พล.ต.อ.อดุลย์ แม้ใจจริงลึกๆไม่ค่อยอยากรับเป็น"หนังหน้าไฟ" แต่เนื่องจาก"สีกากี" เป็นสีที่ฝ่ายการเมืองไว้วางใจ
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ และ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) นั้น ชัดเจนว่าเป็นการ "ชง" โดย "สามทหารเสือ" ได้แก่ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)
ในส่วนของ พล.ต.อ.อดุลย์ นั้น แม้ใจจริงลึกๆ ไม่ค่อยอยากรับเป็น "หนังหน้าไฟ" ในวิกฤติขัดแย้งทางการเมืองรอบนี้สักเท่าไร แต่เนื่องจาก "สีกากี" เป็นสีที่ฝ่ายการเมืองไว้วางใจ แม้แต่ "คนทางไกล" ก็ยังแสดงความเชื่อมั่น จึงจำต้องรับ ประกอบกับก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.อดุลย์ เองได้ยืนยันความพร้อมเอาไว้อย่างหนักแน่น ทั้งการใช้กำลังตำรวจในภารกิจตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ) และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯด้วย ทำให้ไม่สามารถปฏิเสธได้
บรรยากาศการประชุมศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ชุดใหญ่เมื่อวันที่ 21 ม.ค. พ่วงด้วยการประชุมครม.วงเล็ก จึงมีการเสนอประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แบบ "มัดมือชก" เพราะไม่มีการเชิญหน่วยงานที่ "เห็นต่าง" มาร่วมด้วยเลย โดยเฉพาะสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) ซึ่งมีฐานข้อมูลการข่าวแตกต่างจากตำรวจค่อนข้างมาก
ขณะที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพ (ผบ.เหล่าทัพ) ที่ พล.ท.ภราดร ให้ข่าวว่าทุกคนเห็นด้วยนั้น ปรากฏว่า ผบ.ทุกคนส่งมาเฉพาะตัวแทน และยังแสดงเจตนาไม่ร่วมอยู่ในโครงสร้างศูนย์รักษาความสงบ หรือ ศรส. ที่ตั้งขึ้นเป็นหน่วยบัญชาการเหตุการณ์ด้วย
เหตุนี้เองในคำสั่งจัดตั้ง ศรส. ซึ่งเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 3/2557 จึงชัดเจนว่าโครงสร้าง ศรส.ในภาคส่วนอื่นๆ ล้วนเป็น "ตัวจริง" ทั้งหมด เช่น ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นผู้บัญชาการเหล่าทัพเท่านั้นที่ในคำสั่งเขียนเปิดให้ส่ง "ผู้แทน" มาร่วมเป็นกรรมการได้
เมื่อทหารแสดงท่าที "ไม่เอาด้วย" อย่างชัดเจนแบบนี้ รัฐบาลจึงต้องตัดสินใจให้ "ตำรวจ" ออกหน้า จึงมี ผบ.ตร.เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ร่วมแถลงข่าวหลังมีมติประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การแต่งตั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นผู้อำนวยการ ศรส. ทั้งๆ ที่เจ้าตัวเป็นรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งหน้างานไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองได้ ประเด็นนี้แหล่งข่าวในรัฐบาลเผยว่า เป็นเพราะฝ่ายทหารไม่รับเป็นเจ้าภาพในการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จำเป็นต้องใช้ตำรวจเป็น "กำลังหลัก" จึงต้องหาคนที่เข้าใจงานตำรวจพอสมควรในการควบคุมสั่งการ ประกอบกับฝ่ายการเมืองต้องการกัน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ให้เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจและการปฏิบัติตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯด้วย ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม กลายเป็นตัวเลือกที่ลงตัวที่สุด
"ทั้งระหว่างประชุมและหลังประชุม ศอ.รส.ชุดใหญ่ พล.ท.ภราดร ได้แยกตัวไปคุยกับ ร.ต.อ.เฉลิม เพื่อหารือเรื่องนี้ และมีการยกหูโทรศัพท์คุยกับคนทางไกลด้วย ก่อนจะมีการประกาศให้ ร.ต.อ.เฉลิม เป็น ผอ.ศรส."
