โดย.ชุมพร พลรักษ์
สัปดาห์ที่แล้วได้เล่าถึงการปฏิรูปทั้งการเมืองและการปกครองของญี่ปุ่น ภายหลังที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเมื่อการบังคับใช้รัฐธรรมนูญวันที่ 3 พฤษภาคม 2490 โดยสาระสำคัญประการแรกของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่มีอยู่รวม 103 มาตรา ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการที่จะแก้ไขปัญหาการควบคุมอำนาจของศูนย์กลาง เป็น การกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นผลให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเทศมนตรีทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 หลังจากนั้นแล้วญี่ปุ่นก็มีการปฏิรูปซึ่งถือว่าเป็นการ ปฏิรูป ทางการเมืองครั้งที่ 2 ก็ว่าได้ ซึ่งการปฏิรูปครั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากปัญหา คอร์รัปชัน ในทางการเมืองของญี่ปุ่นนั่นเอง
ภายหลังที่มีการเปิดเผยจากสภาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1978 ว่า ทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นต้องจ่ายเงินอดหนุนพรรคการเมือง ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลนับปีละหมื่นล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของ ส.ส. (ซึ่งถ้าเป็นของไทยคงเรียกว่าค่าใช้จ่าย ส.ส. ในการลงพื้นที่) ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องต่างตอบแทนก็ว่าได้ จนเมื่อมีการแฉเรื่องการที่นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในขณะนั้นคือ นายทานากะ รับสินบนกรณีการซื้อเครื่องบินจาก บริษัทล็อคฮีท และต่อมาก็ถูกฝ่ายค้านแฉเรื่องการไปซื้อหุ้นของ บริษัทรี ครู้ท แจก ส.ส. ที่เป็นลูกพรรค และเมื่อมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงมากขึ้น และจำนนด้วยหลักฐานก็ขอลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนเมษายน 2532 และถูกจำคุกด้วยคดีรับสินบน บริษัทล็อคฮีท เป็นเวลา 4 ปี ในเวลาต่อมาหนังสือ Time International ฉบับวันที่ 4 เมษายน 1982 ถึงกับพาดหัวข่าวเป็นรูปนายกรัฐมนตรีทานากะ พร้อมด้วยข้อความ money+politics =scandal หรือถ้าแปลเป็นไทยคือ การเงิน + การเมือง = ความอัปยศ
นักการเมืองของญี่ปุ่นในขณะนั้นก็คงจะคิดว่า เหตุคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในการเมืองของญี่ปุ่นในขณะนั้น เกิดขึ้นจากนักการเมืองที่เข้ามาสู่สภา โดยการใช้จ่ายเงินในการซื้อเสียง เมื่อพรรคการเมืองลงทุน ส.ส. ซื้อเสียงเข้ามา เมื่อเข้ามาก็ต้องมาหาช่องทางเอาคืน การจะเอาเงินคืนก็ต้องคอร์รัปชัน (ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกันทั่วโลก) การที่จะขจัดคอร์รัปชันให้หมดไปหรือน้องลง ก็ต้องเป็นการป้องกันการซื้อเสียงของนักการเมืองคือ “จะต้องเลือกคนดีและป้องกันคนไม่ดี”ให้ได้มากที่สุด ได้มีนักการเมืองญี่ปุ่น 2 คน ชื่อนายโฮโซกาวา และนายฮาตะ ได้เสนอแผนปฏิรูปการเมือง โดยการแก้ไข “ระบบการเลือกตั้ง” เสียใหม่ โดยเสนอกฎหมายและแก้ไขระบบการเลือกตั้งใหม่ คือ
1. โปสเตอร์มีขนาดเดียวเท่านั้น คือ 42x42 ซม. ต้องไปปิดไว้ที่ป้ายประกาศที่กำหนดไว้ให้เท่านั้น ปิดที่อื่นไม่ได้ เจตนารมณ์ก็คือต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกันในการหาเสียง ใครมีเงินมากกว่าจะขึ้นป้ายขนาดใหญ่กว่า ในจุดที่เด่นกว่าไม่ได้
2. ห้ามแจกเงิน สิ่งของ บริจาคเงิน บริจาคของ ทั้งก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง มีความผิดตามกฎหมายทั้งนั้น
3. ผู้มีสิทธิลงคะแนนต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป เพราะเขามองว่าคนที่จะไปเลือกบุคคลเข้ามาบริหาร ออกกฎหมายเพื่อปกครองประเทศนั้น ควรจะเป็นผู้ใหญ่และมีวิจารณาญานที่สูงกว่า
