เหตุผลที่...ชุมชนไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์!
“กดปุ่มอภิวัฒน์ประเทศ” ฉบับท้าลมร้อนรับมหาสงกรานต์ ขอนำเสนอเรื่องร้อนในประเทศไทย แต่สูญเสียแล้วในประเทศญี่ปุ่น กับเหตุการณ์ รั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีนิวเคลียร์อันมีต้นสายปลายเหตุ มาจากเหตุธรณีพิบัติใหญ่ 9 ริกเตอร์ ที่สั่นสะเทือนดัง แรงมาถึงโครงการสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ 5 แห่งในประเทศไทย
อันเป็นสาเหตุที่ฝ่ายคัดค้านในจังหวัดอุบลราชธานีอย่าง “ดร.ประกอบ วิโรจนกุฏ” อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ออกมาให้ความ เห็นถึงเหตุผลที่ชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานีออกมาต่อต้าน และไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไว้ได้อย่างน่าสนใจยิ่ง
>> สุด “วิน วิน” ซื้อไฟฟ้าจากลาวใช้
“ที่บอกกันว่าข้างบ้านเราก็มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คงไม่ต้องอ้างถึงข้างบ้านหรอก ในประเทศญี่ปุ่นก็มี อเมริกาก็มี มันเป็นเหตุผลของเด็กอนุบาล แต่ถามกลับว่า แล้วจะพอนึกออกหรือเปล่าถึงเหตุผลที่เรา ควรจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เอาเป็นว่าข้อ แรกของผมถามว่า จำเป็นหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาเราซื้อจากลาวใช้ และลาวมีความ สามารถในการผลิตไฟทั้งหมดทั้งมวลประมาณ 5 หมื่นเมกะวัตต์ ซึ่งเป็น 2 เท่ากว่า ที่ประเทศไทยใช้ไฟตลอดทั้งปี ผมว่า อีก 50 ปี เราก็สามารถซื้อไฟฟ้าจากลาวได้อย่างสบายๆ แถมเรายังได้สานสัมพันธ์กับ ประเทศเพื่อนบ้านในอีกทางหนึ่ง บ้านเรา พัฒนากว่าเขา เราก็ใช้เงินซื้อกระแสไฟฟ้า จากเขา แล้วเอามาแปลงเป็นการผลิตสินค้า เอามาแปลงใช้ในภาคอุตสาหกรรมแล้วขายคืนให้เขามันไม่ดีกว่าหรือ อย่างนี้ผมว่า วิน วิน กว่า”
>> อานิสงส์เพิ่มอำนาจต่อรองกับเพื่อนบ้าน
“ลาวก็ขายไฟฟ้าได้ เราก็ขายสินค้า ได้ ลาวก็รวย ไทยก็รวย ดีกับทั้งสองฝ่าย เราก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์เลย ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หนึ่งโรงก็ผลิตไฟฟ้าได้แค่ 1,500 เมกะวัตต์ แต่เราต้องลงทุนต่อ โรงเป็นแสนล้านบาท แล้วทำไมเราไม่ซื้อจากลาว เขาผลิตได้ตั้ง 50,000 เมกะวัตต์ ผมว่ายิ่งเราซื้อไฟฟ้าจากลาวมากเท่าไร เราก็จะยิ่งกุมอำนาจทางเศรษฐกิจในลาวมาก ขึ้นเท่านั้น เพราะไฟฟ้าที่ลาวผลิตได้ทั้งปี เราซื้อมาใช้สักกว่าครึ่ง มันย่อมมีผลถึงอำนาจ ต่อรองในหลายๆ เรื่อง”
