โดย ชลาทิพย์ ถิรสุนทรากุล
ก้าวเข้าสู่ปีม้าคะนองศึก สถานการณ์การเมืองไทยยังย่ำอยู่กับที่ไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ชนิดนับเคานต์ดาวน์ข้ามศักราชใหม่แล้วต้องปรับโหมดรอรับประกาศ "ชัตดาวน์กรุงเทพฯ" กันทันที
ความประสงค์ของการชุมนุมที่ต้องการสร้าง "สภาวะไร้รัฐ" ด้วยกิจกรรม "ปิดเมือง" วันที่ 13 มกราคมเป็นต้นไป กับการคาดการณ์จะปิดถนนและแยกสำคัญในกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 20 แห่ง โดยจัดตั้งเวทีปราศรัยทุกจุดที่ชุมนุม ส่วนเรื่องการตัดน้ำ-ไฟมีการประกาศว่าจะทำเฉพาะบ้านนายกฯและรัฐมนตรี รวมทั้งสถานที่ราชการ หน่วยงานบริหารของรัฐบางจุด
แม้กรุงเทพฯไม่ใช่ประเทศไทย แต่ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้คนในเมืองหลวงอีกจำนวนมาก และอีกสถานะกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวง เมืองเศรษฐกิจ เมื่อมีพลังกดดันก็พร้อมสร้างแรงกระเพื่อมให้กับประเทศได้
แต่คำถามคือ คนส่วนใหญ่ทั้งประเทศพร้อมรับราคาที่ต้องจ่ายจากสถานการณ์อันแกว่งไกวนี้หรือ ?
วันนี้การคัดค้านไม่ให้มีการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ เป็นสถานการณ์อันแหลมคมที่บรรดานักวิเคราะห์ทั้งไทยและเทศต่างไม่มั่นใจประเมินว่า กว่าจะถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์สถานการณ์จะเขยิบไปไกลจนไม่มีการเลือกตั้ง หรือหากมีการเลือกตั้งก็อาจล่มในที่สุด ?
มีคำเตือนสติจาก "พระไพศาล วิสาโล" ภิกษุสันติวิธีที่ให้สัมภาษณ์ผ่านทีมงานเฟซบุ๊ก We Vote เมื่อเร็ว ๆ นี้ เสนอแนวทางสันติวิธีเบื้องต้นเพื่อเป็นทางออกให้แก่วิกฤตครั้งนี้ ผู้เขียนขอนำบางช่วงมาถ่ายทอดให้อ่านกัน
"การเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่สำคัญของสังคมประชาธิปไตย โดยเฉพาะในปัจจุบันมันเป็นการเปิดโอกาสให้คนทุกคนในประเทศได้มีโอกาสตัดสินใจเรื่องบ้านเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบกับคนทุกคน มันมีความหมายว่าคนทุกคนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน ก็คือหนึ่งคนหนึ่งเสียง อาตมาคิดว่ากระบวนการอย่างนี้สำคัญในเมืองไทยยุคปัจจุบันที่มีความคิดเป็นกลุ่มก้อนแบ่งฝักแบ่งฝ่าย
การเลือกตั้งเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งของคนในชาติด้วยสันติวิธี มันหมายถึงการที่คนมีสิทธิ์คิดต่างกันได้แทนการใช้กำลังเข้าประหัตประหารกัน แทนที่ใครที่มีอำนาจเหนือกว่าจะได้ชัยชนะ ก็สู้กันด้วยเหตุด้วยผลซึ่งสุดท้ายก็ต้องใช้การลงคะแนนเสียง ถ้าไม่อยากให้บ้านเมืองเกิดความรุนแรงตัดสินด้วยกำลังก็ต้องใช้การเลือกตั้งเป็นทางออก
ในประเทศอื่นที่มีความขัดแย้งรุนแรงยิ่งกว่าบ้านเมืองเรา เช่น แอฟริกาใต้ เขายังใช้การเลือกตั้งเป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติ ถ้าไม่มีการเลือกตั้งแล้วสงครามระหว่างคนผิวขาวและผิวดำคงจะยืดเยื้อมาจนทุกวันนี้...
