มดงานอาชีวะ สร้างชาติ เปลี่ยนโลก
การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ สอง (พ.ศ.2552-2561) นั้น มีสาระสำคัญ เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่าง มีคุณภาพ และมีเป้าหมายภายในปี 2561 จะเกิดการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ
ในขณะที่การเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (เอฟทีเอ) นั้นได้ส่งผลให้กลุ่มประ เทศสมาชิกอาเซียนเกิดความตื่นตัวเตรียม ความพร้อมต่อการค้าเสรีที่จะนำไปสู่ธุรกิจ อุตสาหกรรมใหม่ๆ การปฏิรูปการศึกษาเพื่อ รองรับความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนา ทรัพยากรบุคคลให้มีศักยภาพในการแข่งขัน กับนานาประเทศ
ที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายมุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาสายวิชาชีพเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สำนัก งานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการผลิตบุคลากรจึงได้ดำเนินการแสวงหาความร่วมมือ จากผู้ประกอบการภาคเอกชนทุกภาคส่วน ให้มีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษาอาชีวะแบบทวิภาคี มุ่งสมรรถนะอาชีพเป็นหลักด้วยการปฏิบัติจริงในสถานการณ์จริง และนำ ความรู้และประสบการณ์ไปใช้ประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน
“วิรัตน์ คันธารัตน์” ผู้อำนวยการ เชี่ยวชาญ วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปการศึกษาสายอาชีพ ภายใต้หลักสูตร “ทวิภาคี” ได้แสดงความ เห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ โดยได้ถ่ายทอดประสบการณ์จากการบริหารสถานศึกษามาอย่างยาวนาน ซึ่งเขาได้เล็ง เห็นว่า “มดงาน” เป็นสรรพกำลังหลักใน การสร้างชาติสร้างเมืองดังนี้
เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้จัด ตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเป็นหน่วยงานอิสระ ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพ พัฒนาสมรรถนะหรือทักษะ กำหนดเกณฑ์ ทางด้านวิชาชีพในแต่ละอาชีพ แล้วจึงออก ใบรับรองวิชาชีพว่ามีความสามารถในระดับ ไหน เมื่อจบออกไปแล้วจะได้ค่าครองชีพ หรือเงินเดือนเท่าไหร่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะเปลี่ยนค่านิยมของผู้เรียนและผู้ปกครอง จากเดิมที่นิยมส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาสายสามัญ และรับปริญญาตรี
ในอดีตหลักสูตรวิชาชีพอาชีวะ เรามุ่งเน้นให้นักเรียนนักศึกษาร่ำเรียนหลักสูตร ในตำรา ครูอาจารย์ให้แบบฝึกหัด ทำการบ้านในห้องเรียน และได้กำหนดให้นักศึกษา ฝึกอบรมตามสถานประกอบการเอกชนต่างๆ ระยะสั้น 20 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน ซึ่งสถานประกอบการยืนยันว่าระยะเวลาสั้นเกินไป เด็กฝึกงานพอจะเรียนรู้งานก็ต้องกลับไปเรียนในสถานศึกษา ไม่เพียงพอที่จะ ทำให้นักเรียนเหล่านั้นเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพสนองตอบความต้องการของผู้ประกอบการหรือตลาดแรงงานได้อย่างแท้จริง สอศ.จึงได้ผลักดันให้มีการเรียนระบบทวิภาคี ตาม พ.ร.บ.มาตรา 8 การอาชีวศึกษา 2552
ผู้เชี่ยวชาญมั่นใจว่า การมีส่วนร่วม ในสังคมจะนำไปสู่ความสำเร็จที่งดงามเสมอ เขายืนยันว่า ที่ผ่านมา สอศ.ได้แสวงหา ความร่วมมือจากภาคเอกชนมากมาย ทั้งภาค อุตสาหกรรม การเกษตร พาณิชยกรรมว่า ระบบบทวิภาคี ต้องฝึกงานตั้งแต่ต้น จึงต้องให้นักเรียนไปยังสถานที่จริง ซึ่งการ มีความรับผิดชอบ วุฒิภาวะจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องปลูกฝังฝึกฝนจากประสบการณ์จริงเรียกว่า “เด็กฝึกงาน” ทั้งนี้ครูนิเทศจะพิจารณาจากสมุดบันทึกหรือตารางที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ให้ สถานประกอบการกำหนดให้ครูฝึกมอบหมายภารกิจใดให้นักเรียนได้ปฏิบัติมีผลบวก ลบ อย่างไร
