัวของตนได้แค่ไหน
หลังจากการเปลี่ยนนโยบายการเงิน หลังจากปลดผู้ว่าการธนาคารกลาง ส่วนจีนประกาศชัดเจนว่าจะลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของตนลง
ในขณะเดียวกัน ภาวะการเงินของโลกก็คาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาน่าจะลดการเพิ่มปริมาณเงิน หรือที่เรียกอย่างโก้ว่า การผ่อนคลายทางด้านปริมาณ หรือ คิวอี ลงจนเลิกไปในที่สุด
การที่ชาวโลกคาดการณ์ว่ามาตรการคิวอีจะลดลงก็เป็นผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นมาเรื่อยๆ จาก 28 บาทมาเป็น 33 บาทในเวลาไม่ถึงปี และอาจจะแข็งค่าต่อเนื่องไปอีกเมื่อเทียบกับเงินบาท เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงก็น่าจะเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกและการท่องเที่ยวที่หลุดจากเป้าหมด
มีความเคลื่อนไหวในเอเชีย กล่าวคือ จีนประกาศว่า ตนมีนโยบายให้มีการใช้เงินหยวนเป็นสื่อกลางในการค้าขายและการลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย แต่จะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป
กล่าวคือ จีนมีนโยบายที่จะทำให้เงินหยวนเป็นเงินตราระหว่างประเทศ หรือ Internationalized มากยิ่งขึ้น โดยจะให้เงินหยวนมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น แม้จะไม่บอกว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ แต่ก็คงคาดกันว่าไม่น้อยกว่าเงินยูโร และคงมากกว่าเงินเยนมาก
เพราะญี่ปุ่นประกาศอยู่เสมอมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 แล้วว่าญี่ปุ่นไม่มีความปรารถนาที่จะให้เงินเยนเป็นเงินตราระหว่างประเทศ
ถ้าดูทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุน ไม่ว่าจะเป็นเงินลงทุนโดยตรงหรือ FDI ที่จะมาสร้างโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการผลิตสินค้าและบริการเพื่อส่งออก เนื่องจากในภูมิภาคนี้คุณภาพของแรงงานไทยดีที่สุด แม้ว่าเวียดนามกำลังตามมาติดๆ ค่าแรงในเมืองจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนแซงหน้าประเทศไทยไปแล้ว
จีนจึงต้องมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมที่ประหยัดแรงงาน แล้วสั่งสินค้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งสร้างการใช้จ่ายของคนจีนในประเทศให้มากขึ้น
รวมทั้งอนุญาตให้มณฑลและท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น โดยปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ ไม่ยอมลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดความกดดันในเรื่องเงินเฟ้อ เพราะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของจีนเป็นไปอย่างเป็นระบบชัดเจนและสอดคล้องกัน โดยประกาศว่านโยบายเช่นนี้จะทำให้จีนมีการนำเข้ามากยิ่งขึ้น ลดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลง
แม้อัตราการเพิ่มของรายได้ประชาชาติของจีนจะลดลง แต่สัดส่วนของการนำเข้าของจีนจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อการส่งออกของประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ซึ่งจะเปิดสมบูรณ์ขึ้นในต้นปี 2558 และในบรรดาประเทศอาเซียนด้วยกัน ไทยน่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดในแง่ที่ตั้ง
