8 ปีวิกฤติการเมืองไทย ไร้ทางออกความขัดแย้ง ก่อตัวสมัยรัฐบาล"ทักษิณ" คนเสื้อเหลืองต้าน"ทุนสามานย์" แดงงัดวาทกรรรม"อำมาตย์-ไพร่"
การชุมนุมขับไล่รัฐบาลของกลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) ถือเป็นวิกฤติการเมืองครั้งที่ 3 ในรอบ 8 ปี
หากย้อนกลับไปดูการเคลื่อนไหวทางการเมือง จนนำไปสู่ "วิกฤติ" จะเห็นว่าเริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ปลายสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลต่อเนื่องของความขัดแย้งอันยาวนานเกือบ 10 ปี
เมื่อครั้งนั้น เกิดการชุมนุมครั้งใหญ่ของประชาชนต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ จนก่อตัวเป็น "กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" หรือเรียกกันว่า "คนเสื้อเหลือง"
กลุ่มพันธมิตรฯ ต่อต้าน สิ่งที่เรียกว่า "ทุนสามานย์" ซึ่งหมายถึง กลุ่มทุนเข้ามาใช้อำนาจทางการเมืองแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง อีกทั้งมีการใช้อำนาจทางการเมืองในระบบรัฐสภาแบบ "เบ็ดเสร็จ"
การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ นำไปสู่การรัฐประหารในเดือนก.ย. 2549
แต่การรัฐประหารครั้งนี้ ผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาและความขัดแย้งในสังคมในช่วงต่อมา
หลังจากรัฐประหารมีการแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการ เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในรัฐบาลชุดนี้ มีการฟ้องดำเนินคดีรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในข้อหาทุจริตคอร์รัปชันหลายคดี
หลังจากการเลือกตั้งครั้งใหญ่ ก็ปรากฏว่าพรรคพลังประชาชน ที่เปลี่ยนชื่อหลังถูกยุบพรรคเพื่อไทย ได้รับชัยชนะการเลือกตั้ง จากนั้น นายสมัคร สุนทรเวช ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่แล้ว นายสมัคร ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากตำแหน่งจากรายการ "ชิมไป บ่นไป" และ ต่อมา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุด นายสมชายก็เจอกับคดียุบพรรคการเมือง จึงต้องพ้นจากตำแหน่ง
หลังจากนั้น ก็เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของสมาชิกพรรคพลังประชาชน "บางกลุ่ม" ย้ายขั้วไปร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่แล้ว รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ก็ต้องเผชิญกับการต่อต้านจากอีกฝ่าย เมื่อมีการชูวาทกรรม "อำมาตย์-ไพร่" และจัดตั้งกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ทำการประท้วง "รัฐบาลในค่ายทหาร" โดยการยึดพื้นที่สำคัญกลางเมืองย่านราชประสงค์และบริเวณราชดำเนิน
ก่อนทหารเข้าสลายการชุมนุมในปี 2553 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน และบาดเจ็บนับพัน
จากนั้น รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ประกาศยุบสภาเพื่อเปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่ หวังยุติความขัดแย้งทางการเมือง
การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเพื่อไทย ที่เปลี่ยนมาจากพรรคพลังประชาชน ได้รับชัยชนะอีกครั้ง จากเสียงสนับสนุนจากประชาชน "รากหญ้า" โดยได้รับชัยชนะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการสนับสนุนในภาคใต้ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพมหานคร
นักวิชาการประเมินจากเสียงสนับสนุน ระบุว่า คนระดับล่าง หรือ "รากหญ้า" สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ขณะที่คนชั้นกลางและชั้นสูงในเมือง สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์
หลังเลือกตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่จากความขัดแย้งภายใต้วาทกรรม "อำมาตย์-ไพร่" ทำให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ เผชิญกับแรงกดดันอย่างหนัก เนื่องจากยังมีกลุ่มผู้สนับสนุนในนาม "คนเสื้อแดง" ยังเคลื่อนไหวภายใต้วาทกรรมดังกล่าว
แต่จุดที่เป็นวิกฤติการเมืองของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ เมื่อพยายามผลักดันพระราชกำหนดนิรโทษกรรม ฉบับ "เหมาเข่ง" ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจเกิดขึ้นและขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว
แม้แต่ "คนเสื้อแดง" ก็ออกมาต่อต้าน
การชุมนุมของประชาชนที่ไม่พอใจรัฐบาล และ "นักการเมือง" เริ่มก่อตัวขึ้น ในที่สุด ได้จัดตั้งเป็นกลุ่มกปปส. จากเริ่มแรก พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดเวทีต่อต้าน แต่ประชาชนทั่วไปกลับให้การสนับสนุนอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากเทียบกับการจัดชุมนุมในอดีต ถือว่าการชุมนุมของกลุ่มกปปส.ก่อตัวอย่างรวดเร็ว เพียงแค่หนึ่งสัปดาห์
การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มกปปส.เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ที่ต้องการให้ "ปฏิรูป" มาก่อน "การเลือกตั้ง"
การเมืองนับจากนี้นับว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ เพราะว่ากลุ่ม กปปส. เป็นคนอีกหนึ่งกลุ่ม ทั้งที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มคนชั้นกลาง ขณะที่รัฐบาล มีฐานมวลชนอย่างหนาแน่นในต่างจังหวัด รวมทั้งคนกรุงเทพฯ อีกไม่น้อย
เป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ และเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองใหญ่ ซึ่งยังมองไม่เห็นว่าจะยุติลงอย่างไร
แม้ทุกฝ่ายยืนยันยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
