คอลัมน์ เจาะลึกเศรษฐกิจ
เมืองแม่สอด และ "เมืองเมียวดี" ประเทศพม่า หลังมีความพยายามผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด รองรับการพัฒนาตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) เชื่อมระหว่างฝั่งตะวันออกคือจังหวัดมุกดาหาร และฝั่งตะวันตกคือ ฝั่งอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
หากประเทศไทยสามารถจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดสำเร็จ ประตูแม่สอด-เมียวดี จะเป็นจุดเปลี่ยนการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและพม่าที่สำคัญในอาเซียน
จากการสำรวจพื้นที่พบว่า "แม่สอด" แม้จะเป็นเมืองเล็ก ๆ กลางหุบเขา มีพื้นที่ประมาณ 1,986 ตารางกิโลเมตร แต่ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจคึกคักอย่างมาก เมืองเจริญเติบโตขึ้นอย่างชัดเจน ปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ โชว์รูมรถยนต์ ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมขนาดเล็กอีกหลายสิบแห่ง
นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีทั้งชาวเขา ชาวพม่า ชาวกะเหรี่ยง คนอพยพจากอำเภอเมืองตากเข้าไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน รวมทั้งชาวพม่าที่มีภรรยาหรือสามีเป็นคนไทย นอกจากนี้ยังมีชุมชนอิสลาม ตั้งถิ่นฐานอยู่กันมายาวนาน โดยไม่มีความขัดแย้งกัน
เชื่อหรือไม่ว่า สาวพม่าในแม่สอดบางคน อยู่แม่สอดตั้งแต่เล็กจนโต พูดไทยชัดเปรี๊ยะ แต่พูดพม่าแทบไม่ได้สักคำ เพราะไม่เคยข้ามฝั่งกลับบ้านเกิด แต่วันนี้ยังคงถือสัญชาติพม่า เธอเล่าว่า อยู่เมืองไทยทำมาหากิน ค้าขายได้สะดวก ทุกวันนี้มีเงินทองใช้สอยไม่ขาดมือ
ชาวบ้านในแม่สอดหลายคนเห็นว่า แม่สอด แม้จะเป็นเมืองหลายวัฒนธรรม แต่ก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรในแง่การดึงดูดการท่องเที่ยว แต่ก็มีความพยายามในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวตามแนวชายแดน เพราะจุดแข็งของแม่สอด คือ การท่องเที่ยวชายแดน ส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมทัวร์ไหว้พระ 2 ฝั่งไทย-พม่า
ทุกวันนี้จึงมีความพยายามผลักดัน "แม่สอด" ให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เพราะแม่สอดมีศักยภาพในการค้าขายชายแดน เฉพาะการค้าระหว่างไทยกับพม่าที่ด่านแม่สอดอยู่ ที่ปีละ 3 หมื่นล้านบาท
ที่สำคัญรัฐบาลพม่าได้เปิดด่านแม่สอด-เมียวดีอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 หลังจากปิดด่านมานานนับปี เริ่มมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งชาวไทยและต่างชาติ เดินทางมาเที่ยวแม่สอด และข้ามด่านไปไหว้พระในวัดชื่อดังที่เมียวดี ไม่ว่าจะเป็นวัดจระเข้ วัดหินใหญ่ หรือวัดเจดีย์ทอง ที่จำลองแบบมาจากเจดีย์ชะเวดากอง ส่งผลให้ช่วงหลังมานี้มีโรงแรมขนาดเล็กเกิดขึ้นจำนวนมากในแม่สอด เพื่อรองรับ นักท่องเที่ยว
นอกจากจุดแข็งด้านการค้าชายแดนที่สำคัญแล้ว "แม่สอด" ยังมีตลาด ค้าพลอยที่ขึ้นชื่อ ส่วนหนึ่งเพราะจังหวัดตากเป็นตลาดนำเข้าพลอยจากพม่าที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีเพียงแม่น้ำเมยกั้นเขตแดนเท่านั้น และยังอยู่ใกล้แหล่งพลอยหลายแห่งในพม่า เช่น เหมืองโมกก เหมืองพลอยที่อยู่ทางตอนเหนือของพม่า ทั้งนี้พลอยที่นำจากพม่าสู่เมืองตาก มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 80 ส่วนใหญ่เป็นทับทิมและไพลิน
