การชุมนุมต่อต้าน พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง ฉบับสุดซอย ที่กลายเป็นประเด็นจุดฟืนเปียกให้ติดไฟ และกลายเป็นการโอกาสในการแสดงพลังบริสุทธ์ของประชาชนที่ต้องการสั่งสอนนักการเมือง ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของถนนการเมืองของไทย
แต่น่าเสียดายที่สุดท้ายกลับถูกนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง และพรรคการเมืองบางพรรคฉวยโอกาสใช้พลังมวลชนบริสุทธิ์เป็นเครื่องมือในทางการเมือง ด้วยการปลุกเร้าความเกลียดชังให้เกิดขึ้นกับผู้คน ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เลือกข้าง
บนความพยายามแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง และความพยายามที่จะบดขยี้ทำลายล้างคู่แข่งขันทางการเมือง ในลักษณะของการฉวยโอกาสแบบไม่ลืมหูลืมตา ผ่านบุคคลกล้าตายทางการเมืองที่ชื่อ “สุเทพ เทือกสุบรรณ”
สถาปนาตนเองขึ้นเป็นแกนนำ โดยสร้างภาพแห่งความชอบธรรมเพียงแค่การลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อให้เกิดภาพที่ว่าไม่เกี่ยวข้องกัน และพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง หรือผู้ที่จะเสวยสุขแห่งอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองในภายหลัง
แต่เพราะการดำเนินการของนายสุเทพ ไม่มีกฎหมายใดๆมารองรับ มีเพียงกลุ่มประชาชนที่นายสุเทพ เรียกขานเป็นมวลมหาประชาชน ที่เป็นฐานสนับสนุนการกระทำในแง่ของการต่อสู้เรียกร้องตามสิทธิในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ที่ให้ประชาชนมีสิทธิชุมนุมประท้วงได้โดยสงบ และสันติ
แต่ในความเป็นจริง ภายใต้การนำและการปลุกเร้าของนายสุเทพ ร่วมกับ 8 อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และโดยที่มีพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นแนวร่วมในการสนับสนุนการต่อสู้เรียกร้องในครั้งนี้ ได้เกิดภาพของความพยายามกดดัน ข่มขู่ คุกคาม บุกยึดสถานที่ การปิดล้อมสถานที่ การสร้างผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป
ทำให้ความชอบธรรมของนายสุเทพและกลุ่มแกนนำได้ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนาๆกลับทวีเสียงสะท้อนที่ดังมากขึ้น
และไม่ใช่เพียงแค่เสียงสะท้อนจากภายในประเทศเท่านั้น บรรดาต่างประเทศกว่า 50 ประเทศก็ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการเรียกร้องของนายสุเทพและแกนนำที่อาศัยพลังมวลชนเป็นแรงบีบ
แม้แต่สื่อต่างประเทศก็วิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เกรงใจ ไม่ได้ถนอมน้ำใจแกนนำผู้ชุมนุมด้วยเช่นกัน
ทำให้จังหวะและโอกาสที่จะล้มรัฐบาล ที่จะทำลายคู่แข่งหมดสิ้นไป จนกลายเป็นสงครามยืดเยื้อ
และส่อแววที่จะลากยาว เหมือนกับคำประกาศของนายสุเทพ ที่ว่าจะสู้จนกว่าจะตายไปข้างหนึ่ง แม้จะต้องปิดประเทศก็จะทำ
ปัญหาก็คือ แล้วคนทั้งประเทศจะยอมให้คนที่ไม่เคารพกฎหมายใดๆอีกต่อไปแล้วอย่างนายสุเทพ กระทำการย่ำยีประเทศชาติให้บอบช้ำ โดยไม่สนใจความรู้สึกของประชาชนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของแผ่นดินกระนั้นหรือ
เพราะการกล่าวอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดย สงบ สันติ ได้หมดความชอบธรรมไปพร้อมกับความพยายามขมขู่กดดัน สร้างความวุ่นวายปั่นป่วนให้กับประเทศชาติในทุกวิถีทาง
เพียงเพราะต้องการให้เกิดความรุนแรง ต้องการให้ทหารออกมาปฏิวัติ จะได้มีการนองเลือด รัฐบาลชุดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้ต้องคดีมือเปื้อนเลือด เช่นเดียวกับรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่นายสุเทพเคยเป็นรองนายกฯอยู่...
