สถานทูตหลายแห่ง องค์กรและสื่อมวลชนต่างชาติ เฝ้าติดตามการตัดสินคดีผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทหมิ่นสถาบันเบื้องสูง จากกรณีมีคนเข้ามาโพสต์ข้อความในเว็บ ขณะที่ศาลเลื่อนตัดสินเป็นวันที่ 30 มี.ค. เพราะยังเขียนคำพิพากษาไม่เสร็จ ทนายระบุคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานต่อไป หากผิดจะเกิดการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นตามมาอีกมาก
วันที่ 30 เม.ย. 2555 ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาคดี น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 และ 15
คำฟ้องสรุปว่า ระหว่างวันที่ 15 เม.ย.-3 พ.ย. 2551 เวลากลางคืนติดต่อกันวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ประชาไท โดยเป็นผู้ดูแล (Web master) ได้จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการดำเนินการนำข้อความเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอยู่ในความควบคุม อันเป็นข้อมูลมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลานัด ศาลได้เลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 30 พ.ค. นี้ เวลา 10.00 น. เนื่องจากคดีนี้มีเอกสารจำนวนมากที่ต้องพิจารณา ยังเขียนคำพิพากษาไม่เสร็จสิ้น
ทีมตัวตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ และผู้สื่อข่าวต่างประเทศให้ความสนใจมาทำข่าวและสังเกตการณ์การตัดสินคดีเป็นจำนวนมาก ทั้งตัวแทนจากสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย และตัวแทนสถานทูตต่างๆ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ สวีเดน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน Reporters Without Borders (RSF), Freedom House, Human Right Watch, Google, The International Commission of Jurists (ICJ), Front Line Defenders, Amnesty International Thailand (AI), Malaysiakini, SEACAM , Bytes for All (ปากีสถาน), ilaw, FACT, เครือข่ายพลเมืองเน็ต และเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
ขณะที่ Asian Correspondent เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ ได้เตรียมรายงานสดผ่านบล็อก http://asiancorrespondent.com/81457/live-blog-chiranuch-verdict/ โดยก่อนที่ศาลจะแถลงเลื่อนการอ่านคำพิพากษา Asian Correspondent ตั้งข้อสังเกตว่า อย่างน้อยวันนี้เราจะได้รู้ในระดับหนึ่งว่าตอนนี้รัฐไทยปกครองด้วยระบอบอะไร และมีจุดยืนอย่างไรต่อประเด็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
นายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายจำเลย ระบุว่า คดีนี้ไม่ได้สำคัญเฉพาะกับจำเลยเท่านั้น แต่สำคัญสำหรับผู้ให้บริการรายอื่นๆด้วย ในแง่การเป็นบรรทัดฐานต่อไปสำหรับ “ตัวกลาง” ว่าจะต้องมีภาระรับผิดชอบขนาดไหน การเอาผิดกับผู้ให้บริการจะสร้างภาระที่ทำให้ผู้บริการต้องตั้งเงื่อนไขจำนวนมากกับผู้ใช้บริการหรือผู้โพสต์ความเห็น จะเกิดการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น และจะทำให้ผู้ใช้บริการหันไปใช้พื้นที่ของเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดที่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศ ซึ่งสุดท้ายก็จะทำให้มาตรการทางกฎหมายไม่บรรลุวัตถุประสงค์
นายธีรพันธุ์กล่าวว่า ในต่างประเทศจะใช้ระบบการแจ้งเตือนจากเจ้าหน้าที่รัฐมายังผู้ให้บริการ และมีกำหนดระยะเวลาในการแก้ไข จัดการ อย่างชัดเจน
ด้าน น.ส.จีรนุชกล่าวว่า ศาลคงต้องการอ่านเอกสารต่างๆอย่างละเอียดก่อนตัดสิน จึงเลื่อนการพิพากษาออกไป
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************
วันที่ 30 เม.ย. 2555 ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาคดี น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 และ 15
คำฟ้องสรุปว่า ระหว่างวันที่ 15 เม.ย.-3 พ.ย. 2551 เวลากลางคืนติดต่อกันวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ประชาไท โดยเป็นผู้ดูแล (Web master) ได้จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการดำเนินการนำข้อความเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอยู่ในความควบคุม อันเป็นข้อมูลมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลานัด ศาลได้เลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 30 พ.ค. นี้ เวลา 10.00 น. เนื่องจากคดีนี้มีเอกสารจำนวนมากที่ต้องพิจารณา ยังเขียนคำพิพากษาไม่เสร็จสิ้น
ทีมตัวตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ และผู้สื่อข่าวต่างประเทศให้ความสนใจมาทำข่าวและสังเกตการณ์การตัดสินคดีเป็นจำนวนมาก ทั้งตัวแทนจากสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย และตัวแทนสถานทูตต่างๆ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ สวีเดน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน Reporters Without Borders (RSF), Freedom House, Human Right Watch, Google, The International Commission of Jurists (ICJ), Front Line Defenders, Amnesty International Thailand (AI), Malaysiakini, SEACAM , Bytes for All (ปากีสถาน), ilaw, FACT, เครือข่ายพลเมืองเน็ต และเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
ขณะที่ Asian Correspondent เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ ได้เตรียมรายงานสดผ่านบล็อก http://asiancorrespondent.com/81457/live-blog-chiranuch-verdict/ โดยก่อนที่ศาลจะแถลงเลื่อนการอ่านคำพิพากษา Asian Correspondent ตั้งข้อสังเกตว่า อย่างน้อยวันนี้เราจะได้รู้ในระดับหนึ่งว่าตอนนี้รัฐไทยปกครองด้วยระบอบอะไร และมีจุดยืนอย่างไรต่อประเด็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
นายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายจำเลย ระบุว่า คดีนี้ไม่ได้สำคัญเฉพาะกับจำเลยเท่านั้น แต่สำคัญสำหรับผู้ให้บริการรายอื่นๆด้วย ในแง่การเป็นบรรทัดฐานต่อไปสำหรับ “ตัวกลาง” ว่าจะต้องมีภาระรับผิดชอบขนาดไหน การเอาผิดกับผู้ให้บริการจะสร้างภาระที่ทำให้ผู้บริการต้องตั้งเงื่อนไขจำนวนมากกับผู้ใช้บริการหรือผู้โพสต์ความเห็น จะเกิดการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น และจะทำให้ผู้ใช้บริการหันไปใช้พื้นที่ของเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดที่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศ ซึ่งสุดท้ายก็จะทำให้มาตรการทางกฎหมายไม่บรรลุวัตถุประสงค์
นายธีรพันธุ์กล่าวว่า ในต่างประเทศจะใช้ระบบการแจ้งเตือนจากเจ้าหน้าที่รัฐมายังผู้ให้บริการ และมีกำหนดระยะเวลาในการแก้ไข จัดการ อย่างชัดเจน
ด้าน น.ส.จีรนุชกล่าวว่า ศาลคงต้องการอ่านเอกสารต่างๆอย่างละเอียดก่อนตัดสิน จึงเลื่อนการพิพากษาออกไป
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น