4. ระยะเวลาหาเสียง ส.ว. และผู้ว่าราชการจังหวัด 17 วัน นายกเทศมนตรี 14 วัน ส.ส. 12 วัน สมาชิกสภา
5 วัน เหตุที่ให้ใช้เวลาเพียงเท่านี้เพราะเขาถือว่า คนที่เป็นคนดีและทำดีนั้นต้องทำดีมาโดยตลอดแล้ว ประชาชนในพื้นที่ที่ทราบแล้ว รู้จักแล้ว ไม่ใช่เรื่องจะมาโฆษณาเมื่อมีการเลือกตั้ง
5. ให้ประชุมชี้แจงนโยบายได้ แต่จะประกาศโฆษณากระจายเสียงเสียงดังไม่ได้
6. ประการสำคัญที่สุด การทำผิดกฎหมายเลือกตั้งถือเป็นความผิดทาง “อาญา” มีทาถึงจำคุกรวมถึงผู้สนับสนุนด้วย
วันนี้จึงจะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นมีนักการเมืองที่ดี มีความละอายต่อบาป และมีจิตนึกและความรับผิดชอบที่สูง ในวันนี้การจะลงโทษนักการเมืองเพียงแค่ตัดสิทธิทางการเมืองเพียงพอหรือไม่ ความรับผิดชอบของพรรคการเมืองทุกพรรค ที่มีความพยายามแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญในเรื่องการ “ยุบพรรค” เมื่อผู้บริหารพรรคทำหรือสนับสนุนการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งสมควรหรือไม่ เมื่อหลายพรรคหรือทุกพรรคบอกว่า “พรรคเลือกคน คนเลือกพรรค” เมื่อพรรคส่งคนไม่ดีมาแล้ว พรรคจะปฏิเสธว่าพรรคไม่รับผิดชอบเพราะเป็นเรื่องของคนไม่ใช่เรื่องของพรรค แถมยังจะมีหลายคนร่วมเป็นคณะปฏิรูปการเมืองอีก แล้วจะเกิดประโยชน์อะไร เพราะบทสรุปของการแก้ไขก็เพื่อตนเองและพวกพ้อง
ซึ่งก็เป็นไปตามหลักของธรรมชาติและสุภาษิตกฎหมายว่า “ชนชั้นใดเป็นผู้ออกกฎหมาย ก็ย่อมตรากฎหมายเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ประชาชนจะได้อะไรจากการปฏิรูปครั้งนี้ นั่นจึงเป็นคำตอบของ “การปฏิรูปการเมือง”
ที่มา.สยามรัฐ
---------------------------------
สัปดาห์ที่แล้วได้เล่าถึงการปฏิรูปทั้งการเมืองและการปกครองของญี่ปุ่น ภายหลังที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเมื่อการบังคับใช้รัฐธรรมนูญวันที่ 3 พฤษภาคม 2490 โดยสาระสำคัญประการแรกของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่มีอยู่รวม 103 มาตรา ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการที่จะแก้ไขปัญหาการควบคุมอำนาจของศูนย์กลาง เป็น การกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นผลให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเทศมนตรีทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 หลังจากนั้นแล้วญี่ปุ่นก็มีการปฏิรูปซึ่งถือว่าเป็นการ ปฏิรูป ทางการเมืองครั้งที่ 2 ก็ว่าได้ ซึ่งการปฏิรูปครั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากปัญหา คอร์รัปชัน ในทางการเมืองของญี่ปุ่นนั่นเอง
ภายหลังที่มีการเปิดเผยจากสภาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1978 ว่า ทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นต้องจ่ายเงินอดหนุนพรรคการเมือง ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลนับปีละหมื่นล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของ ส.ส. (ซึ่งถ้าเป็นของไทยคงเรียกว่าค่าใช้จ่าย ส.ส. ในการลงพื้นที่) ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องต่างตอบแทนก็ว่าได้ จนเมื่อมีการแฉเรื่องการที่นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในขณะนั้นคือ นายทานากะ รับสินบนกรณีการซื้อเครื่องบินจาก บริษัทล็อคฮีท และต่อมาก็ถูกฝ่ายค้านแฉเรื่องการไปซื้อหุ้นของ บริษัทรี ครู้ท แจก ส.ส. ที่เป็นลูกพรรค และเมื่อมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงมากขึ้น และจำนนด้วยหลักฐานก็ขอลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนเมษายน 2532 และถูกจำคุกด้วยคดีรับสินบน บริษัทล็อคฮีท เป็นเวลา 4 ปี ในเวลาต่อมาหนังสือ Time International ฉบับวันที่ 4 เมษายน 1982 ถึงกับพาดหัวข่าวเป็นรูปนายกรัฐมนตรีทานากะ พร้อมด้วยข้อความ money+politics =scandal หรือถ้าแปลเป็นไทยคือ การเงิน + การเมือง = ความอัปยศ