ผลจากการลงคะแนนเสียงอาจมีข้อบกพร่อง ไม่ดีที่สุด หรือพูดอีกอย่างคือเลวน้อยกว่าวิธีการอื่น อาตมาคิดว่าเราควรให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง ในฐานะที่เป็นกลไกในการตัดสินว่าบ้านเมืองเราจะไปทางไหน เพราะวิธีนี้มันบังคับให้เราต้องใช้เหตุผลที่จะหว่านล้อมชักชวนเอาชนะใจของคนที่คิดต่างจากเรา ซึ่งมันจะทำให้เกิดทางออกที่เป็นประโยชน์ประกอบด้วยเหตุด้วยผล ซึ่งน่าเชื่อว่าจะทำให้เกิดการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน ผลักดันประเทศไปสู่ทางที่ถูกต้องเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่และทุกฝ่ายไม่มากก็น้อย" เป็นคำกล่าวของพระไพศาล
ณ วันนี้เหตุการณ์การชุมนุมที่ดูมีความคุกรุ่นดำเนินมากว่า 2 เดือน มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ หากนึกถึงความรุนแรงข้างหน้าที่อาจบานปลาย ความเห็นที่เสนอทางออกอย่างสันติวิธีที่หยิบยกมานี้...ทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายคัดค้าน ฝ่ายบอยคอต และฝ่ายจัดการเลือกตั้ง น่านำมาใคร่ครวญยิ่งนัก
ประเด็นซื้อสิทธิขายเสียงที่กังวลกันนั้น ต้องวางใจให้มีสติ ไม่มองแบบตีค่าผู้อื่นในเชิง Dehumanize เพราะรังแต่จะสร้างสังคมแบ่งแยก เราอยู่ในศตวรรษที่ 21 ที่ถอยหลังไปไม่ได้อีกแล้ว ผู้คนอีกมากในประเทศนี้ไม่อยากติดหล่มกับดักการเมือง วนไปวนมาจนประเทศชาติเศรษฐกิจเดินหน้าไม่เต็มสูบเสียที
ก้าวเข้าสู่ปีม้าคะนองศึก สถานการณ์การเมืองไทยยังย่ำอยู่กับที่ไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ชนิดนับเคานต์ดาวน์ข้ามศักราชใหม่แล้วต้องปรับโหมดรอรับประกาศ "ชัตดาวน์กรุงเทพฯ" กันทันที
ความประสงค์ของการชุมนุมที่ต้องการสร้าง "สภาวะไร้รัฐ" ด้วยกิจกรรม "ปิดเมือง" วันที่ 13 มกราคมเป็นต้นไป กับการคาดการณ์จะปิดถนนและแยกสำคัญในกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 20 แห่ง โดยจัดตั้งเวทีปราศรัยทุกจุดที่ชุมนุม ส่วนเรื่องการตัดน้ำ-ไฟมีการประกาศว่าจะทำเฉพาะบ้านนายกฯและรัฐมนตรี รวมทั้งสถานที่ราชการ หน่วยงานบริหารของรัฐบางจุด
แม้กรุงเทพฯไม่ใช่ประเทศไทย แต่ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้คนในเมืองหลวงอีกจำนวนมาก และอีกสถานะกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวง เมืองเศรษฐกิจ เมื่อมีพลังกดดันก็พร้อมสร้างแรงกระเพื่อมให้กับประเทศได้
แต่คำถามคือ คนส่วนใหญ่ทั้งประเทศพร้อมรับราคาที่ต้องจ่ายจากสถานการณ์อันแกว่งไกวนี้หรือ ?
วันนี้การคัดค้านไม่ให้มีการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ เป็นสถานการณ์อันแหลมคมที่บรรดานักวิเคราะห์ทั้งไทยและเทศต่างไม่มั่นใจประเมินว่า กว่าจะถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์สถานการณ์จะเขยิบไปไกลจนไม่มีการเลือกตั้ง หรือหากมีการเลือกตั้งก็อาจล่มในที่สุด ?