นาทีนี้ เสียงจากแม่สอดได้แต่ คาดหวังว่า หากนครแม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษได้จริง การค้าชายแดน การลงทุน การท่องเที่ยวในเมืองแม่สอดจะเติบโตคึกคักกว่านี้หลายเท่าตัว
จาก "แม่สอด" ทีมข่าวได้ข้ามไปฝั่งจังหวัด "เมียวดี" ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-พม่า โดยมีแม่น้ำเมยเป็นเขตกั้น สภาพของเมืองเมียวดีเป็นเมืองเปิด ในตัวเมืองมีการพัฒนา ไปพอสมควร มีโรงพยาบาล โรงเรียน ตลาด และวัดวาอาราม แต่ถนนหนทางยังขรุขระ มีฝุ่นคละฟุ้ง แต่บรรยากาศคึกคักในยามที่ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอย
บรรยากาศการค้าค่อนข้างคึกคัก สินค้าที่วางจำหน่ายในเมียวดี โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค พบว่าส่วนใหญ่นำเข้าจากไทยแทบทั้งสิ้น ส่วนการปกครองเป็นแบบท้องถิ่น มีทหารพม่าและกองกำลังชนกลุ่มน้อยผสมกัน
ผู้รู้อธิบายว่า "เมียวดี" อาจเป็นจังหวัดเล็ก ๆ แต่จุดเด่นสำคัญคือเป็นเมืองผ่านสินค้านำเข้าและส่งออกหลักที่สำคัญจากไทย และอินโดจีนเข้าสู่ตลาดย่างกุ้ง และบางส่วนส่งตรงไปถึงอินเดีย ล่าสุดมีการเปิดธนาคาร KBZ ซึ่งเป็นธนาคารเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในพม่า สาขาเมียวดีแล้ว เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแม่สอด-เมียวดี พร้อมกับรองรับเขตเศรษฐกิจชายแดนของทั้งสองเมือง
ทว่าจุดเด่นของ "เมียวดี" นอกจากเป็นเมืองผ่านสินค้าแล้ว งานสถาปัตยกรรมในพุทธศาสนากับวิถีความเป็นอยู่ของผู้คนถือเป็นจุดขายเช่นกัน โดยเฉพาะวัด อาทิ วัดมิเจากง หรือวัดจระเข้ วัดเด้ถั่นเอ่ หรือวัดอธิษฐาน และวัดเจ๊าลงจี หรือวัดก้อนหิน ซึ่งมีเรื่องราวตำนานที่น่าค้นหาแตกต่างกัน
นี่คือ "แม่สอด" และ "เมียวดี" 2 เมือง 2 ประเทศ ที่มีเศรษฐกิจชายแดนเติบโตคู่กัน เป็นประตูเศรษฐกิจสำคัญ ยิ่งของกลุ่มอาเซียน
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หากประเทศไทยสามารถจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดสำเร็จ ประตูแม่สอด-เมียวดี จะเป็นจุดเปลี่ยนการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและพม่าที่สำคัญในอาเซียน
จากการสำรวจพื้นที่พบว่า "แม่สอด" แม้จะเป็นเมืองเล็ก ๆ กลางหุบเขา มีพื้นที่ประมาณ 1,986 ตารางกิโลเมตร แต่ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจคึกคักอย่างมาก เมืองเจริญเติบโตขึ้นอย่างชัดเจน ปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ โชว์รูมรถยนต์ ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมขนาดเล็กอีกหลายสิบแห่ง
นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีทั้งชาวเขา ชาวพม่า ชาวกะเหรี่ยง คนอพยพจากอำเภอเมืองตากเข้าไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน รวมทั้งชาวพม่าที่มีภรรยาหรือสามีเป็นคนไทย นอกจากนี้ยังมีชุมชนอิสลาม ตั้งถิ่นฐานอยู่กันมายาวนาน โดยไม่มีความขัดแย้งกัน
เชื่อหรือไม่ว่า สาวพม่าในแม่สอดบางคน อยู่แม่สอดตั้งแต่เล็กจนโต พูดไทยชัดเปรี๊ยะ แต่พูดพม่าแทบไม่ได้สักคำ เพราะไม่เคยข้ามฝั่งกลับบ้านเกิด แต่วันนี้ยังคงถือสัญชาติพม่า เธอเล่าว่า อยู่เมืองไทยทำมาหากิน ค้าขายได้สะดวก ทุกวันนี้มีเงินทองใช้สอยไม่ขาดมือ
ชาวบ้านในแม่สอดหลายคนเห็นว่า แม่สอด แม้จะเป็นเมืองหลายวัฒนธรรม แต่ก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรในแง่การดึงดูดการท่องเที่ยว แต่ก็มีความพยายามในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวตามแนวชายแดน เพราะจุดแข็งของแม่สอด คือ การท่องเที่ยวชายแดน ส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมทัวร์ไหว้พระ 2 ฝั่งไทย-พม่า
