--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ถอดเนื้อหาสัมนาบูรพาภิวัตน์ ภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลกใหม่ ฤาโลกจะกลับขั้วอํานาจ...

กรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต

เวทีสัมมนาใหญ่ “บูรพาภิวัตน์: ฤาโลกจะกลับขั้วอำนาจ” งานสัมมนาที่จะให้มุมมองยุทธศาสตร์ประเทศไทย รับกระแสเอเชียผงาดในวันอังคาร ที่ 31 มกราคม 2555 เวลา 13.00-16.30 น. ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล


 

กล่าวต้อนรับโดย ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ผู้อำนวยการแผนงานนโยบายสาธารณะที่ดี


เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าภูมิศาสตร์และภูมิเศรษฐกิจโลกกำลังเปลี่ยนไปตั้ง แต่ต้นศตวรรษที่ 21 สหรัฐอเมริกา เริ่มเสื่อมถอยทางธุรกิจ เอเชียกำลังผงาดขึ้น จีนได้เข้ามามีอำนาจเป็นผู้นำปรากฎการบูรพาภิวัติน์ และอินเดียที่กำลังตามเข้ามา นอกจากนี้ยังมีประเทศผู้นำเศรษฐกิจใหม่อย่าง บราซิล เม็กซิโก อิหร่านอิน ตุรกี เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ประเทศเหล่านี้ล้วนเข้ามาแทนประเทศตะวันตก ขณะที่หลายๆประเทศจะก้าวต่อไป แต่ประเทศไทยกำลังอยู่ในวังวลโกลาหลทั้งการเมืองและอุทกภัย คนไทยจำเป็นจะต้องตื่นตัวและมองไปรอบๆ และพลิ้วไหวไปในโลกาภิวัตน์และบูรพาภิวัตน์

ปาฐกถาพิเศษ “บูรพาภิวัตน์ ภูมิ-รัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลกใหม่” โดย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ผมทำงานชิ้นนี้ทำไปก็ค่อยข้างมีความสุขที่มีความสุข เพราะไม่คิดว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงขนาดนี้ ตอนผมเป็นเด็กประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมก็พึ่งพ้นจากความเป็นอาณานิคม ตอนนี้ผมอายุ 58 ไม่คิดว่าจะประเทศต่างๆจะพัฒนาขนาดนี้ ทั้งจีน อินเดีย สิงค์โปร์ มาเลเซีย 200 ปีที่ผ่านมาสมัยรัชการที่ 3 ท่านจะเห็นว่าเราอยู่ในโลกที่ตะวันตกเป็นใหญ่มานาน ไม่ต่ำว่า 200 ปี โดยเฉพาะช่วงหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม ตะวันตกเหนือกว่า และมีอำนาจมากกว่า แต่ตอนนี้ประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นกลับกลายเป็นผู้นำนำได้อย่างน่าพิศวง ท่านทั้งหลายคงทราบว่าจีนเจริญก้าวหน้า แต่ไม่เพียงแค่จีน อินเดียก็ตามาห่างไม่เร็วเท่าจีน แต่ภายใน 10 ปี คาดว่าอินเดียคงเติบโตเร็วกว่าจีน จีนจะเริ่มช้าลง อินเดียมีอะไรดีๆอีกมากนออกจากสังเวชนียสถานที่เราชอบไปกันอินเดียมีอะไรเจริญกว่านั้นอีกเยอะ