เช่นนั้นใช่หรือไม่???
แล้วความเสียหายบอบช้ำของประเทศ นายสุเทพและบรรดาแกนนำผู้ปลุกปั่นประชาชนอยู่ในเวลานี้ไม่ได้ใส่ใจเลยใช่หรือไม่ ความเสียหายทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน บรรยากาศของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม ซึ่งช่วงปลายปีควรจะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ กลับกลายเป็นป่นปี้ฉิบหายวายวอดไปตามๆกัน
นายสุเทพและพวกกำลังสนุกกับการเผาประเทศ เผาเศรษฐกิจ เผาธุรกิจของคนจำนวนมากอยู่ ไม่รู้ตัวเลยหรืออย่างไร
การเอาแต่อ้างว่าทุกสิ่งจะต้องเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล ของนางสาวยิ่งลักษณ์ เพราะดื้อดึงไม่ยอมทำความต้องการของนายสุเทพและกลุ่มประชาชน หมายความว่ารัฐบาลฝ่ายเดียวเท่านั้นหรือที่จะต้องรับผิดชอบ
ความดื้อดึงไม่ยอมเจรจาใดๆ ดื้อดึงที่จะเอาแต่ได้ฝ่ายเดียวของนายสุเทพ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะจัดตั้งเองหมดนั้น ไม่ใช่ความดื้อดึงที่จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเลยหรือ
จริงๆนายสุเทพควรที่จะทบทวนตัวเองได้แล้วว่า จากในตอนแรกที่ท่าทีของกลุ่มต่างๆ แม้แต่กระทั่ง 7 องค์กรเอกชน อย่าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ก็ยังดูเหมือนจะคล้อยตามการเรียกร้องไปด้วย
แต่เมื่อรัฐบาลยอมยุบสภา และให้มีการเลือกตั้งแล้ว แต่นายสุเทพยังคงลากยาว สร้างผลกระทบอย่างต่อเนื่องหวังแค่จะกดดันรัฐบาลให้ลาออกจากการรักษาการ เพื่อที่ตนเองจะได้ตั้งนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐมนตรี ตั้งสภาประชาชน ได้แบบเบ็ดเสร็จ
หวังที่จะยึดกุมการปฎิรูปประเทศตามแต่อำเภอใจ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับความยินยอมและเห็นพ้องด้วยจากทุกภาคส่วน ทำให้ประเทศชาติล่อแหลมต่อการเกิดสงครามระหว่างประชาชนที่คิดเห็นต่างกัน ซึ่งหากเกิดขึ้นแน่นอนว่าประเทศชาติจะต้องย่อยยับอีกไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไหร่
เสียงสะท้อนที่ว่า เบื่อโว้ย จึงเริ่มที่จะดังมากขึ้นเรื่อยๆ
แม้แต่ 7องค์กรเอกชน ยังทนความบอบช้ำของประเทศ ของภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นไม่ไหว จนต้องออกแถลงการณ์ เสนอเดินหน้าปฏิรูปประเทศทันที ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่
โดยเสนอให้มีการปฏิรูปทันที ที่สำคัญให้ดำเนินการโดยองค์กรที่ตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะและมีกฎหมายรองรับ อีกทั้งต้องปราศจากอิทธิพลของพรรคการเมือง
7 องค์กรภาคเอกชน พูดชัดเจนว่า ได้รับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนอย่างครอบคลุมแล้วต่างมีความเห็นว่าไม่อาจให้ประเทศเข้าสู่ภาวะสิ้นหวัง แต่การที่จะยุติความขัดแย้ง จำเป็นที่จะต้องฟังเสียงเครือข่ายปฏิรูปที่มีความหลากหลาย