ทุกวันนี้จึงมีความพยายามผลักดัน "แม่สอด" ให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เพราะแม่สอดมีศักยภาพในการค้าขายชายแดน เฉพาะการค้าระหว่างไทยกับพม่าที่ด่านแม่สอดอยู่ ที่ปีละ 3 หมื่นล้านบาท
ที่สำคัญรัฐบาลพม่าได้เปิดด่านแม่สอด-เมียวดีอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 หลังจากปิดด่านมานานนับปี เริ่มมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งชาวไทยและต่างชาติ เดินทางมาเที่ยวแม่สอด และข้ามด่านไปไหว้พระในวัดชื่อดังที่เมียวดี ไม่ว่าจะเป็นวัดจระเข้ วัดหินใหญ่ หรือวัดเจดีย์ทอง ที่จำลองแบบมาจากเจดีย์ชะเวดากอง ส่งผลให้ช่วงหลังมานี้มีโรงแรมขนาดเล็กเกิดขึ้นจำนวนมากในแม่สอด เพื่อรองรับ นักท่องเที่ยว
นอกจากจุดแข็งด้านการค้าชายแดนที่สำคัญแล้ว "แม่สอด" ยังมีตลาด ค้าพลอยที่ขึ้นชื่อ ส่วนหนึ่งเพราะจังหวัดตากเป็นตลาดนำเข้าพลอยจากพม่าที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีเพียงแม่น้ำเมยกั้นเขตแดนเท่านั้น และยังอยู่ใกล้แหล่งพลอยหลายแห่งในพม่า เช่น เหมืองโมกก เหมืองพลอยที่อยู่ทางตอนเหนือของพม่า ทั้งนี้พลอยที่นำจากพม่าสู่เมืองตาก มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 80 ส่วนใหญ่เป็นทับทิมและไพลิน
นาทีนี้ เสียงจากแม่สอดได้แต่ คาดหวังว่า หากนครแม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษได้จริง การค้าชายแดน การลงทุน การท่องเที่ยวในเมืองแม่สอดจะเติบโตคึกคักกว่านี้หลายเท่าตัว
จาก "แม่สอด" ทีมข่าวได้ข้ามไปฝั่งจังหวัด "เมียวดี" ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-พม่า โดยมีแม่น้ำเมยเป็นเขตกั้น สภาพของเมืองเมียวดีเป็นเมืองเปิด ในตัวเมืองมีการพัฒนา ไปพอสมควร มีโรงพยาบาล โรงเรียน ตลาด และวัดวาอาราม แต่ถนนหนทางยังขรุขระ มีฝุ่นคละฟุ้ง แต่บรรยากาศคึกคักในยามที่ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอย
บรรยากาศการค้าค่อนข้างคึกคัก สินค้าที่วางจำหน่ายในเมียวดี โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค พบว่าส่วนใหญ่นำเข้าจากไทยแทบทั้งสิ้น ส่วนการปกครองเป็นแบบท้องถิ่น มีทหารพม่าและกองกำลังชนกลุ่มน้อยผสมกัน
ผู้รู้อธิบายว่า "เมียวดี" อาจเป็นจังหวัดเล็ก ๆ แต่จุดเด่นสำคัญคือเป็นเมืองผ่านสินค้านำเข้าและส่งออกหลักที่สำคัญจากไทย และอินโดจีนเข้าสู่ตลาดย่างกุ้ง และบางส่วนส่งตรงไปถึงอินเดีย ล่าสุดมีการเปิดธนาคาร KBZ ซึ่งเป็นธนาคารเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในพม่า สาขาเมียวดีแล้ว เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแม่สอด-เมียวดี พร้อมกับรองรับเขตเศรษฐกิจชายแดนของทั้งสองเมือง
ทว่าจุดเด่นของ "เมียวดี" นอกจากเป็นเมืองผ่านสินค้าแล้ว งานสถาปัตยกรรมในพุทธศาสนากับวิถีความเป็นอยู่ของผู้คนถือเป็นจุดขายเช่นกัน โดยเฉพาะวัด อาทิ วัดมิเจากง หรือวัดจระเข้ วัดเด้ถั่นเอ่ หรือวัดอธิษฐาน และวัดเจ๊าลงจี หรือวัดก้อนหิน ซึ่งมีเรื่องราวตำนานที่น่าค้นหาแตกต่างกัน
นี่คือ "แม่สอด" และ "เมียวดี" 2 เมือง 2 ประเทศ ที่มีเศรษฐกิจชายแดนเติบโตคู่กัน เป็นประตูเศรษฐกิจสำคัญ ยิ่งของกลุ่มอาเซียน
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น