รัฐควานหาแหล่งเงินฟื้นน้ำท่วม เตรียมร่าง พ.ร.ก.-พ.ร.บ.กู้รวม 6 แสนล้านรองรับ-หาทางโยกงบฯไทยเข้มแข็ง 1.2 หมื่นล้านเสริม เปิดช่องกู้ทุนสำรองใช้ซื้อเครื่องมือเครื่องจักรจาก ตปท. นอกเหนือจากที่กันงบฯ 1.2 แสนล้านไว้แล้ว
หลัง จากธนาคารโลกได้ร่วมประเมินความเสียหายของประเทศไทย ในกรณีเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยสรุปว่าความเสียหายมีตัวเลขสูงถึง 1.356 ล้านล้านบาท ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าจะต้องใช้เงินฟื้นฟูประเทศเป็นจำนวนหลายแสนล้านบาท สำหรับการแก้ปัญหาเร่งด่วนและระยะยาว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด โดยเฉพาะงบฯลงทุนเมื่อเทียบกับงบประมาณรวม มีสัดส่วนต่ำมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง กล่าวคือช่วงก่อนวิกฤต (ปีงบประมาณ 2536-2540) สัดส่วน รายจ่ายลงทุนต่องบประมาณรวมอยู่ที่ 30.6-41.1% ของวงเงินงบประมาณ แต่ช่วง 4-5 ปีหลังมานี้ พบว่าสัดส่วนต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ควรจะมีไม่ต่ำกว่า 25% ของวงเงินงบประมาณรวมมาโดยตลอด โดยปี งบประมาณ 2552 มีสัดส่วน 22.2% ปีงบประมาณ 2553 มี 12.5% ปีงบประมาณ 2554 มี 17.8% และล่าสุดปีงบประมาณ 2555 มีสัดส่วน 16.4%
จึงเป็นสาเหตุว่ารัฐบาลต้องพยายามทุกวิถีทางใน การหาแหล่งเงินมารองรับ โดยระยะเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่ต้องจ่ายชดเชยเยียวยาผลกระทบให้แก่ประชาชน รัฐบาลได้กันงบประมาณ รายจ่ายในปีงบประมาณ 2555 จากทุก ส่วนราชการ ส่วนราชการละประมาณ 10% เอาไว้ หรือรวมเป็นเม็ดเงิน 120,000 ล้านบาท
ขณะ เดียวกันก็มีการสั่งการให้กรมบัญชีกลางดึงเงินจากกองทุนเงินนอก งบประมาณมาอีกส่วนหนึ่ง ล่าสุดกรมบัญชีกลางได้ทำหนังสือไปยังกองทุนเงินนอกงบประมาณทุกแห่ง เพื่อขอให้นำส่งเงินสดส่วนเกินที่เหลือจากการบริหารงาน หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ส่งกลับเป็นรายได้เข้ากระทรวงการคลัง กองทุนละ 30-40% ของเงินกองทุนภายใน 1-2 เดือนนี้ ซึ่งประเมินว่าน่าจะได้เงินจากส่วนนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท
แหล่ง ข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวง การคลังได้เตรียมร่างกฎหมายกู้เงินไว้ 2 ฉบับ วงเงินรวม 600,000 ล้านบาท ฉบับแรก เพื่อใช้ในโครงการฟื้นฟูประเทศจากอุทกภัย ระยะเร่งด่วน 1-2 ปี (ปี 2555-2556) ซึ่งจะออก พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน วงเงิน 200,000 ล้านบาท เพื่อกู้เงินในประเทศเป็นหลัก ในรูปการออกพันธบัตร การกู้จากธนาคารพาณิชย์โดยตรง (เทอมโลน) เป็นต้น ส่วนฉบับที่สอง จะใช้สำหรับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างฟลัดเวย์ เป็นต้น โดยจะใช้วงเงินอีก 400,000 ล้านบาท ระยะเวลา 4 ปี (ปี 2555-2558) ด้วยการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)
สำหรับ การกู้เงินภายใต้ พ.ร.บ.นี้ จะมีทั้งรูปแบบการกู้ในประเทศเช่นเดียว กับ พ.ร.ก. และบางส่วนจะกู้เงินจากทุนสำรองระหว่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตามแนวคิดของนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ซึ่งนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เห็นด้วยกับแนวคิดนี้
