--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปฏิรูป..รัฐธรรมนูญ !!?

ได้ฤกษ์ขึ้นโครงตีจั่วกันเป็นที่เรียบร้อยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศไทย ประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญเปลืองไม่แพ้ชาติใดในโลก! รัฐบาลเองก็เดินหน้าเต็มสูบแก้ไขมาตรา 291 เปิดทางให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) งานนี้ถือเป็นการพิจารณาเป็นวาระลับเฉพาะกระทรวงยุติธรรมได้เสนอเหตุผลว่า ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการเมือง ซึ่งมี สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ประกอบด้วย บุคคลจากหลายสายอาชีพ

เป็นองค์กรจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อปรับปรุงโครง สร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อเป็นพื้นฐานปฏิรูปการเมือง โดย จะมีการตั้ง ส.ส.ร.3 จังหวัดละคนผสมที่ประชุมรัฐสภาสรรหา 22 รวม 99 คน กำหนดกรอบจัดทำร่าง รธน.แล้วเสร็จ 180 วัน ส่งให้ กกต.จัดทำประชามติให้เสร็จภายใน 15 วัน หากไม่ผ่านตั้ง ส.ส.ร.ชุดที่ 4 ใหม่ แต่คนเก่าเข้าร่วมไม่ได้ขณะเดียวกันผู้ตรวจการแผ่นดิน นายประวิช รัตนเพียร ได้มีการแต่งตั้ง 10 อรหันต์ ขึ้นมาทำงานควบคู่ในฐานะคณะที่ปรึกษา ตามมาตรา 244 โดยกำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจในการติดตาม ประเมินผล และจัดทำข้อเสนอ แนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ตลอด ถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น

สำหรับคณะที่ปรึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นมาในครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย จำนวน 4 คน ได้แก่ ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2550 ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ 4 คน ประกอบด้วย ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์ (นิด้า) ศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช ศ.ดร.ศุภชัย เยาวะประภาษ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีต ส.ส.ร. ปี 2550

ส่วนคณะที่ปรึกษาด้านกฎหมายอีก 2 คน ประกอบด้วย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในส่วนของ 10 อรหันต์ หรือคณะที่ ปรึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นมา ถือว่าน่าสนใจและน่าติดตามอยู่ไม่น้อย เพราะนอกจาก จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว หลายคนยังเป็นเหมือนตัวแทนจากฝ่าย “Conservative” จับประเด็นจากทั้ง อ.วิษณุ เครืองาม และ อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ต่างก็เคยหนุนตักพรรคเพื่อไทยในยุครุ่งเรืองมาแล้ว ทั้งสิ้น แต่เมื่อป๋าสั่งให้ถอนสมอ..ทั้งสองท่านก็รีบถอนแบบไม่ต้องลังเลแม้แต่น้อย.. ถ้าจะเรียกได้ว่า “เด็กป๋า” ก็คงไม่ผิด อะไรนัก

สำหรับลักษณะการทำงานของทั้งทีมเชื่อว่านี้น่าคู่ขนานกันไปอย่างราบรื่น โดยฝ่าย ส.ส.ร. เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญตาม ที่คณะที่ปรึกษาตีธง โดยไม่ต้องสับสน เพราะแม้ถึงทั้ง 2 ทีมจะมีที่มาจากคนละฟากฝั่ง แต่จากปรากฏการณ์ดนตรีกล่อมใจสลายกำแพงที่เป็นโอกาสให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กันเพื่อเคลียร์ปัญหาคาใจกันไปเรียบร้อย ทำให้เชื่อว่า การทำงานเพื่อประเทศจะดำเนินไปอย่างคล่องตัวและสะดวกขึ้น

แม้แต่กรณีของการแก้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ก็ต้องถือว่าเป็นผลพวงที่น่าพอใจ และเชื่อว่าผลที่ออกมาจะเป็นไปด้วยดีจนต้องบันทึกไว้เป็นอีกหน้า หนึ่งของประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญ ไทยว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ แค่การแก้ไข..แต่เป็นการปฏิรูปรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยและเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะมีการจัดทำโดยมีรัฐธรรมนูญปี 40 เป็นแม่แบบทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้มีความใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น เพราะประชาชนจะมีส่วนร่วม ตั้งแต่กระบวนการเริ่มแรก จนถึง ขั้นตอนสุดท้าย

หากเป็นได้ดังนั้นแล้ว ประชาชนจะมีความผูกพันกับรัฐธรรมนูญ และรู้สึกหวงแหน เพราะตนเองเป็นเจ้าของ และย่อม พยายามปกป้องรักษา..ใครจะล้มล้าง ฉีกทิ้งทำลาย ไม่ใช่เรื่องง่าย นี่แหละ..รัฐธรรมนูญ ฉบับในฝัน!!!

ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น