ถัดจากอินเดียก็ตะวันออกลาง เรามักคิดถึงเฉพาะการก่อความไม่สงบ แถวซีเรีย อิสราเอล อิรัก อิหร่าน แถบนี้เจริญมีอย่างมาก มหาวิทยาลัยมีชื่อกำลังไปเปิดที่ดูไบ กาตาร์ พิพิธพันธ์ louvre ก็จะเปิดสาขาแถวนี้ และกำลังทำเมืองสีเขียวชื่อเมืองมัสก้า ที่สำคัญคือตะวันออกกลางมีกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ที่ทำหน้าที่ในการลงทุนที่ต่างๆ เช่น มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งติดแอฟฟริกา อินเดีย จนกระทั่งถึงมาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมทั้ง 3 จังหวัดภาคใต้ก็อาจจะมีโอกาสได้รับการลงทุนด้วย ที่ตะวันออกกลางรวยขึ้นมาก็เพราะจีนอินเดียเพิ่มกำลังการซื้อน้ำมันเพิ่มขึ้นมาเมื่อก่อนตะวันออกกลางขายแต่ตะวันตกทำให้ตะวันออกกลางร่ำรวย อิหร่านและตุรกีต่างจากตะวันออกส่วนอื่นเพราะพื้นที่ใหญ่มาก อิหร่านมีความสำคัญกับการต่างประเทศสูง ตุรกีพยามเข้าไปอยู่ตะวันตกแต่ไม่สำเร็จ แต่ตอนนี้อยากมาตะวันออกแล้วด้านบนของตุรกีคือทะเลดำด้านล่างคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตุรกีอยู่ชิดกับตะวันออกของยุโรป แต่ EU ไม่สนใจ ตุรกีเลยทำตัวเป็นตัวเชื่อมก๊าซและน้ำมันเหล่านี้ ซึ่งตอนนี้ตุรกีเศรษฐกิจดีมากทั้งที่เมื่อก่อนเป็นคนป่วยของยุโรป แต่ตอนนี้เป็นจีนของยุโรป

ฉะนั้นทุกวันนี้ท่านอย่าติดภาพเดิมๆที่เคยได้ยิน รัสเซียเองตอนนี้ก็ร่ำรวยจากก๊าซธรรมชาติ บราซิลตอนนี้เป็นเจ้าหนี้ใหญ่อันดับ 4 ของโลก มีอุตสาหกรรมทำเครื่องบินไอพ่นเป็นอันดับ 3 ของโลก และมีเทคโนโลยีการเกษตรไม่แพ้สหรัฐอเมริกา
การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ


ผมรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ประมาณ 2000 ปีที่แล้ว เอเชียมีระบบเศรษฐกิจประมาณเกือบ 80% ของโลก ศาสนาพุทธอยู่ในยุคที่เจริญที่สุด เป็นยุคของจีนและอินเดียและค่อยๆลดลงเรื่อยๆ แต่ในปี 1990 สัดส่วนเศรษฐกิจของเอเชียกำลังเพิ่มขึ้น บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน ต่อไปจะเป็นผู้เล่นหลัก รูปขนาดเศรษฐกิจต่างๆ อีก 10 ปีข้างหน้า สหรัฐจะใกล้กับจีนขนาดของเศรษฐกิจจะใกล้เคียงกันมากและยุโรปจะติดอันดับลดลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม11ประเทศต่อไปที่จะเข้ามามีบทบาท บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปินส์ เกาหลีใต้ อิหร่าน อิยิปต์ ตุรกี ไนจีเรีย เม็กซิโก เวียดนาม แต่ที่ผมดูๆมาไม่มีประเทศไทยเลยก็ค่อนข้างน่าตกใจ

การเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ จะเห็นว่าขนาดเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียมีการเติบโตมากขึ้น


การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตในปี ค.ศ. 2025


การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตในปี ค.ศ. 2032


ท่านทั้งหลายจะเห็นว่าตะวันตกเศรษฐกิจจะเริ่มถดถอยลง แต่ส่วนที่ไม่ค่อยถอย คือแคนนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ที่ไม่ถอยเพราะเขาปรับนโยบายมาทางตะวันออกมากขึ้น

ส่วนยุโรปหนี้สาธารณะสูงมาก เยอมันที่เราคิดว่าเศรษฐกิจเขาดี ก็มีหนี้สาธารณะสูงเช่นกัน เงินยูโรก็อาจจะต้องผลักบางประเทศออกไป ตอนนี้ยุโรปกำลังป่วย ซึ่งยุโรปเป็นต้นแบบ AEC บ้านเราฉะนั้นต้องกลับมาดูทบทวน AEC ด้วย ผมว่าเราต้องคิดให้ดีว่าจะทำอย่างไร เราอาจต้องใช้สมองชุดใหม่คิด



