--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ดอกไม้หลากสีที่ปลายฟางเส้นสุดท้าย !!?

ดับเครื่องชนกันทางชุดความคิด จากเฟซบุ๊กพิฆาตไปสู่การแถลงอย่างหมดเปลือกแบบสุดสะเทือนใจของนักวิชาการสายนิติราษฎร์ “วรเจตน์ ภาคีรัตน์” ถึง “ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์” มาตราร้อน 112 ที่ยังคงปริศนาในเครื่อง หมายคำถามว่า ความจริงแล้วแก่นแกน มันคืออะไร???

“การปฏิรูปนั้นประเทศไทยยังเป็นราชอาณาจักร ยังมีประมุขของรัฐ คือพระมหากษัตริย์ โดยจะต้องจัดวางโครง สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประมุขของรัฐกับองค์กรผู้ใช้อำนาจอื่นๆ ให้สอดคล้องกัน โดยกำหนดให้ประมุขของรัฐ จะต้องสาบานตนว่า จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และพิทักษ์รัฐธรรมนูญก่อนเข้ารับตำแหน่ง”

ข้อเสนอของแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลั่นดาลวาระรัฐประหาร มันได้กลายเป็นคนละเรื่องเดียวกันที่สะท้านสะเทือนไปทั้งปริมณฑลการเมืองไทยในพลันที่ “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า แสดงความคิดเห็นส่วนตัวทางเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า “Borwornsak Uwanno” โดยระบุถึง ข้อเสนอยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของกลุ่มนิติราษฎร์ว่า..

“ผมว่าก่อนจะแก้รัฐธรรมนูญ ตามที่พวกคุณเสนอ ควรแก้ข้อบังคับทุนอานันทมหิดลให้ผู้รับทุนสาบานว่า จะไม่เนรคุณและไม่ทรยศต่อพระมหากษัตริย์ผู้พระราชทานทุนจะง่ายกว่ามั้ย ข้อเสนอผมไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญเลย.!!!”

ขยายความจากเฟซบุ๊ก “วรเจตน์ ภาคีรัตน์” เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ได้รับทุนอานันทมหิดลไปศึกษาต่อจนจบการศึกษา ระดับปริญญาเอก จากประเทศเยอรมนี

“ผมเป็นนักเรียนทุนอานันทมหิดล ผมจึงต้องออกมาเคลื่อนไหว สิ่งที่ผมทำอยู่ คือ การตอบแทนกตัญญูต่อผู้ที่ให้ทุนอานันทมหิดลแก่ผม ที่ผมทำทุกอย่างก็เพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมไม่รู้ว่านักเรียน คนอื่นๆ ที่ได้ทุนนี้มีจินตนาการเรื่องนี้อย่างไร แต่สำหรับผมแล้ว สิ่งที่ผมทำก็เพื่อความดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์สืบไป ผมชัดเจนเสมอว่าผมต้องการรัฐธรรมนูญ ในประเทศที่เป็นราชอาณาจักร” เสียงสะท้อนกลับจากนักเรียนทุนอานันทมหิดล ไม่ต่างจากวิวาทะทางวิชาการของนักกฎหมายระหว่างมวยเก๋ารุ่นใหญ่อย่าง “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” กับดาวโรจน์รุ่นใหม่ไฟแรงอย่าง “วรเจตน์ ภาคีรัตน์”

“ปกป้อง” หรือ “ล้ม” กลายเป็นประเด็นที่สังคมกำลังตั้งคำถาม แต่เนื่องด้วย ที่ทั้ง 2 ชุดความคิด ต่างมีมวลชนสนับสนุนอยู่ไม่ใช่น้อย มันจึงกลายเป็นเงื่อน ปมว่าด้วยน้ำผึ้งหยดน้อยนิดมหาศาลนี้ จะถูกขยายความขยายผลไปสู่การฉกฉวยผลประโยชน์ทางการเมืองในอนาคตหรือไม่???

ยุคสมัยเปลี่ยนวิธีคิดเปลี่ยนจาก “ไพร่ฟ้าประชาชน” ยังถูกเบี่ยงเบนให้เป็น “ไพร่อำมาตย์” ได้???

กระนั้นหากตีความให้แตก ว่ากันให้ ตกผลึกถึงแนวความคิดของ “บวรศักดิ์” และ “วรเจตน์” หากพินิจพิเคราะห์อย่างสังเคราะห์ต่างมีข้อดีของแต่ละฝักฝ่ายอยู่ในทีแต่ด้วยมุมมองและมิติที่ต่างที่ต่างเวลากัน มันจึงสุ่มเสี่ยงยิ่งที่จะกลายเป็น ชนวนความขัดแย้ง ยิ่งในเมื่อฝ่ายที่เห็นต่าง กันต่างมีผนังทองแดงกำแพงเหล็กเป็นคู่ขัดแย้งดั้งเดิมกันอยู่แล้ว

อีกทั้งความเคลื่อน ไหวในทางการเมืองที่เหมือนดูจะเป็นน้ำนิ่ง ก็กลับเสมือน “น้ำนิ่ง” ที่กำลัง “ไหลลึก” และเหมือนจะ “WAIT & SEE” เพื่อรออะไรบางอย่าง เงื่อนไขแห่ง 2 ขั้วอำนาจ ที่กำลังเล่นเอาล่อเอาเถิดกันอยู่อย่างเงียบๆ ต้องยอมรับโดยดุษณีว่าต่างฝ่ายต่างมีตัวประกันความเสี่ยง!!!

ว่ากันว่า หากความขัดแย้งรอบนี้ ถึง จุดสุกงอม ไม่ว่าจะรัฐประหารโดยกองทัพ หรือปฏิวัติโดยภาคประชาชน ต่างบังเกิดความเสียหายไม่ต่างกัน!!! โมเดลประชาธิปไตยในทฤษฎีดอกไม้หลากสีคือสิ่งที่สวยงาม แต่สิ่งสวยงามที่คู่ขนานอยู่กับความเป็นจริงในสังคมบนฟางเส้นสุดท้าย..บางครั้งมันก็ไม่สวยสดงดงามเสมอต้นเสมอปลายตลอดไป!!!

ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น