อย่างไรก็ดี วิธีการกู้เงินจากทุนสำรองนี้ยังไม่มีข้อสรุป เนื่องจาก ธปท.กังวลว่าจะส่งผลกระทบกับอัตราเงินเฟ้ออย่างมาก โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ธค. 54 ได้มอบหมายให้ธปท.ไปหารือร่วมกับสภาพัฒน์ฯ และกระทรวงการคลังในรายละเอียด แล้วนำกลับมาเสนออีกครั้ง
นอกจาก นี้รัฐบาลยังมีแนวคิดว่าที่จะนำวงเงินของโครงการไทยเข้มแข็งที่ยัง มีวงเงินเหลืออยู่จากบางโครงการ ซึ่งมีการจัดสรรงบฯให้แล้วแต่ยังไม่ได้มีการลงนามในสัญญา ซึ่งส่วนนี้มีวงเงินอยู่ประมาณ 120,000 ล้านบาท มาใช้ในการฟื้นฟูน้ำท่วม โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการของกระทรวงสาธารณสุข และกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 จะมีช่องให้สามารถปรับมาใช้ได้หรือไม่
ขณะที่นาย อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ยอมรับว่าการลงทุนเพื่อฟื้นฟูและสร้างรากฐานของประเทศหลังจากปัญหาอุทกภัย จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งจะใช้จากงบประมาณปกติในแต่ละปี ซึ่งส่วนหนึ่งจะต้องหาทางลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ควบคู่ไปด้วย ขณะเดียวกันยังต้องมีงบฯพิเศษด้วย
คลังมีแนวคิดที่จะกู้เงินจากทุน สำรองตามข้อเสนอของนายวีรพงษ์ ที่มองว่าปัจจุบันทุนสำรองของไทยมีจำนวนมาก ซึ่งปกติ ธปท.ก็นำทุนสำรองไปลงทุน ซื้อพันธบัตรของสหรัฐอยู่แล้ว หากใช้วิธีนี้ก็ชัดเจนว่าจะต้องเป็นหนี้สาธารณะ เพราะรัฐบาลเป็นผู้กู้ และเป็นสิ่งหนึ่งที่คุยกัน ซึ่งมีความเป็นไปได้
"การกู้เงินดังกล่าว เมื่อมีปริมาณเงินในระบบเพิ่ม ธปท.ก็ต้องทำหน้าที่ดูดซับ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากการทำหน้าที่ตามปกติ เพียงแต่เปลี่ยนผู้กู้เป็นรัฐบาลไทย แทนที่จะเป็นรัฐบาลอเมริกา อย่างไรก็ตามโดยข้อเท็จจริงแล้ว ทั้งหมดนี้ยังเป็นแค่ไอเดีย เพราะปัจจุบันสภาพคล่องในระบบการเงินของไทยมีมากถึง 2 ล้านล้านบาท ฉะนั้นคงเน้นกู้ในประเทศเป็นหลัก เพียงแต่จะเขียนกฎหมายเปิดช่องไว้ให้สามารถทำได้ส่วนหนึ่ง คือกรณีหากต้องใช้อุปกรณ์ที่ต้องนำเข้า หรือซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ซึ่งต้องซื้อเป็นเงินตราต่างประเทศ"
สำหรับวงเงินที่จะออกกฎหมาย เพื่อกู้นั้น จะเป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการชุด ดร.วีรพงษ์ รามางกูร พิจารณา ในเบื้องต้นจะออกตามความจำเป็น วงเงินประมาณ 3.5 แสนล้าน
ส่วน กรณีการลงทุนระยะยาว ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า จะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นการลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนต่างชาติต้องการความมั่นใจ และมองว่าหากการเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้นักลงทุนกังวล และหากรัฐบาลวางระบบจัดการน้ำระยะยาวซึ่งเป็นแผนลงทุนระยะ 5-10 ปี จึงกังวลว่ารัฐบาลอยู่ได้ตลอดหรือไม่
ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจะดำเนินการก็คือจะมีการสร้างองค์กรที่จะสามารถ ขับเคลื่อนการลงทุนในเรื่องระบบน้ำให้มีความต่อเนื่อง
นาย จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าจะมีการออก พ.ร.ก. และ พ.ร.บ. กู้เงินเป็นจำนวนเท่าใด เพราะยังไม่มีรายละเอียดโครงการที่ชัดเจน ดังนั้นต้องให้มีการเสนอโครงการชัดเจนก่อนค่อยดูว่าจะต้องกู้เป็นจำนวน เท่าใด