กลับมามองไทยควรทำอะไร

เรามีปัญหาเยอะ แต่เรามีที่ตั้งที่ดีเหลือเกิน ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศผมมองว่าเราต้องใช้ปัจจัยนอกประเทศ เพราะปัจจัยในประเทศยังอ่อนล้าเหลือเกิน จากทางภูมิประเทศ ทางตะวันตกคือมหาสมุทรอินเดียซึ่งในยุคบูรพาภิวัตน์จะกลับมาเป็นมหาสมุทรที่สำคัญที่สุด ซึ่งติดกับอินเดียและตะวันออกกลาง ด้านขวามือเราออกจากอ่าวไทยคือ มหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลจีนใต้ ติดจีน ประเทศไทยอยู่ในระหว่างทางเชื่อมไทยและอินเดีย ต่อมาช่องแคบมะละกา ซึ่งสตูลเป็นปากช่องแคบมะละกา และมีสิงคโปร์ สินค้าผ่านช่องนี้ 2 เท่าครึ่ง คอคอดกละ ผมว่าน่าทำมาก จีนก็อยากทำแต่ไทยก็เฉยๆ ไทยเป็นพวกเฉยๆ ไม่รู้ร้อนรู้หนาวอะไรกับเขาเลย ผมคิดต่อว่าถ้าเราทำรถไฟร่วมกับจีนอย่าหยุดที่ภาคใต้ อยากให้ไปต่อที่มาเลเซียและต่อไปอีก 30 กิโลเมตรไปสุมาตรา จากนั้นไปเชื่อมต่อกับชวา ถ้าทำที่ชวาได้ประชากรที่นั่น 100 กว่าล้านคน ไทยควรจะเป็นตัวเชื่อมอาเซียนคนประมาณ 200 ล้าน ตอนนี้อินเดียก็อยากมาที่อาเซียนตัวที่เชื่อมอาเซียนคือ พม่ากับไทย การที่นายกไปปรากฏตัวที่อินเดียที่ว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี ผมว่าการที่โลกเปลี่ยนมันเป็นโอกาสที่ดี เราต้องปรับปรุงตัวเองหลายอย่าง เช่น การศึกษา ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่เป็นความรู้ชุดเดียวจากตะวันตก

การพัฒนาประเทศอย่าไปมองแค่กรุงเทพ อย่างภาคเหนืออย่าคิดว่าคือส่วนปลายของประเทศต้องคิดว่าคือส่วนเชื่อมต่อกับพม่า อิสานก็เป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับเวียดนาม ภาคใต้ก็ติดมาเลเซีย เวลาวางแผนต้องทำให้ทุกจุดเป็นศูนย์กลางของประเทศได้ทั้งหมด

ปาฐกถาพิเศษ “เมื่อเอเชียผงาด: ไทยจะปรับตัวอย่างไร” โดย ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ

ผมดีใจที่อาจารย์เอนกพูดไว้ดีมาก คือพวกเราไม่ค่อยสนใจนอกประเทศหรือสนใจก็แต่ประเทศที่เคยค้าขายจะไปไหนก็ไปแต่ประเทศที่เคยไป แต่ตอนนี้เราเข้าสู่บูรพาภิวัตน์ ผมขอเกริ่นนำก่อนตอบคำถาม มีตัวเลขที่น่าสนมากเป็นตัวเลขและยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจ อย่างแรก คือการเคลื่อนจาก G7 ไป G20 ซึ่งสำคัญมากแต่เราไม่ได้ให้ความสนใจ เพราะนอกจาก 7 ประเทศที่มีความสำคัญด้านอุตสาหกรรม ด้านการพัฒนาแล้ว ในนั้นมีจีน อินเดีย บราซิล แอฟฟริกาใต้ เมื่อมี ASEAN 10 ก็จะเชิญประเทศที่เป็นเจ้าภาพที่ไปประชุมด้วยทุกปีใน G20 ฉะนั้นการตัดสินใจในเศรษฐกิจโลกก็จะมีหลายประเทศเข้าไปตัดสินใจ

จากากรเสื่อมถอยของเศรษฐกิจทั้งอเมริกา ยุโรป และ การชะลอตัวของญี่ปุ่นชี้เราเห็นเป็นตัวเลข เมื่อปี 2001 สัดส่วนเศรษฐกิจของเอเชียเป็น 30% ของโลกข้อมูลจากที่อาจารย์เอนกนำเสนอไปในปี 2020 คาดว่าสัดส่วนทางเศรษฐกิจ จะเกือบครึ่งหรือเกินครึ่งของของสัดส่วนGDP ของโลก จำนวนประชากรเกินครึ่งหนึ่งของโลก เงินสำรองก็จะเกินครึ่งหนึ่งของโลกในไม่ช้านี้ การนำเข้าในเอเซียเกิน 1 ใน 4 ของโลก ผู้ผลิตน้ำมันในเอเซียก็ติด 1 ใน 4 ของโลก ผู้บริโภคน้ำมันก็ 1 ใน 10 ก็อยู่ในเอเชีย ตะวันออกกลางที่เราเรียกกัน ซึ่งผมชอบเรียกเอเชียตะวันตก เราเองชอบเรียกอะไรตามยุโรป เราชินกับคำว่า Far East ซึ่งผมก็ถามเสมอว่ามัน far from where มันคือ far from London นั่นแหละครับ และเรามักจะเรียกว่า Near East ก็คือมัน Near London และเราก็จะชินกับ Middle East ก็ตะวันออกกลาง และต้องถามว่ามันอยู่ตรงกลางระหว่างลอนดอนกับตะวันออกไกล

