กลับบ้านเรานะ ตอนนี้เค้าปล่อย ตัวลื้อแล้ว..”
เป็นเสียงสะอื้น..ร่ำไห้จากภรรยาหลังการเสียชีวิตของ “อำพล ตั้งนพคุณ” หรือ “อากง-เอสเอ็มเอส” ...เหยื่อมาตรา ร้อน 112 จากคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุก 20 ปี ในความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 112
การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ “อากง” ได้ทำให้เรื่องของมาตรา 112 “ร้อน” ขึ้นมาอีก! โดยมีประชาชนใส่ชุดดำ ไปรวมตัวกันหน้าเรือนจำทันที ส่วนอีกกลุ่ม หนึ่งก็แต่งดำไปร่วมกิจกรรม.. จุดเทียนไว้อาลัยที่หน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ในวันที่ “อากง” เสียชีวิต... โดยมีกลุ่มนักวิชาการ และคนที่ให้การสนับสนุนแนวทาง “คณะนิติราษฎร์” พร้อมใจกันมาอย่างคับคั่ง!
ในวันเดียวกัน ได้มีการปราศรัยโดยนักกิจกรรม มีการอ่านจดหมายฉบับสุดท้าย ของ “อากง” ต่อมา...ไม้หนึ่ง ก.กุนที ได้อ่านบทกวีถึง “อากง” และร่วมกันยืนสงบนิ่งไว้อาลัย จากนั้น “สุดา รังกุพันธุ์” นักวิชาการเสื้อแดง เป็นตัวแทนอ่านจดหมาย ที่เพิ่งเขียนโดยนางรสมาลินภรรยา “อากง” พร้อมกับมีการจุดเทียนไว้อาลัย
“จรัล ดิษฐาอภิชัย” อดีตแกนนำ นปก.รุ่นสอง กล่าวปราศรัยบนเวทีว่า เหตุการณ์การเสียชีวิตของ “อากง” เป็นเรื่องที่ศาลยุติธรรมจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะว่าถ้าเกิดศาลยุติธรรมได้อนุญาต ให้ “อากง” ประกันตัว “อากง” ก็จะสามารถ เข้ารับการรักษาอาการป่วยอย่างเหมาะสม และคงจะไม่ต้องมาเสียชีวิต นอกจากนั้น “จรัล” ยังได้เสนอข้อเรียกร้องต่อกรมราชทัณฑ์ว่า จะต้องสอบสวนกรณีการเสียชีวิตของ “อากง” และแถลงการณ์การสอบสวนอย่างรวดเร็ว พร้อมเรียกร้อง ให้รัฐบาลหันมาสนใจในกรณีการเสียชีวิตของอากง และช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวด้วย
ด้าน “ธิดา ถาวรเศรษฐ” ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. กล่าวแสดงความเสียใจว่า “..รู้สึกเสียใจอย่างยิ่งต่อการเสียชีวิตของอากง ถือว่าเป็นความบกพร่อง ของกระบวนการยุติธรรมไทย ผู้ต้องหาไม่ ได้รับการดูแลในเรื่องสุขภาพอนามัยเท่าที่ควร และผู้ต้องหาที่ยังไม่ได้ตัดสินคดีความยังไม่ได้รับการประกันตัว การเสียชีวิตของอากงจะไม่เสียเปล่า โดย นปช. จะเพิ่มข้อเรียกร้องขอความเป็นธรรมเพื่อ เพิ่มน้ำหนักให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาทางการเมือง ที่ถูกคุมขังโดยมิชอบ”
ขณะเดียวกันที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีกิจกรรมคู่ขนานไปกับการชุมนุมที่กรุงเทพฯ และมีการถ่ายทอดสดกิจกรรมจากกรุงเทพฯ ไปที่เชียงใหม่ด้วย โดยมีการอ่านบท กวี กล่าวไว้อาลัย ยืนสงบนิ่งที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ก่อนจะแยกย้ายกันกลับในเวลาใกล้เคียงกัน
เวลานี้กระแสสังคม..! กำลังไหวเอน กับกรณีการเสียชีวิตของ “อากง” ที่นับเป็นบทเรียนหนึ่งสำหรับสังคมไทยและสำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม นักกฎหมาย ตลอดจนรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเกี่ยวกับ “การเลือกปฏิบัติ...อย่างไม่เป็นธรรม” ต่อบุคคลที่มีความคิดต่างทางการเมือง การตั้งข้อกล่าวหาที่รุนแรง และ การจำกัดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของบุคคล ตลอดจนสิทธิที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ในช่วงก่อนที่ “อากง” จะเสียชีวิต ก็ได้ปฏิเสธเรื่องการส่งข้อความหมิ่นฯ และบอกด้วยว่า..ยังไม่รู้วิธีการส่ง “เอสเอ็มเอส” ทางโทรศัพท์เลยด้วยซ้ำไป เขาร่ำไห้ขณะอยู่ในกระบวนการของศาล และ กล่าวว่า “ผมรักในหลวง..!”
หนังเรื่องยาวได้รูดม่านไปพร้อมกับ ลมหายใจสุดท้าย...ขอร่วมไว้อาลัย “เหยื่อ 112” วันนี้สิ้นสุดการต่อสู้แล้ว...อากง!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น