สอศ.ได้ตกลงกับสถานประกอบการ ที่ร่วมทำเอ็มโอยู ว่าจะต้องจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้กับเด็กฝึกงาน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นอกจากนี้บางองค์กรยังมีอาหารให้เด็กรับประทาน 2 มื้อ จะเห็นได้ว่าหลักสูตรทวิภาคีได้ตอบโจทย์รากหญ้าได้เป็นอย่างดีตามนโยบายรัฐบาล เรียนฟรี ระหว่างเรียนมีเงินใช้ จบแล้วมีงานทำ
เสน่ห์ของเด็กอาชีวะอยู่ตรงที่ เมื่อจบ หลักสูตรทวิภาคี จะได้รับใบรับรองการผ่าน งานจากสถานประกอบการหรือฉบับวิชาชีพ ปวช.-ปวส. ก็จะได้รับใบประกาศฉบับวิชาชีพ ชั้นสูง พร้อมกับหนังสือรับรองการผ่านงาน จากสถานประกอบการ 2 ใบด้วยกัน ทำให้เกิดคำถามว่าผู้ประกอบการจะเลือกใครระหว่างผู้จบมีคุณวุฒิวิชาการ หรือผู้ที่มีคุณวุฒิ และใบประกาศรับรองการทำงาน จากสถานประกอบการ และในอนาคตอัน ใกล้สอศ. ได้ดำเนินการผลักดันสถาบัน คุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กที่เรียนสายอาชีพจบระดับปริญญาตรีสายวิชาชีพ เช่นเดียวกับสายสามัญนั่นเอง
“วิรัตน์ คันธารัตน์” ยังสะท้อน มุมมองถึงปัญหาภาพลักษณ์ของอาชีวะ โดยเฉพาะนิยามที่ว่า “นักเรียน นักเลง” ว่า เด็กอาชีวะทะเลาะกันหรือตีกันต้องแก้ ปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ อาชีวะเองเป็นเพียงปลายเหตุ ต้องมองถึงการเลี้ยงดูของครอบครัวเป็นหลัก ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่อนุบาล เด็กบ้านแตกอยู่กับย่า ตา ยาย ไม่เคยเห็น หน้าพ่อหน้าแม่ แม้มีแม่ที่ส่งเสียเล่าเรียน เขาก็เรียกแม่บังเกิดเกล้าว่า... “ผู้หญิงคน นั้น” เพราะตลอดระยะเวลากว่าสิบปีเด็ก เหล่านี้ไม่เคยมีสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกเลย นี่คือปัญหาใหญ่ที่สังคมจะต้องช่วย กันแก้ไข ไม่ใช่ปัญหาของอาชีวะ
ฟังเสียงสะท้อนจากภาคเอกชน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ลงนามกับ สอศ. ดำเนินการสอนหลักสูตรทวิภาคีบ้าง “ภัทรา ศิลาอ่อน” ประธานกรรมการ บริษัท เอสแอนด์พี เล่าให้ฟังว่า เอสแอนด์พี ดำเนินธุรกิจด้านอาหารมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราได้สั่งสมประสบการณ์พัฒนาเมนูอาหารคุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วยการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพชั้นเลิศ ตอบสนองความต้องการลูกค้า เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจอาหาร เอสแอนด์พี จึงได้ลงนาม ความร่วมมือกับ สอศ. เพื่อส่งเสริมพัฒนา บุคลากรด้านอาหาร และโภชนาการแก่นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษา สังกัด สอศ. โดยการพัฒนาหลักสูตรด้านอาหาร และโภชนาการ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดอบรมความรู้และเทคโนโลยีให้แก่ครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัด สอศ. พร้อมทั้งสนับสนุนวิทยากร มาบรรยายความรู้และเทคนิคในสาขาวิชา อาหารและโภชนาการ
“ดิฉันเชื่อมั่นว่าการศึกษาในรูปแบบ ทวิภาคีที่มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จะทำให้นักเรียนนักศึกษาพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เด็กจะมาเรียนประสบการณ์จริง จากเราสัปดาห์ละ 4 วัน และเรียนวิชาการ ที่สถาบันอีก 2 วัน ส่วนเด็กต่างจังหวัดจะเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ เวลา 1 ปี 6 เดือน ซึ่งเรามีเบี้ยเลี้ยงให้เด็กๆ ตามลำดับชั้น ปวช.1-3 วันละ 150, 170 และ 180 บาท ส่วนปวส.1-2 ก็จะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 185-195 บาท โดยที่เอสแอนด์พี มีอาหารให้น้องๆ รับประทานวันละ 2 มื้อ ส่วนนักเรียนที่ประจำสำนักงานทำบัญชีไม่มีอาหารจะเพิ่มเบี้ยเลี้ยงให้วันละ 50 บาท”
นั่นคือความร่วมมือระหว่าง สอศ. กับภาคเอกชน ซึ่งเอสแอนด์พีรับประกันว่า นักเรียนที่ผ่านหลักสูตรทวิภาคี จะมีโอกาสหมุนเวียนไปทำงานยังสาขา ต่างประเทศอย่างแน่นอน
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น