นักการเมืองของญี่ปุ่นในขณะนั้นก็คงจะคิดว่า เหตุคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในการเมืองของญี่ปุ่นในขณะนั้น เกิดขึ้นจากนักการเมืองที่เข้ามาสู่สภา โดยการใช้จ่ายเงินในการซื้อเสียง เมื่อพรรคการเมืองลงทุน ส.ส. ซื้อเสียงเข้ามา เมื่อเข้ามาก็ต้องมาหาช่องทางเอาคืน การจะเอาเงินคืนก็ต้องคอร์รัปชัน (ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกันทั่วโลก) การที่จะขจัดคอร์รัปชันให้หมดไปหรือน้องลง ก็ต้องเป็นการป้องกันการซื้อเสียงของนักการเมืองคือ “จะต้องเลือกคนดีและป้องกันคนไม่ดี”ให้ได้มากที่สุด ได้มีนักการเมืองญี่ปุ่น 2 คน ชื่อนายโฮโซกาวา และนายฮาตะ ได้เสนอแผนปฏิรูปการเมือง โดยการแก้ไข “ระบบการเลือกตั้ง” เสียใหม่ โดยเสนอกฎหมายและแก้ไขระบบการเลือกตั้งใหม่ คือ
1. โปสเตอร์มีขนาดเดียวเท่านั้น คือ 42x42 ซม. ต้องไปปิดไว้ที่ป้ายประกาศที่กำหนดไว้ให้เท่านั้น ปิดที่อื่นไม่ได้ เจตนารมณ์ก็คือต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกันในการหาเสียง ใครมีเงินมากกว่าจะขึ้นป้ายขนาดใหญ่กว่า ในจุดที่เด่นกว่าไม่ได้
2. ห้ามแจกเงิน สิ่งของ บริจาคเงิน บริจาคของ ทั้งก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง มีความผิดตามกฎหมายทั้งนั้น
3. ผู้มีสิทธิลงคะแนนต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป เพราะเขามองว่าคนที่จะไปเลือกบุคคลเข้ามาบริหาร ออกกฎหมายเพื่อปกครองประเทศนั้น ควรจะเป็นผู้ใหญ่และมีวิจารณาญานที่สูงกว่า
4. ระยะเวลาหาเสียง ส.ว. และผู้ว่าราชการจังหวัด 17 วัน นายกเทศมนตรี 14 วัน ส.ส. 12 วัน สมาชิกสภา
5 วัน เหตุที่ให้ใช้เวลาเพียงเท่านี้เพราะเขาถือว่า คนที่เป็นคนดีและทำดีนั้นต้องทำดีมาโดยตลอดแล้ว ประชาชนในพื้นที่ที่ทราบแล้ว รู้จักแล้ว ไม่ใช่เรื่องจะมาโฆษณาเมื่อมีการเลือกตั้ง
5. ให้ประชุมชี้แจงนโยบายได้ แต่จะประกาศโฆษณากระจายเสียงเสียงดังไม่ได้
6. ประการสำคัญที่สุด การทำผิดกฎหมายเลือกตั้งถือเป็นความผิดทาง “อาญา” มีทาถึงจำคุกรวมถึงผู้สนับสนุนด้วย
วันนี้จึงจะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นมีนักการเมืองที่ดี มีความละอายต่อบาป และมีจิตนึกและความรับผิดชอบที่สูง ในวันนี้การจะลงโทษนักการเมืองเพียงแค่ตัดสิทธิทางการเมืองเพียงพอหรือไม่ ความรับผิดชอบของพรรคการเมืองทุกพรรค ที่มีความพยายามแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญในเรื่องการ “ยุบพรรค” เมื่อผู้บริหารพรรคทำหรือสนับสนุนการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งสมควรหรือไม่ เมื่อหลายพรรคหรือทุกพรรคบอกว่า “พรรคเลือกคน คนเลือกพรรค” เมื่อพรรคส่งคนไม่ดีมาแล้ว พรรคจะปฏิเสธว่าพรรคไม่รับผิดชอบเพราะเป็นเรื่องของคนไม่ใช่เรื่องของพรรค แถมยังจะมีหลายคนร่วมเป็นคณะปฏิรูปการเมืองอีก แล้วจะเกิดประโยชน์อะไร เพราะบทสรุปของการแก้ไขก็เพื่อตนเองและพวกพ้อง
ซึ่งก็เป็นไปตามหลักของธรรมชาติและสุภาษิตกฎหมายว่า “ชนชั้นใดเป็นผู้ออกกฎหมาย ก็ย่อมตรากฎหมายเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ประชาชนจะได้อะไรจากการปฏิรูปครั้งนี้ นั่นจึงเป็นคำตอบของ “การปฏิรูปการเมือง”
ที่มา.สยามรัฐ
---------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น