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
หลัง จากธนาคารโลกได้ร่วมประเมินความเสียหายของประเทศไทย ในกรณีเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยสรุปว่าความเสียหายมีตัวเลขสูงถึง 1.356 ล้านล้านบาท ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าจะต้องใช้เงินฟื้นฟูประเทศเป็นจำนวนหลายแสนล้านบาท สำหรับการแก้ปัญหาเร่งด่วนและระยะยาว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด โดยเฉพาะงบฯลงทุนเมื่อเทียบกับงบประมาณรวม มีสัดส่วนต่ำมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง กล่าวคือช่วงก่อนวิกฤต (ปีงบประมาณ 2536-2540) สัดส่วน รายจ่ายลงทุนต่องบประมาณรวมอยู่ที่ 30.6-41.1% ของวงเงินงบประมาณ แต่ช่วง 4-5 ปีหลังมานี้ พบว่าสัดส่วนต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ควรจะมีไม่ต่ำกว่า 25% ของวงเงินงบประมาณรวมมาโดยตลอด โดยปี งบประมาณ 2552 มีสัดส่วน 22.2% ปีงบประมาณ 2553 มี 12.5% ปีงบประมาณ 2554 มี 17.8% และล่าสุดปีงบประมาณ 2555 มีสัดส่วน 16.4%
จึงเป็นสาเหตุว่ารัฐบาลต้องพยายามทุกวิถีทางใน การหาแหล่งเงินมารองรับ โดยระยะเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่ต้องจ่ายชดเชยเยียวยาผลกระทบให้แก่ประชาชน รัฐบาลได้กันงบประมาณ รายจ่ายในปีงบประมาณ 2555 จากทุก ส่วนราชการ ส่วนราชการละประมาณ 10% เอาไว้ หรือรวมเป็นเม็ดเงิน 120,000 ล้านบาท
ขณะ เดียวกันก็มีการสั่งการให้กรมบัญชีกลางดึงเงินจากกองทุนเงินนอก งบประมาณมาอีกส่วนหนึ่ง ล่าสุดกรมบัญชีกลางได้ทำหนังสือไปยังกองทุนเงินนอกงบประมาณทุกแห่ง เพื่อขอให้นำส่งเงินสดส่วนเกินที่เหลือจากการบริหารงาน หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ส่งกลับเป็นรายได้เข้ากระทรวงการคลัง กองทุนละ 30-40% ของเงินกองทุนภายใน 1-2 เดือนนี้ ซึ่งประเมินว่าน่าจะได้เงินจากส่วนนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท
แหล่ง ข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวง การคลังได้เตรียมร่างกฎหมายกู้เงินไว้ 2 ฉบับ วงเงินรวม 600,000 ล้านบาท ฉบับแรก เพื่อใช้ในโครงการฟื้นฟูประเทศจากอุทกภัย ระยะเร่งด่วน 1-2 ปี (ปี 2555-2556) ซึ่งจะออก พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน วงเงิน 200,000 ล้านบาท เพื่อกู้เงินในประเทศเป็นหลัก ในรูปการออกพันธบัตร การกู้จากธนาคารพาณิชย์โดยตรง (เทอมโลน) เป็นต้น ส่วนฉบับที่สอง จะใช้สำหรับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างฟลัดเวย์ เป็นต้น โดยจะใช้วงเงินอีก 400,000 ล้านบาท ระยะเวลา 4 ปี (ปี 2555-2558) ด้วยการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)
สำหรับ การกู้เงินภายใต้ พ.ร.บ.นี้ จะมีทั้งรูปแบบการกู้ในประเทศเช่นเดียว กับ พ.ร.ก. และบางส่วนจะกู้เงินจากทุนสำรองระหว่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตามแนวคิดของนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ซึ่งนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เห็นด้วยกับแนวคิดนี้