ส่วนการเลือกใช้ชื่อ ศรส. แทนศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.ที่เคยใช้เมื่อปี 53 นั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการย่ำรอยเดิมของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ซึ่งถูกมองว่ามีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อสลายการชุมนุมและมีคนเสียชีวิต โดย ศอฉ.เป็นหน่วยบัญชาการเหตุการณ์ที่สำคัญในครั้งนั้น อีกทั้งแกนนำรัฐบาลชุดนี้หลายคนเคยยืนยันว่าจะไม่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เหมือนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วย จึงต้องปรับเปลี่ยนชื่อไม่ให้มีคำว่า "ฉุกเฉิน" เพื่อสร้างความสับสนให้กับประชาชนผู้รับข่าวสาร
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
-----------------------------------------------
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ และ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) นั้น ชัดเจนว่าเป็นการ "ชง" โดย "สามทหารเสือ" ได้แก่ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)
ในส่วนของ พล.ต.อ.อดุลย์ นั้น แม้ใจจริงลึกๆ ไม่ค่อยอยากรับเป็น "หนังหน้าไฟ" ในวิกฤติขัดแย้งทางการเมืองรอบนี้สักเท่าไร แต่เนื่องจาก "สีกากี" เป็นสีที่ฝ่ายการเมืองไว้วางใจ แม้แต่ "คนทางไกล" ก็ยังแสดงความเชื่อมั่น จึงจำต้องรับ ประกอบกับก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.อดุลย์ เองได้ยืนยันความพร้อมเอาไว้อย่างหนักแน่น ทั้งการใช้กำลังตำรวจในภารกิจตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ) และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯด้วย ทำให้ไม่สามารถปฏิเสธได้
บรรยากาศการประชุมศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ชุดใหญ่เมื่อวันที่ 21 ม.ค. พ่วงด้วยการประชุมครม.วงเล็ก จึงมีการเสนอประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แบบ "มัดมือชก" เพราะไม่มีการเชิญหน่วยงานที่ "เห็นต่าง" มาร่วมด้วยเลย โดยเฉพาะสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) ซึ่งมีฐานข้อมูลการข่าวแตกต่างจากตำรวจค่อนข้างมาก
ขณะที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพ (ผบ.เหล่าทัพ) ที่ พล.ท.ภราดร ให้ข่าวว่าทุกคนเห็นด้วยนั้น ปรากฏว่า ผบ.ทุกคนส่งมาเฉพาะตัวแทน และยังแสดงเจตนาไม่ร่วมอยู่ในโครงสร้างศูนย์รักษาความสงบ หรือ ศรส. ที่ตั้งขึ้นเป็นหน่วยบัญชาการเหตุการณ์ด้วย
เหตุนี้เองในคำสั่งจัดตั้ง ศรส. ซึ่งเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 3/2557 จึงชัดเจนว่าโครงสร้าง ศรส.ในภาคส่วนอื่นๆ ล้วนเป็น "ตัวจริง" ทั้งหมด เช่น ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นผู้บัญชาการเหล่าทัพเท่านั้นที่ในคำสั่งเขียนเปิดให้ส่ง "ผู้แทน" มาร่วมเป็นกรรมการได้
เมื่อทหารแสดงท่าที "ไม่เอาด้วย" อย่างชัดเจนแบบนี้ รัฐบาลจึงต้องตัดสินใจให้ "ตำรวจ" ออกหน้า จึงมี ผบ.ตร.เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ร่วมแถลงข่าวหลังมีมติประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การแต่งตั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นผู้อำนวยการ ศรส. ทั้งๆ ที่เจ้าตัวเป็นรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งหน้างานไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองได้ ประเด็นนี้แหล่งข่าวในรัฐบาลเผยว่า เป็นเพราะฝ่ายทหารไม่รับเป็นเจ้าภาพในการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จำเป็นต้องใช้ตำรวจเป็น "กำลังหลัก" จึงต้องหาคนที่เข้าใจงานตำรวจพอสมควรในการควบคุมสั่งการ ประกอบกับฝ่ายการเมืองต้องการกัน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ให้เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจและการปฏิบัติตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯด้วย ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม กลายเป็นตัวเลือกที่ลงตัวที่สุด
"ทั้งระหว่างประชุมและหลังประชุม ศอ.รส.ชุดใหญ่ พล.ท.ภราดร ได้แยกตัวไปคุยกับ ร.ต.อ.เฉลิม เพื่อหารือเรื่องนี้ และมีการยกหูโทรศัพท์คุยกับคนทางไกลด้วย ก่อนจะมีการประกาศให้ ร.ต.อ.เฉลิม เป็น ผอ.ศรส."
ส่วนการเลือกใช้ชื่อ ศรส. แทนศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.ที่เคยใช้เมื่อปี 53 นั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการย่ำรอยเดิมของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ซึ่งถูกมองว่ามีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อสลายการชุมนุมและมีคนเสียชีวิต โดย ศอฉ.เป็นหน่วยบัญชาการเหตุการณ์ที่สำคัญในครั้งนั้น อีกทั้งแกนนำรัฐบาลชุดนี้หลายคนเคยยืนยันว่าจะไม่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เหมือนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วย จึงต้องปรับเปลี่ยนชื่อไม่ให้มีคำว่า "ฉุกเฉิน" เพื่อสร้างความสับสนให้กับประชาชนผู้รับข่าวสาร
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
-----------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น