เราก็ต้องมาคิดว่าทำไมเราไม่นั่งในเอเชีย เหมือนที่ยุโรปเขานั่งในยุโรปแล้วเรียกยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ยุโรปใต้ ทำไมเราไมนั่งอยู่เอเชีย แล้วบอกว่าเอเชียตะวันออกคือ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เอเชียตัวนออกเฉียงใต้คืออาเซียน เอเชียใต้คือปากีสถานบังคลาเทศ อินเดีย ภูฏาน เอเชียกลางก็พวกปากีสถาน และสถานทั้งหลาย พวกตะวันออกกลางกลุ่มประเทศ GCC (Gulf Cooperation Council) 6 ประเทศ คือ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์



สิ่งที่น่าสนใจคือ อินเดียมีชนชั้นกลางที่พูดภาษาอังกฤษและพร้อมจะ take off อยู่ 300 ล้านคน มีคนจน 700 ล้านคนที่พร้อมจะเป็นชนชั้นกลาง จีนมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก เป็นผู้ค้าอันดับต้นๆของประเทศต่างๆทั่วโลก ดูไบมีสนามบินรองรับคนได้ 120 ล้านคนต่อปี ท่าเรือ ที่ UAE มีคนใช้บริการเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ทางด้านยุทธศาสตร์ ทั้งในและนอกเอเชียบ้าง ออสเตรเลียใช้ภาคตะวันออกเชื่อมเอเชียอยู่ในความร่วมมือ Indian Ocean Rim จัดเป็นความร่วมมือของกลุ่มประเทศแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย นิวซีแลนด์เปิดการค้าเสรีกับหลายประเทศ

อเมริกาเริ่มเห็นว่าต้องให้ว่าต้องปรับนโยบายใหม่หลายอย่าง เช่นกับจีนโดยเลิกไปกดดันจีนเรื่องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยและเรื่องค่าเงิน โดยเริ่มดึงจีนเข้ามาร่วมในอะไรต่างๆ ก็ตามและจำกัดไว้ไม่ให้โตเกิน อเมริกาเข้ามาหาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างน่าอัศจรรย์เพื่อคานจีน เมื่อ 2 ปีที่ แล้วก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับพม่าก่อนที่จะมีเลือกตั้ง อเมริกาคิดอยู่ว่าทำอย่างไรจะให้เกิดความร่วมมือทางแม่น้ำโขงที่ไม่มีจีน อเมริกาเห็นว่าจีนมีความร่วมมือกับกลุ่มแม่น้ำโขงที่เรียกว่า GMS อเมริกาจึงคิดขึ้นมาใหม่ว่า US Lower Maekhong พออเมริกาเรียกว่าช่วงล่างของแม่น้ำโขงได้ ก็สามารถตัดพม่ากับจีนออกได้ร่วมมือกันได้อย่าไม่ตะขิดตะขวง ซึ่งอเมริกาแต่เดิมไม่เคยสนใจประเทศในลุ่มน้ำโขงเลย

ในอาเซียนของเรามีความร่วมมือ และมีการประชุมสุดเอเชียตะวันออกอยู่เรียกว่า East Asia Summit ซึ่งเป็นการประชุมที่สำคัญของการจำกัดความภูมิศาสตร์ ว่ามันเรียกว่า East Asia แต่จริงๆแล้วมันมีอินเดียซึ่งอยู่เอเชียใต้ และมีสมาชิกในแปซิฟิกอย่าง ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รวมอยู่ด้วยแต่เรียกว่า East Asia Summit เมื่อปีที่แล้วอเมริกามาก็ไม่ได้สมัครอะไรหรอกครับ มาถึงก็บอกว่าข้าพเจ้าจะเป็นสมาชิก East Asia Summit ด้วย อาเซียนก็ไม่รู้จะว่ายังไงในที่สุดก็ได้เป็นสมาชิก เราก็พยามให้เกิดความสมดุลย์ด้วยการไปดึงรัสเซียเข้ามาด้วยฉะนั้นการจำกัดความของเอเชียตะวันออกก็ตะเหลิดเปิดเปิงไปไกล จะเห็นได้ชัดว่าภูมิศาสตร์ไม่ได้ช่วยอะไร แต่สิ่งที่เห็นคือทุกประเทศกำลังโดดเข้ากระบวนรถด่วนบูรพาภิวัตน์

อเมริกามียุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจได้น่าจับตามอง เมื่อ 10 ปีที่แล้ว 1997 เรามีปัญหาทางเศรษฐกิจท่านคงได้ยินชื่อ Washington Consensus ที่เขาตกลงกันมาในปี 1970 ที่ว่าหลักเศรษฐกิจที่ถูกต้องจะต้องมีวินัยการเงินการคลังอย่างไร ต้องเปิดเสรี ต้องพึ่งมือที่มองไม่เห็น ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ในปี 1997 ที่เราเกิดวิกฤต IMF ซึ่งรับความคิดเหล่านี้มาเต็มๆจะใช้เงินภาษี ประชาชนไปอุ้มธนาคาร ไปซื้อหนี้เสียไม่ได้ เวลานี้เมื่อเกิดกับอเมริกา อเมริกาบอกว่าต้องเอาเงินภาษีไปอุ้มธนาคาร ประกันภัย ให้หมด แต่ของไทยบอกว่าให้รัฐขายทันทีเข้าใจว่าต่ำสุดคือ 8 % ของมูลค่า สูงสุดคือ 28% แต่ตอนอเมริกาบอกว่าห้ามขายทรัพย์สินเพราะราคาจะตกและตั้งกองทุนขึ้นมาเอาภาครัฐเอกชนเข้ามาร่วมกันประครองทรัพย์สิน

ฉะนั้นแล้วอเมริกาเขาไม่ใช้แล้ว Washington Consensus เขาใช้ Post Washington Consensus คือไปพึ่งมือซึ่งมองเห็น เช่นการพึ่งรัฐและเอกชนให้เข้ามาช่วย แล้วพวกเราก็ถามกันว่าธรรมาภิบาลการเงินคืออะไร สิ่งไหนคือถูกต้อง สิ่งที่สหรัฐทำคือไม่พึ่ง Consensus แล้ว

ญี่ปุ่นก็เข้ามาที่แม่น้ำโขงอยากจะมี Japan-Mekong Cooperation โดยไม่มีจีน รัฐเซียให้ความสำคัญก็เข้ามา เป็นข้อเสนอของไทยที่คิดขึ้นมาเรียนกว่า ACD หรือ Asia Cooperation Dialogue หรือที่เรียกว่าเวทีความร่วมมืออาเซียน ซึ่งสำคัญมากมีประเทศสมาชิกประมาณ 30 ประเทศแต่ไทยไม่ให้ความสำคัญเพราะเราไม่มีความต่อเนื่องเชิงยุทธศาสตร์ รัฐเซียมีพื้นที่ยื่นมาทาง Asia ประมาณ 70% คนรัสเซียหน้าตาก็ไม่ต่างกันคนเอเซีย ในที่สุดรัสซียก็ได้เข้ามาใน East Summit และให้ความร่วมมือเป็นอันมาก

แคนนาดาก็น่าสนใจ The Asia-Pacific Gateway and Corridor Initiative ประตูเชื่อมเอเชียเขาสร้างสิ่งต่างๆ ท่าเรือ รถไฟ เชื่อมเมือง ต่างๆในเอเชีย เช่นที่โตเกียว เซี่ยงไฮ้ พูซาน เซินเจิ้น สิงคโปร์ อินเดียก็เน้นเอเชียกลางสร้างท่าเรือให้อิหร่าน สร้างทางรถไฟกรณีของ SAARC (South Asian Association for Regional Cooperation) สมาชิกได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกาและได้เชิญอัฟกานิสถานเป็นองค์กรความร่วมมือส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในแง่ประชากร (1 ใน 5 ของประชากรโลก) กำลังสร้างทางส่งน้ำมันขึ้น เกิดการรวมกลุ่ม Brazil, Russia, India และ China รวมกลุ่มกันขึ้นมาเพื่อให้ชาติมหาอำนาจฟัง ตอนหลังมาเป็น BRISA มีแอฟริกาใต้เข้ามาด้วย