“ระหว่างเรากับลาว นั่นก็จะพัฒนา ความมีมิตรไมตรีต่อกันมากขึ้น นอกจากมิตรแล้ว เรายังเป็นพี่ไทยกับน้องลาว ในความหมายที่ไม่ใช่ไปดูถูกเขา เพราะเราซื้อ ไฟฟ้าจากเขาเป็นจำนวนมาก เพราะจีนจะ ซื้อมันก็ลำบาก เวียดนามจะซื้อมันก็มีภูเขา กั้น ถ้าจะซื้อมันต้องลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่เราอยู่ใกล้แค่นี้ ทำไมเราไม่ซื้อ จะมาตั้ง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้เป็นพิษเป็นภัยต่อชุมชนทำไม ผมไม่เห็นเหตุผลเลยว่าเราจะ มาดิ้นรนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำไม แค่คุณซื้อไฟฟ้าจากลาวมาใช้มันก็เพียงพอ และที่สำคัญคุณซื้อไฟฟ้าจากลาวมาใช้ คุณต้องฉลาดพอที่จะรู้ว่าคุณจะใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร”
>> พร้อมหรือยังที่จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
“ในทางกลับกัน ถ้าคุณจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ถามว่าคุณต้องเตรียมความ พร้อมอะไร อย่างไรบ้าง แต่เนื้อหาหลักๆ มันต้องเป็นอำนาจของชุมชนที่จะอนุมัติ เช่นในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ชุมชนเขาอาจเอา เพราะเขาใช้ไฟมากแต่ที่สำคัญเขาติดทะเลซึ่งสามารถช่วยระบายความร้อนลงสู่ทะเลได้ เขาก็มีความพร้อมใน ส่วนหนึ่ง ที่สำคัญคือประโยชน์ที่คุณควรได้ เช่น ใช้ไฟตลอด หรือมีกองทุนช่วยเหลือชุมชน ซึ่งตรงนี้ที่อื่นเขามีแต่ประเทศไทยไม่มี เพราะอำนาจชุมชนไม่มี อำนาจมันอยู่ ที่กรุงเทพฯ ที่อื่นเขาสร้างเขาใช้ระบบไฟใครไฟมัน ชุมชนไหนสร้างก็ใช้ในชุมชนนั้น เพราะการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มันต้อง สูญเสียทรัพยากรชุมชน ชุมชนก็ต้องได้ใช้ แต่เมืองไทยไม่ใช่อย่างนั้น อย่างมาสร้างที่อุบลราชธานี แต่คนอุบลฯ ไม่ได้ใช้ แต่กลับส่งไปในพื้นที่อุตสาหกรรม อย่างนี้มัน ก็ไม่แฟร์ ขยะบ้านคุณมันก็ต้องทิ้งบ้านคุณ ไม่ใช่เอามาทิ้งบ้านผม”
>> ขาดองค์ความรู้มีไปก็ไม่คุ้ม
“อย่างไรก็ดี ผมไม่ได้บอกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มันไม่เหมาะที่จะสร้าง แต่มันต้องมีเงื่อนไขอย่างไรที่ต้องทำให้เหมาะ แต่ว่าเงื่อนไขเหล่านี้เมืองไทยไม่มี โดยเฉพาะการจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เราต้องใช้คนมีความรู้ ยิ่งความรู้ในเรื่องของซัพพลายเออร์ เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องใช้พรูโตเนี่ยมที่มีกัมมันตภาพรังสี ซึ่งในโลกนี้มีผู้ผลิตอยู่ไม่กี่ประเทศ หากเราไม่มีความรู้ไม่มีการพัฒนาในด้านเหล่านี้ ประเทศผู้ผลิตหลักมันก็สามารถโก่งราคาวัตถุดิบเหล่านี้กับเราได้ มันก็จะเป็นเงื่อนไข เรื่องต้นทุนที่มันจะงอกออกมา จากเดิมที่เขาว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นพลังงานที่ประหยัดที่สุด แต่หากเราขาดเทคโนโลยีขาดองค์ความรู้ เงื่อนไขในเรื่องต้นทุนมัน ก็แทบจะไม่แตกต่างกันสักเท่าไร และสมมติ ว่าเราจะทำจริงๆ มันก็ต้องส่งนักวิทยาศาสตร์ไปศึกษาที่เมืองนอกอีก 300-500 คน ก็คง ต้องใช้เวลาอีกเป็น 20 ปี แค่เงื่อนไขข้อนี้เรา ยังไม่พร้อม แล้วจะลุกลี้ลุกล้นรีบสร้างไปทำไม”
>> ความรู้ดีมาตรฐานสูงยังพลาด