ส่วนการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่มาลงทุนในตลาดทุนของเราตลอดปีนี้หรือปีต่อไป คงเป็นการขายหุ้นและตราสารทางการเงิน ทำให้ราคาหุ้น ราคาพันธบัตร และตราสารทางการเงินต่าง ๆ น่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องต่อไป ค่าเงินบาทก็คงจะอ่อนค่าลงต่อไป จาก 33 บาท อาจไปถึง 35 บาทก็ได้ พร้อมกับดอกเบี้ยจะยิ่งถีบตัวสูงขึ้นเพราะเงินไหลออก
แต่การคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2557 และอาจจะรวมไปถึงปี 2558 กลับไม่สดใส เมื่อเทียบกับประเทศในประชาคมอาเซียนด้วยกัน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ จะยกเว้นก็แต่ประเทศอินโดนีเซีย
ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะผู้คนดูไม่ออกว่าการเมืองของเราจะผันแปรไปอย่างไร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่ส่วนใหญ่จะมองไปในทางลบมากกว่า พวกเรากันเองก็มีความรู้สึกอย่างนั้น ถ้าไม่หลอกตัวเอง
ในระยะสั้นภายในปี 2557 นี้ อาจจะมีปฏิวัติรัฐประหารตามที่ผู้ชุมนุมและนายทหารนอกราชการ 2-3 คนต้องการ หลังการปฏิวัติรัฐประหาร รัฐบาลที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งขึ้นมาจะอยู่ได้นานแค่ไหน
6 เดือน ปีหนึ่ง แล้วมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่สภานิติบัญญัติที่คณะปฏิวัติแต่งตั้งขึ้น แล้วพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังแพ้การเลือกตั้งอีก
จะทำอย่างไร เพราะประชาชนภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ยังไม่ยอมเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญอย่างไร จะปฏิรูปการเมืองอย่างไร กองทัพจะยื่นมือเข้ามาช่วยอย่างไร
ถ้ามีฝ่าย "คนเสื้อแดง" จากต่างจังหวัดยกเข้ามาชุมนุมเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 2553 จะทำอย่างไร จะต้องกระชับพื้นที่ หรือขอพื้นที่คืนอย่างที่เคยทำมาอีกหรือไม่
มหาอำนาจที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง อันได้แก่ สหรัฐ รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน จะว่าอย่างไร หรือจะคิดว่า "ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ" อย่างที่เคยคิดได้หรือไม่ เพราะครั้งนี้ประเทศเหล่านี้รวมทั้งประเทศอื่นอีก 50 ประเทศ ประกาศสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง ถ้าเกิดมีปฏิวัติรัฐประหาร ปฏิกิริยาของเขาที่แสดงผ่านออกมาทางองค์การค้าระหว่างประเทศ ผ่านทางองค์กรสิทธิมนุษยชน และอื่นๆ จะเป็นอย่างไร
ในขณะที่ตะวันตก รวมทั้งจีนและอาเซียนสามารถกดดันให้พม่าเดินหน้าไปสู่ระบบ แก้ไขรัฐธรรมนูญของเขาให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แล้วจะยอมให้ประเทศไทยหันกลับไปแทนที่พม่าได้อย่างไร
แต่ถ้ากองทัพไม่กล้าทำการปฏิวัติ ไม่กล้าทำการรัฐประหาร แล้วประกาศตน "เป็นกลาง" ซึ่งไม่มีกองทัพที่ไหนในประเทศที่เจริญแล้วเขาทำกัน แล้วความขัดแย้งระหว่างคนกรุงเทพฯ กับคนต่างจังหวัดที่กำลังเผชิญหน้ากันอยู่อย่างนี้จะทำอย่างไร ถ้าการเลือกตั้งทั่วไปจัดขึ้นไม่ได้ หรือจัดขึ้นได้อย่างทุลักทุเล แล้วศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นโมฆะอีกจนรัฐบาลเพื่อไทยทนไม่ไหวถอนตัวออกไป อะไรจะเกิดขึ้น