“จะต้องจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่ปฏิรูปโดยทันทีก่อนการเลือกตั้งโดยความเห็นชอบของพรรคการเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และมีการรับรองตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ทุกฝ่าย เช่น อาจให้รัฐบาลรักษาการในขณะนี้ออกเป็นพระราชกำหนด เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด ซึ่งวาระการทำงานขององค์กรเป็นวาระแห่งชาติเพื่อทำการปฏิรูปโดยเฉพาะ”
การออกตัวของ 7 องค์กรเอกชน เป็นสิ่งที่ทั้งฝั่งนายสุเทพและฝั่งรัฐบาลจะต้องรับฟัง เพราะเป็นข้อเสนอเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง และอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายรองรับ มีรายละเอียดต่างๆเพื่อเป้าหมายในการปฏิรูปที่ชัดเจน
ไม่ใช่การกระทำตามอำเภอใจโดยไม่สนใจว่าจะมีกฎหมายรองรับหรือไม่เหมือนที่ผ่านมา
การที่ 7 องค์กรเอกชน ได้เชิญชวนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม โดยขอให้ทุกฝ่ายใช้ความสุขุมรอบคอบและวิจารณญาณที่จะช่วยแก้ปัญหาชาติ และขอเรียกร้องใน 3 ข้อ คือ
1.ให้นักการเมืองและคู่ขัดแย้งทางการเมืองทุกฝ่ายได้ตระหนักถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศชาติและหันมาเจรจาหาทางออกจากวิกฤติทางการเมืองในครั้งนี้ร่วมกันบนพื้นฐานของผลประโยชน์ชาติ ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.ให้ทุกฝ่ายแสดงความจริงใจต่อการแก้ปัญหาของประเทศ โดยการเข้าร่วมกระบวนการปฏิรูป
และ 3.รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีภารกิจหลักในการสนับสนุนการปฏิรูปตามข้อเสนอแนะขององค์กรเพื่อการปฏิรูปและในเวลาเดียวกันให้บริหารประเทศและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดการสะดุดและชะงักงันต่อการพัฒนาประเทศ และทำภารกิจข้างต้นให้เสร็จสิ้นอย่างเร็วที่สุด แต่ไม่เกิน 1 ปี
ถือเป็นทางลงที่สวยสดงดงามที่สุดแล้วของทุกฝ่าย และสำคัญที่สุดก็คือเป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนทุกคน
ปีเก่ากำลังผ่านพ้นไป วิงวอนทั้ง 2 ขั้วขัดแย้งเลิกเอาผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองเป็นที่ตั้ง แล้วหันมาเสียสละเพื่อประเทศชาติสักครั้งจะได้ไหม
ให้สิ่งเน่าๆ ให้เกมการเมืองและวงจรอุบาทว์ จบสิ้นไปพร้อมกับปี 2556 จะได้หรือไม่
วันนี้คนไทยที่เป็นคนส่วนใหญ่ที่แท้จริงของประเทศ ไม่ใช่มวลชนของขั้วใดทั้งสิ้น ต่างเบื่อหน่ายอย่างที่สุดแล้ว และเริ่มทนเห็นความบอบช้ำของประเทศไม่ไหวกันแล้ว
หากยังมีนักการเมืองเลวๆที่ยังคงดื้อดึงไม่ยอมจบ ทั้งๆที่ 7 องค์กรเอกชนเสนอทางลงให้กับทั้ง 2 ขั้วแล้วเช่นนี้ ระวังประชาชนจะลงโทษให้นักการเมืองเหล่านี้ต้องสาปสูญไป
อย่าให้ปี 2557 เป็นปีที่ประชาชนเจ้าของประเทศที่แท้จริง ต้องลุกฮือออกมาไล่นักการเมืองทั้ง 2 ขั้ว เพื่อกำจัดปัญหาเน่าๆทางการเมืองเลย ขอร้องล่ะ พลีส!!!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
---------------------------------
แต่น่าเสียดายที่สุดท้ายกลับถูกนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง และพรรคการเมืองบางพรรคฉวยโอกาสใช้พลังมวลชนบริสุทธิ์เป็นเครื่องมือในทางการเมือง ด้วยการปลุกเร้าความเกลียดชังให้เกิดขึ้นกับผู้คน ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เลือกข้าง
บนความพยายามแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง และความพยายามที่จะบดขยี้ทำลายล้างคู่แข่งขันทางการเมือง ในลักษณะของการฉวยโอกาสแบบไม่ลืมหูลืมตา ผ่านบุคคลกล้าตายทางการเมืองที่ชื่อ “สุเทพ เทือกสุบรรณ”
สถาปนาตนเองขึ้นเป็นแกนนำ โดยสร้างภาพแห่งความชอบธรรมเพียงแค่การลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อให้เกิดภาพที่ว่าไม่เกี่ยวข้องกัน และพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง หรือผู้ที่จะเสวยสุขแห่งอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองในภายหลัง
แต่เพราะการดำเนินการของนายสุเทพ ไม่มีกฎหมายใดๆมารองรับ มีเพียงกลุ่มประชาชนที่นายสุเทพ เรียกขานเป็นมวลมหาประชาชน ที่เป็นฐานสนับสนุนการกระทำในแง่ของการต่อสู้เรียกร้องตามสิทธิในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ที่ให้ประชาชนมีสิทธิชุมนุมประท้วงได้โดยสงบ และสันติ
แต่ในความเป็นจริง ภายใต้การนำและการปลุกเร้าของนายสุเทพ ร่วมกับ 8 อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และโดยที่มีพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นแนวร่วมในการสนับสนุนการต่อสู้เรียกร้องในครั้งนี้ ได้เกิดภาพของความพยายามกดดัน ข่มขู่ คุกคาม บุกยึดสถานที่ การปิดล้อมสถานที่ การสร้างผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป
ทำให้ความชอบธรรมของนายสุเทพและกลุ่มแกนนำได้ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนาๆกลับทวีเสียงสะท้อนที่ดังมากขึ้น
และไม่ใช่เพียงแค่เสียงสะท้อนจากภายในประเทศเท่านั้น บรรดาต่างประเทศกว่า 50 ประเทศก็ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการเรียกร้องของนายสุเทพและแกนนำที่อาศัยพลังมวลชนเป็นแรงบีบ
แม้แต่สื่อต่างประเทศก็วิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เกรงใจ ไม่ได้ถนอมน้ำใจแกนนำผู้ชุมนุมด้วยเช่นกัน
ทำให้จังหวะและโอกาสที่จะล้มรัฐบาล ที่จะทำลายคู่แข่งหมดสิ้นไป จนกลายเป็นสงครามยืดเยื้อ
และส่อแววที่จะลากยาว เหมือนกับคำประกาศของนายสุเทพ ที่ว่าจะสู้จนกว่าจะตายไปข้างหนึ่ง แม้จะต้องปิดประเทศก็จะทำ
ปัญหาก็คือ แล้วคนทั้งประเทศจะยอมให้คนที่ไม่เคารพกฎหมายใดๆอีกต่อไปแล้วอย่างนายสุเทพ กระทำการย่ำยีประเทศชาติให้บอบช้ำ โดยไม่สนใจความรู้สึกของประชาชนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของแผ่นดินกระนั้นหรือ
เพราะการกล่าวอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดย สงบ สันติ ได้หมดความชอบธรรมไปพร้อมกับความพยายามขมขู่กดดัน สร้างความวุ่นวายปั่นป่วนให้กับประเทศชาติในทุกวิถีทาง
เพียงเพราะต้องการให้เกิดความรุนแรง ต้องการให้ทหารออกมาปฏิวัติ จะได้มีการนองเลือด รัฐบาลชุดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้ต้องคดีมือเปื้อนเลือด เช่นเดียวกับรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่นายสุเทพเคยเป็นรองนายกฯอยู่...
