--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

อุปสรรคของการหยุดยิงในลิเบีย .

อุปสรรคของการหยุดยิงในลิเบีย
สหภาพแอฟริกาและรัฐบาลตุรกีพยายามที่จะเจรจาให้มีการหยุดยิงในลิเบีย ขณะที่ผู้นำลิเบีย มูอัมมาร์ กัดดาฟี ส่งสัญญาณว่าเห็นพ้องกับข้อเสนอของสหภาพแอฟริกาที่นำโดยเจค็อบ ซูมา โดยมีเงื่อนไขที่ว่า NATO ต้องหยุดโจมตีทางอากาศก่อน
ขณะที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในทางตะวันออกของลิเบีย ต่างปฏิเสธเงื่อนไขในการหยุดยิง และยังยึดมั่นต่อความต้องการเดิมที่จะให้ กัดดาฟี ลงจากตำแหน่ง ส่วนกองกำลัง NATO ยังคงโจมตีทางอากาศในลิเบียฝั่งตะวันออกอย่างต่อเนื่อง
การเจรจาเพื่อให้หยุดยิงยังเต็มไปด้วยปัญหาและมีความสลับซับซ้อน แต่ก็ทำให้เห็นว่าในห้วงเวลาที่ไม่สามารถหาทางออกได้ ในลิเบียก็มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายระหว่างตะวันออกและตะวันตกอยู่จริง นี่อาจไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปตามที่คิดนัก แต่ก็ทำให้สหรัฐฯ ตระหนักได้ว่า ควรจะหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างชาติ (nation-building) ในโลกอิสลาม



และต้องยอมรับว่ากัดดาฟียังทรงอำนาจ ขณะเดียวกัน ความขัดแย้งได้เกิดขึ้นในทุกฝ่าย ทั้งในฝ่ายต่อต้านทางฝั่งตะวันออกของลิเบีย ทั้งในกองกำลังลิเบีย กองกำลัง NATO ต่างก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์ลำบากในการตัดสินใจที่จะปฏิบัติการทางทหาร
ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลลิเบียในฝั่งตะวันออกได้แสดงให้เห็นว่าเขาไม่พอใจที่จะยึดครองตะวันออกและปล่อยให้ตะวันตกเป็นของกองกำลังกัดดาฟี ปัญหาของกองกำลังฝ่ายต่อต้านคือความรู้จากการฝึกฝนเพื่อปฏิบัติการรบและการใช้อาวุธที่เข้าขั้นอ่อนหัดมาก แต่ถ้าจับตาดูการสู้รบที่เกิดขึ้นในแหล่งพลังงานทั้งหลายทั้งใน Brega, Ras Lanuf, Zawiya และ Sidra จะเห็นว่ามีความยากลำบากยิ่งในการพยายามทำให้กองกำลังกัดดาฟีถอยร่นกลับไป
ยิ่งไปกว่านั้น กองกำลังกัดดาฟีกลับมีความรอบคอบกว่า ในการถอนกำลังเพื่อไปสร้างฐานที่มั่นในตัวเมืองทางฝั่งตะวันตก ซึ่งไม่เหมือนกับกองกำลัง NATO พยายามที่จะแผ่ขยายกองกำลังทางอากาศที่เต็มไปด้วยความกังวลว่าจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การสูญเสียชีวิตของพลเรือนชาวลิเบีย



แม้กองกำลังกัดดาฟี จะสามารถควบคุมแหล่งที่สามารถผลิตพลังงานหลักในภูมิภาคได้ เช่น Ajdabiya แต่ก็ไม่เท่าฝ่ายต่อต้านที่สามารถยึด Benghazi ได้ อีกทั้งรถถังของกัดดาฟียังถูกกองกำลัง NATO โจมตีทางอากาศไปแล้วจำนวนมาก กองกำลังของกัดดาฟีแม้จะสามารถดำรงอยู่ในสนามรบได้ แต่ก็มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีจำนวนจำกัดเพราะถูกกองกำลัง NATO คอยลาดตระเวนและตรวจตราการขนส่งอาวุธทั้งทางทะเลและทางอากาศ
ทำให้รัฐบาลลิเบียต้องยอมรับที่จะมีจุดยืนอันนำไปสู่การเจรจาให้มีการหยุดยิง แม้ว่าตัวของกัดดาฟีเองจะต้องพ่ายแพ้ แต่ก็อาจทำให้กองกำลังที่ยังคงภักดีต่อเขาสามารถเคลื่อนไหวเพื่ออ้างสิทธิ์จากการควบคุมจากชาติตะวันตกได้


ขณะที่ด้านกองกำลัง NATO เอง ก็เผชิญกับปัญหาที่ยากลำบาก ตราบใดที่กองกำลังของกัดดาฟียังสามารถที่จะตั้งฐานที่มั่นในตัวเมืองได้ NATO ก็ยิ่งประสบปัญหาจากการหลีกเลี่ยงกับความเสี่ยงของการเข้าโจมตี เนื่องจากอาจกระทบต่อพลเรือนที่ต้องบาดเจ็บล้มตายเพิ่มขึ้น และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้กัดดาฟียังคงมีอำนาจในการปฏิเสธที่จะหยุดยิงได้
ส่วนสหรัฐฯ ก็ต้องเผชิญกับแรงกดดันทางยุทธศาสตร์จากฝั่งตะวันตกในภูมิภาคบริเวณอ่าวเปอร์เซียมากขึ้น ที่มีอิหร่านกำลังจับจ้องกับภาวะสุญญากาศทางอำนาจในอิรัก อันเนื่องมาจากการถอนกองกำลังของสหรัฐฯ โดยที่สหรัฐฯ เองอาจต้องถอนตัวจากความคิดที่จะคุมเชิงและพยายามที่จะทำให้รัฐบาลลิเบียจนตรอกในการคิดต่อกรด้วย ซึ่งผลที่ได้กลับมาอาจไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไปนัก

ที่มา.Siam Intelligence Unit
/////////////////////////////////////////////////////////////////// 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น