“นอกจากนี้ ยังมีเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย อย่างเช่น ถนนบ้านเราหากวัดกันตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมจะ มีอายุใช้งาน 20 ปี แต่นี่บ้านเรา 2 ปีมันก็เป็นหลุมเป็นบ่อแล้ว นั่นย่อมแสดงให้เห็น ว่ามาตรฐานการทำงานของบ้านเรามันต่ำ มาก เพราะฉะนั้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ สุ่มเสี่ยงเกิดมหันตภัยสูง มันจะมีปัญหาหรือไม่ จะมาบอกว่า อเมริกาก็มี เยอรมนีก็มี ญี่ปุ่นก็มี แล้วเป็นอย่างไร ที่จอมเทคโนโลยี อย่างญี่ปุ่นต้องมาประสบภัยพิบัติ ของเขา ความรู้ก็มี มาตรฐานก็สูง เขายังพลาดได้ ส่วนประเทศไทย ความรู้ก็ไม่มี มาตรฐานก็ต่ำ ดูแล้วยังไงยังไงก็คงจะสร้างลำบาก”
>> ท้องถิ่นต้องเข้มแข็ง
“ที่สำคัญก่อนจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ ท้องถิ่นต้องเข้มแข็ง ประชาชนต้องมีอำนาจมากๆ การจะอนุมัติสร้างโรง ไฟฟ้านิวเคลียร์ ต้องให้หมู่บ้านนั้น ตำบลนั้น อำเภอนั้น เป็นผู้อนุมัติไม่ใช่ให้ ครม. เป็นผู้อนุมัติ เพราะฉะนั้นอำนาจท้องถิ่นต้องเข้มแข็งก่อน และต้องมีเงื่อนไขบอกชุมชนนั้นๆ ว่าเขาจะได้อะไรบ้าง เสีย อะไรบ้าง ยินยอมหรือไม่ แต่ระบบการ เมืองบ้านเรามันรวมศูนย์อยู่กรุงเทพฯ ถ้ามีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขอเรียนตามตรงว่ามันก็ตายอย่างเดียว ถ้าจะสร้างก็ไปสร้างข้างบ้าน ครม. ข้างบ้านนายกฯ ก็สร้างกันไปสิครับ”
>> รวบหัวรวบหางสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
“ส่วนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีโครงการจะมาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มันก็ไม่มีวิธีคิดอะไรมากมายหรอก เขาก็คง คิดว่าคนอุบลฯ ยอมง่าย อย่างเขื่อนน้ำโจน เขาสร้างไม่สำเร็จ ก็ย้ายมาสร้างเขื่อนปากมูลที่อุบลราชธานี รอบนี้ก็ไม่มีอะไรมาก ก็คงใช้ชุดความคิดเดิมๆ มารวบหัวรวบหาง การลงพื้นที่ทำประชาพิจารณ์ก็ใช้ คนของเขามาทำ แล้วก็เกณฑ์คนมาร่วมลง ประชาพิจารณ์ มันก็ทำกันอย่างนี้ แต่พอดี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นเกิดเหตุเช่นนี้ ชาวบ้านที่ไหนเขาจะยอม ผลเสียมันก็อย่างที่บอกมาตั้งแต่ต้น ประเทศไทยยังสามารถซื้อไฟฟ้าจากลาวใช้ได้ และยังขาดองค์ความรู้ แถมมาตรฐานยังต่ำ อีกทั้งท้องถิ่นยังไม่มีความเข้มแข็ง ที่สำคัญชุมชนยอมเสี่ยงผลิต แต่ยังไม่แน่ว่าจะได้ใช้ นั่นคือเหตุผลที่เราต้องกลับมาทบทวนกันใหม่ถึงความพร้อมหรือเหตุผลที่ชุมชนไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์”
ค่อนข้างชัดถ้อยชัดคำ และกระจ่างแจ้ง สำหรับเหตุผลที่ “ดร.ประกอบ วิโรจนกุฏ” อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัย อุบลราชธานี ยืนกรานและคัดค้านแสดง ความไม่ปรารถนาในการสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น