มีคำเตือนสติจาก "พระไพศาล วิสาโล" ภิกษุสันติวิธีที่ให้สัมภาษณ์ผ่านทีมงานเฟซบุ๊ก We Vote เมื่อเร็ว ๆ นี้ เสนอแนวทางสันติวิธีเบื้องต้นเพื่อเป็นทางออกให้แก่วิกฤตครั้งนี้ ผู้เขียนขอนำบางช่วงมาถ่ายทอดให้อ่านกัน
"การเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่สำคัญของสังคมประชาธิปไตย โดยเฉพาะในปัจจุบันมันเป็นการเปิดโอกาสให้คนทุกคนในประเทศได้มีโอกาสตัดสินใจเรื่องบ้านเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบกับคนทุกคน มันมีความหมายว่าคนทุกคนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน ก็คือหนึ่งคนหนึ่งเสียง อาตมาคิดว่ากระบวนการอย่างนี้สำคัญในเมืองไทยยุคปัจจุบันที่มีความคิดเป็นกลุ่มก้อนแบ่งฝักแบ่งฝ่าย
การเลือกตั้งเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งของคนในชาติด้วยสันติวิธี มันหมายถึงการที่คนมีสิทธิ์คิดต่างกันได้แทนการใช้กำลังเข้าประหัตประหารกัน แทนที่ใครที่มีอำนาจเหนือกว่าจะได้ชัยชนะ ก็สู้กันด้วยเหตุด้วยผลซึ่งสุดท้ายก็ต้องใช้การลงคะแนนเสียง ถ้าไม่อยากให้บ้านเมืองเกิดความรุนแรงตัดสินด้วยกำลังก็ต้องใช้การเลือกตั้งเป็นทางออก
ในประเทศอื่นที่มีความขัดแย้งรุนแรงยิ่งกว่าบ้านเมืองเรา เช่น แอฟริกาใต้ เขายังใช้การเลือกตั้งเป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติ ถ้าไม่มีการเลือกตั้งแล้วสงครามระหว่างคนผิวขาวและผิวดำคงจะยืดเยื้อมาจนทุกวันนี้...
ผลจากการลงคะแนนเสียงอาจมีข้อบกพร่อง ไม่ดีที่สุด หรือพูดอีกอย่างคือเลวน้อยกว่าวิธีการอื่น อาตมาคิดว่าเราควรให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง ในฐานะที่เป็นกลไกในการตัดสินว่าบ้านเมืองเราจะไปทางไหน เพราะวิธีนี้มันบังคับให้เราต้องใช้เหตุผลที่จะหว่านล้อมชักชวนเอาชนะใจของคนที่คิดต่างจากเรา ซึ่งมันจะทำให้เกิดทางออกที่เป็นประโยชน์ประกอบด้วยเหตุด้วยผล ซึ่งน่าเชื่อว่าจะทำให้เกิดการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน ผลักดันประเทศไปสู่ทางที่ถูกต้องเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่และทุกฝ่ายไม่มากก็น้อย" เป็นคำกล่าวของพระไพศาล
ณ วันนี้เหตุการณ์การชุมนุมที่ดูมีความคุกรุ่นดำเนินมากว่า 2 เดือน มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ หากนึกถึงความรุนแรงข้างหน้าที่อาจบานปลาย ความเห็นที่เสนอทางออกอย่างสันติวิธีที่หยิบยกมานี้...ทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายคัดค้าน ฝ่ายบอยคอต และฝ่ายจัดการเลือกตั้ง น่านำมาใคร่ครวญยิ่งนัก
ประเด็นซื้อสิทธิขายเสียงที่กังวลกันนั้น ต้องวางใจให้มีสติ ไม่มองแบบตีค่าผู้อื่นในเชิง Dehumanize เพราะรังแต่จะสร้างสังคมแบ่งแยก เราอยู่ในศตวรรษที่ 21 ที่ถอยหลังไปไม่ได้อีกแล้ว ผู้คนอีกมากในประเทศนี้ไม่อยากติดหล่มกับดักการเมือง วนไปวนมาจนประเทศชาติเศรษฐกิจเดินหน้าไม่เต็มสูบเสียที
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
-------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น