มีการจัดตั้ง "สภาประชาชน" ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะมีใครที่ "มวลมหาประชาชน" ไว้ใจแต่งตั้งขึ้นบ้าง แล้วสภาประชาชนแต่งตั้ง "นายกรัฐมนตรีคนกลาง" ซึ่งไม่เชื่อว่ามี ราษฎรอาวุโสคนหนึ่งก็หายหน้าไปนานแล้ว อีกคนก็ประกาศถอย เพราะเสนอความคิดที่เป็นนามธรรมสวยหรู ได้รับการยกย่องจากสื่อมวลชน แต่ยังไม่เคยมีอะไรออกมาเป็นรูปธรรม
ใช้เงินไปถึง 2,000 ล้านบาทศึกษาหาทาง "ปฏิรูป" การเมืองของประเทศ จนป่านนี้ก็ไม่มีใครเคยอ่านผลงานที่มีราคาถึง 2,000 ล้านบาทอีกที ตกลงก็ยังไม่รู้ว่าใครจะรับเป็นประธาน "สภาประชาชน" ใครจะเป็น "คนดี" มีความเป็นกลาง ไม่เลือกข้าง ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จนเกิดความมั่นใจทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ทำให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวได้
ในระยะยาว ขณะนี้เกิด "ทฤษฎี" จำนวนมากมายหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเมืองไทยว่าเป็นความขัดแย้งทางโครงสร้าง
มีทั้งที่พูดกันได้อย่างเปิดเผยและไม่สามารถพูดได้อย่างเปิดเผย แต่ก็คุยซุบซิบกันในวงการสภากาแฟ
ในขณะที่สื่อมวลชนไทยเลือกข้างไปแล้ว
คงไม่มีใครไม่ถูกบังคับให้เลือกข้าง ถ้ายังเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา แต่สื่อมวลชนต่างประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษกลับเสนอข้อมูลและความคิดเห็นได้อย่างเสรีกว่า เพราะไม่ต้อง "เซ็นเซอร์" ตัวเองอย่างที่สื่อมวลชนไทยส่วนน้อยที่เลือกอีกข้างต้องทำ
คนที่อ่านภาษาอังกฤษได้และต้องการอ่าน ต้องการเปิดหูเปิดตาตัวเองก็สามารถหาอ่านได้ ไม่ยากเย็นอะไร เพราะทุกวันนี้ในโลกออนไลน์มีราคาถูกกว่าหนังสือพิมพ์หรือซื้อหนังสือทั้งเล่ม คนต่างจังหวัดทุกวันนี้ลูกหลานที่อ่านภาษาอังกฤษได้ก็มีอยู่
ทุกหมู่บ้าน มิได้ผูกขาดอยู่แต่ชนชั้นนำในกรุงเทพฯเท่านั้น ถ้าความขัดแย้งเชิงโครงสร้างอย่างนี้มีอยู่ อุบัติเหตุทางการเมืองเกิดขึ้นได้เสมอ
"อุบัติเหตุทางการเมือง" อาจจะถูกสร้างขึ้นโดยซีไอเอ โดยเคจีบี หรือโดยมหาอำนาจใดก็ได้ ถ้าเขาเห็นว่าถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้แล้วจะเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของชาติเขา
ถ้าเชื่อว่า ปัจจัยทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญ การคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งระยะสั้นและปานกลางและระยะยาวจะอาศัยแต่เพียงปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งนอกและในประเทศไม่ได้ ต้องอาศัยการวิเคราะห์ทางการเมืองเข้ามาเป็นส่วนประกอบด้วย
แต่การคาดการณ์เหตุการณ์ทางการเมืองระยะสั้นทำได้ยาก เพราะขึ้นอยู่กับคนที่กุมชะตาบ้านเมืองทั้ง 2 ฝ่ายที่มีเพียง 4-5 คน อย่างมากก็ไม่เกิน 10 คน
ในระยะยาวน่าจะคาดการณ์อะไรได้บ้าง
แต่ปัจจัยต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้า "ดุลแห่งความกลัว" หรือ "Balance of Terror" ที่ ดร.เฮนรี่ คริสซิงเกอร์ เคยเสนอไว้เกิดเปลี่ยนไป อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ
การพยากรณ์เศรษฐกิจจึงทำไม่ได้ในระยะต่อไปนี้
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
---------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น