เช่นนั้นใช่หรือไม่???
แล้วความเสียหายบอบช้ำของประเทศ นายสุเทพและบรรดาแกนนำผู้ปลุกปั่นประชาชนอยู่ในเวลานี้ไม่ได้ใส่ใจเลยใช่หรือไม่ ความเสียหายทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน บรรยากาศของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม ซึ่งช่วงปลายปีควรจะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ กลับกลายเป็นป่นปี้ฉิบหายวายวอดไปตามๆกัน
นายสุเทพและพวกกำลังสนุกกับการเผาประเทศ เผาเศรษฐกิจ เผาธุรกิจของคนจำนวนมากอยู่ ไม่รู้ตัวเลยหรืออย่างไร
การเอาแต่อ้างว่าทุกสิ่งจะต้องเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล ของนางสาวยิ่งลักษณ์ เพราะดื้อดึงไม่ยอมทำความต้องการของนายสุเทพและกลุ่มประชาชน หมายความว่ารัฐบาลฝ่ายเดียวเท่านั้นหรือที่จะต้องรับผิดชอบ
ความดื้อดึงไม่ยอมเจรจาใดๆ ดื้อดึงที่จะเอาแต่ได้ฝ่ายเดียวของนายสุเทพ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะจัดตั้งเองหมดนั้น ไม่ใช่ความดื้อดึงที่จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเลยหรือ
จริงๆนายสุเทพควรที่จะทบทวนตัวเองได้แล้วว่า จากในตอนแรกที่ท่าทีของกลุ่มต่างๆ แม้แต่กระทั่ง 7 องค์กรเอกชน อย่าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ก็ยังดูเหมือนจะคล้อยตามการเรียกร้องไปด้วย
แต่เมื่อรัฐบาลยอมยุบสภา และให้มีการเลือกตั้งแล้ว แต่นายสุเทพยังคงลากยาว สร้างผลกระทบอย่างต่อเนื่องหวังแค่จะกดดันรัฐบาลให้ลาออกจากการรักษาการ เพื่อที่ตนเองจะได้ตั้งนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐมนตรี ตั้งสภาประชาชน ได้แบบเบ็ดเสร็จ
หวังที่จะยึดกุมการปฎิรูปประเทศตามแต่อำเภอใจ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับความยินยอมและเห็นพ้องด้วยจากทุกภาคส่วน ทำให้ประเทศชาติล่อแหลมต่อการเกิดสงครามระหว่างประชาชนที่คิดเห็นต่างกัน ซึ่งหากเกิดขึ้นแน่นอนว่าประเทศชาติจะต้องย่อยยับอีกไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไหร่
เสียงสะท้อนที่ว่า เบื่อโว้ย จึงเริ่มที่จะดังมากขึ้นเรื่อยๆ
แม้แต่ 7องค์กรเอกชน ยังทนความบอบช้ำของประเทศ ของภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นไม่ไหว จนต้องออกแถลงการณ์ เสนอเดินหน้าปฏิรูปประเทศทันที ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่
โดยเสนอให้มีการปฏิรูปทันที ที่สำคัญให้ดำเนินการโดยองค์กรที่ตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะและมีกฎหมายรองรับ อีกทั้งต้องปราศจากอิทธิพลของพรรคการเมือง
7 องค์กรภาคเอกชน พูดชัดเจนว่า ได้รับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนอย่างครอบคลุมแล้วต่างมีความเห็นว่าไม่อาจให้ประเทศเข้าสู่ภาวะสิ้นหวัง แต่การที่จะยุติความขัดแย้ง จำเป็นที่จะต้องฟังเสียงเครือข่ายปฏิรูปที่มีความหลากหลาย
