--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคผวาน้ำ !!?

หลังจากที่ “นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” เดินทางกลับมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ หลังจากที่เดินทางไปต่างประเทศนานถึง 6 วันติดต่อกันเพื่อร่วม การประชุม World Economic Forum (WEF) ที่เมืองดาวอส ก่อนจะเลี้ยวไปเยือนประเทศอินเดียเพื่อร่วมฉลองวันชาติ อย่างเป็นทางการ

ทันทีที่ล้อแตะพื้น กระแสข่าวที่ไม่น่า ฟังก็พรั่งพรูเข้าสู่โสตประสาทพาลให้จิตขุ่นมัวจากปัญหาเนื่องด้วยปัญหาความขัดแย้ง ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เมื่อสารพัด Professor ต้องออกมา บริภาษถึงการทำงานภายในองค์กรที่ไม่ค่อยจะต้องตา ต้องใจเสียเท่าไหร่นัก

โดยเรื่องราวดังกล่าวออกมาจากปากของ ดร.สมิทธ ธรรมสาโรช กรรมการ กยน. ซึ่งออกมาบ่นถึงการทำงานในขณะนี้ว่าแผนบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท เป็นแค่แผนแบบกว้างๆ ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนว่า จะบริหารจัดการอย่างไร แต่หากแผนออกมาและเห็นว่าไม่น่าจะคุ้มค่ากับงบประมาณก็จะขอ ลาออกทันที ซึ่งนอกจากตนเองแล้ว ยังมีนายปราโมทย์ ไม้กลัด และ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ก็คงจะถอยออกมาเช่นกัน

ซึ่งเรื่องนี้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เอง แม้จะยืนยันว่าไม่ได้ลาออกแต่ก็ยอมรับว่า ระยะหลังๆ มานี้ ก็หาได้เข้าร่วมประชุมกับ กยน.ไม่..ด้วยเหตุผลโดยส่วนตัวแล้ว โดยตำแหน่งของท่านที่รับผิดชอบอยู่คือ เป็นที่ปรึกษา เมื่อขอคำปรึกษาก็ได้ให้ไปตลอด ขณะนี้แผนเสร็จแล้วและเริ่มออกมาเป็นรูปธรรม จึงเหลือการปฏิบัติให้เป็นไปตาม ที่วางไว้ให้เร็วที่สุด เร่งด่วนคือต้องขุดลอก คูคลอง งานจะลงไปที่กระทรวง กทม.และ หน่วยงานต่างๆ การรับมือกับน้ำที่จะมา ต้องลงมือทำ ไม่ใช่ใช้กระดาษรับน้ำ!!..

ด้านนายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทานและกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) แม้จะยืนยันว่าอย่างไรก็จะยังไม่ลาออกจาก กยน.แต่ ก็เคยพูดถึงการทำงานของ กยน.ว่า สำหรับการทำงานร่วมกับรัฐบาลนั้น ได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อกำหนดแผนแม่บท หรือยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ ตนมองว่าในส่วนของแผนแม่บทและกระบวน การทำงานต่างๆ ในระยะยาวนั้น ยังไม่มีการจัดทำอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน

ส่วนใหญ่มีแต่การออกมาพูดเท่านั้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งสำรวจและทำอย่างเป็นระบบโดยเร็วอีกทั้งยังมองด้วยว่า การแก้ไขปัญหาในระยะสั้น อาทิ การซ่อมแซมสิ่งที่พังเสียหายไม่ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เสียหาย และไม่มีอะไรใหม่ ซึ่งหากในปี 2555 นี้ ปริมาณน้ำมากเท่าเดิม ก็ต้องพังเหมือนเดิม เช่น เดียวกับกรณีของประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ที่ไปสร้างขวางทางน้ำ หากน้ำมาเท่าเดิมก็สู้กระแสไม่ได้แน่นอน และต้องนำความผิดพลาด ในปี 2554 มาแก้ไข และโดยตามจริงแล้วมีหลายหน่วยงานที่มีการนำข้อมูลออกมาแสดงแต่ข้อมูลกลับไม่ตรงกันเลยเสียงสะท้อนจาก Professor ทั้ง 3 ท่านเหมือนกับจะบอกว่าที่ยังอยู่ไม่ใช่เพราะอยากอยู่ แต่ทนอยู่เพื่อประชาชน ในขณะที่ท่านนายกฯ เองก็ได้แต่วอนขอว่า อย่าเพิ่งทิ้งกันเพราะแค่เรื่องเข้าใจผิด

ตอนนี้รัฐบาลถือว่า การบริหารจัดการน้ำถือเป็นเรื่องใหญ่ จึงค่อยๆ ดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการไปแล้ว และ อยู่ระหว่างการดำเนินการ ทุกอย่างมีแผน งานที่ชัดเจน แต่อาจจะไม่ทันใจคณะกรรมการที่มีความเป็นห่วง จึงต้องทำความเข้าใจกัน และเห็นใจคณะกรรมการที่ทำงานด้วย เพราะเรื่องดังกล่าวถือเป็นภารกิจหลักของประเทศที่ต้องติดตาม แต่ยืนยันได้ว่า ได้มีการเตรียมความพร้อม และมีการป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับฤดูฝนที่ใกล้จะมาถึงนี้

อย่างไรก็ดี เรื่องของการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ถือเป็นเรื่องที่ชี้ชะตาของรัฐบาล เชื่อว่างานนี้จะทำเป็น เล่นไม่ได้ เพราะถ้าปีนี้น้ำมาปูเจ๊ง!!..ที่ว่ากลัวนี่กลัวจริง กลัวถึงขนาดยอม เสียวินัยการคลังแบบไม่ฟังเสียงใครถึงขนาด ออกร่างพระราชกำหนด 4 ฉบับ ประกอบด้วย ร่างพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหาร หนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสาธารณะการเงิน ร่างพระราชกำหนดเงิน กู้เพื่อการบูรณะและฟื้นฟูประเทศที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัย ร่างพระราชกำหนดจัดตั้งกองทุนประกันภัย และร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย คือการพ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟู 1.14 ล้านล้านบาทไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อเปิดทางรัฐบาลกู้เงินเพิ่ม โดยมี “อาจารย์วีรพงษ์ รามางกูร หรือ ดร.โกร่ง” นำทีม จับคู่กับ “นิพัทธ พุกกะณะสุต” เตรียมขายหุ้นที่คลังถืออยู่ในรัฐวิสาหกิจทั้ง ปตท.และการบินไทยจาก 51% เหลือ 49% เพื่อให้ทั้งสองบริษัทสิ้นสุดสถานะรัฐวิสาหกิจ

โดยมีเป้าหมายเดียวกับ พ.ร.ก.คือเปิดพื้นที่ให้รัฐบาลสร้างหนี้สาธารณะได้มากขึ้น ของปตท. 252,000 ล้าน ของการ บินไทย 132,000 ล้าน ก็แปรสภาพเป็นหนี้ บริษัท เปิดช่องกู้สนองนโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ขนเงินไปถมน้ำท่วมรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลได้เต็มที่ซึ่งงานนี้เท่ากับตีเช็คล่วงหน้า ซึ่งอนาคตเราอาจมีสภาพไม่ต่างจากประเทศกรีซ!!..งานนี้นอกจากจะน่าเป็นห่วงในเรื่อง วินัยการคลังของประเทศแล้ว พ.ร.ก. ฉบับ นี้ยังอาจเป็นโมฆะด้วยในอนาคต

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น