ส่วนจีนใช้ยุทธศาสตร์สร้อยไข่มุก สร้างท่าเรือรอบมหาสมุทรอินเดียเพื่อเชื่อมเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออก เท่ากับว่าจีนมียุทธศาสตร์ 2 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก จีนเสนอความร่วมมือ Pan-Beipu Gulf Economic Cooperation หรือ PBG ใช้หลักคิด 1 แกนสองปีก ซึ่งตอนหลังได้ไทยได้เข้ามาร่วมภายหลังในปี 2009 เพราะเราทะเลาะกันมากจนเขาไม่รู้จะคุยกับใคร

(อธิบายเพิ่ม) หนึ่งแกน คือ แกนกลาง ซึ่งเป็นเส้นทางการคมนาคมทางบก จากนครหนานหนิงไปยังสิงคโปร์ โดยแบ่งเส้นทางออกเป็น 2 สาย คือ

1 เส้นทางทางบกเลียบฝั่งตะวันออก คือ หนานหนิง-ฮานอย-ดานัง-โฮจิมินห์-พนมเปญ-กรุงเทพฯ-มาเลเซีย-สิงคโปร์

2 เส้นทางทางบกสายกลาง คือ หนานหนิง-ฮานอย-บินห์-เวียงจันทน์-หนองคาย-กรุงเทพฯ-มาเลเซีย-สิงคโปร์

สองปีก คือ ปีกของกรอบความร่วมมือ

1 ปีกด้านซ้าย คือ กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ประกอบด้วย จีน (ยูนนาน และกว่างซี) ไทย พม่า กัมพูชา ลาว และ เวียดนาม

2 ปีกด้านขวา คือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวตังเกี๋ย (เป่ยปู้) (Pan-Beibu Gulf Economic Cooperation – PBBG) ประกอบด้วย จีน (กว่างซี กวางตุ้ง ไหหลำ) เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน

โดยระบุวัตถุประสงค์ของแนวคิดดังกล่าวว่า เพื่อร่วมกันสร้างความแข็งแกร่ง ในเรื่องการขนส่งทางทะเล อุตสาหกรรมท่าเรือ พัฒนาความร่วมมือเศรษฐกิจทางทะเล พัฒนาความร่วมมือระหว่างท่าเรือของประเทศรอบอ่าวตังเกี๋ย (เป่ยปู้) รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินการภายใต้ความตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียน เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อสร้างเขตความเจริญแห่งใหม่ บริเวณชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก และจีนทุ่มงบมหาศาลไปในแผนนี้

หลายประเทศเทศพยามสร้างความร่วมมือลดความขัดแย้งต่อเพื่อนบ้าน

แอฟฟริกาใต้ เสนอยุทธศาสตร์ผีเสื้อ คือ แอฟฟริกาใต้เป็นตัวผีเสื้อ และให้อินเดียและบราซิลเป็นปีกผีเสื้อ
ตุรกี เสนอยุทธศาสตร์ใหม่และใช้มาตลอด Zero Problem With Neighbor Policy คือไม่มีปัญหากับเพื่อนบ้านซึ่งอันนี้อาจจะไม่คุ้นกับประเทศไทยช่วงที่ผ่านมานะครับ อินโดนีเซีย Thousand, Friends Zero Enemy ซึ่งภาษาไทยแปลว่าเพื่อนมากมายศัตรูไม่มีเลย แต่บางประเทศกลับใช้เพื่อนน้อยศัตรูเยอะ
เรื่องพลังงานเกิด East West Corridor ได้เชื่อมจีน เอเชียกลาง ยุโรป ต่อไปอาเซียนจะเป็นอ่าวเปอร์เชียของก๊าซธรรมชาติแต่ไทยกับกัมพูชาพูดกันไม่รู้เรื่อง ที่ผมพูดมาต้องการจะให้เห็นการเชื่อมโยงต่างๆ เช่น ทางกายภาพ ทางพลังงาน นโยบายเศรษฐกิจ ทางยุทธศาสตร์ เช่น กลุ่มต่างๆเชื่อมธุรกิจการค้าบริการอาหาร พลังงาน เชื่อมโยงทางวิชาการ นวัตกรรมต่างๆ และการเชื่องโยงทางวัฒนธรรม กีฬา ภาพยนตร์