“จะต้องจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่ปฏิรูปโดยทันทีก่อนการเลือกตั้งโดยความเห็นชอบของพรรคการเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และมีการรับรองตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ทุกฝ่าย เช่น อาจให้รัฐบาลรักษาการในขณะนี้ออกเป็นพระราชกำหนด เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด ซึ่งวาระการทำงานขององค์กรเป็นวาระแห่งชาติเพื่อทำการปฏิรูปโดยเฉพาะ”
การออกตัวของ 7 องค์กรเอกชน เป็นสิ่งที่ทั้งฝั่งนายสุเทพและฝั่งรัฐบาลจะต้องรับฟัง เพราะเป็นข้อเสนอเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง และอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายรองรับ มีรายละเอียดต่างๆเพื่อเป้าหมายในการปฏิรูปที่ชัดเจน
ไม่ใช่การกระทำตามอำเภอใจโดยไม่สนใจว่าจะมีกฎหมายรองรับหรือไม่เหมือนที่ผ่านมา
การที่ 7 องค์กรเอกชน ได้เชิญชวนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม โดยขอให้ทุกฝ่ายใช้ความสุขุมรอบคอบและวิจารณญาณที่จะช่วยแก้ปัญหาชาติ และขอเรียกร้องใน 3 ข้อ คือ
1.ให้นักการเมืองและคู่ขัดแย้งทางการเมืองทุกฝ่ายได้ตระหนักถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศชาติและหันมาเจรจาหาทางออกจากวิกฤติทางการเมืองในครั้งนี้ร่วมกันบนพื้นฐานของผลประโยชน์ชาติ ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.ให้ทุกฝ่ายแสดงความจริงใจต่อการแก้ปัญหาของประเทศ โดยการเข้าร่วมกระบวนการปฏิรูป
และ 3.รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีภารกิจหลักในการสนับสนุนการปฏิรูปตามข้อเสนอแนะขององค์กรเพื่อการปฏิรูปและในเวลาเดียวกันให้บริหารประเทศและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดการสะดุดและชะงักงันต่อการพัฒนาประเทศ และทำภารกิจข้างต้นให้เสร็จสิ้นอย่างเร็วที่สุด แต่ไม่เกิน 1 ปี
ถือเป็นทางลงที่สวยสดงดงามที่สุดแล้วของทุกฝ่าย และสำคัญที่สุดก็คือเป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนทุกคน
ปีเก่ากำลังผ่านพ้นไป วิงวอนทั้ง 2 ขั้วขัดแย้งเลิกเอาผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองเป็นที่ตั้ง แล้วหันมาเสียสละเพื่อประเทศชาติสักครั้งจะได้ไหม
ให้สิ่งเน่าๆ ให้เกมการเมืองและวงจรอุบาทว์ จบสิ้นไปพร้อมกับปี 2556 จะได้หรือไม่
วันนี้คนไทยที่เป็นคนส่วนใหญ่ที่แท้จริงของประเทศ ไม่ใช่มวลชนของขั้วใดทั้งสิ้น ต่างเบื่อหน่ายอย่างที่สุดแล้ว และเริ่มทนเห็นความบอบช้ำของประเทศไม่ไหวกันแล้ว
หากยังมีนักการเมืองเลวๆที่ยังคงดื้อดึงไม่ยอมจบ ทั้งๆที่ 7 องค์กรเอกชนเสนอทางลงให้กับทั้ง 2 ขั้วแล้วเช่นนี้ ระวังประชาชนจะลงโทษให้นักการเมืองเหล่านี้ต้องสาปสูญไป
อย่าให้ปี 2557 เป็นปีที่ประชาชนเจ้าของประเทศที่แท้จริง ต้องลุกฮือออกมาไล่นักการเมืองทั้ง 2 ขั้ว เพื่อกำจัดปัญหาเน่าๆทางการเมืองเลย ขอร้องล่ะ พลีส!!!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
---------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น