อย่างไรก็ดี วิธีการกู้เงินจากทุนสำรองนี้ยังไม่มีข้อสรุป เนื่องจาก ธปท.กังวลว่าจะส่งผลกระทบกับอัตราเงินเฟ้ออย่างมาก โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ธค. 54 ได้มอบหมายให้ธปท.ไปหารือร่วมกับสภาพัฒน์ฯ และกระทรวงการคลังในรายละเอียด แล้วนำกลับมาเสนออีกครั้ง
นอกจาก นี้รัฐบาลยังมีแนวคิดว่าที่จะนำวงเงินของโครงการไทยเข้มแข็งที่ยัง มีวงเงินเหลืออยู่จากบางโครงการ ซึ่งมีการจัดสรรงบฯให้แล้วแต่ยังไม่ได้มีการลงนามในสัญญา ซึ่งส่วนนี้มีวงเงินอยู่ประมาณ 120,000 ล้านบาท มาใช้ในการฟื้นฟูน้ำท่วม โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการของกระทรวงสาธารณสุข และกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 จะมีช่องให้สามารถปรับมาใช้ได้หรือไม่
ขณะที่นาย อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ยอมรับว่าการลงทุนเพื่อฟื้นฟูและสร้างรากฐานของประเทศหลังจากปัญหาอุทกภัย จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งจะใช้จากงบประมาณปกติในแต่ละปี ซึ่งส่วนหนึ่งจะต้องหาทางลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ควบคู่ไปด้วย ขณะเดียวกันยังต้องมีงบฯพิเศษด้วย
คลังมีแนวคิดที่จะกู้เงินจากทุน สำรองตามข้อเสนอของนายวีรพงษ์ ที่มองว่าปัจจุบันทุนสำรองของไทยมีจำนวนมาก ซึ่งปกติ ธปท.ก็นำทุนสำรองไปลงทุน ซื้อพันธบัตรของสหรัฐอยู่แล้ว หากใช้วิธีนี้ก็ชัดเจนว่าจะต้องเป็นหนี้สาธารณะ เพราะรัฐบาลเป็นผู้กู้ และเป็นสิ่งหนึ่งที่คุยกัน ซึ่งมีความเป็นไปได้
"การกู้เงินดังกล่าว เมื่อมีปริมาณเงินในระบบเพิ่ม ธปท.ก็ต้องทำหน้าที่ดูดซับ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากการทำหน้าที่ตามปกติ เพียงแต่เปลี่ยนผู้กู้เป็นรัฐบาลไทย แทนที่จะเป็นรัฐบาลอเมริกา อย่างไรก็ตามโดยข้อเท็จจริงแล้ว ทั้งหมดนี้ยังเป็นแค่ไอเดีย เพราะปัจจุบันสภาพคล่องในระบบการเงินของไทยมีมากถึง 2 ล้านล้านบาท ฉะนั้นคงเน้นกู้ในประเทศเป็นหลัก เพียงแต่จะเขียนกฎหมายเปิดช่องไว้ให้สามารถทำได้ส่วนหนึ่ง คือกรณีหากต้องใช้อุปกรณ์ที่ต้องนำเข้า หรือซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ซึ่งต้องซื้อเป็นเงินตราต่างประเทศ"
สำหรับวงเงินที่จะออกกฎหมาย เพื่อกู้นั้น จะเป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการชุด ดร.วีรพงษ์ รามางกูร พิจารณา ในเบื้องต้นจะออกตามความจำเป็น วงเงินประมาณ 3.5 แสนล้าน
ส่วน กรณีการลงทุนระยะยาว ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า จะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นการลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนต่างชาติต้องการความมั่นใจ และมองว่าหากการเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้นักลงทุนกังวล และหากรัฐบาลวางระบบจัดการน้ำระยะยาวซึ่งเป็นแผนลงทุนระยะ 5-10 ปี จึงกังวลว่ารัฐบาลอยู่ได้ตลอดหรือไม่
ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจะดำเนินการก็คือจะมีการสร้างองค์กรที่จะสามารถ ขับเคลื่อนการลงทุนในเรื่องระบบน้ำให้มีความต่อเนื่อง
นาย จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าจะมีการออก พ.ร.ก. และ พ.ร.บ. กู้เงินเป็นจำนวนเท่าใด เพราะยังไม่มีรายละเอียดโครงการที่ชัดเจน ดังนั้นต้องให้มีการเสนอโครงการชัดเจนก่อนค่อยดูว่าจะต้องกู้เป็นจำนวน เท่าใด
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น