มาตอบคำถามว่าไทยจะปรับตัวอย่างไร มี 6 ประการด้วยกัน

ทัศนคติแปลกๆ ของคนไทย คือเราชอบคิดว่าเราเป็นมหาอำนาจ ไม่รู้ว่ามาจากไหน สังเกตว่าเราทำอะไรที่ไหน ใครมาแหยมเรานิดนึงเราจะโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ไม่สนใจประเทศเพื่อนบ้านว่าเขามีอะไรติดกับภาพเก่าๆของเขา เราชอบสบายชอบค้าขายประเทศเดิมๆ เราชิน ชอบอะไรเดิมๆมาตลอด

1 พิจารณายุทธศาสตร์ของมหาอำนาจ เช่นจีน EU ญี่ปุ่น สหรัฐ อินเดีย รัสเซียเขามีต่ออาเซียอย่างไร
การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจแบบก่อนและหลัง Washington Consensus ผลเป็นอย่างไร

2 เราต้องวิจัยยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้าน
ลองดูบ้านว่าสอดคล้องกับเราไหม เช่น ลาวเขาจะเป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย เราคิดยังไงทำอะไรบ้าง พม่า กัมพูชาก็ไม่ได้เป็นแบบที่เราเข้าใจเหมือน 20 ปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียสร้างความโดดเด่นในอาเซียนได้เป็นสมาชิก G20 เขาเป็นเจ้าภาพจัด World Economic Forum เมื่อปีที่แล้วสิ่งต่างๆเหล่านี้เราได้ศึกษาไหม

3 ศึกษาวิจัยยุทธศาสตร์ประเทศที่มีบทบาทในภูมิภาคเรา
เช่น ตะวันออกกลางเราได้ศึกษา การ์ตา บาเรนห์ โอมาน ซาอุดิอาระเบีย เราได้มองหรือมียุทธศาสตร์กับเขาอบ่างไรบ้างไหม

4 วิเคราะห์ศึกษายุทธศาสตร์การร่วมกลุ่มของประเทศต่างๆ
เช่น การรวมกลุ่มของ BRIC,BRICSA ว่าเขามีนโยบายอย่างไรต่อกัน ยุทธศาสตร์เขาคืออะไร และเราจะอยู่ตรงไหน

5 ศึกษาประเด็นทางยุทธศาสตร์
อย่างแรก Politics of Oil การเมืองเรื่องน้ำมัน อันนี้เป็นชนวน ส่งผลต่อการมีนโยบายวางท่อน้ำมันของประเทศต่างๆ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน ต่อมา การขนส่งทางเรือ ท่าเรือที่เกิดขึ้น ทำไมจีนญี่ปุ่นและอินเดียถึงสนใจจะแย่งลงทุนที่ทวาย

6 ศึกษายุทธศาสตร์ของอาเซียน และกลุ่มมหาอำนาจว่าเขามีต่ออาเซียนอย่างไร เราจะใช้อาเซียนให้สอดรับกับยุทธศาสตร์เราอย่างไร

สิ่งที่กล่าวมาคือรู้เขา ต่อไปที่จะกล่าวคือรู้เรา

1 ต้องสร้างสมดุลให้มหาอำนาจที่สนใจภูมิภาคของเรา ปัญหาเราจะสร้างสมดุลอย่างไร เราจะได้อยู่ในระดับพอดีกับจีน สหรัฐ อินเดีย และมหาอำนาจต่างๆ เพราะว่าหากใกล้ไปก็ร้อน ไกลไปก็หนาว เราต้องมียุทธศาสตร์ในการสร้างสมดุล

2 เราต้องรู้จุดแข็งของประเทศไทยคือที่ตั้ง ความสามารถในการเชื่อมประเทศต่างๆได้หลายทิศทาง ประเทศจึงมีลักษณะเชื่อมเป็นศูนย์กลาง จุดแข็งที่สองคือสินทรัพย์ของเรา คือความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านเรา ทำให้เรามีอำนาจในการต่อรอง อีกอันหนึ่งคือความพอดีของเราในอาเซียน ใครทะเลากันเราเป็นเพื่อนเราหมด เราเชื่อมได้ทั้งอาเซียนเก่าและใหม่มีอะไรก็มาคุยกัน ฉะนั้นเรื่องที่เขาไม่เข้าใจกันเขาก็ให้เราอธิบาย แต่ช่วงที่ผ่านๆ มาเราก็มีปัญหาบ้างเพราะเราลงไปทะเลาะกับเขาด้วย เราสามารถเชื่อมมหาอำนาจได้ เราจะเป็นสะพาน ฉะนั้นใครมีปัญหามาคุยที่ไทยทุกคนสบายใจ