-------------------------------------
การชุมนุมขับไล่รัฐบาลของกลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) ถือเป็นวิกฤติการเมืองครั้งที่ 3 ในรอบ 8 ปี
หากย้อนกลับไปดูการเคลื่อนไหวทางการเมือง จนนำไปสู่ "วิกฤติ" จะเห็นว่าเริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ปลายสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลต่อเนื่องของความขัดแย้งอันยาวนานเกือบ 10 ปี
เมื่อครั้งนั้น เกิดการชุมนุมครั้งใหญ่ของประชาชนต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ จนก่อตัวเป็น "กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" หรือเรียกกันว่า "คนเสื้อเหลือง"
กลุ่มพันธมิตรฯ ต่อต้าน สิ่งที่เรียกว่า "ทุนสามานย์" ซึ่งหมายถึง กลุ่มทุนเข้ามาใช้อำนาจทางการเมืองแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง อีกทั้งมีการใช้อำนาจทางการเมืองในระบบรัฐสภาแบบ "เบ็ดเสร็จ"
การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ นำไปสู่การรัฐประหารในเดือนก.ย. 2549
แต่การรัฐประหารครั้งนี้ ผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาและความขัดแย้งในสังคมในช่วงต่อมา
หลังจากรัฐประหารมีการแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการ เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในรัฐบาลชุดนี้ มีการฟ้องดำเนินคดีรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในข้อหาทุจริตคอร์รัปชันหลายคดี
หลังจากการเลือกตั้งครั้งใหญ่ ก็ปรากฏว่าพรรคพลังประชาชน ที่เปลี่ยนชื่อหลังถูกยุบพรรคเพื่อไทย ได้รับชัยชนะการเลือกตั้ง จากนั้น นายสมัคร สุนทรเวช ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่แล้ว นายสมัคร ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากตำแหน่งจากรายการ "ชิมไป บ่นไป" และ ต่อมา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุด นายสมชายก็เจอกับคดียุบพรรคการเมือง จึงต้องพ้นจากตำแหน่ง
หลังจากนั้น ก็เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของสมาชิกพรรคพลังประชาชน "บางกลุ่ม" ย้ายขั้วไปร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่แล้ว รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ก็ต้องเผชิญกับการต่อต้านจากอีกฝ่าย เมื่อมีการชูวาทกรรม "อำมาตย์-ไพร่" และจัดตั้งกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ทำการประท้วง "รัฐบาลในค่ายทหาร" โดยการยึดพื้นที่สำคัญกลางเมืองย่านราชประสงค์และบริเวณราชดำเนิน
ก่อนทหารเข้าสลายการชุมนุมในปี 2553 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน และบาดเจ็บนับพัน
จากนั้น รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ประกาศยุบสภาเพื่อเปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่ หวังยุติความขัดแย้งทางการเมือง
การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเพื่อไทย ที่เปลี่ยนมาจากพรรคพลังประชาชน ได้รับชัยชนะอีกครั้ง จากเสียงสนับสนุนจากประชาชน "รากหญ้า" โดยได้รับชัยชนะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการสนับสนุนในภาคใต้ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพมหานคร
นักวิชาการประเมินจากเสียงสนับสนุน ระบุว่า คนระดับล่าง หรือ "รากหญ้า" สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ขณะที่คนชั้นกลางและชั้นสูงในเมือง สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์
หลังเลือกตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่จากความขัดแย้งภายใต้วาทกรรม "อำมาตย์-ไพร่" ทำให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ เผชิญกับแรงกดดันอย่างหนัก เนื่องจากยังมีกลุ่มผู้สนับสนุนในนาม "คนเสื้อแดง" ยังเคลื่อนไหวภายใต้วาทกรรมดังกล่าว
แต่จุดที่เป็นวิกฤติการเมืองของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ เมื่อพยายามผลักดันพระราชกำหนดนิรโทษกรรม ฉบับ "เหมาเข่ง" ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจเกิดขึ้นและขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว
แม้แต่ "คนเสื้อแดง" ก็ออกมาต่อต้าน
การชุมนุมของประชาชนที่ไม่พอใจรัฐบาล และ "นักการเมือง" เริ่มก่อตัวขึ้น ในที่สุด ได้จัดตั้งเป็นกลุ่มกปปส. จากเริ่มแรก พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดเวทีต่อต้าน แต่ประชาชนทั่วไปกลับให้การสนับสนุนอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากเทียบกับการจัดชุมนุมในอดีต ถือว่าการชุมนุมของกลุ่มกปปส.ก่อตัวอย่างรวดเร็ว เพียงแค่หนึ่งสัปดาห์
การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มกปปส.เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ที่ต้องการให้ "ปฏิรูป" มาก่อน "การเลือกตั้ง"
การเมืองนับจากนี้นับว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ เพราะว่ากลุ่ม กปปส. เป็นคนอีกหนึ่งกลุ่ม ทั้งที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มคนชั้นกลาง ขณะที่รัฐบาล มีฐานมวลชนอย่างหนาแน่นในต่างจังหวัด รวมทั้งคนกรุงเทพฯ อีกไม่น้อย
เป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ และเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองใหญ่ ซึ่งยังมองไม่เห็นว่าจะยุติลงอย่างไร
แม้ทุกฝ่ายยืนยันยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
-------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น