3 เราต้องมีบทบาทที่ต่อเนื่องในเวทีที่เรามีบทบาท ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเรามีนโยบายไม่ต่อเนื่อง ขาดยุทธศาสตร์ในการประชุมแต่ละครั้ง เช่น ACD เราควรจะเน้นเพราะมี 30 ชาติจากทุกภูมิภาค

4 เราต้องมีกรรมการถาวรระดับชาติเสียที เฉพาะเรื่องการต่างประเทศ โดยยุทธศาสตร์ต้องสะท้อนด้านต่างๆ เช่นพลังงาน การค้า บริการ รวมกันเป็นแพคเก็จและสะท้อนยุทธศาสตร์ของชาติเรา หรือมีสถาบันยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งไม่ว่าจะเปลี่ยนนายก เปลี่ยนรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติไม่เปลี่ยนหากจะเปลี่ยนก็ต้องมาคุยกันว่าเปลี่ยนเพราะอะไร

เมื่อเศรษฐกิจตะวันตกชะงักและเสื่อมถอย : ผลต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย โดย ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้



เนื่องจากเศรษฐกิจของตะวันตกหยุดชะงัก ใครจะคิดว่า Lehman Brothers ที่มีทรัพย์สิน 6 แสนล้านจะล้มละลาย ที่เป็นเช่นนี้เกิดจากภาคการเงินของอเมริกาและยุโรป ภาคสินเชื่อมีความไม่แน่นอน การใช้จ่ายเงินเกินตัวของสหรัฐ ทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ตะวันตกสามารถใช้เงินเกินตัวได้นานก็เพราะมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี ประเทศที่มีเงินเยอะอย่างตะวันออกกลางมีเงินเยอะไม่รู้จะเอาไปไหนก็เลยเอาไปไว้ที่สหรัฐและตะวันตก ผมเคยเจอ อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ผมเจอเขา เขาก็พูดเชิงเล่นๆว่า เพราะพวกคุณนั่นแหละเอาเงินมาให้เราใช้เกินจนเกิดวิกฤติ


ผมอาจจะเห็นต่างจากสองท่านที่ผ่านมานะครับ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงคือ ต่อไปโลกจะมีหลาย center โลกที่เป็นขั้วนำคือเอเชียแปซิฟิก ขั้วเหมือนเก้าอี้สี่ขา มีเอเชีย สหรัฐ ยุโรป ตะวันออกกลาง ณ เวลานี้ผมมองว่าเอเชียแปซิฟิกเป็นตัวนำ เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ของใหม่ มันเคยเกิดขึ้นในปี 1600 ถึง 1800 คือตอนที่ตะวันตกมาเอเชีย แต่ผมยังมองว่าสหรัฐยังเป็นตัวขับเคลื่อนอยู่ รองลงมาก็ยุโรป ส่วนตะวันออกกลางผมมองอยู่สองเรื่องคือเรื่องการปกครองจะเอาแบบไหน เรื่องต่อมา ยิวกับอาหรับตีกันไม่เลิกเป็นปัญหาต่อเนื่องจากความขัดแย้งทางศาสนา


ผมมองว่าพื้นฐานของเอเชียดีดูอย่างวิกฤติทางเศรษฐกิจ ปี 2008 เราทรุด ปี 2009 เราฟื้นมาอย่างรวดเร็ว ตอนนี้ทุกอย่างกลับกันไปมา เมื่อก่อนอินเดียโวยว่าตะวันตกแย่งงานซึ่งเนรูห์ก็เคยกล่าวเช่นกันในบันทึก (อธิบายเพิ่ม เนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มีเครื่องมือที่ทันสมัยทดแทนการใช้แรงงานเช่นอุตสาหกรรมทอผ้า) แต่สมัยนี้เอเชียก็แย่งงานกลับมา จีนเป็นโรงงานขนาดใหญ่ของโลก อินเดียพูดภาษาอังกฤษเก่งก็ทำ call center แย่งงานตะวันตก






สำหรับเนื้อหาของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ในงานสัมมนากรุณาเข้าไปที่ลิงค์ด้านล่าง
ยุทธศาสตร์การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: บทเรียนจากงานสัมมนา “บูรพาภิวัตน์”

ที่มา:Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น